กลายเป็นเช้าสุดระทึกวันหยุด เมื่อกรุงเทพมหานครน้ำท่วมกันแต่เช้าและมีทีท่าว่าจะยังคงไม่ระบายจางหายไปอย่างรวดเร็วจากพายุขนุน ที่กำลังจะมาซ้ำเติมในสุดสัปดาห์นี้ และสิ่งทีเราไม่สามารถเลี่ยงได้ก็คือ สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นบ่อยตามถนนหนทางในบ้านเรา วันนี้ผมจึงจะมาทบทวนความเข้าใจอีกครั้งกับการขับรถผ่านพื้นที่น้ำท่วม
1.ประเมินระดับน้ำ ทุกครั้งที่คุณเจอถนนข้างหน้าน้ำท่วมสมควรจะประเมินระดับน้ำตรงหน้าคุณเสมอ เพื่อทำให้คุณสามารถเดินทางผ่านไปได้อย่างไม่มีปัญหา แม้ว่าจะต้องเผชิญน้องน้ำที่ท่วมขังตลอดเส้นทางก็ตาม
ในการประเมินระดับน้ำ ตามปกติ เราจะประเมินระดับความสูงเป็นเซนติเมตร ดังนี้
ระดับความสูง (ซ.ม.) | ความสามารถในการขับผ่าน | ประมาณการระดับน้ำ |
5-10 เซนติเมตร | ผ่านได้ปกติ | แอ่งน้ำ |
10-20 เซนติเมตร | รถทุกประเภท ผ่านได้ปกติ | ขอบยางหรือขอบล้อรถ |
20-30 เซนติเมตร | อาจจะเป็นอันตรายต่อรถเก๋ง | ครึ่งล้อรถเก๋ง จนถึงขอบประตูรถเก๋ง |
30-40 เซนติเมตร | รถเก๋งไม่สามารถผ่านได้ และอาจจะเครื่องตายระหว่างลุยน้ำ | ครึ่งล้อรถกระบะ |
40-60 เซนติเมตร | เริ่มมีความเสี่ยงกับรถอเนกประสงค์ที่ไม่ได้มีพื้นฐานจากกระบะ และรถกระบะที่ไม่ใช่ตัวยกสูง หรือขับเคลื่อนสี่ล้อ | ครึ่งกระจังหน้ารถอเนกประสงค์ |
60-80 เซนติเมตร | รถอเนกประสงค์ที่ไม่มีพื้นฐาน จากกระบะไม่สมควรผ่าน อาจะเสี่ยงต่อเครื่องดับระหว่างขับผ่าน ส่วนรถกระบะยกสูงที่ไม่ได้ออกแบบให้มีความสามารถในการลุยน้ำท่วมสูง อาจดับกลางทางเช่นกัน |
ท่วมทั้งซ้มล้อรถอเนกประสงค์ |
80-100 เซนติเมตร | รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้ ยกเว้นรถบรรทุก |
2.ปิดระบบปรับอากาศ เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนการทำงานของเครื่องยนตืในระหว่างการขับรถลุยน้ำ และไม่ให้พัดลมไฟฟ้าระบายความร้อยจากแผงแอร์ทำงาน ซึ่งจะสร้างแรงหน่วงในระหว่างการขับขี่ จำไว้ว่าเมื่อต้องลุยน้ำในระดับสูงกว่า 30 ซ.ม. คุณจำเป็นต้องปิดระบบปรับอากาศในระหว่างการขับผ่านน้องน้ำ
3.เลือกร่องน้ำที่ไม่ลึก ถ้าคุณรู้ว่ารถคุณไม่มีความสามารถในการลุยน้ำมาก โดยเฉพาะรถเก๋ งแต่จำเป็นต้องผ่านน้ำจริงๆ สมควรเลือกร่องน้ำ ที่ไม่ลึกในการฝ่านฟันน้องน้ำไป ในยามน้ำท่วมคุณไม่มีทางรู้หรอกว่า น้ำลึกไม่ลึกเมื่อลงไปแล้ว วิธีเดียวที่สามารถทำได้ คือ เลือกทางที่สมควรจะไปตั้งแต่แรก
โดยปกติของถนนเมืองไทย มักจะมีลักษณะเป็นหลังเต่า หรือช่วงกลางถนนจะเป็นแนวโค้ง ซึ่งมีความตื้นมากว่า ช่วงริมซ้ายของถนน ดังนั้นหากคุณขับรถเก๋งผมก็อยากแนะนำให้ใช้เลนขวามากกว่าขอบทางครับ
4.เลี้ยงคันเร่งตลอดการผ่านน้ำ สิ่งที่ผู้ขับขี่หลายคนมักพลาดเวลาขับรถผ่านน้ำ คือ ไม่เลี้ยงคันเร่งในระหว่างการผ่านน้ำ ทำให้น้ำเข้าท่อไอเสีย และหรือแรงดันน้ำที่ผลักไปข้างหน้าลดลง จนทำให้น้ำกลับเข้ามาในห้องเครื่องและเครื่องยนต์ดับได้
เวลาขับผ่านน้ำท่วมจำไว้ว่าขับด้วยความเร็วต่ำ แต่พยายามไปให้ต่อเนื่อง เลี้ยงคันเร่งไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพ้นพื้นที่น้ำท่วมด้วยดี
5.เว้นระยะห่างจากคันหน้า เห็นบ่อยมากเวลาขับรถผ่านน้ำท่วมแล้ว ไม่ยอมเว้นระยะห่างจากคันหน้า พอรถคันหน้าตาย ก็เลยตายตามกันไปด้วย
ตามหลักแล้ว รถคันหน้าจะสร้างร่องน้ำเวลาผ่านไปข้างหน้า และคุณสามารถใช้ประโยชน์จากร่องน้ำได้ เพียงขับในจังหวะที่ถูกต้อง รวมถึงการเว้นระยะจากคันหน้าประมาณครึ่งคันรถ ยังช่วยให้คุณสามารถผ่านคันหน้าได้ กรณีที่รถเขาเกิดตายตรงหน้าคุณด้วย ดังนั้น อย่าขับจี้ในพื้นที่น้ำท่วม
หลักการขับรถในบริเวณน้ำท่วมความจริงแล้วง่ายมากครับ เพียงแต่ต้องเข้าใจว่ารถแต่ละรุ่นแต่ละประเภทไม่ได้ออกแบบมาให้ทนความสูงของน้ำท่วมเท่ากัน คุณจำเป็นต้องรู้ว่าแค่ไหนที่ไปได้ แล้วมันเสี่ยงขนาดไหนที่จะไป จำไว้ให้แม่น เมื่อคุณต้องลุยน้ำท่วมรถจะได้ไม่ตายครับ