ทุกวันนี้เราขับรถต่างรู้ดีว่าการจะไม่โดนตำรวจจับ คือการปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด ถึงเราจะสอบผ่านกรมการขนส่งทางบกได้ใบขับขี่ รู้กฎหมายจรารที่ควรรู้ และขับรถอย่างถูกต้องตามครรลอง มีมารบาทบนถนน ทว่าอย่าแปลกใจไปครับ ถ้าคุณยังโดนจับด้วยกฎหมายบางข้อมีระบุในกฎหมายจราจรทางบก และพวกเราไม่เคยรู้และใส่ใจมาก่อนเลย
1.ไม่ปฏิบัติตามไฟเหลือง
ในความคิดคนขับรถหลายคน รวมถึงผู้เขียนก็มีบ้าง เราจะคิดว่า “ไฟเหลือง” คือไฟที่บอกรีบไปเดี๋วไฟจะแดง แต่ความจริงแล้ว ไฟเหลือง ตามพรบจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 22 ข้อ 1 ระบุว่า ทางผู้ขับขี่มีหน้าที่เตรียมหยุดรถเมื่อไฟเหลือดแสดงขึ้น หมายความว่า ไฟเหลืองแล้วคุณต้องชะลอ แตะเบรด ไม่ไปต่อ
เราหลายคนคงไม่ทราบมาก่อน ก็ไม่ผิดนัก แต่ถ้าคุณโดนใจจ่าจับ แล้วเขาบอกว่า “คุณฝ่าไฟเหลือง” ก็คงจะไปโทษเขาไม่ได้ เพราะมีข้อหานี้จริงๆ และให้ปรับตามมาตรา 152 โดยมีระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
2.จอดรถในระยะตู้ไปรษณีย์
จอดรถริมทางอย่าจอดสุ่มสี่สุ่มห้านะครับ เพราะงานนี้อาจเจอข้อหาแปลก “จอดรถในระยะตู้ไปรษณีย์” ซึ่งมีการกำหนดไว้ในมาตรา 57 ของการจราจรทางบก ให้จอดรถในระยะห่างจากตู้ไปรษณีย์ในระยะ 3 เมตร
หากคุณเกิดไปจอด โดยไม่เว้นระยะห่างดังกล่าวอาจจะเจอใบสั่งจากเจ้าหน้าที่ บังคับโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ตามข้อหาดังกล่าว .. โดยลักษณะข้อหาเดียวกัน ยังใช้กับการจอดรถกีดขวางหัวดับเพลิงด้วย
นี่ผมก็เพิ่งรู้เหมือนกันนะ
3.ขับรถไม่เปิดไฟหน้า
ทุหวนนี้รถยนต์ที่เราใช้มีความทันสมัยมากในการเปิด-ปิดไฟด้วยตัวเอง แต่อย่าวางใจว่ารถคุณเปิดไฟหน้าแล้ว คุณสมควรจะตรวจสอบว่ารถเปิดไฟหน้าแล้วหรือไม่ เพราถ้าเกิดขับไปแล้วเจอด่านตรวจ จากทางเจ้าหน้าที่ อาจเจอข้อหา “ขับรถในทางในเวลาที่มีแสงสว่าง ไม่เพียงพอ ไม่เปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภท ลักษณะและเงื่อนไขตามที่กำหนดในกฎกระทรวง” หรือว่าง่ายๆ มันคือ ข้อหาขับรถไม่เปิดไฟหน้านั่นแหละ
การไม่เปิดไฟหน้าขับรถ อาจพาคุณเสียทรัพย์ได้อย่างงๆ จากความสะเพร่าของเราเอง โดยระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
4.รถเสียแล้วจอดกีดขวาง
ทุกวันนี้ขับรถไปบนถนน หลายคนอาจจะเห็นรถเสียแล้วชอบจอดแช่มันตรงนั้น ทำการจราจรติดขัดมากมาย คุณ อาจจะนึกว่าไม่มีกฎหมาย จัดการเจ้าพวกนี้หรืออย่างไรกัน และบางทีคุณเองอาจจะประสบสถานการณ์ดังกล่าวแล้วไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร
ความจริงแล้ว กฎหมายการจราจรทางบกในมาตรา 56 ระบุว่า ในกรณีที่เครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้องจนต้องจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องนำรถให้พ้นทางเดินรถโดยเร็วที่สุด
ในกรณีตามวรรคหนึ่งถ้าจำเป็นต้องจอดรถอยู่ในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องจอดรถในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจร และต้องแสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
โดยตามหลักปฏิบัติแล้ว เมื่อรถเสียหรือเกิดเหตุขัดข้อง ต้องจอดชิดไหล่ทางทางด้านซ้ายเสมอ หากเรายังดื้อดึงจอดรถเสียเอาไว้ตรงจุดที่เราขัดข้องทาง ในลักษณะกีดขวางจราจร จรทำให้การจราจรติดขัด มีสิทธิโดนเจ้าหน้าที่ตั้งข้อหา
1.ไม่นํารถที่เครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ ขัดข้องให้พ้น ทางเดินรถโดยเร็วที่สุดหรือจอดรถอยู่ในทางเดิน รถนั้น ในลักษณะที่กีดขวางการจราจรและไม่แสดง เครื่องหมายหรือสัญญาณตามลักษณะและเงื่อนไขตาม
2.จอดรถที่เครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ ขัดข้องในลักษณะกีดขวางและไม่แสดงเครื่องหมายหรือ สัญญาณตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
ทั้งคู่ปรับในอัตราโทษ ข้อหาละไม่เกิน 1,000 บาท หรือว่าง่ายๆ ถ้าคุณรถเสียแล้วไม่ชิดซ้ายโดยเร็ว นอกจากจะโดนค่าซ่อมแล้ว อาจต้องจ่ายค่าปรับสูงสุด 2,000 บาท ด้วยนะ ระวังกันให้ดี
4.เข้าเกียร์ว่าง หรือเหยียบคัลทช์ขณะลงเนิน หรือเขา
ทราบไหมว่า มีข้อหา ห้ามผู้ขับขี่เข้าเกียร์วางหรือเหยียบคลัทช์ ในระหว่างลงเนินและไหล่เขา แปลกใช่ไหมครับ แต่ข้อกานี้ มีจริงตามมาตรา 126 ของ พรบใ จราจรทาง พ.ศ. 2522 ซึ่งตามกฎหมายระบุให้ เจ้าหน้าที่จราจร มีสิทธิเปรียบเทียบปรับได้ในอัตราไม่เกิน 500 บาท ตามข้อหาดังกล่าว
5.ไฟท้ายขาดหรือไม่ชัด ก็โดนได้
เวลาเราหยุดรถ สัญญาณไฟเบรกสีแดง ควรจะติดเพื่อส่งสัญญาณให้กับผู้ร่วมทางที่ตามมาด้านหลัง แต่ทราบไหมครับว่า ถ้ารถคุณเกิดไฟท้ายขาดหรือให้สัญญาณไม่ชัดเจน หากเกิดการเฉี่ยวชนท้ายขึ้นมาแล้วผู้ขับขี่ที่ชนคุณสามารถพิสูจน์ได้ว่ารถคันหน้า มีสัญญาณไฟเบรกไม่ชัดเจน หรือไม่มีสัญญาณไฟเบรกเมื่อหยุดรถ
คุณจะโดนข้อหา ไม่ให้สัญญาณไฟสีแดงเมื่อหยุดรถทันที โดยข้อหานี้ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท แต่ถึงโทษปรับจะไม่เยอะเท่าไรนัก แต่ทางคู่กรณีก็สามารถอ้างเหตุแห่งความผิดดังกล่าว มาเป็นข้ออ้างในการต่อสู่ทางคดีความได้ด้วย
6.ฝ่าฝืนสัญญาณมือ
น่าจะน้อยคนมากที่เคยเจอข้อหานี้ แต่ถ้าคุณขับรถ แล้วมีเจ้าหน้าที่ให้สัญญาณการจราจรด้วยมือ และหรือเรียกให้คุณหยุดหรือจอดด้วยสัญญาณ มือ ปรากฏว่าคุณไม่จอด หรือฝ่าสัญญาณนั้นไป
หากเจ้าหน้าที่ตามจับคุณได้ภายหลัง อาจจะโดนข้อหา “ไม่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจรมือที่พนักงาน เจ้าหน้าที่ แสดงให้ปรากฏข้างหน้า” โดยข้อหานี้ค่อนข้างร้ายแรง ด้วยการระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท เลยครับ
7.ไม่ให้รถเร็วกว่าแซงหน้า
นี่เลยครับใครที่ชอบ “ขับแช่ขวา” ต้องมาดูกฎหมายข้อนี้ กับข้อหา ไม่ยอมให้รถที่ใช้ความเร็วสูงกว่าผ่านขึ้นหน้าเมื่อ ได้รับสัญญาณขอแซงโดยไม่ให้สัญญาณตอบเมื่อทางด้านหน้า ปลอดภัยและไม่มีรถอื่นสวนทางมาในระยะกระชั้นชิดและไม่ ลดความเร็วและขับรถชิดด้านซ้าย
หลายคนอาจจะบอก ทำไมข้อนี้ยาวจัง ข้อนี้เป็นข้อหาตามความในมาตรา 49 ของพรบ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ระบุว่า เมื่อได้รับสัญญาณขอแซงขึ้นหน้าจากรถคันที่อยู่ข้างหลังผู้ขับขี่ซึ่งขับรถที่มีความเร็วช้าหรือรถที่ใช้ความเร็วต่ำกว่าความเร็วของรถอื่นที่ขับไปในทิศทางเดียวกัน ต้องยอมให้รถที่ใช้ความเร็วสูงกว่าผ่านขึ้นหน้าผู้ขับขี่ที่ถูกขอทางต้องให้สัญญาณตอบตามมาตรา ๓๗ (๓) หรือมาตรา ๓๘ (๓) เมื่อเห็นว่าทางเดินรถข้างหน้าปลอดภัยและไม่มีรถอื่นสวนทางมาในระยะกระชั้นชิด และต้องลดความเร็วของรถและขับรถชิดด้านซ้ายของทางเดินรถเพื่อให้รถที่จะแซงผ่านขึ้นหน้าได้โดยปลอดภัย
ข้อหานี้ระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ครับ ซึ่งอัตราโทษดังกล่าวเทียบเท่ากับผู้ที่ขับรถเร็วเกินอัตราความเร็วตามที่กฏกระทรวงกำหนด
8.ขับแซงขวาโดยไม่มีระยะห่างจากคันหน้าพอควร
ข้อหานี้หลายคนอาจจะไม่เคยเจอ แต่ลักษณะตามข้อหานี้ ระบุ ตามความในมาตรา 44 วรรค 2 ระบุว่า การแซงต้องแซงด้านขวาโดยมีระยะห่างจากรถที่ถูกแซงพอสมควรเมื่อเห็นว่าได้ขับผ่านขึ้นหน้ารถที่ถูกแซงไปในระยะที่ห่างเพียงพอแล้วจึงจะขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถได้
ความผิดดังกล่าว จะเกิดขึ้นในกรณีที่คุณแซงรถแล้วเข้าในระยะกระชั่นชิดของรถที่แซงมา จนอาจจะก่อให้เกิดอันตราย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ มีสิทธิจะตั้งข้อหานี้ให้คุณได้ ถ้าเขาเห็นการกระทำซึ่งหน้า โดยระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
9.ไม่ไปเมื่อไฟเขียว
บางทีคุณอาจจะเล่นโทรศัพท์ จนลืมดูว่าสัญญาณไฟเขียวแล้ว และไม่ว่าอะไรก็ตามที่ทำให้คุณไม่ไปเมื่อสัญญาณไฟเขียว เจ้าหน้าทีสิทธิที่จะมาตั้งข้อหา “ไม่ไปเมื่อสัญญาณไฟจราจรสีเขียว”
ข้อหานี้จะคล้ายกับ ข้อหาฝ่าสัญญาณไฟเลือกที่เราพูดไปก่อนหน้านี้ เป็นความผิดตามมาตรา 152 ระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ครับ
ที่มาข้อมูล Traffic Police
ติดตามข่าวสารและบทความดีๆ จากพวกเรา Ridebuster.com