Home » เหตุใดเกิดอุบัติเหตุแล้ว ถุงลมนิรภัยไม่ทำงาน
Bust Technic เคล็ดลับเรื่องรถ

เหตุใดเกิดอุบัติเหตุแล้ว ถุงลมนิรภัยไม่ทำงาน

กลายเป็นที่กำลังได้รับความสนใจในวงสังคมอย่างมาก สำหรับกรณีดาราสาว “น้องอินน์” เกิดอุบัติเหตุ จนเสียชีวิต โดยรถคันที่เกิดอุบัติเหตุนั้น พบว่าถุงลมนิรภัยไม่ทำงาน จนหลายคนตั้งจ้อสงสัยว่า ถ้าถุงลมนิรภัยทำงาน ดาราสาวอาจรอดตายก็เป็นไปได้

กรณีรถชนแล้วถุงลมไม่ทำงาน ไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงสังคม ด้วยก่อนหน้านี้มีเหตุการณ์อุบัติเหตุหลายครั้งทั้งที่เป็นข่าว และไม่เป็นข่าว ชี้ถึงมาตรการความปลอดภัยภายในรถที่อาจไม่ทำงาน หากคุณพลาดท่าเสียทีเกิดการชน  จนคนจำนวนไม่น้อยเริ่มไม่วางใจระบบความปลอดภัยดังกล่าว ยิ่งในปัจจุบันบริษัทรถยนต์หลายรายให้ความสำคัญติดตั้ง   Airbag   หรือถุงลมนิรภัยมาเพิ่ม เพื่อทำราคาขาย ยิ่งกังขาว่าในยามฉุกเฉินนาทีเป็นนาทีตาย จะได้ใช้พวกมันจริงหรือเปล่า

หลักการทำงาน   Airbag  

ถึงแม้ถุงลมนิรภัยจะติดตั้งในรถยนต์จนเป็นมาตรฐานในวันนี้ แต่น้อยคนมากที่จะรู้และทราบหลักการทำงานของมันจริงๆในการทำงาน เราเพียงรู้แต่ว่า ถุงลมนิรภัยต้องทำงานเมื่อเราเกิดอุบัติเหตุ เท่านั้น  

ตั้งแต่เริ่มมีการคิดค้นระบบช่วยเหลือในการเกิดอุบัติเหตุที่เรียกว่า “ถุงลมนิรภัย” พวกมันไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงในการทำงาน แม้ว่าโลกจะก้าวไปไกล ระบบถุงลมนิรภัยตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ทำงานโดยอาศัยระบบแรงดัน  

CL0589

ตัวถุงลมนิรภัยส่วนใหญ่จะถูกซ่อนไว้ตามที่ต่างๆ ที่ทางทีมวิศวกรเห็นสมควร สำหรับถุงลมคู่หน้าฝั่งคนขับ จะอยู่ในกลางพวงมาลัย และฝั่งคนนั่งจะอยู่ที่คอนโซลหน้า แต่จะทำงานหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างมากมาย ซึ่งถูกควบคุมโดยหนวยประมวลควบคุมการทำงานของ ระบบถุงลม

หน่วยประมวลผลนี้จะทำงานใกล้ชิดกับหน่วยประมวลผลเครื่องยนต์ โดยเก็บนำเอาค่าเซนเซอร์ต่าง ที่รถใช้ อาทิ ความเร็วล้อ ,ข้อมูลการเบรก ,ข้อมูลจาก  Gyroscope, และเซ็นเซอร์รับแรงกระแทก ทั้งทางด้านหน้าและด้านข้าง เช้ามาประมวลผล ว่าเหมาะสมหรือไม่ที่จะจุดระเบิดถุงลมนิรภัย ซึ่งมันถูกประมวลตามข้อมูลที่ถูกตั้งค่าจากทีมวิศวกรบริษัทรถยนต์หรือผู้ผลิตชิ้นส่วน

หากข้อมูลบ่งชี้ว่าเกินที่ระบบจะยอมรับได้ (  Thresholds)  เจ้าถุงลมนิรภัยก็จะกางออกมาช่วยชีวิตคุณ โดยจะสั่งการให้ตัวเป่าแก๊ส ( Inflator)  ทำการอัดแก๊สเข้าสู่ถุงลมในเสี้ยววินาทีนั่น มันทำงานกางออก และป้องกันคุณจากแรงกระแทกที่เกิดขึ้นจากการเกิดอุบัติเหตุ โดยการทำงานทั้งหมดที่เรากล่าวว่าใช้เวลาเพียง 0.04 วินาทีเท่านั้น

จากหลักการทำงานของถุงลมนิรภัยในเบื้องต้น คุณคงจะรับทราบข้อหนึ่งที่สำคัญว่า ถุงลมจะทำงานหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการรับข้อมูลจากเซนเซอร์รับแรงกระแทกที่จะสั่งให้ระบบประมวลผลในการกางถุงลมหรือไม่

เซนเซอร์เหล่านี้อยู่ที่ไหน … พวกมันถูกติดตั้งไว้ตามที่ต่าง ภายในรถยนต์ที่เราใช้ โดยวางไว้ในจุดที่มีการรับแรงกระแทกจากการชนเพื่อนำแรงกระแทกที่เกิดขึ้นมาประมวลผลว่าสมควรจะกางถุงลมนิรภัยหรือไม่

เข้าใจการทำงานถุงลมนิรภัย 

ปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีถุงลมนิรภัย ทำให้การประมวลผลการกางถุงลมนิรภัยมีอัลกอลิธึ่ม ที่ซับซ้อนมากขึ้น นอกจากการใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับแรงกระแทกแล้ว การประมวลผลร่วมกับเซนเซอร์อื่นๆ รวมถึงบางรุ่นสามารถประมวลผลร่วมกับระบบควบคุมการทรงัว โดยนำข้อมูลความเร็วล้อมาประมวลรวเพื่อประกอบการตัดสินใจว่า รถยนต์ที่เราขับอยู่ในสถานการณ์ใดๆ และ จำเป็นต้องกางถุงลมนิรภัยหรือไม่ หรือกางจุดใด … เพื่อจะช่วยรักษาชีวิตผู้โดยสารในรถ

ในคู่มือประจำรถส่วนใหญ่ ซางน้อยคนนักจะเปิดอ่าน …. ส่วนใหญ่จะมีการระบุและพูดถึงเงื่อนไขในการทำงานของถุงลมนิรภัยเอาไว้อย่างชัดเจน  โดยเฉพาะลักษณะในการชนถือเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจจะส่งผลให้ถุงลมนิรภัยไม่ทำงาน เนื่องจากอาจไม่โดนเซนเซอร์รับแรงกระแทก หรือ ระบบประมวลผลว่าอาจไม่จำเป็น

เหตุการณ์ต่างๆ ในภาพ ข้างต้น เป็นลักษณะเหตุการณ์ที่ทางผูผลิตรถยนตืส่วนใหญ่ เปิดเผยในคู่มือประจำรถว่า ถุงลมนิรภัยอาจจะไม่ทำงาน ได้แก่

1.การขับชนเสา หรือ ต้นไม้

2.การขับชนท้ายรถบรรทุก หรือ รถที่มีความสูงกว่ารถของคุณ

3.การขับชนโดยปะทะทางด้านข้าง(เยื้อง)

4.การชนแบบเยื้องหนีศูนย์กับรถคันอื่น

5.การลื่นไถลหรือหมุน แล้วปะทะกับ วัตถุหรือรถทางด้านข้าง

 

นอจากนี้ยังมีเงื่อนไขในการชนบางกรณี ซึ่ง ทางผู้ผลิตเซทไว้ไม่ให้ระบบทำงานได้แก่

1.การโดนชนท้าย

2.การโดนรถชนทางด้านข้าง

3.การพลิกคว่ำ

ทั้งหมด ถุงลมนิรภัย (ทางด้านหน้า) จะไม่ทำงาน  เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถหรีออกจากตัวรถได้ง่าย และเนื่องจากการชนดังกล่าว หากการถุงลมนิรภัย อาจจะไม่สามารถปกป้องได้นั่นเอง

สำหรับในรถที่มีระบบม่านถุงลมนิรภัย  ระบบประมวลผลจะสั่งให้มันทำงานในบางกรณีเท่านั้น และไม่จำเป็นว่า ในสถานการณ์จริงถุงลมนิรภัยทั้งทางด้านหน้าและด้านข้างจะต้องทำงานทั้งหมด เพื่อปกป้องคุณ

สำหรับม่านถุงลมนิรภัย ถูกออกแบบให้ทำงานเมื่อมีการชนหรือกระแทกทางด้านข้าง และบางสถานการณ์ที่ผู้ผลิตเห้นว่าจะมีแรงเหวี่ยงกระแทกทางด้านข้างเกิดขึ้น ทำให้ผู้ขับขี่อาจจะได้รับการบาดเจ็บได้ ดังนี้

  

1.การชนกระแทกจาก รถ ทางด้านข้าง

2.การชนทางด้านหน้าเยื้องศูนย์ ซึ่งทำให้ถุงลมทางด้านหน้าทำงาน

3.การพลิกคว่ำของรถ จนหลังคาอยู่บนพื้น

4.การพลิกตะแคงอย่างไม่ตั้งใจ ในระหว่างการขับขี่

อย่างไรก็ดี เฉกเช่นถุงลมนิรภัยทางด้านหน้า ,ม่านนิรภัย มีข้อจำกัดในการทำงานบางประการ เพื่อมิให้เป็นอันตรายและทำงานโดยไม่จำเป็น ในการชนบางรูปแบบ

1.การชนโดยรถสวนพุ่งชนทางด้านข้างแบบเฉียง

2.การโดนมอเตอร์ไซค์พุ่งชน

3.โดนทางด้านหน้า โดยโดนชนที่บริเวณห้องเครื่อง

4.การถอยชนเสา

5.การพลิกคว่ำของรถ 

โปรดสังเกตว่า การโดนชนทางด้านข้าง ระบบถุงลมทางด้านหน้าจะไม่ทำงาน

อย่างไรก็ดี บริษัทผู้ผลิตส่วนใหญ่ ต่างให้คำแนะนำในการใช้งานถุงลมว่า ระบบจะทำงานก็ต่อเมื่อ มีแรงจากการชนมากพอที่ระบบจะประมวลว่าถุงลมนิรภัยสมควรจะทำงาน เพื่อรักษาชีวิตผู้โดยสาร 

นอกจากนี้เพื่อความสามารถในการใช้งานถุงลมนิรภัยสูงสุด ทางผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่แนะนำให้ผู้ขับขี่จำเป็นต้องคาดเข็มขัดนิรภัยที่มีการดังรั้งกลับอัตโนมัติ เพื่อช่วยให้ประสิทธิภาพของถุงลมนิรภัยทำงานได้อย่างเต็มที่  และผู้ขับขี่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เมื่อถุงลมนิรภัยเกิดการทำงานขึ้น

ancap-safety-crash-corolla-video-7

อย่างไรก็ดี มีผู้ขับขี่บางคนที่เคยผ่านประสบการณ์ใช้ถุงลมนิรภัย กล่าวอ้างว่า พวกเขามั่นใจว่า ถุงลมนิรภัยจะไม่ทำงานหากคุณไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เนื่องจากอาจไม่ปลอดภัยในการทำงาน แต่ก็ไม่มีใครยืนยันว่าเป็นความจริงหรือไม่ และบริษัทผู้ผลิตไม่เคยออกมาเปิดเผยว่า การทำงานของถุงลมนิรภัย จะให้เกิดประสิทธิภาพสุงสุด ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยเท่านั้น

ทุกวันนี้เราอาจจะคุ้นเคยกับ ถุงลมนิรภับมากเสียจนชิน หากมีน้อยคนนักี่จะเคยผ่านประสบการณ์ใช้มัน แม้แต่ผู้เขียนเองก้ยังไม่เคย และคงไม่มีใครอยากจะใช้มันอย่างแน่นอน ทว่าในหลายโอกาสเราเห็นว่า รถบาวครั้งถุงลมไม่ทำงาน จนเกิดการวิจารณ์ว่า เป็นเพราะระบบบกพร่อง ทำให้ไม่สามารถปกป้องผู้เสียชีวิต หรือบาดเจ็บสาหัสได้ ทว่าที่จริงมันอาจไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในการทำงานก็ได้  

 

ถามตอบหายข้อใจ ถุงลมนิรภัย  …. 

1.ถุงลมนิรภัย และม่านนิรภัย ทำงานพร้อมกัน หรือเปล่า

เปล่าครับ มันไม่ได้ทำงาน พร้อมกัน ถุงลมนิรภัยทางด้านข้าง (คู่หน้า) จะทำงานเมื่อ เกิดการชนทางด้านหน้า ส่วนม่านนิรภัย จะทำงานเมื่อเกิดการชนทางด้านข้าง มีเพียงกรณีเดียวที่ถุงลมทั้งหมดจะทำงานพร้อมกัน คือ ชนหน้าเต็มเยื้องศูนย์  (Off set Crash)  ถ้าในสถานการณ์จริง ก็เหมือนคุณไปบวกกับรถ 10 ล้อ ครับ

2.เราจะทราบได้อย่างไร ว่าถุงลมนิรภัยจะทำงาน

เราไม่มีทางทราบแน่ชัดว่าถุงลมนิรภัยจะทำงานเมื่อไร  เนื่องจากไม่มีใครทราบเงื่อนขารทำงานดีเท่าทีมวิศวกรที่ออกแบบระบบ ดังน้นในบางโอกาส ก็เหมือนกันสี่ยงดวงเอาอยู่เหมือนเดิม

3.ทำไม ไม่ทำให้ถุงลมทำงานในทุกโอกาส

ก่อนอื่นคุณต้องเข้าใจก่อนว่า ไม่ใช่ทุกสถานการณ์ที่จะเหมาะใช้ถุงลมนิรภัย เนื่องจากอาจเป็นอุปสรรค์ในการหลบหนีออกจากตัวรถ หรือทำให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มเติม และรวมถึงยังก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายจากการทำงานของถุงลมโดยไม่จำเป็นด้วย

 

4.ถุงลมนิรภัยมีโอกาสไหม ที่จะทำงานเองในยามที่ไม่เกิดอุบัติเหตุ

คำตอบคือ มี …  แต่จะเป็นบางสถานการณ์ที่รับแรงกระแทกหนักๆ เช่น รถชนวัตถุที่ต่ำกว่า ด้วยความรุนแรง อาทิขอบฟุตบาทที่มีความสูงระดับกันชนหน้า จนรถได้รับความเสียหาย , การตกหลุมที่มีความลึก และด้านหน้ากระแทกพื้นอย่างแรง , การกระโดดที่มีความรุนแรงจนหน้ารถกระแทกสัมผัสพิ้น หรือรถตกจากที่สูง  

 

5.ถ้าโดนชนหลายครั้ง ถุงลมนิรภัยทำงานหรือไม่

ทำงานครับ โดยระบบจะดูตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลาจริง  (Realtime)  ยกตัวอย่างเช่น รถเกิดการลื่นไถลหมุนหรือเสียหลักไปชนรถที่ขับสวนมาทางด้านข้าง ก่อนกระเด็นไปชนแนวปูนขอบถนน

ในกรณีนี้ ตามคู่มือประจำรถ ที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่บอก ในการชนจากรถที่สวนมาในจังหวะแรกถุงลมนิรภัยทางด้านหน้า จะไม่ทำงาน (ถ้ามีม่านนิรภัยอาจจะทำงาน)  เนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไข แต่เมื่อกระดอนไปชนแนวขอบทางปูน ถุงลมจะทำงาน เนื่องจากเข้าเงื่อนไขในการทำงานของระบบ

อย่างไรก็ดี  จงจำไว้ว่าถุงลมนิรภัย ทำงานแค่ในจังหวะเดียวเท่านั้น  และหลังจากทำงานถุงลมจะอ่อนตัวลงทันที เพื่อให้สามารถหลบหนีหรือออกจากรถได้ ดังนั้นหากเกิดการกระแทกมากกว่าหนึ่งครั้ง ก็ต้องวัดดวงกันเอาเองครับ

 

เป็นอย่างไรบ้างครับ เนื่องราวของถุงลมนิรภัยที่วันนี้ผู้ผลิตรถยนต์ต่างใส่มาให้มากมาย รถหลายรุ่นมีถุงลมนิรภัยมาให้มากถึง 7 ลูก แต่เราคงไม่อยากใช้หรอก ซึ่งในกรณีของดาราสาวที่เป็นข่าว อาจทำให้หลายคนสงสัยว่าทำไมรถราคาหลายล้านระบบจึงไม่ทำงาน เห็นที เราคงต้องไปดูลักษณะการชนว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนั้น

 

ติดตามข่าวสารและบทความดีๆ จากพวกเรา Ridebuster.com



แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.