หลังจากเมื่แวันก่อนมีการเปิดประเด็นในวงการข่าวยานยนต์ญี่ปุ่นว่า ในการตรวจสอบของภาครัฐพบว่า มาสด้า เป็นอีกแบรนด์ที่เข้าข่ายการทดสอบอัตราประหยัดและการปล่อยไอเสียไม่ถูกต้อง เช่นเดียวกับ Suzuki ซึ่งเชื่อว่า จะเข้าข่ายเดียวกัน ล่าสุดทั้ง 2 แบรนด์ออกมายอมรับว่า มีความผิดพลาดในการะบวนการทดสอบจริง และจะป้องกันต่อไป
Mazda แถลงทันควันในกรณีที่ภาครัฐของญี่ปุ่น โดยกระทรวงโครงสร้างพื้น คมนาคม และที่ดี ของญี่ปุ่น ชี้ว่า มาสด้าน่าจะทำการทดสอบอัตราประหยัดและการปล่อยไอเสียไม่ถูกต้องกับรถที่วางขายในญี่ปุ่น จนทำให้อาจเกิดความเข้าใจผิดกับสาระสำคัญของตัวรถ โดยรายงานจากทางมาสด้ายอมรับ ว่า พบว่ามีการทดสอบผิดพลาดในบางส่วน โดยเชื่อว่ามีเพียง 72 คัน จาก 1,645 คันเท่านั้น ที่ทำการทดสอบไม่ถูกต้อง หรือ Improper Test
โดยทางมาสด้าได้ออกแถลงการณ์ในเชิงยอมรับต่อเรื่องดังกล่าวที่เกิดขึ้น แต่เปิดเผยว่า ไม่ได้มีความตั้งใจที่จะโกงไอเสียหรืออัตราประหยัด ดังที่เป็นข่าวออกมาก่อนหน้านี้ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดพลาดเนื่องจากการปรับค่าการทดสอบของผู้ที่วัดอัตราประหยัดและไอเสียที่ทำงานในกระบวนการทดสอบ มีการประเมินไม่เหมือนกัน
ทางด้าน Suzuki ออกมายอมรบวานนี้ต่อกรณีดังกล่าว โดยนาย โทชิฮิโระ ซูซูกิ ประธานบริษัทกล่าวยอมรับว่า พบการทดสอบไม่ถูกต้องถึง 6,401 คัน จาก 12,819 คัน จากผลการทดสอบเมื่อปี 2012
นายโทชิฮิโระ กล่าวว่า เรารู้สึกเสียใจที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น แต่เป็นความจริงที่เรามีกระบวนการทดสอบผิดพลาด และเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ เนื่องจากมีจำนวนมากพอสมควร
นอกจากบริษัทรถยนต์ 2 ค่ายแล้ว ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่บริษัทรถมอเตอร์ไซค์ ยามาฮ่า ออกมายอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับที่เกิดในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยโฆษกของยามาฮ่าออกมาเปิดเผยว่า ทางบริษัทยอมรับว่ามีการทดสอบที่ผิดในกระบวนการจรวจวัดอัตราไอเสียที่เกิดขึ้น และเราขออภัยกับลูกค้าที่มีเรื่องดังกล่าวสร้างความไม่สบายใจในการใช้รถ
ทั้งนี้ ทางด้าน Suzuki และ Mazda ออกมายอมรับ แต่จะไม่มีการเรียกตรวจสอบรถยนต์จากทางลูกค้า เนื่องจากไม่ได้กระทบต่อตัวเลขอัตราประหยัดและการปล่อยไอเสีย ซึ่งวัดตามโหมดใหม่ WTLC โดยทั้งสองบริษัทไม่ได้เปิดเผยรุ่นรถที่เกิดความผิดพลาดในกระบวนการดังกล่าว
อย่างไรก็ดี หลังจากประกาศออกมายอมรับเรื่องดังกล่าว ทั้งมาสด้า และซูซูกิต่างประสบชะตาเดียวกัน โดยหุ้นของบริษัททั้งคู่ร่วงลงไปถึง 5%
เมื่อปีกลายวงการรถยนต์ญี่ปุ่นมีประเด็นในแง่ความผิดพลาดของโรงงาานเหล็กโกเบสตีล และต่อเนื่องมาเรื่อย ตั้งแต่การพบการโกงประหยัดของมิตซูบิชิ และกรณีผู้ตรวจสอบขั้นสุดท้ายของนิสสัน และซูบารุ ทำให้ทางการญี่ปุ่นต้องเข้ามาควบคุมและตรวจสอบบริษัทรถยนต์ให้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ