อาจจใกล้เข้าสู่ช่วงปลายฝนต้นหนาวกันแล้ว แต่ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมานี้ถทอว่า ฝนในบ้านเราตกหนักชนิดพายุเข้าจนทำให้หลายคนขับรถด้วยความลำบาก ในบ้านเรานอกจากทัศนวิสัยที่แย่จากฝนที่ลงมาฉ่ำชื่นแล้ว ยังมีอุปสรรคสำคัญอย่างน้ำท่วม และมันมาพร้อมอันตรายที่เรียกว่า “การเหินน้ำ”
อาการ “เหินน้ำ” หรือ Aqua Palning เป็นอาการอันตรายหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคุณขับรถผ่านผิวถนนที่เปียกน้ำ โดยเฉพาะในสภาพที่มีพื้นที่น้ำขังตื้นๆ ด้วยความเร็ว ปริมาตรน้ำที่มากจะทำให้เกิดอาการล้อลอยจากน้ำไม่แต่ผิวถนน ทำให้รถลอยจากพื้นถนน แล้ววิ่งไปบนน้ำ ทำให้เกิดอาการเสียการทรงตัวและอาจลื่นไถลในที่สุด
ผู้ขับขี่ทั่วไป อาจจะมองข้ามเรื่องนี้เมื่อขับรถ แต่สำหรับการอบรมการขับขี่ขั้นสูง อย่าง AMG Driving Experience ทางนักขับได้อธิบายความสำคัญของอาการ “เหินน้ำ” ว่าเป็นเรื่องที่นักขับทกคนควรเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขับรถในหน้าฝน ซึ่งจะต้องพบพื้นที่แอ่งน้ำบ่อยเป็นประจำ
การ “เหินน้ำ” เกิดจากปัจจัยสำคัญ 2 ข้อ ได้แก่ 1.สภาพยางรถยนต์ และ 2. ความเร็วที่ใช้ในระหว่างการขับขี่ โดยมีปัจจัยทางด้านลักษณะพื้นที่แอ่งน้ำที่เกิดขึ้นจากฝนตกเป้นส่วนประกอบ
ตามปกติแล้วในพื้นผิวแห้งปกติ ยางรถยนต์จะมีหน้าที่สร้างแรงเสียดทาน ทำให้เกิดการเกาะผิวถนน ทำให้รถไม่เกิดการลื่นไถลระหว่างที่เราใช้ความเร็ว หน้าสัมผัสยาง มีผลต่อการการเกาะถนนอย่างมาก แต่จะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับลักษณะหน้ายางและส่วนผสมของตัวยางด้วย
เมื่อมาถึงช่วงที่ฝนตกหน้าสัมผัสยางก็จะยังทำหน้าที่เดียวกับตอนถนนเปียกคือ เกาะถนน มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แต่ด้วยการมีน้ำบนพื้นทำให้ต้องมีการรีดน้ำออกจากผิวเพื่อให้หน้าสัมผัสแนบกับถนนมากที่สุด
ในยางรถยนต์ที่เราใช้กันตามปกติแล้ว ยางใหม่แกะห่อออกจากร้านยาง จะมีความลึกหน้ายาง หรือ Tread Depth ประมาณ 8-10 มม.
ดอกยางหนาและมีความลึก ไม่ได้มีดีแค่การเกาะถนนและใช้ได้อีกนานเท่านั้น มันยังช่วยให้ เวลาคุณขับผ่านผิวเปียกหรือแอ่งน้ำ มีความสามารถในการรีดน้ำที่ดี (ในกรณีที่แอ่งน้ำมีความลึกไม่มาก – น้ำตามผิวถนนทั่วไป) ลดการเหินน้ำที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี แม้ว่าจะขับมาด้วยความเร็วก็ตามที
แต่เมื่อนานวันไปยางก็จะมีการเสื่อมสภาพตามการใช้งาน ความลึกของดอกยางน้อยลง สมมุติว่าเหลือ 3 มม. เมื่อดอกยางเหลือน้อย ประสิทธิภาพในการรีดน้ำก็จะน้อยลง ถ้าในกรณีที่เราขับด้วยความเร็ว มาเจอแอ่งน้ำ หรือ พื้นที่น้ำขังบนถนน น้ำจะแทรกตัวเข้าไปใต้ยางและยกยางขึ้นจากถนน ทำให้ยางไม่สัมผัสกับผิวถนน และหากไม่ระวังอาจทำให้เสียการทรงตัว และลื่นไถลได้ง่าย
ตลอดจนยังเพิ่มระยะเบรกเมื่อขับบนผิวถนนเปียกน้ำ อีกด้วย โดยยางที่มีความลึกดอกยางเพียง 3 มม. (จากปกติ 8 มม.) จะมีระยะเบรกยาวกว่ามาก และหากเป็นระยะจอดอยู่อาจจะพุ่งที่ความเร็ว 34 ก.ม./ชม.
วิธีการแก้ อาการเหินน้ำ ทางผู้เชี่ยวชาญการขับขี่จาก AMG Driving Academy บอกว่า
1.ต้องให้ความสำคัญกับยางรถยนต์เสมอ หากพบว่ายางเริ่มเสื่อมสภาพมีหน้ายางเหลือน้อย เป็นไปได้ให้เปลี่ยนซื้อยางใหม่ในช่วงหน้าฝน
2.ต้องระวังในระหว่างการขับขี่มากขึ้น โดยให้ความสำคัญ 2 ข้อ คือ
2.1ใช้ความเร็วที่คุณสามารถควบคุมได้และเหมาะสมกับการขับขี่ ไม่ควรใช้ความเร็วเกินไป เพราอาจะทำให้เสียการควบคุมได้
2.2เว้นระยะห่างจากรถคันหน้ามากขึ้น เผื่อระยะสำหรับเบรกหรือลดความเร็วมากขึ้น
2.3มองไกลเวลาขับขี่ยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้ระวังสถานการณ์ในการขับขี่ดีขึ้น
อาการเหินน้ำ เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากหลายปัจจัยเช่นการไม่ดูแลสภาพรถ ความประมาทในการขับขี่ และเมวดาฟ้าฝนแต่คุณสามารถเลี่ยงมันได้ ถ้ารู้จักหมั่นตรวจสอบยาง ขับอย่างปลอดภัยโชคชะตาฟ้าดินก็ไม่อาจที่จะทำให้คุณเกิดอุบัติเหตุได้ ถ้าไม่ประมาท