ท่ามกลางกระแสการแข่งขันในตลาดรถยนต์ทั่วโลก เราต่างเห้นความพยายามบริษัทรถยนต์ในการสร้างรถล้ำสมัยออกมา รถยนต์ยุคใหม่อาจจะเรียกว่าครบเครื่องครบครัน แต่ในอีกมุม มันกำลังทำให้หลายแบรนด์เปลี่ยนตัวตนไปตลอดกาล
การสร้างรถยนต์ออกมาจำหน่ายสักรุ่นไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรนัก ถ้ารถยนต์สักคันจะต้องตอบโจทย์โดนใจลูกค้า แถมยังต้องพยายามทำให้มีกำไรมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในอดีตประวัติศาสตร์วงการยานยนต์ชี้ให้เห็นแล้วว่าแบรนด์ที่ล้มเหลว มาจากทั้งหารไม่ได้รับความนิยม และทำกำไรน้อยในการขายจริง
วงการธุรกิจยานยนต์ยุคใหม่ จึงผ่าวิกฤติด้วยหลายแนวทางทั้งการเป็นพันธมิตร การร่วมกันวิจัยพัฒนาลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในขั้นตอนสำคัญ มันก่อกำไรมากขึ้นในด้านหนึ่ง แต่อีกด้านก็เกิดคำถามเช่นกันถึงตัวตนของแบรนดืที่วันนี้ดูเลือนลางเหลือเกิน
คำถามนี้เกิดขึ้นเมื่อตอนผมขับ Volvo XC40 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แบรนด์วอลโว่เป็นหนึ่งในแบรนด์รถยนต์ยุดรปที่ผมชื่นชอบด้วยความปลอดภัยผนวกกับการขับขี่ที่มั่นใจ รถในยุคใหม่มีการออกแบบที่ดีขึ้น แต่การเปิดตัวด้วยรถอเนกประสงค์เล็กของพวกเขาด้วยการจับอาแพลทฟอร์มจากแบรนด์รถยนต์ Geely ในฐานะบริษัทแม่มาใช้ในรถรุ่นนี้ กลับทำให้เมื่อขับขี่ผมไม่รู้สึกถึงความเป็นรถวอลโวดั่งที่เคยเป็นมา
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ผมรู้สึกเช่นนี้ และเชื่อว่าจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย เพราะปัจจุบันบริษัทรถยนต์หลายราย ทลายกำแพงที่จะตั้งเป้าหมาห้ำหั่นกันเอง ไปสู่การจับมือทางธุรกิจมากมาย
กลุ่มธุรกิจรายสำคัญ อาทิ Renault- Nissan -Mitsubishi นับเป็นจุดเริ่มสำคัญต่อภาคธุรกิจยานยนต์ในปัจจุบัน พวกเขาแบ่งปันความรู้ รวมถึงข้าวของที่ใช้ในการพัฒนารถรุ่นใหม่ด้วยกัน ทั้งการสร้างแพลทฟอร์มใหม่ หรือกระทั่งนำเครื่องยนต์มาใช้ข้ามแบรนด์ อย่างที่เราเห็นมาแล้วใน Nissan Terra เครื่องยนต์ YS23 เป็นเครื่องยนต์ 2.3 dCi ของเรโนลต์ ซึ่งเกี่ยวโยงไปถึงแบรนด์ชั้นนำ Mercedes Benz ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเครื่องยนต์ดังกล่าว เมื่อครั้นตอนผลิต Mercedes Benz X Class
การร่วมด้วยช่วยกันสร้างไม่ใช่เกิดขึ้นในแบรนด์กลุ่มนี้กลุ่มเดียวเท่านั้น กลุ่มใหญ่ทางเยอรมัน Volkswagen Group ที่ประกอบด้วยหลายแบรนด์สำคัญ ได้แก่ Volkswagen ,Audi , SEAT, Skoda, Lamborghini และ Porsche ก็มีเรื่องราวคล้ายๆ กัน
โดยเฉพาะในโปรเจคกระทิงเปลี่ยวอเนกประสงค์ ทาง Lamborghini ได้พัฒนารถบนโครงสร้าง MLBevo โครงสร้างเดียวกับที่ใช้สร้างในหลายอเนกประสงค์หรู อาทิ Audi Q7 , Bentley Betayga หรือ จะเป็น Porsche Cayenne แต่เพียงใส่ความแรงเร้าใจในแบบแลมโบเข้าไปเพิ่ม ทำให้รถฮาร์ดคอร์กว่าชาวบ้าน และมีศักดิ์ศรีสมความเป็นกระทิงพร้อมลุยมากขึ้น
ทางด้านแบรนด์จากญี่ปุ่นระดับหัวแถว Toyota ก็มีแนวทางคล้ายๆกัน แม้ว่าจะไม่ได้มีการจับมือชัดเจน แบบเพื่อร่วมชาติอย่างนิสสัน เช่นการพัฒนา Toyota Supra ใหม่โดยใช้พื้นฐานจาก BMW Z4 แม้ว่าจะเปลี่ยนหน้าตาเป็นโตโยต้า หลายคนก็ยังคิดว่ามันคือรถเยอรมัน ไม่ใช่รถสปอร์ตจากแบรนด์แท้ๆ
เรื่องทำนองนี้คล้ายกับตอนเปิด Toyota GT86 โดยให้ Subaru ผลิตให้ทั้งหมด จากโรงงานแล้วเปลี่ยนตราและออพชั่นออกมาขาย ไปจนถึงเรื่องข้อสงสัยต่อโครงสร้าง TNGA จากหลายสื่อทั่วโลกเช่นกันว่า การพัฒนาอย่างรวดเร็ว อาจจะมาจากการะดมสมอง จากทีมซูบารุและมาสด้า เข้ามาปรึกษาหารือกัน อันจะเห็นได้จากเทคโนโลยีบางความคิด ที่เคยเป็นจุดเด่นของแบรนด์วันนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโตโยต้าไปแล้ว
การเล่นเกมจับคู่ทางธุรกิจยังมีอีกมาก เช่น Ford – GM ร่วมกันพัฒนาเกียร์อัตโนมัติใหม่ จนกลายมาเป็นเกียร์ 10 สปีดใน Ford Ranger Raptor หรือ จะเป็นมาสด้าควงแขน Isuzu เตรียมเอากระบะวมาขายในเร็วๆนี้ นั่นคล้ายๆ กับฟอร์และ โฟลค์สวาเกนที่ดี๋ด๋า การพัฒนากระบะร่วมกัน
เราจะเห็นว่าจากที่พูดมาทั้งหมด แบรนด์รถยนต์ในวันนี้แทบจะไม่มีคำว่าศัตรูระหว่างแบรนด์กันอีกต่อไป แต่กลายเป็นทำออกมาให้โดนใจผู้บริโภค ในราคาต้นที่ถูกที่สุด กลายเป็นโจทย์สำคัญมากกว่า
การร่วมกันวิจัยพัฒนาระหว่างแบรนด์ แม้จะมีเรื่องดีทางด้านการลดค่าใช้จ่าย สร้างกำไรให้วงการธุรกิจมากขึ้น หากการพัฒนารถยนต์กลายเป็นการให้ความสำคัญกับทีมนักออกแบบ และนักการตลาดมือฉกาจมากกว่า ในอดีตที่ยกทีมวิศวกร เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนารถยนต์ จนจับใจลูกค้า ซึ่งแจ้งเกิดบริษัทชั้นนำมาแล้ว เช่น Porsche, Subaru หรือ BMW และลูกค้ายังวางใจมาจนทุกวันนี้
จนกลายเป็นที่มาคำถามสำคัญ ที่ไม่ค่อยจะมีใครคิดถึงแล้วในปัจจุบัน ว่ารถยนต์ที่เราใช้มีตัวตนความเป็นแบรนด์ของพวกเขามาเพียงใด แล้วการร่วมมือกันสร้างความดีในเรื่องการตลาดและการขาย แต่สิ่งที่ลูกค้าชอบจริงๆ ในแบรนด์คืออะไร
มันคือการออกแบบ หรือ ตัวตนในการวิศวกรรมรถยนต์ ของแต่ละค่าย ที่วันนี้ ก็เริ่มจางหายไป
และในอนาคตจะยิ่งจางหายไปกว่านี้ เมื่อเข้าสู่ยุครถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งรถทุกคันจะไม่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ หากแต่จะใช้มอเตอร์ไฟฟ้า รถในอนาคตก็จะไม่ต่างจากโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่เราใช้ มันมีออพชั่นคล้ายๆ กัน แค่ต่างแบรนด์ ต่างโปรแกรมเฉพาะ และ หน้าตารูปร่าง กันเท่านั้น
หลายคนคิดว่านั่นอาจจะเป็นวิธีที่เรามองโลกในแง่ร้ายเกินไป แต่ถ้ามองให้ดี ความพยายามในการสร้างอะไรร่วมกันของทุกแบรนด์ ทำให้รถยนต์สมัยใหม่ขาดตัวตนที่แท้จริงในเชิงวิศวกรรม
อะไรคือจิตวิญญาณที่แท้จริงของแบรนด์นั้นๆ วันนี้บางครั้งช่างดูจะเลือนรางเหลือเกิน จนรถบางรุ่น สามารถซื้อรถอีกยี่ห้อหนึ่งมาทดแทนอะไหล่ก็ได้ เพราะพวกมันเหมือนกันราวกับแกะ
รถสมัยใหม่ ดุท่าต้องการอะไรมากกว่าที่เป็นอยู่ในวันนี้การพัฒนาร่วมกันเป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งที่แตกต่างกัน คือความพยายามในการสร้างรถให้มีบุคคลิกแตกต่างกัน การเซทติ้งที่ต่างกันอาจจะทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่ามันแตกต่าง แต่ความแตกต่างจริงๆ ภายในคืออะไร บางครั้งก็เป็นคำถาม
ในเมื่อรถยนต์ใช้โครงสร้างเดียวกัน แคออกแบบให้ต่างกัน รับชิ้นส่วนจากผู้ผลิตเดียวกัน ที่มีการปรับค่าต่างกันนิดหน่อย ในแต่ละองค์ประกอบที่บริษัทรถยนต์ต้องการ จนกลายเป็นรถหนึ่งคัน ถามว่าจะให้มันแตกต่างกันมากราวกับเป็นรถคนละแบรนด์ ก็คงไม่ใช่เสียทีเดียว
ผมเชื่อ ที่บางคนว่ารถใหม่ไม่มีจิตวิญญาณอีกต่อไป ไม่เหมือนกับรถในอดีต ที่เราขับรถแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ มันดูแตกต่างกันอย่างชัดเจน รถแต่ละแบรนด์มีดี มีด้อยแตกต่างกันไป
หนทางการแก้ไขเรื่องนี้ ผมคงไม่สามารถไปมีส่วนร่วมได้ เนื่องจากเป็นเรื่องหลังบ้านของบริษัท แต่วันนี้เราก็ได้แต่นั่งอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ ว่า เมื่อถึงยุครถยนต์ไฟฟ้า ระบบขับอัตโนมัติ พวกเขาจะเป็นอย่างไร รถยนต์ในวันหน้าจะเป็นอย่างไร ถ้ายังขาดตัวตนตั้งแต่ในวันนี้
รถยนต์ในอนาคตมันจะเป็นเช่นไร เป็นคำถามที่ยากจะคาดเดา เมื่อในวันนี้จิตวิญญาณของแต่ละแบรนด์ ถูกผนวกเข้ากันด้วยคำว่า ความอยู่รอดทางธุรกิจ จนบางครั้งสิ่งที่แตกต่างกลายเป็นเพียง ชื่อที่ขนานนามต่างกัน แต่หาจิตวิญญาณที่แตกต่างอย่างแท้จริงไม่เจอ