Home » “ฟิล์มติดรถ” มันมีมากกว่าแค่… มืดเท่าไร
2017Honda-CRV-Diesel-more-Review003
Bust tuning ของแต่งน่าสน

“ฟิล์มติดรถ” มันมีมากกว่าแค่… มืดเท่าไร

ไม่รู้ว่าหน้านี้หน้าร้อน หรือมันหน้าฝนกันแน่ แต่ผมมั่นใจว่าทุกครั้งที่เราพูดถึงอากาศร้อน สำหรับการขับรถไปที่ต่างๆ อุปกรณ์กันร้อน “ฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์” ถือเป็นเครื่องมือคุ้มกันผิวพรรณปกป้องความอบอ้าวของเราหลายคน

น่าแปลกครับ เวลาเราพูดถึงฟิล์มติดรถยนต์ เราจะพูดและนึกถึงความดำของฟิล์ม เป็นเรื่องแรกๆ มากกว่า สิ่งอื่นใด ทั้งที่ความดำของฟิล์มเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการป้องกันความร้อน และวันนี้เราจะมาผ่าเรื่องราวฟิล์มติดรถยนต์ให้เข้าใจอย่างแท้จริง ก่อนที่คุณจะติดรถคันใหม่ หรือตัดสินใจเปลี่ยนฟิล์มรถคันเดิมที่ใช้อยู่ปัจจุบัน

ฟิล์มติดรถยนต์ในปัจจุบัน มีมากมายหลายประเภท แต่ในตลาดส่วนใหญ่ในเวลานี้ เหลืออยู่เพียง 2-3 ประเภทเท่านั้น เนื่องจากฟิล์มบางประเภทไม่ถูกกฎหมาย และบ้างได้รับการปรับปรุงพัฒนาจนมีศักยภาพดีขึ้น

ที่มาของการตัดสินใจว่า ฟิลืมที่ช้ควรจะดำเท่าไร มาจากการรับรู้ฟิลืมในยุคแรกเริ่มของวงการประดับยนต์ในบ้านเรา “ฟิล์มสี” ถือเป็นสินค้าแรกๆ ที่เข้ามาตอบโจทย์คนต้องการป้องกันความร้อนจากแสงแดด ฟิล์มสีไม่ได้มีคุณสมบัติในการกันความร้อน แต่อาศัยความทึบของสีในเนื้อฟิล์มในการบังแดด ช่วยลดความร้อนที่เข้าถึงเรา

ค่าความทับนี้ เราเรียกกันเป็นจำนวน  %   มีตั้งแต่ 20% ไปยันสูงสุด 80%  ฟิล์มแบบนี้พอจะเห็นได้ในช่วงยุค 90 และทำให้คนไทยจำนวนมากติกกับการเรียก “ฟิล์ม” ตามค่าความทึบแสนมากกว่าดูค่าอื่นๆ ประกอบ

ในยุคต่อมาเริ่มมีฟิล์มประเภทใหม่เกิดขึ้น โดยใส่สารโมเลกลุโลหะลงไปในเนื้อฟิล์ม เป็นที่นิยมมากในหมู่รถแต่ง เนื่องจากหน้าฟิล์มจะมีความเงาสะท้อนแดด ถูกเรียกว่า  “ฟิล์มโลหะ” แต่ก็ยังคงหลักการเดิมในการใช้ความทึบแสงช่วยลดความร้อนด้วย

รถญี่ปุ่น

ฟิล์มแบบนี้ภายหลังไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากค่าสะท้อนแสงมากทำให้รบกวนสายตาผู้ขับขี่ ถูกทางการประกาศว่าเป็นฟิลืมที่ไม่ถูกกฎหมาย เช่นเดียวกับฟิล์มดำที่มีค่าความทึบแสงร้อยละ 80 ทำให้ในตลาดฟิล์มกรองแสงบ้านเรา จึงต้องปรับตัว

การปรับปรุงใหม่ ทำให้  ฟิล์มกรองแสงปัจจุบัน (ทั่วไป) กลายเป็นฟิล์มลูกผสม กล่าวคือมีคุณสมบัติ ที่หลากหลาย ไม่ใช่เพียงทึบหรือสะท้อนแสงเหมือนแต่ก่อน และถ้ามีงบมากพอคุณอาจจะพิจารณาฟิล์มนาโน ที่มีคุณสมบัติปกป้องจากแสงและมีอายุการใช้งานยาวนาน 

รถในญี่ปุ่นถูกบังคับไม่ให้ติดฟิล์ม 3 บานหน้าทึบมาก เนื่องจากทัศนวิสัยในการขับขี่

ฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ทั่วไป ในวันนี้ จากแบรนด์ชั้นนทั้งหลาย ไม่ว่าจะ   Lamina, Vkool  หรือ  3M   ไม่ว่าคุณเลือกแบรนด์ไหนต่างเหมือนทั้งหมด จะมีค่าต่างที่สมควรต้องพิจารณากันดังต่อไปนี้

1.สีของฟิล์ม ไม่ค่อยมีใครใส่ใจเรื่องสีของฟิล์มมาก เนื่องจากทุกคนคิดว่าสีเข้มที่สุดอย่างสีดำ จะเป็นสีที่กันแดดที่ดีที่สุด ทั้งที่สีที่เข้มมากเกินไป โดยเฉพาะสีดำ จะเป็นปัญหาในการขับรถกลางคืน จนเราอาจจะมีปัญหาในเรื่องทัศนวิสัยบางจังหวะเช่นการถอยจอดรถ ในที่มือที่แคบ

สีฟิล์มจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ถ้าคุณเคยไปแวะร้านฟิล์มจะพบว่าฟิล์มดำจริงๆ ที่เราใช้ไม่ใข่สีดำอย่างที่เข้าใจ โดยมาก จะเป็นสีเทาเข้ม หรือ สีเทาชาโคล ซึ่งมันทำให้ทัศนวิสัยดีกว่าฟิล์มมืดแบบเดิมๆ

นอกจากนี้การเลือกสีฟิล์มสำหรับกระจกบานหน้าและหลัง ยังควรพิจารณาด้วยเนื่องจากเป็นกระจกบานใหญ่สำหรับการขับขี่ ถ้าใช้ฟิล์มมืดไปอาจทำให้การมองเวลากลางคืนมีปัญหา

2.การลดความร้อนจากแสง การลดความร้อนจากแสงอันนี้คล้ายกับฟิล์มสีสมัยก่อน คือการเลือกความทึบแสงที่ต้องการ ยิ่งทึบมากก็ยิ่งลดความร้อนมาก ตามไปด้วย เรื่องนี้หลายคนเข้าใจว่า ยิ่งมืดยิ่งดียิ่งหายร้อน เป็นความเข้าใจถูกส่วนหนึ่ง แต่อย่าลืมคำนึงเวลาคุณขับรถกลางคืนด้วยครับ

3.ค่าแสงส่องผ่าน ข้อนี้แหละสำคัญไม่แพ้ค่าความทึบแสง ค่าแสงส่องผ่านหมายถึงเวลาที่คุณจอดรถกลางแดดแล้วจะมีแสงเข้ามาเท่าไร นับเป็น%  ปกติแล้วฟิล์มยิ่งมืดค่าแสงส่องผ่านก็ยิ่งน้อยลงตามกันไปด้วย แสงส่องน้อยลงเป็นเรื่องดีในยามกลางวัน แต่ถ้าคุณเลี่ยงไม่ได้กับการขับรถกลางคืน หรือเวลาที่มีแสงน้อย เช่นยามเย็น หรืออยู่ในภาคใต้-ตะวันออกของประเทศ ที่มีฝนตกบ่อยครั้ง  ควรตรวจสอบคุณสมบัติฟิล์มว่ามี ค่าแสงส่องผ่านอย่างไรบ้าง

 

จากทั้ง 3 ค่าของคุณสมบัติฟิล์มรถยนต์พื้นฐานทั่วไป จะเห็นว่า ค่าความทึบแสง อาจมีประโยชน์เรื่องการลดความร้อนจากแสง แต่อย่าลืมว่าเราไม่ได้ขับรถท่ามกลางแสงแดดเพียงเวลาเดียว เรายังอาจจะต้องเจอฝนตกหรือ ขับรถกลางคืน ฟิลืมที่มืดเกินไปอาจจะเป็นอัตราต่อการขับขี่ได้มากกว่าที่เราคิด จึงสมควรจะเปลี่ยนมาใช้ฟิล์มดีมีคุณภาพ

ถ้าคุณยังอยากติดฟิล์มมืดเราแนะนำว่าควรลองศึกษาการใช้ฟิล์มกรองแสงผสม เช่นบานหน้ากับบานหลังใส บานข้างมีความเข้มพิเศษ จะช่วยให้ปกป้องจากแดดได้ดีและยังขับมั่นใจในยามทัศนวิสัยต่ำครับ

 

 

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.