กลายเป็นกระแสแรงส่งท้ายปี เมื่อสองค่ายรถยนต์ส่งรถนั่งขนาดเล็กรุ่นใหม่มาทำตลาด ชูโรงด้วยการวางหมากเป็นรถยนต์ที่มาพร้อมเครื่องยนต์เทอร์โบบล็อกเล็ก ลดการปล่อยไอเสีย และมีความประหยัดน้ำมันอย่างน่าสนใจ ในราคาที่ซื้อหาได้
มันไม่น่าแปลกใจนักที่หลายคน นำ Nissan Almera ใหม่ มาเปรียบเทียบกับ Honda City ด้วยทั้งคู่ต่างเข้าร่วมโครงการรถยนต์รักษาสิ่งแวดล้อม หรือ อีโค่คาร์ระยะที่ 2 ตลอดจน ยังมาพร้อมเครื่องยนต์ 1.0 ลิตร เทอร์โบชาร์จ พร้อมระบบเกียร์ CVT เหมือนกันอีกต่างหาก
หนึ่งเป็นค่ายเก๋าเกมเรื่องอีโค่คาร์ ผู้นำในตลาดนี้มายาวนาน อีกหนึ่งเป็นซิตี้คาร์ที่มาพร้อมตั๋วเด็กออพชั่นแน่น ราคาย่อมเยาว์กว่าเดิม วันนี้เราจะมาสำรวจพร้อมกัน
ก่อนจะเริ่มบรรเลงการเปรียบเทียบในบทความต่อไปนี้ ผมอยากจะทำความตกลงกับผู้อ่านทุกท่าน ให้เข้าใจตรงกันก่อนในบางประการ
อันดับแรก ผมตัดสินให้ Honda City RS ใหม่ ตกรอบไป เนื่องจากมันเป็นรุ่นตกแต่งพิเศษเน้นความสปอร์ต หรือว่าง่ายๆ เป็นตัวแต่งเสร็จจบมาจากโรงงาน ลูกค้าจะซื้อหรือไม่ คงจะต้องแล้วแต่ความชอบของแต่ละคน ส่วน Nissan Almera เราจัดการตัดรุ่นล่างสุด 499,000 บาท ออกไป แม้ว่าจะได้ราคาถูก แต่ความจริง คือไม่น่าจะมีใครซื้อมันนัก เนื่องจากเป็นรถไร้ออพชั่น เราจึงขอมองความจริงเริ่มที่รุ่น E ขึ้นมา
ข้อต่อมา การตัดสินเปรียบเทียบนี้อยู่ภายใต้ พื้นฐานรายละเอียดทางเทคนิค และข้อสังเกตบางประการที่พบได้จากงานเปิดตัว หลังจากได้เห็นและสัมผัสรถทั้ง 2 รุ่น ไม่ได้เป็นการเปรียบเทียบหลังลองขับ หรือ Test Drive ข้อมูลรถมาจาก Ecosticker และ ข้อมูลจากโบว์ชัวร์ของรถทั้ง 2 รุ่น
เทียบขนาดและการวิศวกรรมพื้นฐาน
ก่อนจะเริ่มการเปรียบเทียบท้ง 2 รุ่น ผมขอเริ่มจากการร่ายมนต์ พิธีกรรมด้วยการนำรายละเอียดทางเทคนิคในเบื้องต้นทั้งหมดมากางให้ดูกันก่อน
Nissan Almera 1.0 Turbo Honda City 1.0 Turbo รายงานความแตกต่าง ความยาว (มม.) 4,495 4,553 City(+58มม.) ความกว้าง (มม.) 1,740 1,748 City(+8มม.) ความสูง (มม.) 1,460 1,467 City(+7มม.) ระยะฐานล้อ (มม.) 2,620 2,589 Almera ยาวกว่า(+31 มม.) ความสูงจากพื้นถึงใต้ท้องรถ (มม.) 135 135 น้ำหนักเปล่าตัวรถ 1,076 (VL) 1,154(SV) Almera เบากว่า(-78 กก.)
งานนี้เริ่มด้วยขนาดตัวรถ จะพบว่า Honda City ใหม่ ชนะในทุกมิติตัวถัง ทั้งความยาว ความกว้าง และความสูง แต่น่าสังเกตว่า ระยะฐานล้อของ Nissan Almera วิศวกรรมมาให้มีความยาว เพื่อลดระยะยื่น หรือ Over Hang ช่วยเพิ่มความคล่องตัวในระหว่างการขับขี่ในเมือง หรือ จังหวะจะต้องมุด ก็น่าจะทำได้ง่ายควบคุมเป็นไปดั่งใจกว่า เนื่องจากมีช่วงยาวจากตัวล้อไปถึงทางหน้า หรือหลัง สั้นกว่าพอสมควร
ในแง่การออกแบบ ทั้งสองรุ่นก็ต่างกันอย่างชัดเจน ด้วยแนวคิดการออกแบบไปคนละทาง
นิสสัน เห็นหน้าค่าตา รถเปิดมา บอกได้คำเดียวว่า สปอร์ตถูกใจวัยรุ่น มากๆ เส้นสายงานออกแบบ ไม่ขี้เหร่ อีกต่อไป มันดีพอราวกับนิสสันไล่ทีมออกแบบเดิมไป แล้ว คิดตั้งต้นว่า “เอาใหม่เว้ย” จนเรียกว่า พลิกความคาดหมาย จนหลายคนยังว้าวอยู่มาจนถึงวันนี้
ทางด้านฝั่ง ฮอนด้า ซิตี้ ใช่ว่าจะน้อยหน้า ซิตี้ เกิดขึ้นมาถึง 4 เจนเนอร์เรชั่นแล้ว ถ้าไม่นับรุ่นที่ขายในญี่ปุ่นแบบ 5 ประตุ แล้ว แถมมอเตอร์ไซค์คันจิ๋วมาด้วย
ตัวรถเกิดภายใต้ความคิดเป็นรถที่ทุกคนสามารถมีครอบครองได้ และพัมนาส่งต่อคุณค่ามาเรื่อย จากรุ่นสู่รุ่น รุ่นนี้จึงพยายามพัฒนามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การออกแบบเลยยังคงมาในโทนกลางๆ ดูหรูพรีเมียม ไม่ใช่รถซิตี้คาร์เน้นเส้นสายลายสปอร์ตนัก มันให้รายละเอียดน่าสนใจบางประการให้มาทุกรุ่นย่อย อาทิ
- โคมไฟหน้าโปรเจคเตอร์
- ไฟ Day Time Running Light
- ไฟท้าย LED
- คลีบฉลาม
ทั้งหมดนี้แสดงถึงการวางตัวเองให้สูงกว่า รถจากค่ายนิสสัน มีออพชั่นให้เลือกครบจบมากกว่า ถ้าต้องการ แต่การออกแบบก็ต้องแล้วแต่คนชอบ
ห้องโดยสาร
ภายในห้องโดยสาร นิสสันเริ่มต้นด้วยภายใน สีดำ ตบแต่งสีเงิน 2 รุ่นล่าง (E- EL) ให้วิทยุรองรับการเชื่อมต่อมาด้วย ออพชั่นที่จะเริ่มสูสีกับ Honda City จะเริ่มในตัว EL ไม่ว่า จะรีโมทกุญแจอัจฉริยะ ให้ปุ่มสตาร์ท เบาะนั่งผ้า ตบแต่งขอบสีเทา ให้เรือนไมล์เรืองแสง พวงมาลัยสปอร์ตมัลติฟังชั่น แต่ให้ระบบอากาศมาตรฐาน
ทางด้านซิตี้ เริ่มต้น ก็มีทุกอย่างมาให้ครบ ราคา จึงพุ่งมาอยู่เท่าตัว EL ทันที ยังให้เรือนไมล์เรืองแสงแบบเข็ม ปุ่มสตาร์ท เครื่องเสียงวิทยุ รวมถึงให้ระบบปรับอากาศอัตโนมัติ พร้อมจอ MID
อย่างไรก็ดี พอมาดูในรุ่นท๊อป ทั้ง SV และ VL เราจะพบว่า มันให้เครื่องเสียงจอสัมผัส 8 นิ้ว มาด้วย แต่ใน อัลเมร่า VL ให้ ลำโพงมากถึง 6 จุด เรือนไมล์เปลี่ยนใหม่ แสดงผลคล้ายใน Nissan LEAF และให้ระบบปรับอากาศอัตโนมัติมาด้วย การออกแบบภายในเล่นสีทูโทน หนังสังเคราะห์สีเทา มีปุ่มควบคุมหน้าจอ TFT
ส่วนในซิตี้ ไม่ได้ให้อะไรมากมายนัก ยกเว้นว่า คุณจะโดดไปซื้อ RS ที่แพงกว่า แสนบาท แต่งสปอร์ต จะได้อีกหลายรายการ ซึ่งเราได้ตัดออกไปตามเงื่อนไขของการเปรียบเทียบครั้งนี้
ถึงแม้ตามสเป็คจะดูไม่มีอะไรต่างกัน แต่จากที่สัมผัสจับรถ Honda City ใหม่ มีความกว้างขวางนั่งสบายมากกว่า Nissan Almera ใหม่ พอสมควร ท่านั่งผู้โดยสารตอนหลัง มีพื้นที่กว้างกว่า เพียงแค่ท่านั่งชันหลังกว่า ขณะที่คู่แข่งให้ความสบายในการโดยสารมากกว่า
เครื่องยนต์เป็นไง
ทางด้านเครื่องยนต์กลไก ผมเชื่อว่าหลายคน คงอ่านสเป็คกันไปแล้ว น่าจะพบว่า รถทั้งสอง หันมาใช้เครื่องยนต์เบนซินเทอร์โบขนาด 1.0 ลิตร แบบสามสูบ สี่วาล์ว พกระบบเกียร์ CVT มาเป็นคู่หูตอบตลาดเหมือนๆ กัน
ถึงแม้ผิวเผินๆ จะเหมือนกัน เมื่อผ่าสเป็คเข้าไปในเครื่องยนต์ จะพบว่า ขนาดปริมาตรจริงของ นิสสัน มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย 999 ซีซี เทียบกับ 988 ซีซีในฮอนด้าซิตี้ แต่ในเรื่องกำลังกลับกลายเป็น Honda City สามารถทำกำลังมากกว่า ถึง 122 แรงม้า และให้แรงบิดมากกว่า 173 นิวตันเมตร รอบการทำงานก็มาต่ำกว่า 400 รอบต่อนาที แถมประหยัดกว่า และปล่อยไอเสียต่ำกว่าของ Nissan Almera เสียอีก
นอกจากนี้ เมื่อมองความเป็นจริงในการใช้รถในเมือง จากข้อมูล Eco Sticker บ่งชี้ว่า Honda City ทำอัตราประหยัดในเมืองดีกว่า ถึง 4.6 ลิตร /100 ก.ม. จากการทดสอบของภาครัฐ มันดีกว่า Nissan Almera ที่ทำได้เพียง 5.0 ลิตร /100 ก.ม.
Nissan Almera 1.0 Turbo | Honda City 1.0 Turbo | รายงานความแตกต่าง | |
รูปแบบ | 3 สูบ 12 วาล์ว พร้อมระบบเทอร์โบชาร์จ | 3 สูบ 12 วาล์ว พร้อมระบบเทอร์โบชาร์จ | |
ขนาด (ปริมาตรจริง) | 1.0 ลิตร (999ซีซี) | 1.0 ลิตร (988ซีซี) | |
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกระบอกสูบ (มม.) | 72.2 | 73.0 | |
ช่วงชัก (มม.) | 81.3 | 78.7 | |
กำลังอัดต่อสูบ | 9.5 : 1 | 10.0 : 1 | |
กำลังเครื่องยนต์สูงสุด | 100 แรงม้า ที่ 5,000 รอบต่อนาที | 122 แรงม้า ที่ 5,500 รอบต่อนาที | City มากกว่า 22 แรงม้า |
กำลังแรงบิดสูงสุด | 152 นิวตันเมตร ที่ 2,400-4,000 รอบต่อนาที | 173 นิวตันเมตร ที่ 2,000-4,500 รอบต่อนาที | ซิตี้ มีแรงบิดมากกว่า 21 นิวตันเมตร |
ระบบเกียร์ | CVT | CVT | |
อัตราทดเกียร์ | 4.0062-0.4580 | 2.544-0.402 | |
อัตราทดเฟืองท้าย | 3.92 | 4.992 | |
อัตรากำลังต่อน้ำหนัก (Power to weight Ratio) | 10.76 กก./แรงม้า | 9.38 กก./แรงม้า | อัตราแบกน้ำหนัก ซิตี้ดีกว่า |
ระบบหยุดการทำงานของเครื่องยนต์ชั่วคราว | มี | มี | |
การรองรับพลังงานทางเลือก | E20 | E20 | |
อัตราประหยัดน้ำมัน เฉลี่ย(ก.ม./ลิตร) | 23.3 | 23.8 | ซิตี้ประหยัดกว่า |
ค่าใช้จ่ายพลังงานต่อเดือน จาก Ecosticker | 2,980 บาท | 2,911 บาท | ค่าใช้จ่ายน้ำมันต่อเดือน ซิตี้ถูกว่า |
การปล่อยไอเสีย | 100 กรัม /กิโลเมตร | 99 กรัม/กิโลเมตร | ซิตี้ปล่อยไอเสียน้อยกว่า |
อีโค่คาร์เฟส 2 | ใช่ | ใช่ |
ดังนั้น หากกล่าว โดยสรุป จากภาพรวมในเรื่องการวิศวกรรมเครื่องยนต์ของ ขุมพลังทั้ง 2 รุ่น เราจะเห็นชัดว่า Honda City มีภาษีในเรื่องมากกว่าในหลายเรื่อง แต่ก็ใช่ว่าของนิสสัน จะขี้เหร่เสียทีเดียวในความเป็นจริง มันยังให้ความประหยัด และมีกำลังเครื่องยนต์เป็นที่น่าพอใจใช่น้อย
อย่างไรก็ดี ถ้าเรานำ ราคารถทั้ง 2 รุ่นมาจัดระเบียบ วางให้มีช่วงราคาใกล้กัน จะพบว่า Honda City มีราคาแพงกว่า Nissan Almera ทุกรุ่น เมื่อเทียบระหว่างรุ่น ที่มีออพชั่นเหมือนกัน แต่ไม่ใช่กระโดดข้ามไปมากนัก
ตารางทียบราคาระหว่างรุ่น
Nissan Almera 509,000 บาท (E) 559,000 บาท (EL) 599,000 บาท (V) 639,000 บาท (VL) Honda City 579,500 บาท (S) 609,000 บาท (V) 665,000 บาท (SV) ความแตกต่างช่วงราคา 20,500 บาท 10,000 บาท 26,000 บาท
ฮอนด้าได้ตั้งราคามาแพงกว่า เพียง 10,000- 26,000 บาท เท่านั้น ในรุ่นปกติทั่วไป ที่ไม่ใช่ในรุ่นแต่งพิเศษ RS ตามที่เราวางเงื่อนไขไว้ในบทความนี้ จะเห็นได้จากราคาข้างต้น
เมื่อซอยย่อยลงไป ตามแต่ละทั้ง 3 รุ่น นิสสัน อัลเมร่า จะเด่นกว่าทันทีในรุ่น V และ VL ให้ไฟหน้า LED มาด้วย ขณะที่ Honda City ต้องซื้อ RS
เช่นเดียวกันในห้องโดยสาร การให้เรือนไมล์ TFT ก็ดูมีคุณค่ามากกว่า ไมล์เรืองแสงแบบเดิม ตลอดจนเครื่องเสียง Nissan Connect ตลอดจนลำโพงในห้องโดยสารมากกว่า 2 ตัว ก็นับว่ามากกว่า ซิตี้ อยู่ไม่น้อย
ความปลอดภัย วัดกัน
อย่างไรก็ดี, ถ้ามาวัดเรื่องการให้ระบบความปลอดภัย รถทั้ง 2 รุ่นให้ระบบความปลอดภัยครบเครื่องในระดับพื้นฐาน ,ระบบควบคุมการทรงตัว, ระบบป้องกันการลื่นไถล, ระบบเบรกป้องกันล้อล็อค, ระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน
แต่ทางนิสสัน กลับยัดของไฮโซ อย่างระบบเตือนและเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติทางด้านหน้ามาให้ สามารถหาซือได้ถ้าจับรถตั้งแต่รุ่น EL และรุ่น V เพิ่มระบบ กล้องมอง 360 องศา และตรวจจับรอบคัน ส่วนรุ่นท๊อป เพิ่มระบบเตือนมุมอับสายตาและ เตือนขณะถอยออกช่องจอดรถด้วย
ส่วนฮอนด้า เหมือนจะไปมุ่งเน้นในเรื่องความปลอดภัย ให้ถุงลมนิรภัย 4 จุด ตั้งแต่รุ่นเริ่มต้น และ ระบบ สัญญาณไฟฉุกเฉินเมื่อเบรกกระทันหัน ไม่มีระบบความปลอดภัยจาก Package Honda sensing ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะขนาด Honda Civic ยังมีแค่ในรุ่น RS เท่านั้น
Nissan Almera 1.0 Honda City 1.0 หมายเหตุข้อมูล ระบบควบคุมการทรงตัว มี มี มีเป็นมาตรฐานในทุกรุ่นย่อย ระบบเบรกป้องกันล้อล็อค และกระจายแรงเบรก มี มี มีเป็นมาตรฐานในทุกรุ่นย่อย ระบบเสริมแรงแรงเบรก มี มี มีเป็นมาตรฐานในทุกรุ่นย่อย ระบบช่วยออกตัวทางลาดชัน มี มี มีเป็นมาตรฐานในทุกรุ่นย่อย สัญญาณไฟฉุกเฉินเมื่อเบรกกระทันหัน – มี มีเฉพาะ City ระบบเตือนการชนทางด้านหน้า มี – ติดตั้งให้ตั้งแต่รุ่น EL ระบบช่วยเบรกฉุกเฉิน ตรวจจับได้ทั้งคน และรถยนต์ มี – ติดตั้งให้ตั้งแต่รุ่น EL กล้องมอง 360 องศา และตรวจจับวัตถุรอบคัน มี – ติดตั้งให้ตั้งแต่รุ่น V กล้องมองหลัง พร้อมปรับได้ 3 ระดับ – มี ระบบเตือนมุมอับสายตา มี – ติดตั้งให้ในรุ่น VL ระบบเตือนวัตถุทางด้านหลังขณะถอย มี – ติดตั้งให้ในรุ่น VL ถุงลมนิรภัยคู่หน้า มี มี มาตรฐานทุกรุ่นย่อย ถุงลมนิรภัยข้างคู่หน้า มี มี City มาตรฐานทุกรุ่นย่อย Almera ติดตั้งเฉพาะใน VL ม่านนิรภัยข้าง มี มี ติดตั้งเฉพาะในรุ่นท๊อปออพชั่นของรถทั้ง 2 รุ่น
สรุป Nissan Almera – Honda City ใครคุ้มกว่ากัน
มาถึงตรงนี้ เราจะเห็นได้ว่า Honda City ใหม่ และ Nissan Almera ต่างตอบโจทย์เหมือนกันในเรื่องความเพียงพอต่อการใช้งาน และเครื่องยนต์สมรรถนะดี ทั้งในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม ความประหยัด ตลอดจน มีความมั่นใจในสมรรถนะการขับขี่
ฮอนด้า ให้ความโดดเด่นในเรื่องสมรรถนะจากเครื่องยนต์ที่มีมากกว่าหลายๆด้าน และพื้นที่โดยสาร และการใช้สอย กลับกัน นิสสันก็ยื่นหัวหอกความปลอดภัยเข้ามาเป็นสิ่งที่ยากจะกินกันลง
ถ้ามองแบบกลางๆ นิสสัน อัลเมร่า จะมีภาษีเรื่องความปลอดภัยมากกว่า ตั้งแต่รุ่น EL ขึ้นมาและรุ่น VL อาจพูดได้ว่า มีดีกว่าคู่แข่ง กลับกัน ซิตี้ ให้ภาพความน่าใช้งานครบเครื่องฟังชั่นมาก แต่ดีกว่าตรงมีความสปอร์ตให้เลือกในรุ่น RS แม้ว่าเราจะไม่กล่าวถึงในบทความนี้ก็ตามที
สำหรับใครที่สนใจรถยนต์ทั้งสองรุ่น ก็ต้องยอมรับว่า ทั้งคู่ต่างมีดีในแบบที่ทางผู้ผลิตต้องการนำเสนอ ถ้าให้สรุป
ต้องการภาพลักษณ์ดี สมรรถนะเยี่ยมและเหนือชั้นให้เลือก Honda แต่กลับกัน ถ้าคุณต้องการ ความปลอดภัย การขับขี่ดีในระดับน่าพอใจ Nissan ก็ไม่ย่อหย่อนกว่าคู่แข่ง