Kia AD

Home » ซื้อขายใบจองรถ … ทำได้ หรือ อนุโลม

Kia AD

สาระเรื่องซื้อรถ เคล็ดลับเรื่องรถ

ซื้อขายใบจองรถ … ทำได้ หรือ อนุโลม

ทุกครั้งที่รถรุ่นใดก็ตามเป็นที่ต้องการของตลาด ปรากฏการณ์ ซื้อขายใบจองรถยนต์ จะโผล่ขึ้นมาให้เห็นบนสังคมไทยเสมอ นเหตุการณ์เชฟลดราคาล่าสุดในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ก็ปรากฏเรื่องราวทำนองเดียวกัน กลายเป็นช่องทางทำมาหากินของคนหัวใส หวังเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส

การซื้อขายใบจองรถยนต์ ไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงสังคมไทยย หรือเหตุการณ์นี้เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ย้อนไปในอดีตสมัย  Honda Civic  3 ประตู มาจนถึงยุครถยนต์คันแรก Suzuki  Swift   อีโค่คาร์ที่มีคนต้องการมากที่สุด ก็เกิดเรื่องทำนองนี้มาแล้ว จนกลายเป็นเรื่องชินชาในสังคมไทย ว่ารถอะไรที่น่าจะมีคนต้องการ ก็ย่อมจะมีคนกลุ่มหนึ่งใช้สิทธิจองซื้อรถ ทั้งที่ไม่ได้อยากได้รถคันนั้น แต่หวังว่าสิทธิที่พวกเขาใช้ไปลงชื่อไว้ จะมีค่าเป็นเงินกับคนที่อยากได้ รถรุ่นนั้นจริงๆ

หนนี้เชฟโรเล็ตลดราคาก็มีเหตุการณ์เดียวกัน ใบจอง   Chevrolet Captiva   รุ่น  LS   ที่มีราคา 499,000 บาท ถูกพ่อค้าหัสวใส นำปล่อยราคาหวังกำไรเกินตัว 35,000 บาท และสูงสุด 100,000 บาท อาศัย ข้อเท็จจริงว่า รถราคาจริงรุ่นนี้อยู่ที่ 999,000 บาท  และมีผู้ต้องการรถคันนี้จำนวนมาก เนื่องจากมีราคาถูกเทียบเท่ารถอีโค่คาร์

หลายคนอาจจะสงสัยว่า การซื้อขายใบจอง สามารถทำได้จริงหรือ การเปลี่ยนมือ ซื้อขายใบจองรถยนต์ ถือว่าผิดสัญญาหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อ คนอยากซื้อไม่มีโอกาส คนมีโอกาส กลับไม่ใช่คนที่ต้องการรถคันนั้นจริงๆ

ว่ากันตามหลักใบจองซื้อรถยนต์ ปกติแล้ว ใบจองซื้อรถยนต์ เรียกสั้นๆ แล้วกันครับ ว่า “ใบจอง” จะถูกทำขึ้นมาเมื่อ ผู้ซื้อตัดสินใจตกลงแล้วว่า จะซื้อรถยนต์รุ่นที่เขาต้องการ พนักงานขายหรือ “เซลล์” จะมีหน้าที่ออกใบจองให้กับเรา เพื่อระบุเงื่อนไขการขายที่ตนได้ตกลงกับลูกค้า

ในใบจอง หลักๆ จึงประกอบไปด้วย ชื่อผู้ซื้อ , รุ่นรถที่เราซื้อ , รายละเอียดรถที่เราซื้อ เช่น สี – รุ่น ,รายการของแถม – โปรโมชั่นที่ได้มีการตกลงกัน ที่เหลือจะเป็นรายละเอียดค่าใช่จ่าย และการจองนั่นเอง

ซื้อขายใบจองรถ

การจองรถ ก็เหมือนกับการมัดจำ ว่า เราจะซื้อรถกับเขาจริงๆ และมีความประสงจะซื้อรถรุ่นนี้ ดีลเลอร์และบริษัทรถยนต์บางยี่ห้อ ถือว่า ใบจองเปรียบเสมือนประหนึ่งใบสั่งสินค้า  เมื่อมีความต้องการ บริษัทก็มีหน้าที่สนอง รถหรู้หลายยี่ห้อ นำใบจองเข้าสู่ระบบเพื่อต่อไปยังโรงงานประกอบรถยนต์สั่งผลิตในเบื้องต้น เมื่อไฟแนนซ์ผ่านและเรียบร้อย จะมีกระบวนการจับคู่รถตามรายละเอียดการจองกับชื่อของเรา และรู้ว่า รถจะมาถึงที่ตัวแทนจำหน่ายเมื่อไร เรียกว่า ใบจอง สำหรับบางบริษัท ไม่ใช่การวางมัดจำก็ว่าได้

กระบวนการซื้อขายใบจอง จึงเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขเช่นนี้ คนจองสิทธิมีสิทธิจะได้ครอบครองรถ และ มีคนจำนวนมากต้องการรถยนต์รุ่นนั้น  เช่น ผลิตไม่ทัน มีจำนวนจำกัด หรือ อาจจะมีเหตุอื่นๆ ทำให้รถออกสู่ตลาดไม่ได้ ทั้งที่มีความต้องการจากลูกค้า

มันไม่แปลกตามหลักเศรษฐศาสตร์ เมื่อมีคนต้องการ  ก็ย่อมจะมีคนสนอง ธุรกิจซื้อขายใบจอง จึงเกิดขึ้นในประเทศไทย และมีมาทุกยุคทุกสมัยจนชินชา

ในแง่มุมหนึ่ง ด้วยใบจองเปรียบดั่งใบสั่งสินค้า ทางผู้ขายและบริษัทตัวแทนจำหน่ายก็หวังว่าทุกใบจองคือผู้ซื้อตัวจริง การขายใบจองอยู่รอดได้ในวงสังคมด้วยเหตุว่า เซลล์ผู้ขายก็ไม่อยากเสียลูกค้า เสียยอดของตัวเอง บริษัทตัวแทนจำหน่ายก็เช่นกัน ซ้ำร้ายบางกรณีรถสั่งมาแล้ว หรืออาจจะอยู่ในกระบวนการขนส่ง ถ้ายกเลิกสินค้าก็จะมีความยุ่งยากทางด้านกระบวนการอื่นๆ ยิบย่อยอีกมากมาย ดีไม่ดี โดนนายด่าเข้าให้อีก

การเปลี่ยนใบจองจึงง่ายที่สุด เพราะยังไงเสียก็มีคนรับรถรับช่วงต่อ ไม่เสียยอด ขายได้ ตัวเองไม่เจ็บตัว นับเป็นกลยุทธ์แยบยล วิธีการซิกแซกที่ดีที่สุด ส่วนจะผิดเงื่อนไขหรือไม่ ขึ้นอยุ่กับดุลยพินิจ ของผู้จัดการเซลล์เสียโดยส่วนใหญ่

กลับมาทางมุมผู้ซื้อ อยากได้รถซื้อใบจองดีไหม เป็นคำถามยอดฮิตในภาวะแบบนี้

ประเด็นแรก การซื้อใบจอง เท่ากับคุณต้องเสียเงินเสียรู้กับผู้ขายมากกว่าได้ประโยชน์ สิทธิในใบจองยังเป็นของผู้ที่มีชื่ออยู่ในใบจอง จนกว่าจะมีการแจ้งต่อเซลล์ ว่าจะขอมีการเปลี่ยนแปลงใบจอง แม้เขาจะขายให้คุณไป ก็ไม่ได้หมายความว่าสิทธิเป็นของคุณในทันที จนกว่าจะมีการยืนยันการเปลี่ยนแปลงกับพนักงานขายเกิดขึ้น ก็เหมือนกับคุณเสียเงินซื้อความเชื่อว่าจะมีโอกาสซื้อนั่นแหละ

ข้อต่อมา คุณอาจเสียเงินเปล่าฟรี เพราะหลายตัวแทนจำหน่ายหลายเจ้าก็พยายามป้องปรามการซื้อ-ขายใบจอง เพื่อไม่ให้สับสนกับการทำงานธุรการด้วย การดัดหลังธุรกิจขายใบจองมีมาสักระยะแล้ว ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าสามารถเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิกับตัวแทนจำหน่ายได้จริงหรือไม่  นโยบายแต่ละตัวแทนจำหน่ายไม่เหมือนกัน

เช่นในกรณี ล่าสุด เชฟโรเล็ต พระนคร บางแค ออกมาเปิดเผย ทางผู้จัดการแจ้งว่า ให้ปล่อยรถกับผู้ที่มีชื่อตรงกับใบจองเท่านั้น ถ้าไม่ตรงตัดสิทธิการซื้อทันที  เพราะมีผู้สนใจลงชื่อเกินกว่าจำนวนรถมาก

หรือยกตัวอย่างกรณ๊ให้จองซื้อ  Suzuki Jimny จากทาง  Suzuki   ประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว ก็มีการระบุชัดว่า ผู้จองสิทธิจะต้องเป็นผู้ซื้อจริงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชื่อการจองได้

ซื้อขายใบจองรถ

แบบนี้ ถ้าคุณซื้อใบจอง อาจตกเป็นเหยื่อเสียเงินฟรี ด้วยความหวังลมๆ แล้งๆ และการซื้อขายใบจอง ส่วนมากจะเป็นการซื้อขายปกติ ไม่มีสัญญาทางกฎหมายใด อีกด้วย ต้องระวัง!!! ให้มาก อาจตกเป็นเหยื่อ

ท้ายสุดเงื่อนไขไม่เหมือนกัน , ตามที่ผมได้บอกไปว่า ใบจองมีการระบุเงื่อนไขที่ชัดเจนในการซื้อ เช่น ซื้อสด / ผ่อน หรือ มีของแถมรายการใดบ้างที่ตกลงไว้กับเซลล์ รวมถึง สีรถ ซึ่งบางอย่าง โดยเฉพาะข้อตกลงเบื้องต้นอาจไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หรือ จะเปลี่ยนได้ก็ต้องใช้เวลานานกว่า บางโชว์รูมอาจต้องถึงขั้นเจรจากับผู้จัดการทางการขาย -ผู้จัดการโชว์รูมก็มี เนื่องจากผู้ซื้อคนละคนไม่เหมือนเดิม ก็นับว่ามีความเสี่ยงไม่น้อย

จากทั้ง 3 ข้อ จะเห็นได้ว่า การซื้อใบจองต่อมาอีกทอดหวังสิทธิที่จะได้ในรถที่คนกำลังพยายามไขว่คว้า เป็นสิ่งที่มีความสุ่มเสี่ยงไม่น้อย ทั้ง เสี่ยงต่อการโดนหลอกว่าจะได้สิทธิ์แล้วไม่ได้ รวมถึงอาจมีกระบวนการยุ่งยากกับข้อตกลงการซื้อขาย และบางอย่างอาจไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ อาทิ สีและรุ่น ตามใบจอง

สุดท้ายนี้ ใครที่จะซื้อใบจอง ไม่ว่าจะในกรณี เชฟโรเล็ตลดราคา ครั้งนี้ หรือต่อไปในอนาคต สมควรจะต้องระวังให้มาก ทางที่ดี เป็นไปได้ อย่าซื้อ!!

เดี๋ยวนี้การติดต่อสื่อสารง่าย น้องๆ เซลล์ ก็พร้อมจองรถเสมอ พวกเขาอยากมียอด เดี๋ยวนี้คุยแชทตกลงโอนจอง ส่งหลักฐานรับจองให้ก็มีเยอะแยะ เรารู้การหารถหนึ่งที่ต้องการมันยากและต้องใช้เวลา แต่การตัดสินใจบางอย่างเช่นซื้อใบจอง ก็อาจจะทำให้คุณเสียเงินฟรีๆ

ถ้าเป็นไปได้พยายามสักหน่อยตามหารถเอง แม้เสียเวลา แต่ได้เงื่อนไขตามต้องการ น่าจะดีกว่าครับ

 

 

 



แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.