Home » จาก เครื่อง 1200 สู่ไฮบริด เกมใหม่ อีโค่คาร์ ที่ต้อง ติดตามตอนต่อไป
Blog Buster บทความ

จาก เครื่อง 1200 สู่ไฮบริด เกมใหม่ อีโค่คาร์ ที่ต้อง ติดตามตอนต่อไป

ในช่วง 10 ปีทีผ่านมา “อีโค่คาร์” รถยนต์นั่งขนาดเล็ก ประหยัดพลังงาน เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปจำนวนมาก ด้วยราคาที่ซื้อหาง่าย จับจองง่าย เหมาะกับ คนต้องการมีรถคันแรก

สิ่งหนึ่งที่รถกลุ้มนี้มีเหมือนกัน คือ การมอบ เครื่องยนต์เบนซิน 1.2 ลิตร มาเป็นต้นกำลัง แม้กำลังวังชาจะไม่มากมาย อย่างที่หลายคนคิดเท่าไรนัก หากก็พอต่อการใช้งานทั่วไป เน้น ปล่อยไอเสียน้อย ประหยัดน้ำมัน บำรุงรักษาง่าย กลายเป็นขวัญใจคนรุ่นใหม่ หลังจากการมา ของซิตี้คาร์

ยุคสมัยที่เปลี่ยน ทำให้ ภาครัฐบาล มีนโยบายใหม่ในการเปลี่ยนวิธีกระบวนการจัดเก็บภาษี จากการปล่อยไอเสียของเครื่องยนต์ หรือ ภาษี Co2 ทำให้อีโค่คาร์ ในฐานะรถยนต์สันดาป ปล่อยไอเสียน้อย เริ่มเผชิญ ชะตากรรมในแบบเดียวกับ รถสันดาป อื่นๆ ในการเสียภาษีสรรพสามิต สูงขึ้น

ในปัจจุบัน ตามข้อมูลจาก Eco Sticker รถยนต์อีโค่คาร์ เครื่องยนต์ 1.2 ลิตร อาทิ Toyota Yaris และ Toyota Yaris Ativ จะเสียภาษีสรรสามิตถึง 12% ไม่เว้น กระทั่งก๊วน 1000 เทอร์โบ ก็อยู่ในพิกัดเดียวกัน อัตราดังกล่าวจะถูกลง เมื่อเป็นระบบขับเคลื่อนไฮบริดที่ปล่อยไอเสีย น้อยกว่า 100 กรัม / กิโลเมตร แต่ด้วยราคาเทคโนโลยี ก็เลย ทำให้แม้ภาษีตะถูกลง แต่ตัวรถ กลับมีราคาแพงขึ้น อย่างชัดเจน

ด้วยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้หลายคนสนใจว่า เครื่องยนต์ 1.2 ลิตร จะไปต่อ หรือให้ มันจบที่รุ่นนี้กันแน่

เพราะ หลายบริษัท ก็รอ ฟังคำตอบชัดๆ จาก รัฐบาลใหม่ที่อยู่ในระหว่างสุญญากาศ ทางการเมืองในเวลานี้ว่า โครงการอีโค่คาร์ ที่เดินหน้า มาถึงเฟสสอง จะจบลงหรือไม่ หลังจาก อยู่มานานกว่าทศวรรษ นับตั้งแต่เปิดตัวรถรุ่นแรกอย่าง Nissan March ในปี 2010

ท่าที่ที่เปลี่ยนไปของ การเข้มงวดทางด้าานการปล่อยไอเสีย ประจวบกับ ความตระหนักทางด้านสิ่งแวดล้อม ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในไทย อาจะทำให้ เครื่องยนต์ 1.2 ลิตร มาถึง วาระ สุดท้าย แม้ว่าในวันนี้จะยังมี รถหลายรุ่นใช้ เครื่องยนต์บล็อกนี้อยู่ แต่อีกนานแค่ไหน ก็ยังยากจะคาดเดา

อันที่จริง ในหลายบริษัทผู้ผลิต รถยนต์ เริ่มมีการขยับเลิกใช้เครื่องยนต์ขนาดเล็กมาก มาสู่เครื่องยนต์ขนาดกลาง เพื่อเหมาะสมกับความจริงในการใช้งาน ไม่ใช่เพียงตัวเลขในการทดสอบเท่านั้นบ้างแล้ว

ยกตัวอย่างเช่น มาสด้า มีการปรับยกเลิก เครื่องยนต์เบนซิน 1.3 ลิตร ที่ยังคงใช้ในบ้านเรา ในรถมาสด้า 2 ที่ประเทศญี่ปุ่น แล้วแทนที่ด้วยเครื่องยนต์ Mazda Sky Activ G 1.5 ลิตร ที่มีขนาดใหญ่กว่า แต่ปล่อยไอเสียเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย และให้การขับขี่ที่สนุกสนานกับผู้ใช้

Mazda2 (3)

เช่นเดียวกับ รอบบ้านประเทศไทย ฮอนด้า ใช้เครื่องยนต์ เบนซิน 1.5 ลิตร ในการนำเสนอในรถยนต์อย่าง Honda City มีเพียงบ้านเราเจ้าเดียวที่ได้เครื่อง 1.0 เทอร์โบ มาประจำการ ซึ่งการปล่อยไอเสียนั้นไม่ได้หนีกันมากมายนัก อย่างที่คิด

อนาคตรถเล็ก .. มุ่ง สู่ไฮบริด

แล้ว เส้นทางรถยนต์นั่งขนาดเล็กในวันหน้าจะเป็นอย่างไร ในเวลานี้เชื่อว่าหลายคน คงเห็นแล้วว่า ทางบริษัทผู้ผลิต เริ่มตั้งต้น ในการไปต่อในยุคหน้า ด้วยรถยนต์ไฮบริดในกลุ่มซิตี้คาร์ เริ่มจาก Honda City e:Hev ที่มาเปิดตัว ปีกว่าแล้ว

ไม่เพียงเท่านี้ กระแส รถยนต์ซิตี้คาร์ เครื่องยนต์ไฮบริด ก็มีมาต่อเนื่อง ไม่ว่าจะ Toyota Yaris Ativ Hybrid ที่คาดว่าจะออกมาวางจำหน่ายในปีนี้

รวมถึง ทางฝั่ง นิสสัน มีเสียลือเสียงเล่าอ้างถึง Nissan Almera e- Power ที่ว่าจะเป็น ตะวละครลับ ออกมาในเร็วๆนี้ หลัง นิสสันคิกส์ ขายดี และคนต้องการ อัลเมร่า ในเวอร์ชั่นสมรรถนะมากกว่านี้

ส่วน ทาง Suzuki แม้ว่าระบบ Strong Hybrid จะยังไม่เข้ามาไทย แต่การมาของ Suzuki Ertiga Hybrid ก็เรียกว่า น่าสนใจ เพราะ ระบบนี้ สามารถต่อชีวิต เครื่อง 1.2 ลิตรไปได้ เพียงปรับปรุงตัวไดชาร์จเท่านั้น ก็สามารถ เพิ่มความสามารถให้กับเครื่องยนต์ได้ แม้ว่าจะเป็นเพียง รูปแบบ Mild Hybrid ก็ตามที

นั่นคล้ายกับ มาสด้า ที่มีระบบ M Hybrid ที่สามารถ ปรับปรุงให้เครื่องยนต์ ประหยัด ขึ้นได้มากมาย

อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลง รถยนต์นั่งเล็ก สู่รถไฮบริด นั้น ยังไม่ง่ายนัก เนื่องจาก เครื่องยนต์ไฮบริด ทำราคาสูงขึ้นมากพอสมควร ยกตัวอย่างเช่น Honda City e:HEV มีราคาขายแพงกว่า รุ่นเครื่อง 1.0 ลิตร ราวๆ 1 แสนบาท เลยทีเดียว

นับว่าเป็นจำนวนเงินที่มากกว่า อยู่พอสมควร แต่ นั่นก็เหมือนครั้น ยุค 1.0 ลิตร เทอร์โบ จาก ฟอร์ด ที่มีราคาแพงลิบลิ่ว จนยอดขายมีกระหยิบมือ มาวันนี้กลายเป็นมาตรฐาน อีโค่คาร์ยุคใหม่ ไปโดยปริยาย

ถึงแม้ ทิศทางตลาดอีโค่คาร์ในวันหน้า จะชัดเจน ที่รถ จะกลายเป็นไฮบริด ไม่ว่า รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แทนระบบสันดาป เืพ่อ ลดการปล่อย Co2 ตามรูปแบบการจัดเก็บภาษีในปัจจุบัน หาก ส่วนสำคัญ​ก็คือ ภาครัฐบาล ที่ยังสมควรต้องเข้ามาส่งเสริมสนับสนุน ให้ คนไทยมีรถยนต์ประสิทธิภาพดี ราคาถูก ปลอดภัย และ ประหยัดพลังงาน ลดการปล่อยไอเสียใช้

และด้วยกฏข้อบังคับเงื่อนไข ของ โครงการอีโค่คาร์ ที่หนุน เพียงเครื่องยนต์สันดาปเท่านั้น ตามขนาดที่ภาครัฐกำหนด มาวันนี้ อาจจะถึงเวลา ต้องปรับระเบียบให้เหมาะสม ต่อความจริงในโลกยุคใหม่ มากขึ้น

เหมือนดังที่เคยทำในอดีต เพราะ ไม่ใช่ทุกคน พร้อม สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ไม่ว่าจะด้วยราคา หรือ แนวทางการใช้งาน

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.