Home » น้ำมันเครื่อง 0W-20 เขาว่า ไม่เหมาะ กับเมืองไทย จริงหรือ
Bust Technic เคล็ดลับเรื่องรถ

น้ำมันเครื่อง 0W-20 เขาว่า ไม่เหมาะ กับเมืองไทย จริงหรือ

เมื่อไม่นานมานี้ โลกโซเชี่ยล มีประเด็นใหม่ทน่าสนใจ และหลายคนแชร์ เกี่ยวกับเรื่องนี้ มันเป็นเนื้อหาที่พูดแซะ น้ำมันเครื่องยนต์ 0W-20 ที่ถือเป็นมาตรฐานในรถยนต์ใหม่ๆ ว่า ใช้แล้วไม่ดี ใช้แล้วพัง เกินการรับประกัน ยังไงก้เตรัยมตังค์ไว้

หลายคนแห่แชร์ เนื้อหาดังกล่าว ด้วยข้อเท็จจริงว่า ประเทศไทยเราเป็นเมืองร้อน อากาศร้อนอบอ้าว ย่อมน่าจะมีผลต่อน้ำมันเครื่อง ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งแน่ๆ จนหลายคนคิดเอาเหมาะว่า น้ำมันเครื่องยุคใหม่ จะทำให้เครื่องยนต์ไม่ทนทาน อาจจะต้องซ่อมบำรุงในระยะยาว ต้องใช้น้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดสูงๆ อย่างในอดีต ในเกรด 40 หรือมากกว่านั้น ทั้งที่โลกวันนี้เปลี่ยนไป ตั้งเท่าไรแล้ว

รู้ใช้ชัด เรื่องค่าความหนืดน้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่องยนต์ ที่เราใช้ในรถยนต์ทุกรุ่นทุกยี่ห้อนั้น หน้าที่ของมันมี อยู่ 2-3 ประการสำคัญๆ ได้แก่

  • ทำการหล่อลื่นเครื่องยนต์ระหว่างการทำงาน
  • นำพาความร้อนออกจากชิ้นส่วนที่ต้องหมุนในระหว่างการทำงาน (เช่นลูกสูบ)
  • ป้องกันการสึกหรอของเครื่องยนต์ ในระหว่างการทำงาน

คุณสมบัติพื้นฐานของน้ำมันเครื่อง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นสารประกอบที่ทำหน้าที่ทั้งหล่อลื่น และต้องมีความหนืดในระดับหนึ่งเพื่อทนความร้อoในระหว่างการทำงานของเครื่องยนต์

ค่าความหนืดของน้ำมันเครื่อง เพื่อให้เข้าใจง่ายต่อผู้ใช้ จึงมีการกำหนดมาตรฐานมาตั้งแต่อดีต โดยมาตรฐานหลักๆ ที่นิยมใช้ คือ SAE มาจาก Society of Automotive Engineeer ก่อตั้งในปี 1905 โดยเฮนรี่ ฟอร์ด และ แอร์ดรู ริคเคิล

มาตรฐานของ SAE ถูกใช้ วัดค่าความหนืดของน้ำมันเครื่อง ภายใต้มาตรฐาน SAE J300 มีการปรับมาตรฐานมาอย่างต่อเนื่องและเพิ่งอัพเดทใหม่ล่าสุดในปี 2021 ที่ผ่านมา และให้ค่ามาตรฐานหรือ Rating กับความหนืด ของน้ำมันเครื่องที่ได้ทดสอบ ออกมาเป็นตัวเลข ที่เรารู้จักกันดี ถูกระบุอยู่ข้างกระป๋อง เพื่อให้ผู้ซื้อ ช่าง สามารถรับรู้ค่าความหนืด ของน้ำมันเครื่อง ที่พวกเขาจะซื้อ เพื่อจะได้เหมาะสมกับการใช้งาน

น้ำมันเครื่องยนต์ในปัจจุบัน เป็น น้ำมันเครื่องแบบ Multigrade สามารถใช้ได้ทั้งในภาวะอากาศหนาว และ อากาศทั่วไป และเพื่อให้เข้าใจง่าน ทาง SAE จึงบัญญัติ เป็น 2 ค่า

ค่าแรกคือ Winter Viscocity กำกับ ด้วยตัวอักษร W เพื่อให้รู้ถึงค่าความหนืด ในฤดูหนาว ซึ่งเครื่องยนต์ ต้องการน้ำมันเครื่องที่ไหลเร็ว เพื่อปกป้องชิ้นส่วนที่อาจจะเสียดสีกัน ตอนสตาร์ทเครื่อง เนื่องจากภาวะอากาศหนาวจะทำให้น้ำมันเครื่องมีค่าความหนืดมากขึ้น ไหลช้า คล้ายน้ำหวานที่คุณเอาไปแช่ตู้เย็น

ในทางกลับกัน ในภาวะอากาศร้อน หรืออย่างบ้านเรา เป็นที่รู้กันดีกว่า ภาวะอากาศร้อน ส่ผลให้เครื่องยนต์ทำงานหนัก และจำเป็นต้องใช้น้ำมันเครื่องที่ทนความร้อนมากขึ้น ค่าความหนืดทนความร้อนจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมาก ต่อการตัดสินใจ

คนจำนวนไม่น้อย ทันทีที่เห็นตัวเลข 0W-20 ค่างก็ร้องโอ๊ค กันทั้งนั้น ว่ามันจะไหวไหม อากาศเมืองไทยแบบนี้ และทันทีที่ เขาคนนั้น ใครคนหนึ่ง ตั้งตนเป็นกูรูอ้างว่า เป็นไปไม่ได้ ค่าความหนืดนี้ไม่เหมาะกับเมืองไทย ก็เชื่อกันสนิทใจ ด้วย ตารางข้อมูล ที่ไม่มีที่มาที่ไป เขียน ค่าความหนือ และ ค่าอุณหภูมิที่เหมาะสมจะใช้งาน

แล้วมันจริงหรือ ที่ เมืองไทยต้องใช้ค่าความหนืดสูง

ในอดีตรถยนต์ที่ใช้ มีมาตรฐาน น้ำมันเครื่อง โดยส่วนใหญ่ จะใช้เบอร์ 10W-40 จนกระทั่งในระยะหนึ่งการมาของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ 100% เริ่มมีการลดเบอร์ทนความร้อนลงเหลือ 30 ก่อนที่จะมาถึงในยุค น้ำมันเครื่อง 0W20

เมื่อพูดว่า ค่าทนความร้อนต่ำ มองไปบนฟ้า พระอาทิตย์ส่องจ้า ราวกับใครฉายไฟสปอร์ตไลท์ คนส่วนใหญ่ก็คิดได้ทันทีว่า เฮ้ย!! ไม่ใช่แล้ว มันต้องใช้น้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดกว่านี้

แต่ทำไม ค่ายรถยนต์ ยังแนะนำ น้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดต่ำ แม้แต่ ผู้ผลิตน้ำมันเครื่อง ชั้นนำหลายเจ้า เช่น ปตท. ก็ยังมีน้ำมันเครื่องที่มี ค่าทนความร้อนไม่สูงมาก และที่สูงมากก็มีจำนวนน้อยลง ไม่เหมือนในอดีตที่เห็นกันหนาตา

ก่อนอื่น การเลือกน้ำมันเครื่อง ว่าเหมาะกับเครื่องยนต์ตัวนั้น หรือไม่ เป็นหน้าที่ของ ผู้ผลิตรถยนต์ และมันคือหน้าที่ ของวิศวกรเครื่องยนต์ ที่จะทดสอบ หา ข้อมูล และค้นคว้า ว่า น้ำมันเครื่องแบบไหน เหมาะกับ เครื่องยนต์ลูกนั้น

มันมีปัจจัยต่างๆ ที่ถูกนำมาพิจารณา ในการเลือกน้ำมันเครื่อง และ ใช่ครับ ,​หนึ่งในนั้น รวมถึง อากาศภายนอก (Ambient Air) ที่เครื่องยนต์ต้องดูดเข้ามา ทำการจุดระเบิดเผาไหม้ ตลอดเวลาที่เราขับขี่

อากาศยิ่งร้อน มีโอกาส ที่เครื่องยนต์จะร้อนตาม ในระหว่างทำงาน เป็นเรื่องปกติ ที่เกิดขึ้นได้ ในผู้ผลิตรถยนต์บางยี่ห้อ จึงมีคำแนะนำ ให้ใช้น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดมากขึ้นในการใช้รถในภูมิภาคที่มีความร้อนเป็นพิเศษแต่นั่นไม่ใช่กับอากาศแบบเมืองไทย

บ้านเราเป็นเขตภูมิอากาศร้อนชิ้น ก็จริง แต่ไม่ได้ร้อนทุกวี่ทุกวัน ร้อนตลอดวัน ไม่มีแผ่ว อาจจะมีบ้างในบางภาค แต่นั่นไม่ได้รุนแรงมาก เป็นเพียงช่วงเวลาหนึ่ง ไม่เหมือน ในภาวะอากาศ ทางเขตทะเลทราย ที่มีความร้อนอบอ้าวมากกว่า

ถ้าเราอาศัยอยู่แบบนั้น อาจจะต้องพิจารณา หันไปใช้น้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดมากขึ้น เพื่อให้ ฟิล์มน้ำมันเครื่องไม่แตกตัว จนทำให้ชิ้นส่วนเสียดสีกัน เมื่อทำงานหนักๆ

แต่คุณอาจจะถามว่า วิศวกร เขาเอาอะไรเป็นที่ตั้ง แม้ว่าจะไม่มีใครบอกความลับทางการค้าทั้งหมด แต่ส่วนสำคัญ ก็อยู่ที่ความร้อน หรือ อุณหภูมิน้ำมันเครื่อง นั่นเอง

อย่างที่ทราบ น้ำมันเครื่องไม่ได้มีหน้าที่ แค่หล่อลื่นเท่านั้น มันยังนำพาความร้อนระหว่างชิ้น ส่วนออกมา ช่วยระบายความร้อนด้วยในทางหนึ่ง

ปัจจุบัน เครื่องยนต์ไม่เพียงพัฒนาทางด้านพละกำลังเท่านั้น มันยังถูกพัฒนาในแง่ของวัสดุที่นำมาผลิตเครื่องยนต์ ให้มีความสามารถระบายความร้อนด้วยตัวเอง เช่น อลูมินั่ม และ ยังมีการปรับปรุงระบบระบายความร้อนเครื่องยนต์สมัยใหม่ ก็มีการปรับปรุงพัฒนารุดหน้าไปมากเช่นกัน

ไม่ว่าจะระบบระบายความร้อนหม้อน้ำแบบระบบปิด ช่วยเพิ่มแรงดันในระบบ และ เพิ่มจุดเดือดของคูลแลนท์ รองรับการขับขี่มากขึ้น

อย่างในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันเครื่องโดยตรง มีการติดตั้งชุดอุปกรณ์ Oil Cooler หรือ ตัวหล่อเย็นน้ำมันเครื่อง เป็นมาตรฐานในรถยนต์รุ่นใหม่ๆ แทบทั้งหมด ซึ่งช่วยเอาความร้อนออกจากน้ำมันเครื่องด้วยอีกทาง ส่งผลให้ ค่าความร้อนน้ำมันเครื่อง อยู่ในระดับที่เหมาะสมตลอดเวลา ระหว่าง 100-107 องศา เซลเซียส และอาจสามารถสูงถึง 120 องศเซลเซียส ได้ในบางสถานการณ์การขับขี่ แต่อยู่ในค่ามาตรฐานที่รับได้

โดยไม่เป็นอัตรายต่อเครื่องยนต์ แม้ว่าอากาศภายนอกจะสูงกว่าปกติ ก็ตามที

ไม่เพียงระบบระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น เครื่องยนต์ยุคหลังๆ ถูกออกแบบให้ทำงานคงที่มากขึ้น เพื่อ ให้ความประหยัด ลดการปล่อยไอเสีย และประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด ไม่ว่าจะระบบเกียร์ CVT การออกแบบโปรแกรมเกียร์ ที่เน้นการทำงานในรอบต่ำ ไม่เน้นลากรอบสูง เหมือนในอดีต ยกเว้นในยามจำเป็น

นั่นทำให้ น้ำมันเครื่อง จะมีอุณหภูมิในระดับที่ไม่สูงมาก ไม่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำมันที่ค่าทนความร้อนสูงขึ้น โดยใช่เหตุ 

อีกประเด็นที่สำคัญ ค่าระยะชิ้นส่วนในเครื่องยนต์สมัยใหม่ มีการพัฒนาให้แน่นขึ้น ฟิตขึ้น เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ในอดีต  น้ำมันครื่องที่ใช้ จำเป็นจะต้องมีความไหลลื่นไปในแต่ละชิ้นส่วนได้ง่าย เป็นอีกเหตุผล และเป็นเหตุผล ทำไม น้ำมันเครื่อง 0W-20 ถึงแพร่หลายมาก

ผมขอยกตัวอย่าง รถสปอร์ต สมรรถนะสูง Honda  Civic Type R   ที่หลายคน รู้ว่ายังไง ลูกค้าออกจากโชว์รูม ก็คงต้องเอาไปซิ่งซัดตึงกันอย่างแน่นอน รถคันนี้มีพละกำลัง 320 แรงม้า

แต่ถ้าคุณ มีโอกาส เช็คบริการหลังการขายของฮอนด้า จะพบว่า รถสปอร์ตหน้ามนต์ กำลังมหาศาล ก็ยังใช้น้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืด เท่ากับรถบ้านทั่วๆไป  ไม่ได้แตกต่าง คือ 0W20

หลายคน อาจไม่ทราบมาก่อน แต่น้ำมันเครื่อง 0W-20 ก็ใช้ใน Honda Civic Type R เช่นกัน

แต่ น้ำมันที่ให้ Type R   ก็น่าจะมีความแตกต่างจากรถทั่วไป ในแง่ของสาร  Addictive   เติมแต่ง สูตรผสม บางอย่างในเนื้อน้ำมัน เพียงแต่ใช้ค่าความหนืดเดียวกัน ไม่ได้ต้องใช้สูงมาก แบบมีคนอาจทำให้คุณไขว้เขว

หรือรถยนต์ อย่าง  Subaru WRX ห็ใช้น้ำมันเครื่องเพียงสูตร 5W 30 เท่านั้น ไม่ได้ใช้สูงมากแต่อย่างใด  จะมีเพียง  Nissan GT-R   เท่านั้น ที่บอกว่า ต้องใช้น้ำมันเครื่องเกรด 0W40  ส่วนหนึ่งมาจากเครื่องยนต์บล็อกนี้ พัฒนามาตั้งแต่ช่วงก่อนปี 2010

ดังนั้น ชัดเจนว่า คุณไม่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำมันเครื่อง ที่มีค่าความหนืดมากขึ้น เพียงเพราะ อากาศประเทศไทยร้อน ด้วยวิศวกร เขาออกแบบระบบระบายความร้อน และคำนวน ตลอดจน ทดสอบจนมั่นใจแล้วว่า สามารถใช้ได้ไม่มีปัญหา ต่อเครื่องยนต์ ในสภาวะอากาศเมืองไทย เขาถึงจะปล่อยออกมาขายกัน 

engineoil (2)
มีบางกรณีที่คุณสามารถพิจาราใช้น้ำมันเครื่องที่หนืดกว่าได้

อย่างไรก็ดี ,อาจมีสถานการณ์บางรูปแบบ ที่เราอาจจะสามารถใช้น้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดสูงขึ้นได้ แต่ก็ไม่ควรสูงเกินที่ผู้ผลิต กำหนดให้ใช้ในคู่มือประจำรถ เช่น

  • คุณเป็นคนขับรถใช้ความเร็วบ่อยครั้ง ชอบวิ่งแช่ความเร็วสูงยาวๆ นานๆ แบบนี้อาจจะต้องเปลี่ยนมาใช้ น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดสูงกว่าปกติ 
  • หรือ ถ้าบ้านคุณ อยู่แถวเขตทะเลทรายมีอากาศร้อนจัดจริงๆ แบบนี้จะเปลี่ยน ค่าความหนือน้ำมันเครื่องก็ได้ครับ 
  • หรือ รถที่มีอายุการใช้งานมานาน ระยะมากกว่า 100,000 กิโลเมตร หาก พบว่าเริ่มมีอาการเครื่องหลวม สามารถพิจารณา ปรับสูตรความหนืดน้ำมันเครื่อง 

แต่จะดีที่สุด ก็ควรปรึกษาศูนย์บริการหรือ ช่างผู้เชี่ยวชาญด้วย 

สำหรับผลกระทบ เมื่อเปลี่ยนน้ำมันเครื่องให้มีความหนืด สูงนั้น มีหลักๆ อยู่ 2-3 ข้อ 

  • มีราคาสูงกว่า น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดต่ำกว่า 
  • ทำให้อัตราประหยัดลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับ น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดน้อยกว่า 
  • อาจทำให้อัตราเร่งลดลง เนื่องจาก ความหนืดของน้ำมันที่มีผล ต่อการหล่อลื่นชิ้นส่วน 

ดังนั้น โดยสรุป 

น้ำมันเครื่อง 0W-20 สามารถใช้ได้ในภาวะอากาศ เมืองไทยอย่างแน่นอน โดยไม่มีปัญหา ในการใช้งานใดๆ ไม่ว่าจะอากาศร้อนอบอ้าวเพียงใด ตราบใด ที่อยู่ในช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสม ของน้ำมันเครือง ก็ไม่มีปัญหาอะไร 

นั่นเพราะ ก่อนจะขายรถรุ่นใด ผู้ผลิตมีการทดสอบ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนมั่นใจ ว่าจะไม่มีผลกระทบต่อการใช้งานของลูกค้า ในระยะยาว

แต่ถ้าคุณมีความต้องการส่วนตัว ก็ไม่ใช่ว่าใส่เบอร์ที่หนืดเกินไป จะถสร้างความเสียหายมากวก่าผลดี ควรยึดตามคู่มือรถ หรือ ปรึกษา กับช่างผู้เชี่ยวชาญ ไม่ใช่ เชื่อจากกูรูอินเตอร์เน็ต เพียงเพราะว่า เขาพูดมีประเด็นเท่านั้น 

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.