Kia AD

Home » เหินน้ำ (Hydroplane) อันตรายหน้าฝน ที่นักขับตัวยง ควรรู้!!
Eco-tire (2)

Kia AD

เคล็ดลับขับรถ

เหินน้ำ (Hydroplane) อันตรายหน้าฝน ที่นักขับตัวยง ควรรู้!!

เมื่อมาถึง หน้าฝนทีไร ก็จะมีคำพูดถึง อันตรายการขับขี่รถในหน้าฝน เสมอ ทุกครั้งที่ฝนกระหน่ำลงมา เราจะได้ยินคำว่า “ฝนตกถนนลื่น” แต่อันตรายในหน้าในฝนจริงๆ ไม่ใช่ น้ำตามผิวถนน แต่เป็นแอ่งน้ำขังรอระบาย ที่มีอยู่ทั่วไป เปรียบเหมือนกับ ระเบิด อันตรายหากคุณเหยียบเข้าไป โดยไม่รู้สี่รู้แปด

ทุกครั้งที่เราใช้ความเร็ว ล้อของเราจะหมุนด้วยความเร็ว เมื่อสัมผัสไปบนแอ่งน้ำ จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า เหินน้ำ หรือ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Hydroplane ทำให้เราไม่สามารถควบคุม หรือ อาจควบคุมรถไม่ได้ดั่งใจ ในช่วงเสี้ยววินาที ในกรณีหนักหน่อย รถอาจเกิดการเปลี่ยนทิศทาง หมุนหรือใดๆ ซึ่งก่อให้ เกิดอันตรายได้ในที่สุด

Driving Rain (2)

เหินน้ำ คือ อะไร

เข้าใจให้ชัดเจน อีกที อาการ เหินน้ำ คืออะไร

อาการดังกล่าว หาก อธิบายในทางเทคนิค หรือ วิทยาศาสตร์ มันเกิดจากการที่ ผิวสัมผัสหน้ายาง (ที่ทำหน้าที่ยึดรถกับถนน) ไม่สามารถสัมผัสกับผิวถนน ที่ก่อให้เกิดแรงเสียดทาน สร้างแรงยึดเกาะได้โดยตรง ในระหว่างที่เราขับลง แอ่งน้ำที่มีความลึก จนหน้ายางต้องใช้ระยะเวลาชั่วขณะหนึ่งก่อน จะสามารถจับถนนได้อีกครั้ง

Driving Rain (1)

ในบางกรณี ที่เราขับมาด้วยความเร็วสูงมาก ความเร็วที่เราใช้ ประกอบความลึกของแอ่งน้ำ อาจทำให้ ล้อและยาง ไม่สัมผัสถนน โดยตรง ผู้ขับขี่จะรู้สึกทันทีว่า รถไม่เกาะถนน อย่างที่ควรเป็น และรู้สึกว่า ไม่สามารถควบคุมรถได้

สาเหตุสำคัญ ของเรื่องนี้ เกิดจาก 2-3 สิ่ง ครับ

  1. แอ่งน้ำนั้น อาจจะมีความลึก หรือมีปริมาณ น้ำมาก ทำให้ เมื่อวิ่งเข้าไปแล้ว ยางเกิดอาการลอยชั่วขณะ ก่อนจะสัมผัสผิวถนนจริง
  2. ตัวยางที่อาจเกิดการสึกหรอมาก จนประสิทธิภาพการรีดน้ำลดลง ไม่สามารถรีดน้ำ ได้ตามอย่างที่ควรจะเป็น หรือ อาจรีดน้ำไม่ทัน เนื่องจาก แอ่งน้ำ มีความลึก นั่นรวมถึง การออกแบบลายดอกยาง บางแบบ เช่น ดอกยางสปอร์ต จะรีดน้ำได้ไม่ดี เท่าดอกยางประเภท Touring เป็นต้น
  3. ความเร็วที่เราใช้ในระหว่างการขับขี่ ยิ่งเราใช้ความเร็วในการขับขี่มาก โอกาสที่จะเกิด อาการดังกล่าว ในกรณีที่เรา ลงสัมผัสแอ่งน้ำ ก็ยิ่งมีมาก

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ตัวแปรของการ เกิดอาการดังกล่าวประกอบด้วย สภาพแอ่งน้ำ​+ประสิทธิภาพยาง+ ความเร็วที่เราขับมา นั่นเอง

หลีกเลี่ยง และ แก้ไข อย่างไร

หากจะถามว่า อาการเหินน้ำ จะหลีกเลี่ยงได้อย่างไรนั้น คำตอบที่ดีที่สุด และ ผู้ขับขี่ มักถูกแนะนำให้ทำเสมอ คือ หลีกเลี่ยงการขับลงไปในแอ่งน้ำ ที่สามารถสังเกต เห็นได้ นับเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะ จะไม่เกิดอาการเหิรน้ำแน่นอน เมื่อเทียบกีบ ถนนที่มีความเปียกในระดับผิดถนน ซึ่งยางสามารถรีดน้ำออกได้ง่ายกว่ามาก

Eco-tire (2)

แต่ถ้า คุณเกิดขับมาด้วยความเร็ว แล้วพบแอ่งน้ำอย่างไม่ทันตั้งตัว เราควรจะทำอย่างไร ใช่มั้ยครับ ?

อย่างแรก , มีสติ ครับ เมื่อ เราพบว่าไม่สามารถเลี่ยงแหล่งน้ำได้ ให้เตรียมพร้อม ต่อการเกิดอาการดังกล่าวทันที ซึ่งอาจจะเกิด หรือไม่เกิดก็ได้ ขึ้นอยู่กับ ประสิทธิภาพของยาง โดยเฉพาะ การสึกหรอ และความสามารถในการรีดน้ำ

หากยาง ยังมีประสิทธิภาพรีดน้ำที่ดี จะไม่ได้เกิดอาการ ดังกล่าว แต่ให้คิดไว้ก่อนเสมอว่า มันอาจจะเกิดขึ้นได้

ข้อต่อมา, จับพวงมาลัยให้มั่นครับ เมื่อ คุณกำลังจะลงไปในแอ่งน้ำ ไม่ว่าจะลึกหรือไม่ โดยเฉพาะ แอ่งน้ำที่ขังเฉพาะด้าน ไม่ว่า ซ้าย หรือ ขวา สิ่งที่เกิดขึ้นคือ รถ อาจจะถูกดึงเปลี่ยนทิศทาง ด้านใดด้านหนึ่ง

ตรงนี้เอง เป็นจุดสำคัญ ที่คุณต้องตั้งมั่น บังคับทิศทางพวงมาลัย ให้ไปยังทิศทางที่ต้องการ

นอกจากนี้ รูปแบบ การขับเคลื่อน ล้อหน้า ,​ล้อหลัง และ ขับเคลื่อนสี่ล้อ ยังมีผล ต่อการ รักษา ทิศทางด้วยครับ

ที่ต้องระวังที่สุด คือ ขับหลัง เนื่องจาก ล้อขับเคลื่อน จะผ่านแอ่งน้ำ ช้าที่สุด และหาก ล้อขับเคลื่อน เกิดการสูญเสียแรงยึดเกาะ อาจจะเกิดการเสียการควบคุมได้ง่าย

ข้อที่ 3 , ห้ามเบรก เด็ดขาด , แม้ว่า จะขัดกับ ธรรมชาติของหลายคนอยู่พอสมควร แต่การผ่านแอ่งน้ำ อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เชี่ยวชาญขับขี่ทุกคน แนะนำให้ คุณขับผ่านมันไปเฉย โดยไม่เบรก

เนื่องจาก การเบรก ในระหว่างที่เรา เกิดอาการเหินน้ำ จะทำให้ รถอาจเกิดการเสียการทรงตัวได้ โดยเฉพาะ แอ่งน้ำ ประเภท ที่อยู่ข้างใดข้างหนึ่ง

เนื่องจาก น้ำที่มีความลึกเป็นแอ่งนั้น มีแรงต้าน การหมุนของล้อ หากเราเบรก ล้อที่ลงน้ำ ก็ยิ่งสูญเสียแรงขับในระหว่าง ที่ต้องผ่านแอ่งน้ำ และ ทำให้ ล้อที่อยู่ในแอ่ง จะมีแรงดึง มากกว่า และ จะเกิดการเปลี่ยนทิศทางที่ไม่ต้องการเกิดขึ้น

วิธีการที่ดีที่สุด คือ การยกคันเร่ง ก่อน ถึงแอ่งน้ำ แล้วเลี้ยงคันเร่ง หรือ เลี้ยงคันเร่งตามความเร็วเดิม แล้วถือพวงมาลัยมั่นๆเอาไว้

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่คุณ มาด้วยความเร็วสูงมากๆ อาการเหิรน้ำ จะหนักกว่าการใช้ความเร็วปกติ ทั่วไป รถอาจลอยเปลี่ยนทิศทางได้ง่ายกว่า

ดังนั้น อยู่ที่ผู้ขับขี่ ประเมินแล้วว่า จะสมควรลดวามเร็วหรือ ไม่ ในการผ่านแอ่งน้ำ ที่สามารถหลีกเลี่ยงได้

อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องย้ำเตือนมากที่สุด เกี่ยวกับ อาการเหินน้ำ คือ ระบบตัวช่วยต่างๆ ที่มีในรถสมัยนี้ แม้ว่าจะดูเป็นผู้ช่วยที่ดี แต่ในยามฉุกเฉินแบบนี้ ก็อาจจะไม่สามารถช่วยได้ทัน ยกเว้น ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อบางแบบ ที่สามารถเปลี่ยนถ่ายกำลังขับกำลังในแต่ละล้อได้

และสำคัญที่สุด อาการ เหินน้ำ สามารถลดลงได้ หากเราเปลี่ยนยางที่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน มันจะ รีดน้ำดีกว่า ยางที่หมด สภาพ แน่นอนครับ

บทความโดย ทีมงาน Ridebuster

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.