ตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา วงการรถยนต์บ้านเราได้รับแรงกระแสความต้องการใหม่ทางด้านความปลอดภัยในรถยนต์ที่ขายในปัจจุบัน พวกมันนอกจากขับดีแล้ว ยังต่องสามารถหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ หรือผ่อนหนักเป็นเบาถ้าเกิดเรื่องไม่คาดฝัน หลายคนอาจจะยังไม่ตระหนักในเรื่องดังกล่าวอย่างแข็งขัน จนทำให้ค่ายรถยนต์หลานยเจ้าในไทยไม่ตื่นตัว
หนึ่งในสิ่งที่เราเห็นมากขึ้นในปัจจุบัน คือการที่บริษัทรถยนต์ นำรถรุ่นต่างๆของบริษัท มาทดสอบชนจนเละกันคากล้อง หรือต่อหน้าสื่อมวลชน เพื่อแสดงศักยภาพแห่งความปลอดภัย
หลายคนสงสัยว่าทำไม บริษัทรถยนต์จะต้องทุ่มเทอะไรมากมาย เพื่อเอารถที่ผลิตออกมา มาให้หน่วยงานกลางรัฐบาลประเมินความเสียหาย ออกคะแนนเป็นรูปแบบดาว และการปกป้องผู้โดยสาร แต่คนบ้านเราก้ใช่จะสนใจพวกคะแนนเหล่านี้มากนัก
การทดสอบชน ที่เกิดขึ้นและเราเห็นมากมายทั้งในต่างประเทศและในภูมิภาคอาเซียน ที่เรียกว่า Asean Ncap คือความพยายามในการทำให้รถยนต์ที่เราใช้งาน มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นในการขับขี่ ไม่ว่าจะในระหว่สงที่คุณขับใช้งาน หรือหากเกิดอุบัติเหตุ อย่างน้อยก็มีโอกาสที่จะกลับไปเล่าเรื่องให้เพื่อฟังว่า อย่างน้อย กาลครั้งหนึ่งมีโอกาสรอดตายเสียงชีวิตทดสอบถุงลมนิรภัยมาแล้ว
แนวทางการทดสอบชนในปัจจุบันเกิดขึ้น 2 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกเป็นการทดสอบภายในบริษัท เพื่อดูว่ารถยนต์ที่ผลิตออกมานั้นมีความแข็งแรงทางโครงสร้างมากน้อยเพียงเมื่อเกิดการชน บริษัทจะทำการทดสอบ 3 ส่วนสำคัญด้วยกัน เพื่อทำให้รถได้มาตรฐานความปลอดภัยเบื้องต้น คือการชนหน้าเต็ม ,การโดนชนท้าย , การโดนชนด้านข้าวและการพลิกคว่ำ
ในส่วนที่ 2 ของการทดสอบชน คือการทดสอบชนโดยหน่วยงานของภาครัฐบาล หรือความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่นการทดสอบชนของ Euro Ncap ซึ่งเป็นหน่วยงานที่คอยตรวจสอบทดสอบชนรถที่วางจำหน่ายในยุโรป รวมถึงวางมาตรการในความปลอดภัยต่างๆ เพื่อสร้างให้รถในภูมิภาค มีความปลอดภัยมากขึ้น อาทิ เมื่อปีที่แล้ว ทาง Euro Ncap ประกาศให้รถที่เข้าทดสอบ จะมีสิทธิรับ 4-5 ดาว ถ้ารถติดตั้งระบบช่วยเบรกอัตโนมัติ หรือที่เรียกว่า AEB
บางกรณีการทดสอบชนโดยภาครัฐ ทำให้บริษัทรถยนต์ต้องกลับไปปรับปรุงโครงสร้างเพื่อทำให้รถมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นในเรื่องความปลอดภัย
บ้านเราการทดสอบชนใช้มาตรฐาน Asean Ncap เป็นการทดสอบที่ทำโดยศูนย์ทดสอบของมาเลเซีย ซึ่งนำรถทุกรุ่นทุกยี่ห้อที่วางจำหน่ายในภูมิภาค มาทดสอบว่ามีความแข็งแกร่งในการปกป้องมากน้อยเพียงใด
การนำรถมาทดสอบแบบนี้อาจจะมีค่าใช้สูง แต่ก็ได้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจ แม้ว่าจะเป็นการชนด้วยความเร็วต่ำกว่าที่ใช้งานจริงบนถนน ก็ตาม อาทิ การแสดงให้เห็นถึงการรักษาตัวของโครงสร้างห้องโดยสาร หรือการตรวจสอบจังหวะความแม่นยำในการทำงานของอุปกรณ์ช่วยชีวิตเมื่อเกิดการชน โดยเฉพาะถึงลมนิรภัย และเข็มขัดนิรภัย ว่าในสถานการณ์จริงยังทำงานตรงตามที่วิศวกรออกแบบ ให้เกิดการป้องกันสูงสุดหรือไม่
โดยเมื่อทดสอบชนแล้ว นักวิเคราะห์ทางอุบัติเหตุจะตรวจสอบโครงสร้างที่เหลือของรถ ว่า มีข้อบกพร่องอะไรหรือไม่ ที่อาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่ โดยเฉพาะโครงสร้างของห้องโดยสารสามารถรับแรงกระแทก แล้วยังเปิดประตู มีโอกาสรอดตายมากแค่ไหน
ด้านแง่ความเสียหายต่อตัวดัมมี่ ซึ่งแทนผู้ขับขี่จริง จะถูกนำออกมาประเมิน ลักษณะอาการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดจากอุบติเหตุ โดยแบ่งเป็น 4 ส่วนได้ แก่ การบาดเจ็บช่วงอก,สะโพก , ช่วงต้นขา และขาท่อนล่าง
ส่วนตัวดัมมี่เด็ก ที่มี 2 ขนาด คือเด็กที่ยังใช้ Car Seat เบาะนั่งโดยสาร และไม่ใช้คาร์ซีท ซึ่งจะนำดัมมีมาวิเคราะห์ ปกป้องเด็ก และการเคลื่อนที่ของ เบาะนั่งเด็กเมื่อรับแรงกระแทกจากการชน
ทั้งหมดที่สาธยายมาจะถูกนำมาวิเคราะห์เป็นคะแนนต่างๆ ในการชน และการปกป้อง โดยในส่วนของ Asean Ncap ดาวคะแนนความแข็งแรงและรับแรงกระแทกจากการชน โดยอาจจะมีเงื่อนไขบางประการที่ทำให้รถแต่ละรุ่นไม่สามารถรับคะแนนการปกป้องสูงสุดได้ เช่น กำหนดให้ต้องติดระบบเบรก ABS, ระบบควบคุมการทรงตัว EBD และระบบเตือนคาดเข็มขัดนิรภัย เป็นต้น
ขอยกกรณีใน Euro Ncap ทดสอบชน Suzuki Swift ล่าสุด รถไม่สามารถรับคะแนนความปลอดภัย 4 ดาวได้ เนื่องจากว่า ไม่ได้ติดตั้งระบบช่วยเบรกอัตโนมัติ ทำให้คะแนนจากการทดสอบชนได้ 3 คะแนนแล้วใช้อ้างอิงผลว่า ถ้ามีระบบช่วยเบรกอัตโนมัติ จะรับ 4 คะแนนทันที
การทดสอบชน เป็นเรื่องที่หลายคนอาจไม่ค่อยสนใจว่ ทำไมบริษัทรถยนต์จะต้องทุ่มทุนอะไรมากมาย เอารถใหม่ๆ ที่ผลิตมาชนจนะเละตุ้มเป๊ะ ให้เห็นตำตา แต่นั่นหมายถึงการใส่ใจทางด้านความปลอดภัยต่อผู้ใช้มากขึ้น เพื่อทำให้รถที่คุณขับมั่นใจและปลอดภัยทุกเส้นทาง
ไว้งวดหน้า ผมจะนำวิธีการอ่านค่าคะแนนทดสอบชนมาฝาก บอกเล่าเก้าสิบแล้วกันครับ
เรื่องโดย ณัฐยศ ชูบรรจง
ชอบกดไลค์ใช่กดแชร์ ขอบคุณทุกกำลังใจสำหรับพวกเรา ridebuster.com