ในการใช้รถใช้ถนนในปัจจุบัน ต่างมีเรื่องราวมากมาย หนึ่งในประเด็นที่บางคนดูจะยึดมั่นถือมั่น จนทำตัวราวกับเป็นเจ้าของถนน ทั้งที่เป็นทางสาธารณะประโยชน์ ก็ดูจะเป็นเรื่อง การเปิดไฟเลี้ยว จนเชื่อว่าหลายคน อยากจะถามว่า ไม่เปิดไฟเลี้ยวมันผิดกฏหมายหรือไม่
ก่อนที่ผมจะเล่าว่า มันผิดกฏหมายหรือไม่ ขอเริ่มจาก หลักการใช้ไฟเลี้ยวพื้นฐาน ก่อนครับ
ไฟเลี้ยวเป็นไฟสัญญาณ เป็นไฟสีเหลืองอำพัน ทำหน้าที่ บอกให้เพื่อนร่วมทางทราบถึงทิศทางที่เราจะไป โดยแสดงเป็นไฟสัญญาณเตือน ตามกฏหมายอนุญาติ ไฟสีเหลืองอำพัน และ ไฟสีแดง
เวลาเปิดขอทางจะต้องเปิดในทิศทางที่ต้องการไป ได้แก่ เลี้ยวซ้าย เปิดไฟสัญญาณเลี้ยวซ้าย และ เลี้ยวขวา เปิดไผสัญญาณเลี้ยวขวา เมื่อต้องการเปลี่ยนช่องทางเดินรถ
นอกจากนี้ยังต้องเปิดไฟสัญญาณ ในการเลี้ยวรถก่อนถึงทางร่วมทางแยกไม่น้อย กว่า 30 เมตร ตามข้อกฏหมาย ในมาตรา 51 ของพรบจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ด้วย
ไม่เปิดไฟเลี้ยวผิดกฏหมาย หรือไม่
ถ้า ดูตาม ข้อมูล จาก พรบ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มีการระบุไว้อย่างชัดเจน ในมาตรา 38 ถึงการปฏิบัติในการให้สัญญาณไฟของผู้ขับขี่รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ใน วงเล็บ 2 ว่า เมื่อจะเลี้ยว เปลี่ยนช่องทางเดินรถ หรือ แซงขึ้นหน้า รถคันอื่น ผู้ขับขี่ จะต้องยกไฟเลี้ยว ในทิศทางที่เปลี่ยนช่องทาง
ดังนั้นหาก ตีความตามข้อประมวลกฏหมาย ดังกล่าว การไม่เปิดไฟเลี้ยว ย่อมมีความผิดตามกฏหมาย และ ยังมีการระวางโทษปรับ ตามบทลงโทษดังกล่าวในอัตรา ค่าปรับ 500 บาทด้วย
อย่างไรก็ดี บทลงโทษดังกล่าว จะเกิดขึ้นเมื่อมีการพิสูจน์ได้ว่า ผู้ขับขี่มีความผิดไม่ให้สัญญาณไฟ จนนำไปสู่อุบัติเหตุแก่เพื่อนร่วมทาง
ดั่งเชนในกรณี ที่เคยเกิดขึ้นกับดาราชายประสบอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับมอเตอร์ไซค์ เมื่อหลายปีก่อน
การใช้ไฟเลี้ยวในความจริง
แต่ในความเป็นจริง จากที่สามารถพบเห็นได้บนื้องถนนในปัจจุบัน การเปิดไฟเลี้ยวเพื่อขอทางบางครั้ง และ ในหลายกรณีเป็น “ไฟเอาแต่ใจ” และ “ไฟทำให้รถคันข้างๆแรงขึ้น”
ขอยกตัวอย่างในกรณีไฟเอาแต่ใจก่อน ในหลายครั้งโดยเฉพาะในพื้นที่การจราจรหนาแน่น แม้ว่าผู้ขับขี่จะยกไฟเลี้ยวเพื่อขอเปลี่ยนช่องทางเดินรถ เนื่องจาก อาจจะชะลอตัว หรืออยู่ในพื้นที่คับขัน
หลายท่านมักจะยกไฟเลี้ยวและ เปลี่ยนช่องทางทันที โดยไม่สนใจว่า รถคันที่รับทราบสัญญาณไฟเลี้ยวได้ให้ทางแล้วหรือยัง และอยู่ในจังหวะที่เขาจะปลอดภัยจากการเปลี่ยนช่องทางของคุณ หรือไม่
เราจึงมักพบว่า ผู้ขับขี่หลายคนในสมัยนี้เปิดไฟเลี้ยวปุ๊บ ชอบเบียดทันที เปิดปุ๊บฉันต้องได้ไปปั๊บ ฉันไม่สนใจ ก็ฉันยกไฟเลี้ยวแล้วเธอต้องให้ฉัน และในหลายกรณีที่ได้อ่านจากโซเชี่ยลมา พบว่ามีเรื่องนี้อยู่มาก จนกลายเป็นอุบัติเหตุเฉี่ยวชน
การใช้ไฟเลี้ยวที่ถูกต้อง เมื่อคุณเปิดไฟเลี้ยวแล้ว จะต้องดูว่า ผู้ขับขี่คันข้างๆ พร้อมที่จะให้คุณเข้าช่องทางหรือไม่ และ คุณอยู่ในระยะปลอดภัย ที่เข้าหน้าเขาหรือไม่
ไฟเลี้ยวไม่ได้ศักดิ์สิทธิ์ จนถึงขนาดว่า ทุกคนเห็นไฟเลี้ยวแล้วต้องให้คุณเข้าทันที แต่ เขาเองต้องดูจังหวะ และความเหมาะสม เรื่องนี้จะโกรธโมโห เพื่อนร่วมทางไม่ได้
กรณีต่อมา เปิดไฟเลี้ยวแล้วรถคันข้างๆ แรงขึ้นๆ
กรณีนี้พบเจอบ่อย ในพื้นที่การจราจรหน้าแน่น เหมือนกันครับ
ในความเป็นจริง แล้วตามกฏหมาย ระบุให้เราขับเว้นห่าง จากรถคันข้างหน้า ในระยะที่ปลอดภับ สามารถเบรกหยุดได้ โดยไม่เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งการเว้นว่าง ของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน บางคนเว้นห่างมาก บางคนห่างน้อย
ทว่า การเว้นห่าง ในบางจังหวะ สำหรับผู้ขับขี่บางคนอาจมองว่า เป็นจังหวะปลอดภัยพอที่เขา สามารถจะแทรกเข้าไปได้ แต่ว่าหลายครั้งเมื่อจะแทรกเปิดคันเร่ง ปรากฏว่า รถคันข้างจะเร่งขึ้นมาทันที หลังจากเห็นรถคันข้างๆ เปิดไฟเลี้ยว เพื่อไม่ให้รถคันเปิดไฟเลี้ยวไป ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ยังขับชิลๆ พอ ไฟเลี้ยวมา วิญญาณ ดอม ทอเร็ตโต้ เข้าสิงห์ ทันที
ด้วยเหตุนี้ เราจึงมักพบว่า ผู้ขับขี่จำนวนมาก อาจไม่เปิดไฟเลี้ยวขอทาง โดยเฉพาะในจังหวะที่เขาเห็นว่าสามารถไปได้ทันที โดยไม่เป็นอันตราย
ส่วนหนึ่ง ก็อาจจะมาจาก พฤติกรรมดังกล่าวที่ ถูกส่งต่อกันมาว่า เมื่อรถข้างๆ เปิดไฟเลี้ยว ต้องรีบเร่งขึ้นมาปิดช่องไม่ให้ รถที่เปิดไฟเลี้ยวไป ทั้งๆที่ บางคนขับรถเว้นห่าง ซึ่งพบเจอบ่อยครั้ง
ทั้งที่หากอยู่ในระยะปลอดภัย และคุณ เว้นห่างไว้มาก ผู้ขับขี่ท่านอื่นก็อาจสามารถของแทรกตัวไปได้ โดยไม่เป็นอุปสรรค หรืออันตราย ต่อคุณ
และถ้าจะเอากฏหมายมาพูด การเปิด หรือไม่เปิดไฟเลี้ยว แม้จะเป็นความผิดตามกฏหมาย เมื่อใช้ในการพิสูจน์ต้นตอที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ แต่เราจะพบว่า กฏหมายก็ไม่ได้วางให้การให้สัญญาณ หรือ ไม่ เป็นเรื่องผิดที่สำคัญร้ายแรง มีโทษเพียงปรับไม่เกิน 500 บาท
หรือ พูดง่ายๆ คือ การไม่เปิดไฟเลี้ยว ขอทาง หรือเลี้ยว ไม่ใช่เรื่องผิดใหญ่โตอะไร บางครั้งอาจด้วยจังหวะ อาจลืม และอีกเหตุผลมากมาย แต่ถ้าให้ดีที่สุด คือเปิดไว้ให้ชิน จะดีที่สุด
มาถึงตรงนี้ เราคงเห็นแล้วว่า การไม่เปิดไฟเลี้ยวอาจจะมีความผิดกฏหมาย และ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ทั้งยังมีโทษปรับด้วย แต่สิ่งสำคัญกว่า การจับเจ่าว่า เพื่อนร่วมทางเปิดไฟเลี้ยวหรือไม่ คือ น้ำใจบนท้องถนน หนักบ้างเบาบ้าง ก็ต้องปล่อยๆ กันไป เพราะท้ายสุด ถนนเป็นสาธาณะของทุกคน ไม่ใช่ กับใครคนใดคนหนึ่ง
ที่มาข้อมูล ประกอบบทความ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ