ทุกวันนี้ รถยนต์สมัยใหม่มีระบบความปลอดภัยอันทันสมัยมากขึ้น โดยเฉพาะ ระบบตรวจจับ และช่วยเบรกป้องกันอุบัติเหตุ นับเป็นประโยชน์มากในยามค่ำคืน
แต่ในขณะที่เราต่างวางใจระบบนี้ และหลายคนอาจจะเรียกรู้และอยากจะใส่เสื้อผ้าให้เห็นได้ในยามค่ำคืนมากขึ้น รายงานล่าสุดจาก IIHS หรือ Insurance Institute for Highway Safety ในอเมริกา กลับชี้ ว่า การใส่เสื้อหรืออุปกรณ์สะท้อนแสง ทำให้ระบบเหล่านี้ตาบอด และเสียงเกิด อุบัติเหตุมากกว่า
IIHSเพิ่งจะทำการ ศึกษา เรื่องนี้ ในรถยนต์ 3 รุ่นยอดนิยม ได้แก่ Mazda CX-5 , Honda CR-Vและ Subaru Forester โดยมีเป้าหมายในการหา ผลลัพธ์ ที่จะทำให้คนเดินเท้าปลอดภัยขึ้นในยามค่ำคืน ด้วยระดับความสว่างที่แตกต่างกัน รวมถึงเสื้อผ้า ด้วย
จากการศึกษาดังกล่าว พบว่าระบบ สามารถลดอุบัติเหตุ และป้องกันการชนได้ถึงราวๆ ร้อยละ 27 มันได้ผลดีกว่ากับการขับขี่ในยามกลางวัน แต่ในยามค่ำคืน มีโอกาสมากที่จะเกิดการชนคนเดินเท้า
ที่น่าแปลกใจกว่านั้น คือ ในยามค่ำคืน จากการทดสอบที่ความเร็ว 40 ก.ม./ช.ม.ทั้งมาสด้า และ ฮอนด้า ต่างชนเข้ากับหุ่นทดสอบ ซึ่งใส่เสื้อที่มีแถบสะท้อนแสง นั่นอาจจะตรงข้ามกับที่เราคิด เพราะ เมื่อหุ่นทดสอบใส่เสื้อสีดำ รถกลับชะลอความเร็วลดลง
เรื่องแสง ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง จากการทดสอบ ที่น่าแปลกใจ คือ ทีม IIHS เพิ่มแสงจาก 10 lux เป็น 20lux กลับพบว่าผลการทดสอบ แย่ลง
ส่วน ซูบารุ กลับเป็ยรถที่ดีที่สุดในการทดสอบ มันสามารถหลีกเลี่ยงการชนหุ่นทดสอบได้ตั้งแต่ครั้งแรก ถ้าไม่รวม ครั้งที่มันชน ตอนหุ่นใส่เสื้อสะท้อนแสง
นาย เดวอดด์ คิดส์ นักวิทยาศาสตร์ อาวุโส ที่ IIHS เผยว่า ที่จริง การที่เราใส่เสื้อผ้าสะท้อนแสง หรือ ชิ้นส่วนสะท้อนแสง อาจจะได้ผล กับมนุษย์ เพราะ เราสามารถทราบการเคลื่อนไหว ของคนด้วยกันได้ แต่ เรื่องนี้ไม่ได้ผล กับระบบ เบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ ที่มีส่วนในการป้องกันอุบัติเหตุคนเดินเท้า
ทั้งนี้ รถทั้ง 3 รุ่น มีส่วนที่เหมือนกัน อยู่อย่าง คือมันเป็นรถยนต์จากผู้ผลิตญี่ปุ่นทั้งหมด แต่ได้รับความนิยมในหลายประเทศทั่วโลก สิ่งที่น่ากังวล คือ คนทำงานซ่อมถนน และ ผู้ช่วยเหลือฉุกเฉินยามกลางคืน ต่างเป็นคนที่นิยมใส่เสื้อสะท้อนแสงเหล่านี้
ในข้อสรุป ของรายงานดังกล่าว เรียกร้องให้มีการเพิ่มแสงสว่างให้กับถนนในเขตชุมชน เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัย ต่อคนเดินเท้ามากขึ้น และเรียกร้องให้ผู้ผลิตรถยนต์ทำการอัพเดทระบบให้สามารถตรวจจับ กายภาพของคนได้ดีขึ้นในอนาคต
ที่มา IIHS