ตลอดหลายสิบปี ที่ผ่านมาเราต้องยอมรับว่ารถยนต์ Toyota ไม่ต่างอะไรจากกาแฟเบอร์ดี้ เมื่อลูกค้าเริ่มต้นมองหารถยนต์สักคันมาใช้งาน แบรนด์โตโยต้า จะถูกตีตราขึ้นมาในสมอง ด้วยการจัดระเบียบความคิด ว่า คุ้มค่า ทนทาน และขายต่อราคาดี มันกลายเป็นรถยนต์หนึ่งในใจลูกค้าตลอดมา แต่ในโลกยุคใหม่ที่เปลี่ยนไป โตโยต้าจากเสือนอนกินกำลังตกที่นั่งลำบากในการขาย
ยอดขายที่ไม่พุ่งต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลับฉุดแบรนด์ให้ไม่สามารถก้าวต่อไปได้อย่างที่เป็น ขณะที่คู่แข่งกำลังไล่มาใกล้ๆ และมีแววจะแซงในเร็วๆ นี้ ส่งให้แบรนด์โตโยต้าอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ค่อยสู้ดีนัก
การพัฒนารถยนต์ขึ้นมาเพียงแค่มันขับใช้งานได้คุ้มค่าไม่ใช่โจทย์ที่โตโยต้าจะเดินต่อได้ ในขณะเดียวกันสมรรถนะในการขับขี่ของรถยนต์ Toyota ก็ไม่ได้หวือกหวาเหมือนอย่างคู่แข่ง แถมโลกกำลังเปลี่ยนไปหันไปสู่ยุคแห่งเทคโนโลยีอลังการ 2 ปีที่แล้วไม่มีใครตระหนักในเรื่องระบบขับอัตโนมัติมากมายนัก แต่วันนี้ทุกคนมั่นใจว่า เทคโนโลยีระบบขับอัตโนมัติ จะกลายเป็นสินค้าชิ้นเอกเพชรน้ำงามของหลายๆ แบรนด์ที่ฟูมฟักมานาน รวมถึงผู้เช่นหน้าใหม่ จากฝั่งไอที ทั้ง Google และ Apple ที่กำลังคืบคลานเข้ามาหาตลาดและน่าจะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในเร็วๆนี้
ยอดขายต่อปี 10 ล้านคัน ในระยะเวลา 4 ปีติดต่อกัน อาจจะเป็นเรื่องที่น่ายินดี สำหรับค่ายรถยนต์อันดับ 1 ของโลก แต่เมื่อมาดูยอดกำไรสุทธิ กลับลดลงอย่างชัดเจน จนส่งคำถามจากบรรดาผู้ลงทุนในญี่ปุ่นว่า มันเกิดอะไรขึ้น และ ควรจะยังถือหางบริษัทรถยนต์รายนี้หรือไม่
นายอากิโอะ โตโยดำ ในฐานะประธานบริษัท ได้กล่าวในการประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าวว่า ต้องยอมรับว่าเราอยู่ในจุดของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ และพยายามหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการทำงาน ซึ่งเขาเองก็อยากให้ผู้ถือหุ้นเข้าใจว่าเรากำลังมาถึงจุดเปลี่ยนและจะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ อย่างแน่นอน
ถ้ามองประเด็นในแง่การทำงานของ Toyota ที่ผ่านมา ก็ต้องยอมรับว่าบริษัท มีการคิดผิดทิศทางหลายครั้ง ….
โดยเฉพาะในแง่ของการทำงานภายในบริษัท Toyota มุ่งเน้นความพยายามในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองทั้งหมด ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ กระจิบยิบย่อยไปจนถึง การพัฒนาวิศวกรรมชิ้นส่วนโครงสร้างใหม่ หรือที่เราจะได้เห็นในงาน TNGA Platform
ตลอดจนในต่างประเทศยังมีการลงทุนพัฒนาระบบขับอัตโนมัติ,เดิมพันระบบขับเคลื่อนไฮโดรเจน และอีกต่างๆ มากมาย ที่สุดจะจินตนาการในรถยนต์ในวันนี้และในอนาคต ทว่าในแง่ธุรกิจแล้ว สถานการณ์นอกรั้วบริษัทกลับมีการแข่งขันกันสูงยิ่งขึ้น
โดนเฉพาะเทคโนโลยีชั้นสูงทางด้านการเชื่อมต่อกกำลังจะมาถึงในรถยนต์ยุคใหม่ในอีกไม่ช้า และบางบริษัทขนาดเล็ก อาทิ Ford หรือ Tesla มีระบบเหล่านี้เข้ามาใช้ในการขับขี่แล้ว จนสามารถขับอัตโนมัติได้ด้วยตัวเอง และปล่อยให้ผู้ใชข้งานได้ทดสอบใช้แล้วด้วย (โดยเฉพาะ Tesla)
ในขณะที่ความหวังเก่าอย่างระบบไฮบริดของ Toyota วันนี้ถูกตามทันโดยคู่แข่งชั้นนำเจ้าเดิม Honda จนหลายคนจับตาว่าที่รถยนต์ Toyota Camry ใหม่ที่กำลังจะเริ่มวางจำหน่ายในอนาคตอันใกล้ ในขณะที่ฮฮนด้าเองก็ไล่บี้อย่างสนุกสนานด้วยการเร่งปลดระวาง Honda Accord และเปิดตัวรุ่นใหม่ในเดือนกรกฎาคมนี้ที่อเมริกา นั่นหมายความว่า ในปลายปีนี้ น่าจะได้เห็นในงาน Tokyo Motor Show และศึกซีดานกลางของญี่ปุ่นก็น่าสนใจไม่น้อยเลยในปีนี้ และในไทยเราคงได้เห็นทั้งคู่ในปีหน้า
ถึงแม้ว่าศักดิ์ศรีของ Toyota จะน่าภูมิใจในตลอดหลาย 10 ปีที่ผ่านมา แต่วันนี้กำลังเปลี่ยนความคิดตัวเองครั้งสำคัญ ที่เราต้องจับตามองกันต่อไป ประการแรก Toyota เริ่มมาหันคบเพื่อนเป็นความร่วมมือและความช่วยเหลือในเชิงฉันฑ์มิตรมากขึ้น
โดยเฉพาะที่น่าสนใจที่สุด ก็น่าจะไม่พ้นการกอด 2 แบรนด์แบรนด์รถยนต์รองบ่อนในญี่ปุ่น ที่กำลังมาแรงทั่วโลก Mazda พวกเขากำลังร่วมมือกันในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ รวมถึงเครื่องยนต์ระบบขับเคลื่อนใหม่ๆ ระหว่างกัน ในขณะที่ Toyota นำเอาเครื่องยนต์กำลังอัดสูงของมาสด้ามาใช้ ในเครื่องยนต์ Dynamic Force , Mazda ก็เร่งมือในการผลิตระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าและไฮโดรเจน
และอีกค่ายที่หลายคนจับตามาก ก็ไม่พ้นความร่วมมือกับ Subaru ที่มีการเข้าถือหุ้นในซูบารุเพิ่มเติม รวมถึงทางโตโยต้ายังร่วมมือในการพัฒนา Toyota GT86 / Scion FR-S สปอร์ตขับหลัง โดยให้ซูบารุเป็นคนสร้างแล้วควบรวมเทคโนโลยีโตโยต้ามาใช้ และในเวลานี้กำลังพัฒนารุ่นที่ 2 ในบริษัทหลังจากจับมือกันต่อเมื่อปีที่แล้ว และในปปี – 2 ปี ทีผ่านมา ถ้าคุณมีโอกาสขับรถ Toyota ใหม่ๆ จะพบว่าพัฒนาการระบกันสะเทือนของ Toyota ดีขึ้นมาก จนอยู่ในระดับที่น่าพอใจ เป็นอย่างมาก
ส่วนทางด้านค่ายซูบารุเองก็ได้อานิสงค์นี้ในการทำรถสปอร์ตออกมาอีกครั้ง ต่อเนื่องใน Subaru BRZ รุ่น ที่ 2 รวมถึงเรียนรู้ระบบไฮบริดของ Toyota มาพัฒนาในรถของตัวเอง ที่คาดว่าจะเปิดตัวออกมาในปีหน้า บางแหล่งข่าวเชื่อว่าระบบนี้จะเป็นเครื่องยนต์ใหม่ให้กับรถยนต์ Subaru Forester ใหม่ ซึ่งมีแผนในการผลิตรุ่นเครื่องยนต์ขนาดเล็กเทอร์โบชาร์จ,ไฮบริด และไฟฟ้าล้วน ตามลำดับ
นอกจากการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรแล้ว Toyota ยังเดินหมากเกมสำคัญ ที่ทั่วโลกกำลังจับตามอง ในการเข้าซื้อ Daihatsu เจ้าตลาดรถยนต์นั่งขนาดเล็กในญี่ปุ่น หลังจากครองกัน ครึ่งๆ กับ Suzuki มายาวนานหลายปี และ Toyota วางหมากให้รถยนต์ Daihatsu เข้ามาทำตลาดเกิดใหม่ในหลายประเทศสำคัญรวมถึงไทยด้วย
เมื่อสัปดาห์ทีผ่านมา มีกระแสข่าวออกมาจากทางฝั่งอเมริกาใต้ว่า Daihatsu จะไปทำตลาดที่นั่นด้วยเช่นกัน โดยจะพั?นาผลิตวางจำหน่ายรถยนต์คอมแพ็คคาร์ ที่มีราคาคุ้มค่าเน้นกลุ่มตลาดล่าง บางแหล่งเชื่อว่าจะเป็นครั้งแรกที่ Daihatsu ทำรถที่มีขนาดใหญ่ จนมีขนาดใกล้เคียงกับ Toyota Corolla แต่ความเป็นไปได้ของข่าวสารนี้ จบที่มันน่าจะมีขนาดเท่า Suzuki Ciaz รุ่นปัจจุบัน เนื่องจากทาง Daihatsu หวังจะเข้าไปทำตลาดในอินเดียและไทย รวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งหมายความว่า ไดฮัทสุ ต้องสร้างรถที่มีความเป็นสากล เพื่อทำราคาให้ถูกลง ค้ลายกับที่ Nissan วางหมากให้ Datsun กลับมา
โจทย์วันนี้ของ Toyota ไม่ใช่เกมที่ง่ายอีกต่อไป การแข่งขันทางธุรกิจที่สูงขึ้นมีชั้นเชิงในการขับเคลื่อนตลาดมากขึ้น สร้างความซับซ้อนต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า โตโยต้าวันนี้กำลังเปลี่ยนตัวเองกลับมาครองใจลูกค้า พวกเขารู้แล้วว่าถ้าวันนี้ไม่เปลี่ยน วันหน้าจะแย่ แต่จะเปลี่ยนไปในทิศทางใด อย่างไร …เราจะได้รู้กันในอีกไม่นานเกินรอ
ชอบกดไลค์ใช่กดแชร์ ขอบคุณทุกกำลังใจสำหรับพวกเรา ridebuster.com