เห็นมาตั้งแต่ปีที่แล้วว่ารถยนต์ไฟฟ้าเริ่มมาขาย ยุกมาก่อนจากค่ายจีน ไม่นานสมทบมาด้วยแบรนด์เกาหลี ปิดท้าย ด้วยแบรนด์ญี่ปุ่น จนดูแล้วว่า ยังไง ประเทศไทยจะมีสังคมรถยนต์ไฟฟ้าเกิดขึ้นแน่ แม้จะไม่ได้สร้างยอดขายจำนวนมากก็ตาม
เมื่อปีที่แล้ว ผมมีโอกาส นำรถยนต์ไฟฟ้า (BYD e6) มาลองขับแบบจริงจัง … มาก จริงจัง ขนาดว่า เอากลับไปคืนเขา น้องพีอาร์ที่สนิทกัน บอก คนดูแลรถถาม นี่ไปขับมาถึงไหน … เพราะยอดไมล์เราขับไป 600 กว่า กิโลเมตร น่าจะเรียกว่ามากที่สุด ในบรรดาคนที่ทดสอบรถยนต์ไฟฟ้าคันนั้น
หลายคนตั้งคำถามหลายข้อเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) ผมอาจไม่ใช่สื่อใหญ่ จนใครเขาเชิญไปลองขับล่วงหน้า ขับฟินกินลมในต่างประเทศ แต่จากที่ขับทดลองจริงบนถนนเมืองไทย บอกเลยว่า รถยนต์ไฟฟ้า มีดีกว่าที่คิด แต่ที่ยังไม่เกิดจริงๆ ต้องยอมรับว่า ด้วยราคาขายชนิดสามารถซื้ออเนกประสงค์คันโตๆ ได้ 1 คัน ตรงกับความต้องการในการใช้งานมากกว่า นั่นไม่แปลก ที่คนทั่วไปจะมองว่ารถยนต์ไฟฟ้า เป็นของสำหรับคนรวย (อีกแล้ว) แต่เอาจริงปะ คนรวย เขาก็ไม่ซื้อหรอก กำตังค์ไปซื้อ เบนซ์ -บีเอ็ม- วอลโว่ดีกว่า แถมรัฐบาลไทยก็ไมไ่ด้อุดหนุนช่วยเหลือแบบในเมืองจีน ทำให้คนสนใจ สร้างสิทธิประโยชน์แก่ผู้ใช้ ทำให้ในวันนี้ รถยนต์ไฟฟ้า กลายเป็นเพียงอนาคตที่มีแสงสว่างปลายอุโมงค์รอวันจุติในใจผู้ใช้
ตอนทดลองขับรถยนต์ไฟฟ้า เรียนรู้หลายอย่างมาก จนเชื่อว่า ถ้าคนทั่วไปได้รู้ จะคิดเหมือนกันว่า มันน่าใช้มาก
1ค่าบำรุงรักษาต่ำ ทำไมต่ำ คิดง่าย ๆ เครื่องยนต์-เกียร์ไม่มี ของเหลวที่ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ หายไป 2 อย่าง จะคงเหลือ ของเหลวในรถ หลักๆ 3 อย่าง คือ น้ำมันเบรก , น้ำมันเฟืองท้าย และ คูลแลนท์
3 อย่างที่ผมพูดมานี้ ก็ไม่ได้เปลี่ยนบ่อยเท่าไร ไม่แปลกใจที่พวกมันจะค่าบำรุงรักษาต่ำมาก การเข้าไปศูนย์บริการอาจจะยังมีอยู่บ้างเพื่อตรวจเช็คความพร้อในการใช้งานอื่นๆ อาทิผ้าเบรก และประสิทธิภาพการทำงานระบบ ทว่าเมื่อไม่มน้ำมันมากวนใจ ส่วนใหญ่ก็อาจจะเป็นเพียงค่าแรงเท่านั้น
2.ไม่ได้ต้องชาร์จทุกวัน ถ้ารถที่มีขนาดแบตเตอร์รี่ระยะทาง 300 ก.ม.ต่อการชาร์จขึ้นไป อาจไม่จำเป็นต้องชาร์จทุกวัน ทำไมผมพูดแบบนั้น
จากการใช้งานจริง แบตเตอร์รี่จะเสียกำลังให้การขับเคลื่อนมากกว่าระบบความอำนวยความสะดวกสบาย ซึ่งมีอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ไม่กี่อย่างหลักๆ ได้แก่ แอร์ – วิทยุ หน้าจอเรือนไมล์ แค่นี้ เวลารถติดพวกนี้ก็ยังกินไฟอยู่ แต่ไม่ใช่จำนวนมากมายนัก จะหนักสุดก็คือ แอร์ เทียบกับการใช้ไฟขับเคลื่อนรถถือว่าน้อยมากๆ
จนแทบเรียกว่า พลังงานไฟฟ้าจะหายไปกับการใช้ขับเคลื่อนมากถึงร้อยละ97 ที่เหลือคือระบบความสบาย นอกจากนี้รถไฟฟ้า ยังมีระบบที่สามารถเอาไฟกลับมาใส่ในระบบแบตเตอร์รี่ได้ด้วยในระดับหนึ่ง (ไม่เยอะมาก) ก็พอจะถูไถกับที่เสียไปตอนเปิดแอร์รถติดได้นะ แต่ถ้าคุณขับไปกลับบ้านที่ทำงานไกลจริงๆ เช่นขับวันละ 120 กิโลเมตร ก็หมายความว่า อย่าง MG ZS EV เราจะไม่ต้องชาร์จรถคันนี้ทุกวัน (คล้ายเราไม่เติมน้ำมันเต็มถังเป็นประจำ) หรือ ถ้าคิดว่าจะชาร์จทุกวัน ก็ไม่ใช่ 100% ของแบตเตอร์รี่
สมมุติ เราขับรถวันละ 120 ก.ม. จริง จากระยะทางรวม 337 ก.ม. เท่ากับ จะใช้ไฟฟ้า 35 % ของแบตเตอร์นี่ ผมตีเผื่อรถติดไว้ที่ 38% ของแบตเตอร์รี่ เอาร้อยละคิดออกมาเป็นกำลังไฟฟ้า (กิโลวัตต์) เท่ากับ 44.5*0.38 = 16.91 กิโลวัตต์ ( 1หน่วยไฟฟ้า = 1 กิโลวัตต์)
คิดเป็นค่าใช้จ่าย ผมขอเอาเรทไฟบ้านปกติมาคิด (เพราะส่วนใหญ่ทุกบ้านใช้แบบนี้) 3.93 * 16.91 = 66.45 บาท
ถ้าเอาเรทนี้มาคิดกับระยะทาง 120 ก.ม. จะเท่ากับ กิโลเมตรละ 1.8 บาท เท่านั้น (ส่วนการชาร์จสาธารณ EA Anywhere จะสูงกว่านี้)
ค่าไฟ 66 บาท บอกเลยว่าโคตรถูกมาก !! นั่งมอเตอร์ไซค์ วิน เข้าออก ซอย ขึ้นรถไฟฟ้า BTS – MRT ไปกลับที่ทำงานยังแพงกว่านี้ แพ้เพียงการขี่มอเตอร์ไซค์ไปทำงานเท่านั้น
นอกจากนี้ในความเป็นจริงแทบไม่มีทางที่คุณจะขับจนแบตหมด (เพราะทุกคนกลัว..) เหมือนคุณคงไม่ขับรถจนน้ำมันหมดเกลี้ยงถังตายกลางทาง ดังนั้นแทบจะไม่มีทางชาร์จไฟจาก 0% เสียทีเดียว อาจจะชาร์จจาก 5-10% ของแบตเตอร์รี่ เท่านั้น จนเค็ม ถ้ารีบหน่อยธุระด่วนต้องเดิมทางไกล ปัจจุบันหัวชาร์จเร็ว CSS Type 2 มีให้บริการในหลายพื้นที่ สามารถชาร์จ 0%-80% ได้ใน 30 นาที แล้วถ้าคุณไม่ได้ชาร์จจาก 0% ก็จะเร็วกว่านั้น อาจจะ 10-20 นาที เท่านั้น จึงได้ 80% ของแบตเตอร์รี่
แต่ปัญหาสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้า ส่วนใหญ่หลายคนฝันหวานจะชาร์จที่บ้าน คงไม่มีใครบอกคุณใช่ไหม ว่าต้องลงทุนค่าเครื่องชาร์จ อีกประมาณ 4-5 หมื่นบาท ได้ นี่ยังไม่รวมค่าตืดตั้ง แถมบ้านส่วนใหญ่ใช้หม้อแปลง 15/45 อาจไม่พอรองรับการใช้งาน ต้องขยายขนาดมิเตอร์ เสียค่าเปลี่ยนมิตเตอร์อีกต่างหาก
แต่ผมมีคำแนะนำส่วนตัวนะ ติดหม้อ 15/45 หรือ 30/100 แยก สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เพราะ เราจะได้รู้ว่า เดือนนี้ใช้ไฟชาร์จรถไปเท่าไร ซึ่งเท่าที่ถามผู้คร่ำวอดรถยนต์ไฟฟ้า เห็นด้วยในเรื่องนี้
3.สมรรถนะดีกว่า รถยนต์ไฟฟ้า ถูกมองเป็นเรื่องประหยัด และรักษาสิ่งแวดล้อม Zero Emission อะไรไม่รู้ คนไทยบอกไกลตัวจังโว้ย!!
เอาง่ายๆ ผมจะบอกว่า รถยนต์ไฟฟ้าแรงกว่ารถน้ำมัน เพราะมอเตอร์ไฟฟ้าทำแรงบิดดีในรอบต่ำ มีความสามารถสร้างแรงบิดทันที หรือ เราเรียกว่า instant torque
คิดไม่ออกให้นึกถึง คุณเปิดพัดลมที่บ้าน เปิดปุ๊ปติดปั๊บไม่ต้องรอรอบกดแล้วเย็นทันใจ รถยนต์ไฟฟ้าเหมือนกัน กดปุ๊ปได้แรงบิดตอบสนองการขับขี่ทันที แรงม้าอาจน้อยกว่าเครื่องยนตต์จริง แต่แรงบิดคือทุกอย่างในการขับรถมากกว่าแรงม้า
แล้วมันแรงขนาดไหน??
ผมขอยกตัวอย่าง MG ZS EV นี่ 0-100 ก.ม./ช.ม. ใน 8.2 วินาที มันเร็วเท่ารถสปอร์ตหลายรุ่น อย่างใน MG ด้วยกัน เร็วใกล้เคียง MG GS เครื่อง 2.0 ลิตร เทอร์โบ ขับ 2 เครื่องกำลัง 218 แรงม้า (ส่วนแรงบิดเท่ากัน350 นิวตันเมตร) แต่รถยนต์ไฟฟ้ามาไวกว่าตั้งแต่หวดคันเร่งลงไป เมื่อ 3-4 ปี ก่อนนิสสัน เคยเอา Nissan Leaf รุ่นเก่า มาซัดแข่งกับ Nissan 200 SX ถ้าจำไม่ผิด ปรากฏ ลีฟวิ่งเป็นจรวดเข้าเส้นไป ถ้
ผมจะบอกว่า มันแรงมากนะรถยนต์ไฟฟ้านี่ ในเรื่องอัตราเร่งนะ ส่วนความเร็วสูงสุด ขึ้นอยู่กับความสามารถของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้งาน
4.ต้องเปลี่ยนวิถีชีวิต ผมเถียงกับพี่สื่อหลายคนมาก ในเรื่องนี้ เขาบอกไม่จริงหรอก แต่จากที่ผมใช้แบบบ้านๆ ไม่ได้ถูกอัญเชิญขับลงสนาม หรือใช้ที่ต่างประเทศ มันจริงนะ ถ้าลงทุนติดวอชาร์จที่บ้านไม่ได้ คุณจะพึ่งตู้ชาร์จสาธารณะข้างนอก ด้วยการไปเดินห้าง / นั่งร้านกาแฟ และสารพัดกิจกรรมที่กินเวลานานๆ อาศัยชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
ผมเคยทราบจากคนที่ไปฮ่องกงมาว่า เรื่องนี้คล้ายกับที่ฮ่องกง ในวันสุดสัปดาห์รถยนต์ไฟฟ้าจะเกลื่อนเมือง เพราะคนเอาออกมาชาร์จ (ไม่รู้จริง-เท็จแค่ไหน)
อย่างตอนผมเอามาขับ ก็จะวนกับ ร้านกาแฟ – ซุปเปอร์มาร์เก็ตแถวบ้าน แต่ก็ยังอีกหลายที่ที่ ตู้ชาร์จน่าจะไปติด (ฝาก EA Anywhere) เช่น ยิม-ฟิตเนส อย่างเลนฟ้าที่สุวรรณภูมิ นี่น่าจะมีนะ เพราะคนมาทำกิจกรรมกับครอบครัว
นั่นเท่ากับว่าคุณเสียค่าชาร์จรถไฟฟ้าไม่พอ ต้องเสียค่ากาแฟ ค่าเดินห้างด้วย เรียกว่า ทวีคูณ ปกติเติมน้ำมัน 300 เสร้จก็บึ่งออกไปได้ แต่ถ้าใช้รถไฟฟ้าในยุคที่มีการเก็บค่าบริการจริงๆ ค่าชาร์จไม่เท่าไร จะไปอ่วมกับ ค่าข้าวของช๊อปปิงเหยื่อการตลาด จิปาถะ มากกว่า
จากที่ผมขับรถยนต์ไฟฟ้ามา แม้นแค่ชั่วขณะ อาจไม่เยอะเหมือนสื่อท่านอื่น ผมกล้าพูดว่า การมีรถยนต์ไฟฟ้าราคา 1.2 ล้านบาท MG ZS EV กำลังจะเปลี่ยนความคิดคนไทย ผมเชื่อว่ามีคนกล้าคbดอยากลอง อาจไม่อยากเสี่ยงลงทุนมาก ผมเคยบอกทีมงานค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นรายหนึ่งว่า
อย่ามอง “รถยนต์ไฟฟ้า” เป็นเรื่องของคนรุ่นใหม่ เพราไม่มีเงินไปซื้อพวกมัน (ยกเว้นว่า บ้านรวย) แถมด้วยความเป็นเด็กชอบไปเที่ยวนั่นนี่ ยังไม่มีความรับผิดชอบ คงไม่ได้สนใจรถยนต์ไฟฟ้าสักเท่าไร ขอมีรถขับก็พอใจ เอาที่ดูดีโก้หรูหน่อยจบ จะมาอะไร ประหยัดรักโลก มันไม่จริง
ผมวิเคราะห์ว่า คนที่จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้า คือคนวัย 30 -40เป็นระดับหัวหน้างาน มีรายได้ต่อครัวเรือน 50,000-60,000 บาท และเคยผ่านการซื้อรถมาแล้ว มองหารถคันใหม่ มีความชอบเรื่องเทคโนโลยี
ส่วนอีกกลุ่มซึงผมเจอระหว่างขับทดสอบ และน่าสนใจมาก คือ คนแก่วัยเกษียณ หรือ กำลังจะเกษียณ กลุ่มนี้เป็นคนที่พร้อมทุ่มตังค์ลองกับสิ่งใหม่ที่พวกเขาสนใจ และข้อดีคือ ถ้าพวกเขาคิดว่ามันเจ๋งจะบอกต่อกัน ทั้งเพื่อนละลูกหลาน กลายเป็น Micro influencer ได้ด้วย ต่อยอดความเจริญรถยนต์ไฟฟ้ายังลูกหลาน
ทำไมผมถึงพูดมากมายขนาดนี้ เรียนตามตรงอยากให้คนเข้าใจรถยนต์ไฟฟ้าจริงๆ ไม่ใช่ยื้อกันไปมา เหมือนไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน วันนี้เรามีรถที่อยู่ในกลุ่มที่จะเป็นความหวังหมู่บ้าน คนทั่วไปจับต้องได้จริงๆ ทำไมเราปิดกั้นนวัตกรรมใหม่ ถ้าสามารถแจ้งเกิดได้ ควรส่งเสริมสนับสนุนหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาครัฐบาล พยายามลั่นกลองให้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าแล้วหรือยัง มีเพียง อยากให้ต่างชาติมาลงทุน ใครเขาจะมาลงทุนถ้าไม่มีความต้องการจากตลาด ใครจะยอมตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
มันเหมือนยุคเปลี่ยนจาก Feature Phone มาเป็น Smart Phone ในวันนั้นคนยังไม่เข้าใจ เพียง 5-6 ปี ต่อมา วันนี้ซื้อโทรศัพท์ต้องสมาร์ทโฟนเท่านั้น เรื่องเดียวกันก็เหมือนกับการเปลี่ยนถ่ายรถยนต์ใช้น้ำมันมาเป็น “รถยนต์ไฟฟ้า”
ผมอยากบอกทุกคนที่สนใจว่า ใครพร้อมก็ซื้อ ยิ่งถ้าขับในเมืองคุ้มโคตรๆ เรื่องสถานีชาร์จวันนี้ไม่น่ากังวล EA Any where มีทุกพื้นที่
จากที่ได้ลองขับรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว ไม่มีข้อกังขาในเทคโนโลยีนี้ แต่ยอมรับว่าอาจยังไม่เหมาะกับทุกคน ทั้งด้วยราคาที่ยังสูงสักหน่อย ส่วนตัวผมเชื่อว่าในอนาคต จะมีสักค่ายกล้าบ้าบิ่นทำ อีโค่คาร์ไฟฟ้า ตามแนวนโยบาย ออกมาขาย ระยะทาง 200 ก.ม. ต่อการชาร์จ เน้นขับในเมือง ถ้าดึงราคาเหลือสัก 7-8 แสนบาท นั่นแหละ.. เราจะได้เห้นการพลิกโฉมอุตสาหกรรมรถยนต์ครั้งสำคัญ และผมเชื่อว่าไม่นานจากนี้ (เดาด้วยว่า เป็นค่ายญี่ปุ่น)
บทความนี้เป็นการแสดงความคิดเห้นส่วนตัวของผู้เขียน นาย ณัฐยศ ชูบรรจง โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน