ในช่วงหลายปีมานี้ ระบบความปลอดภัยขั้นสูง หรือ ระบบ Adavance Driving Asistance System ที่หลายคนย่อว่า ADAS กลายเป็นฟังชั่นใหม่ที่เข้ามาในรถยนต์ยุคหลังๆ
ฟังชั่นความปลอดภัยช่วยให้ความสะดวกสบายในการขับขี่มากขึ้นไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป และหลายคนมองว่า “มีไว้ไม่ใช้ดีกว่าจะใช้และไม่มี” จนผู้ผลิตรถยนต์ต่างเดินหน้าใส่มาให้กันในรถใหม่ๆ แทบทุกรุ่นตั้งแต่อีโค่คาร์ราคาไม่แพง จนถึงรถราคาหลายบ้าน จนกลายเป็นว่ารถใหม่ๆทุกรุ่นต้องมี ADAS ไม่งั้นคนไม่มอง
ระบบ ADAS ไม่ว่าจะใช้ชื่อไหนของแบรนด์อะไรมีความเหมือนกันอยู่ประการ คือมันออกแบบมาให้สะดวกสบาย ทันสมัยและมีความปลอดภัย มัน่ใจได้ในการขับขี่ ถึงในแต่ละยี่ห้อ จะไม่ต่างกันมาก หากก็มีหน้าที่เหมือนกันคือเป็นตาดวงที่สาม หรือผีพราย ช่วยในการยับยั้งอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ผ่อนหนักเป็นเบา
รถเวลาเกิดอุบัติเหตุ อาจจะเปลี่ยนคัน หรือซ่อมแซทที่เสียหา่ยได้ แต่ชีวิตคนเราไม่สามารถทำแบบนั้นได้ทุกครั้ง ด้วยเหตุนี้ ในทางการตลาด การเพิ่มมูลค่าสินค้าหรือ Value ADD ให้กับผลิตภัณฑ์ จึงเป็นสิ่งที่เชิญชวนสินค้า และของแบบนี้หลายคนอยากได้ และพร้อมจะขวักเงินจ่ายพวกมัน
แต่… ระบบทันสมัยเกล่านี้ แม้คนรุ่นใหม่จะชอบ รวมถึง คนที่มีภาระพันธะ อย่างคนมีครอบครัวจะชอบมากๆ หากราคาระบบเหล่านี้ก็กลายเป็นหอกข้างแคร่ ที่ทำให้ราคารถยนต์เพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว นอกเหนือจากค่าวิจัยพัฒนารถยนต์แต่ละรุ่นที่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
ยกตัวอย่างเช่น ตอนเปิดตัว Subaru Forester ในปี 2019 รุ่นที่มาพร้อมระบบความปลอดภัย Forester IS-Eyesight มีราคาแพงกว่ารุ่นปกติที่ไม่มีระบบตัวช่วยถึง 70,000 บาท ทั้งที่ออพชั่นอย่างอื่นเหมือนกัน
แม้ว่าราคาดังกล่าวจะไม่ได้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงของระบบความปลอดภัยขั้นสูงเหล่านี้ แต่มันก็ชัดเจนว่า ถ้าเมื่อไรเขาใส่มา ราคาจะเพิ่มขึ้น
ยิ่งกว่านั้น แนวคิดนี้ ยังใส่ไปในรถบางแบบ ซึ่งลูกค้าอาจไม่ได้มองข้าวของแบบนี้ ยกตัวอย่างเช่น Ford Ranger Raptor เป็นต้น
การเปิดตัวรถใหม่ ช่วงปีที่ผ่านมา เราได้เห็นว่าทางผู้ผลิต ส่วนใหญ่พยายามใส่ใจเรื่องความปลอดภัยและ ชูมาเป็นจุดขายสำคัญ มากกว่าสมรรถนะรถที่มีสมควรจะปรับปรุง ให้ตรงความต้องการของลูกค้ามากขึ้น
ยกตัวอย่าง Nissan Almera 2023 มีการเพิ่มฟังชั่น ADAS เพิ่มขึ้นจากเดิม ในรุ่นท๊อป หรือ จะเป็น Honda City ที่มีการยกเครื่องใส่ระบบ ADAS มาทั้งไลน์อัพสินค้ารุ่นเครื่องยนต์สันดาป เช่นกัน ทางมาสด้า เติมระบบ i Active Sense มาให้ลูกค้าในตัวท๊อปของรุ่น
ทั้งหมดสะท้อนไปในทางเดียวกัน ว่า รถยนต์ยุคใหม่ จับเอาระบบความปลอดภัยแบบนี้มาเป็นจุดขาย ไพ่ตาย ให้ลูกค้ามองว่า รถที่ได้คุ้มค่ามากขึ้น
แต่.. ระบบ ADAS ไม่ใช่ฉันทามติจากลูกค้า บางคนอยากได้ บางคนไม่อยากได้ บางคนซื้อรถที่มี ADAS มาแล้ว ไม่เคยใช้ ทำให้ บางแบรนด์ เริ่มออกแนวทาง Custom สำหรับรถยนต์ของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น Ford สามารถให้ลูกค้าสั่งซื้อระบบความปลอดภัย ADAS ได้ในรถบางรุ่น ผ่าน Configuration เพือให้ลูกค้าที่งบจำกัดได้มีโอกาส เป็นเจ้าของรถง่ายขึ้น โดยไม่ต้องพะวงว่า จะต้องซื้อระบบความปลอดภัยขั้นสูง
นับเป็นหนทางชาญฉลาดในการเรียกลูกค้าเข้าแบรนด์ ขายได้ทั้งคนที่อยากได้ ระบบพวกนี้และคนที่ไม่อยากได้ ให้ลูกค้าได้มีทางเลือก
หากหนทางที่ท้าทายกว่า ดูจะเป็นการลองของ จากค่าย Great Wll Motor ที่เตรียมท้าทายตลาดไทย ด้วย Haval Jolion Sport ว่าที่รถอเนกประสงค์ แต่งดุที่ไม่เพียงปรับหน้าตาเท่านั้น ยังจะเป็นครั้งแรกที่เราจะเห้นรถใหม่ ที่ไม่มีฟังชั่น ADAS ออกสู่ตลาด มุ่งเน้นทำราคาขายเป็นหลัก และมีกระแสแว่วว่า ราคาจะไม่ข้าม8 แสนบาท
กลายเป็นความท้าทายว่า ตลาดที่ไม่ต้องการ ADAS ยังมีหรือไม่ หรือ คนสมัยนี้จะมองรถ ต้องเอารถที่มีระบบพวกนี้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
อย่างไรก็ดี คนที่ต้องการระบบความปลอดภัยแบบนี้ หรือไม่ ก็อาจจะขึ้นอยู่กับหลายอย่างเป็นปัจจัยเช่นกัน เช่นประสบการณ์ในการขับขี่ , สภาวะ แวดล้อมรอบข้าง และอื่นๆ อีกมาก
ใช่ ระบบเหล่านี้มันให้ความปลอดภัยมากขึ้น แต่ก็มาพร้อมกับราคาที่เพิ่มขึ้น จนบางทีต้องตั้งคำถามว่า มันเป็นออั่นที่ควรให้ เป็นมาตรฐาน หรือ ลูกค้า ควรมีสิทธิเลือก