นาทีนี้ ทุกคนยอมรับว่ ากระแส รถยนต์ไฟฟ้า มาแรงมาก นับตั้งแต้นปีมายันปลายปี ทั้งการประกาศสนับสนุนจากภาครัฐบาล ตั้งแต่เมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา จนกระทั่ง มีแบรนด์ใหม่ อย่าง BYD รวมถึง Tesla ยิ่งทวีความสนใจให้กับคนไทย ว่า คันต่อไป ฉันต้องได้ขับ รถยนต์ไฟฟ้า
หลักการทำงานของรถยนต์ไฟฟ้า ไม่น่าจะต้องอธิบาย เล่ากันให้มากความอีกต่อไป ทุกคนพอจะรู้ ดูรีวิว กันมาหมดแล้วว่า มันใช้งานอย่างไร ข้อดี ของนวัตกรรมขับเคลื่อนยุคใหม่ คือ ค่าไฟฟ้า กับค่าน้ำมัน ค่าไฟฟ้าถูกกว่ามาก 4 ถึง 5 เท่า เมื่อ ระหว่าง หน่วยพลังงาน ต่อหน่วยพลังงาน จนคนจำนวนไม่น้อย คิดว่า ” ฉัน ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า โดย เอาค่าน้ำมันในแต่ละเดือน มาผ่อน น่าจะเข้าท่า ประหยัดได้มากโข”
ผมมั่นใจว่า คนจำนวนไม่น้อย เริ่มมอง จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยแนวคิดแบบนี้ จน เป็นที่มาที่ผมเอง ต่างก็สงสัยไม่แพ้กัน ในเรื่องความประหยัด ในการใช้งาน เมื่อ คุณภรรยา หันมาบอกว่า เจ้าหล่อน สนใจรถยนต์ไฟฟ้า MG 4 Electric จนได้เวลา ที่เราจะต้องมองหา คำตอบเรื่อง ความประหยัด และความคุ้มค่าไปพร้อมกัน
รถยนต์ไฟฟ้า ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า ถ้าเรา พูดถึงประสิทธิภาพ มอเตอร์ เหมือน ที่เราพูดถึง เรื่องความประหยัดน้ำมัน ของรถแต่ละ คัน กลับกลายเป็นเรื่องที่หลายคนมอง ข้าม ไปอย่างน่าเสียดาย
ทุกคนมองแค่ปลายทางค่าพลังงาน ต่อการชาร์จ ที่ปัจจุบัน มีราคาถูกกว่ามาก มันยากกว่าการจินตนาการ ว่ารถยนต์ไฟฟ้า ถ้าเดินทางในระยะทาง เท่ารถยนต์สันดาป หรือ มีอัตราประหยัด เทียบเท่ากัน มันจะคุ้มค่าไหม
อัตราประหยัด และค่าใช้จ่าย ในการเดินทาง รถยนต์ไฟฟ้า MG 4
การหาประหยัด เพื่อความสมจริง ในการค้นหาความจริง และ ไหนๆ คุณ ภรรยา ก็สนใจ รถยนต์ MG 4 ELectric ผมจึงขอยกข้อมูลจาก Eco Sticker มาใช้ ตาม การทดสอบของภาครัฐบาล รถคันนี้ มันกินไฟฟ้า ราวๆ 160 Wh / กิโลเมตร
แต่ไฟฟ้า 1 หน่วย มีค่าเท่ากับ 1 Kwh หรือ หนึ่งกิโลวัตต์ เราจึง จับ เอา อัตรากินไฟฟ้าที่ได้ หาร ด้วยหน่วยไฟฟ้า 1000/160 = 6.25 กิโลเมตร ต่อ กิโลวัตต์ (อ้างอิง จากอัตราประหยัดของ Eco Sticker)
เพื่อให้เห็นภาพ จะใช้ ตัวเลข พอสังเขป ที่อ้างอิงมาจากค่าไฟฟ้าจริง ให้เห็น ค่าใช้จ่าย ในการเดินทาง ของรถยนต์ไฟฟ้า ต่อกิโลเมตร โดยใช้หลักการเดียวกัน ระหว่าง ค่าพลังงาน หารด้วยระยะทางที่ได้ มาใช้ ในการหาค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
- ค่าไฟบ้านปกติ อัตราก้าวหน้า 4.5 บาท ต่อหน่วย ค่าเดินทาง จะตกที่ 4.5 บาท / 6.25 = 0.72 บาท ต่อ กิโลเมตร
- ค่าไฟแบบ TOU ในช่วง เวลา Off peak จะอยู่ ราวๆ 2.7 บาท ต่อหน่วย ค่าเดินทาง จะตกที่ 2.7/6.25 = 0.43 บาท ต่อกิโลเมตร
แต่ถ้า คุณ ต้องชาร์จ ตู้ DC หรือ ที่ชาร์จสาธารณะ ปัจจุบัน อยู่ที่ราวๆ 8.5 บาท ต่อ หน่วย ค่าเดินทางจะตก 8.5/6.25 = 1.36 บาท ต่อ กิโลเมตร
เทียบกับรถสันดาป
จากตัวเลข คุณจะพบว่า ค่าเดินทางของรถยนต์ไฟฟ้า ถูกมาก!!! ถูก เว่อวัง จน เฮ้ย น่าสนใจ แต่เดี๋ยวก่อน เราอยากให้ คุณ มั่นใจ ว่าจะไม่ตัดสินใจผิด จึง ขอ นำ รถสันดาป มาเปรียบเทียบ 3 รุ่น
รุ่นแรก คือ Mazda 2 diesel สุดยอด เก๋ง ดีเซล โคตรประหยัด ที่ทุกคน สามารถ หาซื้อได้ และ มีขนาด และกำลังขับใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะแรงบิด สูงสุด 250 นิวตันเมตร
คันต่อมา Honda City Hatchback 1.0 เทอร์โบ ผม เลือก รถรุ่นนี้มาเทียบ เพราะ นี่คือ รถที่เราใช้ในการขับขี่ประจำวัน มา เกือบ 2 ปี น้องขับดีไม่มีปัญหา เร่งแรงแซงทันใจ อยู่พอสมควร
และท้ายสุด Honda Civic e:HEV คันนี้ ต่างจาก 2 คันแรก เนื่องจาก มีราคาแพงกว่ารถใหญ่กว่า แต่ ด้วยรถคันนี้เป็นรถยนต์ไฮบริด ที่มีประสิทธิภาพ รุ่นหนึ่งในวันนี้ จึงค่อนข้าง น่าสนใจ และราคาก็บวกไปอีกไม่เยอะมาก
เราลองมาดูว่า มันประหยัด ต่างกันเท่าไร
เงื่อนไขในการเปรียบเทียบ
เงื่อนไขในการเปรียบเทียบของผม คือ ใช้อัตราประหยัด ที่เคยทดสอบ และขับขี่จริง ของ รถทั้ง 3 รุ่น เทียบกับ ข้อมูล Eco Sticker ของ MG 4 ELectric
โดย รถ เบนซิน เทอร์โบ และ ไฮบริด ใช้ราคาพลังงาน น้ำมัน แก๊ส โซฮอล 95 ในวันที่เขียน บทความ อยู่ที่ 34.45 บาท ต่อลิตร
รถดีเซล ใช้น้ำมันดีเซล ปกติ (B7) ไม่ใช่ น้ำมันพรีเมี่ยม ราคา ในวันที่ เขียนบทความ อยู่ที่ ลิตรละ 34.94 บาท ต่อ ลิตร
ส่วนรถยนต์ไฟฟ้า เราใช้ ข้อมูล จาก Eco Sticker ตามที่คำนวนไว้ข้างต้น ค่าไฟฟ้า เป็นค่า โดยเฉลี่ย อาจไม่ตรงกับที่การไฟฟ้า หรือ ผู้ให้บริการ จัดเก็บเป๊ะๆ ไม่ต้องมาดราม่า ประกอบด้วย
- การจัดเก็บ อัตราก้าวหน้า หน่วยละ 4.5 บาท
- การจัดเก็บแบบ Tou โดยเอาค่า ช่วง Off Peak มาใช้ หน่วยละ 2.7 บาท
- การชาร์จ ตู้สาธาารณะ ในช่วง On Peak หน่วยละ 8.5 บาท
การเปรียบเทียบ
และแล้ง ห้วง เวลาพิสูจน์ ตัวเอง ของรถยนต์ไฟฟ้า ก็มาถึง มันจะประหยัดจริง ไหม ..ประหยัด กว่า แค่ไหน รู้กัน
ผม ขอสรุป ค่าใช้จ่ายเดินทาง ต่อ กิโลเมตร ของ MG 4 EV อีกครั้ง ดังนี้
- การชาร์จบ้าน ในอัตราก้าวหน้า ตก 0.72 บาท ต่อกิโลเมตร
- การชาร์จไฟบ้าน ด้วยมิเตอร์แบบ Tou ช่วง Off Peak ตก 0.43 บาท ต่อกิโลเมตร
- การชาร์จ ตู้ สาธารณะ (DC)ในช่วง On peak ตก 1.36 บาท ต่อ กิโลเมตร
ทีนี้เรา มาดู รถสันดาป กันบ้าง
มาสด้า 2 ดีเซล (รุ่นซีดาน) หากขับเดินทางต่อเนื่อง ราวๆ 22.34 ก.ม./ลิตร จากที่เคยขับขึ้นเชียงใหม่ ค่าเดินทาง จะเท่ากับ 34.94/22.34 = 1.56 บาท ต่อ กิโลเมตร
Honda City Turbo Hatchback ปกติ ผมขับ นอกเมือง จะตก อยู่ ราวๆ 18.5 ก.ม./ลิตรค่าเดินทาง จะตก อยู่ที่ 34.45/18.5 = 1.86 บาท ต่อ กิโลเมตร
ส่วนรถไฮบริด รถยนต์ Honda Civic e:HEV เคยขับทดสอบ อัตราประหยัด นอกเมือง จากการขับทดสอบจริงได้ที่ 22.5 ก.ม./ลิตร ด้วยน้ำมัน แก๊ส โซฮอล 95 ค่าเดินทาง จะตกเฉลี่ย ที่ 34.45/22.5 = 1.53 บาท/ก.ม.
ขนาดถังน้ำมัน รถทั้ง 3 รุ่น ถ้าขับ จนหมดไม่สามารถขับต่อได้ จะมีระยะเดินทางดังนี้
อัตราประหยัด (ก.ม./ลิตร) ขนาดถังน้ำมัน (ลิตร) ระยะเดินทาง พอสังเขป เมื่อน้ำมันเต็มถัง ค่าใช้จ่าย เติมน้ำมัน โดยประมาณ Mazda 2 diesel 22.34 44 983 ก.ม. 1362 บาท Honda City Turbo 18.5 40 740 ก.ม. 1,205.75 บาท Honda Civic e:HEV 22.5 40 900 ก.ม. 1,205.75 บาท
*หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายน้ำมันโดยประมาณ จะ -5 ลิตร จาก ขนาดถังน้ำมัน เนื่องจากไม่มีใครขับรถน้ำมันเข็นเข้าปั้มในความเป็นจริง
ส่วนรถยนต์ไฟฟ้า MG 4 Electric ใช้ แบตเตอร์รี่ ขนาด 51 Kwh ปริมาตร ใช้จริงได้ อยู่ที่ 50.8 Kw ตามข้อมูลจากต่างประเทศ
อัตราประหยัด (ก.ม./Kw) ขนาดแบตเตอร์รี่ ระยะเดินทาง พอสังเขป ต่อการชาร์จ ค่าใช้จ่าย ต่อการชาร์จ Tou ค่าใช้จ่าย ต่อการชาร์จ DC MG4 Electric 6.25 50.8 317.5 ก.ม. 123.66 บาท 389 บาท
*หมายเหตุ ค่า ชาร์จ – 5 KW เพราะ ไม่มีใครกล้าขับ รถยนต์ไฟ้า จนไม่สามารถขับต่อได้ในความจริง (ประจุแบตใช้ไป 45.8 kw)
เบื้องต้น เราจะพบว่า น้ำมัน 1 ถัง จะเดินทางได้มากกว่า รถยนต์ไฟฟ้าหลายเท่าตัว ถ้า เราลอง คำนวน ว่ามัน จะประหยัด ต่างกันเท่าไร
ผมใช้ สูตร เอา ระยะทางรถสันดาป แล้ว หารด้วยระยะทาง ของรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อหา % ความแตกต่าง ก่อน นำเอา ค่าใช้จ่ายไฟฟ้ามาคำนวนได้ดังนี้
ระยทาง ต่อถังน้ำมัน ค่าใช้จ่ายเติมน้ำมัน ค่าความแตกต่าง ของระยะทางขับ เมื่อเทียบกับ รถ สันดาป ที่นำมาเทียบ ค่าใช้จ่าย เมื่อต้องเดินทาง ในระยะทางเท่ากัน DC ค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า รถสันดาป ในระยะทางเท่ากัน Mazda 2 diesel 983 ก.ม. 1,362 บาท 309.60% 1,204 บาท 154 บาท Honda City Turbo 740 ก.ม. 1,205.75 บาท 233.07% 906 บาท 299.75 บาท Honda Civic e:HEV 900 ก.ม. 1,205.75 บาท 283.46% 1,102 บาท 103.75 บาท
จากตารางข้างต้น จะเห็นว่าเราไม่ได้ นำ ค่าไฟ Tou มาใช้ เนื่องจาก เมื่อเดินทาง คุณต้องชาร์จสาธารณะเท่านั้น
แต่ รถยนต์ไฟฟ้า อย่าง MG 4 EV สามารถ ครอบคลุม ระยะทาง 300 ก.ม. ด้วยการชาร์จเพียงครั้งเดียวเท่านั้น เราลองมาดูว่า มันประหยัดกว่าแค่ไหน
ตารางเปรียบเทียบ
ระยะทาง อัตราประหยัด การใช้พลังงาน ราคาพลังงาน ค่าเดินทางสุทธิ ค่าใช้จ่ายรถยนต์ไฟฟ้า เดินทาง ด้วยการชาร์จ DC ถูกกว่า รถยนต์ไฟฟ้า Tou Charge 300 6.25 48 kwh 2.7 บาท ต่อหน่วย 129 บาท รถยนต์ไฟฟ้า Normal Charge 300 6.25 48 kwh 4.5 บาท ต่อ หน่วย 216 บาท รถยนต์ไฟฟ้า DC Charge 300 6.25 48 kwh 8.5 บาท ต่อหน่วย 408 บาท รถเก๋ง 1.5 ดีเซล 300 22.34 13.42 ลิตร 34.94 บาท ต่อ ลิตร 468.89 บาท 60.89 บาท รถเก๋ง 1.0 เทอร์โบ 300 18.5 16.21 ลิตร 34.45 บาท ต่อ ลิตร 558.43 บาท 150.43 บาท รถเก๋ง 2.0 ไฮบริด 300 22.5 13.33 ลิตร 34.45 บาท ต่อลิตร 459.2 บาท 51.2 บาท
จากตาราง จะยิ่งชัดขั้น ว่าที่จริง แล้ว รถยนต์ไฟฟ้า มีค่าใช้จ่ายถูกกว่าในการเดินทาง ด้วยการชาร์จ DC ไม่มากไปกว่ารถยนต์ไฮบริด หรือ รถเก๋งที่มีประสิทธิภาพในการสันดาป เท่าไรนัก แต่ใช่ จะถูกลงกว่านี้ เมื่อคุณชาร์จกับไฟบ้าน ค่าใช้จ่าย จะถูกลง ครึ่งหนึ่ง และยิ่ง ถูกกว่ารถน้ำมัน หลาย เท่าตัว เมื่อชาร์จ ด้วย Tou
ทีนี้ เราลอง มาคำนวน ค่าใช้จ่ายที่ประหยัด ลงต่อปี ดู บ้าง ปกติ คนทั่วไปใช้รถ เฉลี่ย ปีละ 20,000 ก.ม.
ระยะทาง อัตราประหยัด การใช้พลังงาน ราคาพลังงาน ค่าเดินทางสุทธิ ส่วนต่างจากรถยนต์ไฟฟ้า DC (บาท) ส่วนต่างจากการชาร์จไฟจากบ้านปกติ (บาท) ส่วนต่างจากการชาร์จไฟจากบ้าน Tou (บาท) รถยนต์ไฟฟ้า Tou Charge 20,000 6.25 km/kw 3,200 kwh 2.7 บาท ต่อหน่วย 8,640 บาท – – – รถยนต์ไฟฟ้า Normal Charge 20,000 6.25 km/kw 3,200 kwh 4.5 บาท ต่อ หน่วย 14,400 บาท – – – รถยนต์ไฟฟ้า DC Charge 20,000 6.25 km/kw 3,200 kwh 8.5 บาท ต่อหน่วย 27,200 บาท – – – รถเก๋ง 1.5 ดีเซล 20,000 22.34 895.25 ลิตร 34.94 บาท ต่อ ลิตร 31,280 บาท 4,080 ( 340 บาท ต่อเดือน) 16,880 (1,406 บาท ต่อเดือน) 22,640
(1,886.66 บาท ต่อเดือน)รถเก๋ง 1.0 เทอร์โบ 20,000 18.5 1,081.08 ลิตร 34.45 บาท ต่อ ลิตร 37,243 บาท 10,043 ( 836 บาท ต่อเดือน) 22,843 (1,903.58 บาท ต่อเดือน) 28,603
(2,383.58 บาท ต่อ เดือน)รถเก๋ง 2.0 ไฮบริด 20000 22.5 888.88 ลิตร 34.45 บาท ต่อลิตร 30,621.91 บาท 3,421(285 บาท ต่อเดือน) 16,221 (1,351.75 บาท ต่อเดือน) 21,981.91 ( 1,831.82 บาท ต่อ เดือน)
จากตารางนี้ คงพอจะเห็นชัด ขึ้นว่า รถยนต์ไฟฟ้า จะประหยัด ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ในแต่ละเดือน สูงสุด เดือนละ ไม่เกิน 2,500 บาท เมื่อเทียบกับ รถเครื่องเบนซินเทอร์โบ แต่ถ้ารถคุณเก่ากว่านี้ เช่น เป็น เก๋ง 1500 ซีซี ตัวเลข การประหยัดค่าใช้จ่ายก็จะยิ่งทวีขึ้น
ภายใต้เงื่อนไข ว่า คุณต้องเดินทางไม่เกิน 20,000 ก.ม. ต่อ ปี หรือ ตกเฉลี่ย ราวๆ 1,666 ก.ม. ต่อเดือน หากเดินทางมากกว่านี้ ก็ยิ่ง ประหยัดมากขึ้น ตามลำดับ ครับ
โดยสรุป
มาถึง ตรงนี้ เชื่อว่า ทุกคน คงพอเห็นภาพ แล้วว่า รถยนต์ไฟฟ้าประหยัด ค่าเดินทาง มากอย่างที่เราคิดไหม
มันมากในแบบที่เราคิดว่า จะเอาค่าน้ำมัน มาผ่อนรถ หรือ เปล่า อย่าลืม การซื้อ รถหนึ่งคันมีภาระ ผูกพัน อีกมากมาย ไม่ว่าจะ เงินดาวน์ ค่าประกันภัย ไม่ใช่เพียง ค่าผ่อนรถในแต่ละงวดเท่านั้น ครับ
ในบทความนี้เราไม่ได้ เอา ค่าใช้จ่ายอื่นๆมาคิด ซึ่ง ยังมีส่วนที่เป้นสาระสำคัญที่ต้องพิจารณา อาทิ ค่าประกันภัย ที่ยังแพงมากๆ , ค่าเสื่อมแบตเตอร์รี่ และในอนาคต อาจจะมีค่าจัดการแบตเตอร์รี่ ตลอดจน ค่าใช้จ่ายแฝง เช่น การกิน ระหว่างรอชาร์จ
อย่างในกรณี เทียบกับ ซิตี้เทอร์โบ ของผม ที่ใช้ประจำ ถ้า ชาร์จบ้านตลอด ไปกลับในระยะทาง ด้วยไฟฟ้า Tou ถ้า คำนวน ว่า ค่าผ่อน MG 4 EV ตกเดือนละ 12,000 บาท ก็เรียกว่า ค่าพลังงานที่ถูกกว่า 5 เดือน ก็พอจะผ่อน รถได้ ปีละ 2 งวด ครับ ซึ่ง ก็โอเคนะ
แต่ถ้าใครใช้รถ ที่ยังค่อนข้างประหยัด เช่นรถไฮบริด หรือ รถสันดาป รุ่นใหม่ๆ อาจจะต้องลองตัดสินใจดีๆ ครับ ว่าคุ้มกันหรือไม่
ในบทความนี้ เราไม่ได้ เผยแพร่ เพื่อ โจมตี รถยนต์ไฟฟ้า แต่ ต้องการให้ทุกคน เข้าใจว่า มันประหยัด และ ประหยัดกว่าได้อย่างไร
จากทั้งหมด จะเห็นว่า รถยนต์ไฟฟ้า ประหยัดกว่า ถ้า คุณชาร์จที่บ้าน เป็นหลัก โดยเฉพาะ การชาร์จแบบ Tou
แต่ทั้งนี้ การคำนวนของเรา อาจจะมีประเด็นที่ พื้นฐานอัตราประหยัด ของ MG 4 EV เป็นข้อมูล จากการทดสอบของ Eco Sticker ไม่ใช่การขับขี่จริง ซึ่งหาก ขับบนถนน แล้ว มันแย่กว่านี้ ก็จะทำให้ ความแตกต่างน้อยลงของค่าเดินทางไปด้วย รวมถึง ปัจจัย ค่าไฟฟ้า ที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในอนาคต แอันมาจาก ระบบไฟฟ้าในปัจจุบัน ของไทยนั้น ยึงพึ่งพา พลังงาน อย่างน้ำมันและแก๊ส อยู่ต่อเนื่อง
ส่วนรถสันดาป ถ้า ราคาน้ำมัน ยังลงต่อเนื่องแบบนี้ ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งลดลง แต่ ก็คงไม่ลด ไปมากจนถึงระดับ ต่ำกว่า 30 บาท แบบในวันวาน อย่างแน่นอนครับ
รวมถึง เราคำนวน แบบคร่าวๆ ไม่ได้ใช้การเดินทางในเมือง ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้า จะมีความสามารถมากขึ้นครับ
ดังนั้น รถยนต์ไฟฟ้า ช่วยคุณลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้จริง แต่ทั้งหมด มีค่าพลังงาน ที่คุณเติมเข้าไปในรถเป็นตัวแปรสำคัญ และไม่ได้ ประหยัดมากจนถึง เอาค่าน้ำมันรายเดือนมาผ่อนรถได้ ทุกเดือนแบบที่เข้าใจ เว้นว่ารถคุณซดน้ำมัน ระดับ ค่าใช้จ่ายเดือนเป็นหมื่น
ถ้าแบบนั้น ก็หันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าเถอะครับ