Home » Panoramic Roof หลังคากระจก สุดเท่ห์ ..​ที่อาจไม่เหมาะกับเมืองไทย
Blog Buster บทความ

Panoramic Roof หลังคากระจก สุดเท่ห์ ..​ที่อาจไม่เหมาะกับเมืองไทย

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับ พัฒนาการทางดเานงานออกแบบรถยนต์ก้าวไปมาก หนึ่งในออพชั่น ที่เริ่มมีอย่างเหลือกราด ก็ดูจะเป็นหลังคา กระจก หรือ Panoramic Roof

หลังคาแบบนี้ ที่จริง ไม่ใช่เรื่องใหม่ มันมีมานาน ในรถยนต์หรู ราคาหลายล้านจากทางฝั่งยุโรป แต่ ในช่วงระยะหลังนี้ มันเริ่มมานิยมมากขึ้นในรถบ้านทั่วไป รถบางรุ่นวางหมาก เป็น ออพชั่นพื้นฐาน ด้วยความตั้งใจในการทำให้ รถมีความรู้สึกปลอดโปร่ง

นั่น อาจดี กับ ประเทศทางฝั่งเมืองหนาว แต่กับประเทศไทย ที่มีอากาศร้อน ระดับวัวตายควายล้ม แดดจ้าทั้งวัน โดยเฉพาะในฤดูร้อน ก็ต้องถามว่า มันเหมาะสมหรือไม่

วิวัฒนาการของหลังคากระจก ก็เป็นการต่อยอดจาก Sunroof นั่นเอง เดิมที่รถที่มีหลังคาเปิดได้บางส่วนอย่าง ซันรูฟ จะถูกเจาะช่องให้แสงลง มีม่านปิด บังแดดอย่าง จะเปิดใช้ก็ได้ ไม่เปิดใช้ก็ปิดเอาไว้

แต่เมื่อรถอายุอานาม เยอะขึ้น พวกขอบยาง รางน้ำเสื่อมสภาพตามกาลเวลา เจ้าหลังคาสุดหล่อ ในอากาศหนาว อย่างบ้านเรา นานๆ จะหนาวยาวๆ สักที) ก็กลายเป็นหอกข้างแค่ ต้องมาดูแลซ่อมแซม กว่าจะรู้ตัวก็ในหน้าฝน เมื่อเริ่มเห็นอาการซึงมาทักทาย

นักออกแบบ และวิศวกร จึงพัฒนา หลังคากระจกขึ้นมา โดยวางกระจกแทน พื้นที่เหล็กเดิมทั้งหมด ไม่ต่างจาก อากาคารสูงสมัยใหม่ ชอบใช้กระจก แทน การก่ออิฐถือปูน ขึ้นมาแบบในยุคก่อน

กระจกเหล่านี้ ไม่ใช่กระจกธรรมดา โดยส่วนจะใหญ่จะเป็นกระจกประเภท ตัดความร้อน บางคนเรียก IR Cut สมัยใหม่บางรุ่น อาจใช้กระจกประเภท Low e ตัดความร้อนออกไป สิ่งที่เข้ามาในห้องโดยสาร คือ แสงสว่างเท่านั้น ช่วยให้ ห้องโดยสารดูปลอดโปร่ง มากขึ้น ดีกว่า การใช้ทำหลังคาด้วยแผ่นเหล็กเดิมๆ ตัวรถดูมีลูกเล่นมากขึ้น กว่ารถปกติทั่วไป

การเข้ามา ของหลังคาแบบนี้ ค่อนข้างถูกใจ คนชอบออพชั่น ต้องยอมรับง่า หลังคากระจก ในรถทุกรุ่น มอบเสน่ห์ในห้องโดยสาร สัมผัสได้ถึงความแตกต่าง อย่างชัดเจน

ในแง่การใช้งาน มันมอบความสว่างในห้องโดยสารมากขึ้น ความรู้สึกว่าพื้นที่ในห้องโดยสารคับแคบ เล็ก นั่งไม่สบาย ถูกขจัดด้วยแสงสว่าง จากภายนอก และช่วยให้ผู้ขับขี่รู้สึกดี นั่นคือที่นักออกแบบส่วนใหญ่ตั้งใจ และ วาดหวังไว้ ในสิ่งที่ลูกค้าจะได้ไปจากรถ

แต่ … ในความจริง หลังคาแบบนี้ แม้ว่า จะมีการตัดแสงตัดความร้อนแล้ว ก็ยังมีความร้อนเข้ามาอยู่บ้าง แม้จะเป็นปริมาณน้อย แต่ก็เข้ามา ซึ่งในเมืองหนาวคงไม่เท่าไร เพราะ ค่าอุณหภูมิบ้านเขา ไม่ได้สูงมาก แต่บ้านเราในหน้าร้อนจัด บางวัน ทะลุ 40 องศา

ผมเห็นบ่อยครั้ง ที่หลายคน สนใจตัวรถ แต่กังวล เรื่องความร้อนจากหลังคากระจกว่า มันจะไม่ไหวเอาในหน้าร้อน และส่วนใหญ่ จบลงที่การหา มุ้ง หรือยอมลบทุนติดฟิล์หลังคากระจก ซึ่งช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่อดดที่จ้าในบ้านเรา บางครั้ง ก็ทำให้รบกวนการขับขี่ จนสุดท้ายมุ้งบังแสง อาจจะเป็นคำตอบที่ดีกว่า

ในทางเดียวกัน เท่าที่ตามอ่าน ข้อมูลจากต่างประเทศ หลายแห่ง มีความคิดเดียวกับผมเช่นกันว่า หลังคากระจก ยิ่งมีขนาดใหญ่ ยิ่งกลายเป็นเหมือน เอาน้ำหนักไปไว้บนหลังคา สร้างน้ำหนักไว้บนหลังคา เพราะ กระจกพวกนี้ไม่เพียงจะให้ความสว่าง ตัดความร้อน มันยังต้องออกแบบมาให้ มีความทนในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะ ในแง่ของสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่นรถเกิดการพลิกคว่ำ ในระหว่างการขับขี่

แม้จะเป็นกระจก ก็ต้องทนแรงกระแทกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ มันจึงต้องมีความหนา ในระดับหนึ่ง กระจกยิ่งหน้า เท่ากับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ตามมาด้วย ดังนั้น ไม่ต้องนักวิทยาศาสตร์ระดับปรมาจารย์ ทุกคนก็รู้ว่า น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นบนหลังคา คือการเพิ่มจุดศูนย์ถ่วงให้สูงขึ้นตามไปด้วย

ไม่เพียงเท่านี้ ทางด้านเสียงรบกวนในห้องโดยสาร ก็เป็นอีกสิ่งที่หลังคากระจก สรา้างความน่ากังวลใน ปัจจุบัน บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ใช้กาวแรงยึดสูง ในการติดโครงสร้างตัวถังในหลายจุด แทนการเชื่อมตัวถังแบบยุคก่อน เพื่อลดน้ำหนักตัวรถลง

ในแง่หลังคาแบบนี้การติดตั้งต้องใช้วิธีการดังกล่าว แม้มันจะไม่หลุดออกง่ายๆ แต่ ในอนาคต เสียงรบกวนก็จะเพิ่มขึ้นตามอายุของรถ และการเสื่อมสภาพ โดยเฉพาะยิ่งรถคันนั้น ถูกใช้งานอย่างหนัก มีการบิดตัวของโครงสร้างจากการขับขี่บ่อย มีความเป็นไปได้สูงที่เสียงรบกวนจะมากขึ้นตามไปด้วย

นั่นทำให้ ในต่างประเทศ มีคำแนะนำ สำหรับคนที่มองหารถใช้งานยาวๆ ว่า ควรเลี่ยงรถที่มีหลังคาแบบนี้ เนื่องจาก อาจมีประเด็นในระยะยาว จากการเสื่อมสภาพ

อย่างไรก็ดี , การที่ หลังคากระจก กลายเป็นออพชั่น ที่ถูกวางหมากมาแข่งขัน ต้องยอมรับว่า คงอยากที่จะเลี่ยง เพราะมีอยู่ในรถยนต์หลายรุ่น ตั้งแต่รถไฮบริดไปยัน รถยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่

ในเรื่องความร้อนเข้าห้องโดยสาร มันยังพอมีทางออกทางแก้ไข ถูกใจก็ซื้อได้ แต่เรื่องเสียงรบกวนในระยะยาว หรือ อาจเกิดอาการรั่วซึมในวันหน้า ไม่มีใครบอกคุณได้ ก็ต้องลองเสี่ยงวัดดวงกันว่า

เมื่อรถเริ่มเสื่อมตามกาลเวลา เจ้าหลังคากระจก ยังปกป้องคุณได้ดี แบบ วันที่เป็นรถใหม่ป้ายแดงหรือไม่

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.