ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันในระหว่างบริษัทรถยนต์ เกมสำคัญทางการตลาดถูกงัดนำออกมาใช้ เพื่อจูงใจลูกค้ามากมาย ไม่ว่าจะการสร้างความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ การสร้างฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น ไปจนถึงการพยายามเข้าถึง่องทางในการวางจำหน่ายและสื่อสารกับลูกค้า แต่ช่วงปีที่ผ่านมา เราได้เห็นกลยุทธ์สำคัญใหม่ที่ทำให้ทุกคนอาจจะเริ่มเห็นแล้วว่า บริษัทรถยนต์พยายามและตั้งใจมากขึ้นในการทำตลาด ผ่านการจูงใจในด้านราคา
“ราคาสินค้า” ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ต่ออำนาจการตัดสินใจในการซื้อของ เป็นพื้นฐานที่ไม่ว่าใคร ทั้งยาจก หรือเศรษฐีต่างให้ความสำคัญ ตามคุณลักษณะของผู้บริโภค ที่มองหาผลิตภัณฑ์ใดก็ตามมาตอบสนองความต้องการของตัวเอง ให้บรรลุวัตถุระสงค์ที่ต้องการ
การตั้งราคาขายถือเป็นเรื่อที่มีความสำคัญมากๆ โดยเฉพาะในการเปรียบเทียบเชิงความคุ้มค่าระหว่างผลิตภัณฑ์ ทั้งที่เป็นคู่แข่งโดยตรง และในทางอ้อม ลูกค้าในวันนี้ไม่ได้มองแค่รถยนต์รุ่นหนึ่งชนกับอีกรุ่นหนึ่งเท่านั้น แต่มองถึงทุกรุ่นที่พวกเขาคิดว่าน่าสนใจและจ่ายไปแล้วคุ้มค่า
ช่วงปีที่ผ่านมาเกมทางด้านกลยุทธราคา เริ่มกระข่างมากขึ้นและทำให้เราเห็นว่าบริษัทรถยนต์มีการปรับตัวเชิงราคาขายรถยนต์ใหม่มีความเหมาะสมมากขึ้น เพื่อดึงดูดใจลูกค้า
โดยเฉพาะการพลิกผันของ MG กลายเป็นกระแสความนิยมในชั่วข้ามคืนของรถยนต์ MG ZS ใหม่ ที่เปิดตัวไปเมื่อปลายปีที่แล้ว เปิดราคาขายเริ่มต้น 679,000 บาท จนทำให้หลายคนสนใจและอย่างน้อยที่สุดก็ทำให้ลูกค้าเข้าไปในโชว์รูม แทนที่จะออกโปรโมชั่นน่าสนใจให้ลูกค้าไปคิดเอาว่าจะคุ้มค่าหรือไม่
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเราเริ่มเห็นชัดเจนมากขึ้น จากภาพที่เรือนลางเชิงการตลาดมาสู่ความเป็นจริงที่รถยนต์ใหม่มีการปรับราคาขายที่เหมาะสมมากขึ้นตามลำดับในการเปิดตัวหลายรุ่นไม่วายแม้แต่เจ้าตลาด อย่าง Toyota ที่เปิดราคาขาย Toyota C-HR ที่แม้นอาจจะดูแพงในสายตาของหลายคน แต่ส่วนที่ดีของรถรุ่นนี้กลับเป็นรุ่นไฮบริดที่มีราคาไม่ได้ไกลเกินเอื้อม ด้วยรุ่นเริ่มต้นไฮบริดที่เคาะริ่มต้นที่ 1,069,000 บาท และรุ่นท๊อปที่มาพร้อมแพ็คเกจความปลอดภัย , ระบบเชื่อมต่อระยะไกล ก็กลับมีราคาเพิ่มขึ้นเพียง 90,000 บาท เท่านั้น ก็ได้รถที่ฟังชั่นเต็ม ซึ่งราคาขนาดนี้เมื่อก่อนไม่มีทางที่คุณจะสามารถซื้อรถที่เป็นระบบ Full Hybrid ได้เลยด้วยซ้ำไป
แน่นอนการวางราคาขายกลายเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ปรับยากที่สุดในการกระบวนการทางตลาด ด้วยเมื่อเซทราคาขายแล้ว จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้หรือเป็นไปได้ยาก ละทำได้เพียงในช่วงการปรับโฉมหรือเมื่อเปลี่ยนรุ่นใหม่ไปแล้วเท่านั้น
การตั้งราคาที่ดีนอกจากจะเรียกความสนใจให้กับลูกค้าได้แล้ว ยังช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้นด้วยในทางหนึ่ง และเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่เชิงรถยนต์นั่งตลาดๆ ทั่วไปเท่านั้น แต่รวมถึงกลุมรถยนต์นั่งหรูด้วย
โดยเฉพาะล่าสุดกับการเปิดตัว Volvo XC 40 ใหม่ ที่มาพร้อมราคาขายเริ่มต้นเพียง 2.09 ล้านบาท สำหรับยนตรกรรมจากสวีเดน นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านมาเลเซีย ซึ่งเซทราคาเริ่มต้นไว้ชนิดที่ไม่เคยมีใครจะคิดว่ารถยนต์นั่งแบรนด์หรู 3 อันดับแรกจะกล้าตั้งราคาชนิดเฉียดรถยนต์ซีดานกลางญี่ปุ่นแทบจะหายใจรดต้นคอ
แถมตัวรถมาด้วยฟังชั่นและออพชั่นที่ใช้งานได้ครบเครื่องครบครัน ทั้งความปลอดภัย , สมรรถนะตัวรถ รวมถึงออพชั่นที่จำเป็นในการใช้งานในการขับขี่
แน่นอน Volvo ไม่ใช่ค่ายเดียวที่หันมาเล่นกลยุทธคืนกำไรให้ลูกค้าผ่านราคาขายของรถ ด้วยตั้งแต่การเปลี่ยนมือของ Audi มาสู่บริษัท ไมน์สเตอร์ เทคนิค จำกัด ตัวแทนรายใหม่ทาง Audi ค่ายรถยนต์เยอนมันที่หลายคนเคยลืมก็มีการปรับราคาที่เหมาะสมต่อตลาดมากขึ้น แม้ว่าจะเป็นรถที่นำเข้าทั้งคันก็ตาม
อาทิในกลุ่มเดียวกับ Volvo XC 40 ก็จะเป็น Audi Q2 มาพร้อมราคาขาย 2,249,000 บาท และมีราคาขายในแต่ละรุ่นที่ถือว่าแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดที่ผลิตขายในประเทศได้อย่างน่าสนใจ จนปีที่แล้วสามารถทำยอดได้ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้
การตั้งราคาขาย เป็นพื้นฐานในเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญในการทำตลาด และที่ผ่านมาก็มีการพิสูจน์แล้วว่า รถยนต์ที่มีราคาขายที่เหมาะสม ลูกค้ามองแล้วคุ้มค่าจะเป็นที่สนใจ ทำให้ในวันนี้เราได้เห็นราคาที่เหมาะสมในรถยนต์รุ่นใหม่ๆ มากขึ้น ในอนาคต แล้วคนที่ได้ประโยชน์ที่สุด คือผู้บริโภค