Home » เปิดเบื้องหลัง แบรนด์ชั้นนำทุนจีน … ยุคนี้ที่กำลังจะเปลี่ยนไป
ตลาด B-SUV
บทความ สกู๊ปเด็ด

เปิดเบื้องหลัง แบรนด์ชั้นนำทุนจีน … ยุคนี้ที่กำลังจะเปลี่ยนไป

ในอดีตเมื่อเราพูดถึง ประเทศจีน หลายคนเรียกว่าขยาดกับสินค้าต่างที่ดูเหมือนจะไร้ซึ่งคุณภาพ อะไรก็ตามที่ปั้มตราว่า  Made in China   ถือเป็นสินค้าที่ไม่สมควรจะคบหาด้วย ในความคิดของหลายคน แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป จีนวันนี้มีเศรษฐกิจใหญ่ติดระดับโลก หากวั้นนี้หลายคนกลับยังไม่ถอดใจจากความเชื่อเดิมๆ ว่าอะไรก็ตามที่จีนเขามามีเอี่ยวจะด้อยคุณภาพหมดทุกสิ่งในความคิดพวกเขา

ด้วยการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน จีนเข้ามาถือครองบริษัทรถยนต์หลายรายในฐานะผู้ถือหุ้นรายสำคัญ พวกเขามีเงิน ,พวกเขาต้องการเทคโนโลยี มันไม่แปลกที่บริษัทจีนชั้นนำจะเข้ามมีบทยาทในแบรนด์ต่างๆ หลายแบรนด์ชั้นนำในปัจจุบัน และเราจะมาสำรวจว่ารถยนต์แบรนด์ไหนบ้าง ที่ใช้ทุนจีน ..แล้วมันดูด้อยคุณภาพลงอย่างที่เราคิดหรือไม่

 

Volvo

บริษัทรถยนต์จากสวีเดน เป็นบริษัทรถยนต์รายแรกๆ ที่ตกเป็นข่าวว่าถูกซื้อโดยบริษัทรถยนต์จากประเทศจีน หลังในปี 2009  Ford Motor Company   ประกาศขายค่ายรถยนต์สวีเดน และท้ายที่สุดแล้วบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่จากจีน  Zhejiang Geely  Holding  หรือ ที่เรารู้จักในนาม   Geely   เป็นผู้ชนะการซื้อขายไป

Volvo XC40

ถ้านับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้น ก็นับเป้นเวลาเกือบ 1 0ปี แล้วที่วอลโว่ดำเนินการใต้ทุนบริษัทจีน  เราจะเห็นได้ว่าบริษัทมีแนวทางสำคัญลดการใช้เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ที่เราอาจคุ้นเคยในอดีต เหลือเพียง เครื่องยนต์ 4 สูบ และ 3 สูบ เท่านั้น รวมถึงยังมีการสร้างแพลทฟอร์มใหม่ ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่รถยนต์   Volvo  XC 90   ใหม่   Scalable Product Architect  

แต่ทั้งหมดนั้นดูเหมือน วอลโว่เมื่ออยู่ใต้ทุนจีนแล้วดูท่าจะดีขึ้นในหลายด้าน คนจีนไม่ได้เข้ามาแล้วทำให้ค่ายรถยนต์สวีดิชแปดเปื้อนอย่างที่เข้าใจ วอลโว่ในวันนี้ยังคงเป็นรถยนต์หรูที่เปี่ยมด้วยความปลอดภัยในการขับขี่  และคุณภาพดังกล่าวยังคงอยู่เป็นปรัชญาในการพัฒนาสืบไป

 

MG  (Morris Garage)

อันที่จริงแบรนด์รถยนต์รายแรกที่ถูกซื้อโดยคนจีน ดูน่าจะตกเป็นของ   MG  หลังจากความระส่ำของความร่วมมือ   MG-Rover   ทำให้ในปี 2005 บริษัทรถยนต์ที่กำลังสู่ยุคล่มสลายในเวลานั้น ถูกบริษัทรถยนต์จีน    Nanjing Automobile Group   ซื้อไปในปี 2006  และภายหลังบริษัทรถยนต์จีนรายนี้ก็ถูกกลืนโดย   Shanghai  Automobile Industry Corporation หรือ  SAIC   

การรวมตัวดังกล่าวทำให้ทางแบรนด์   SAIC   ตั้งบริษัทใหม่ที่ชื่อว่า   MG Motor  ขึ้นมา ปลุกชีพแบรนด์อังกฤษด้วยรถยนต์   MG 6  เป็นรถยนต์รุ่นใหม่ของทางเอ็มจี ในรอบ 16  ปี  โดยแบรนด์เอ็มจี ตั้งแต่อดีตมาเป็นแบรนด์รถยนต์ที่เนน้ความสนุกในการขับขี่ ไม่ได้เน้นในความหรูหราเหมือนรถอังกฤษรายอื่นๆ มันคล้ายรถ MINI   ในอดีต ที่มีความหลากหลายมากกว่า

Daimler

เป็นข่าวใหญ่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา สำหรับ การเข้าถือหุ้นบางส่วนของบริษัทแม่รถยนต์ชั้นนำแบรนด์หรู  Daimler  โดย   Geely  เจ้าของแบรนด์ชั้นนำอย่าง   Mercedes Benz   ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี

การเข้ามาลงทุนดังกล่าว ยังไม่มีความเคลื่อนไหวออกมาอย่างชัดเจน แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าน่าจะมาจากความต้องการเทคโนโลยีชั้นสูงของเยอรมัน ประกอบกับรถยนต์เมอร์เซเดสมียอดขายมากขึ้นในจีน ทำให้มีความน่าสนใจอย่างมาก ในการเข้ามาทำกำไรในแบรนด์นี้

ยาง Pirelli  

คุณคงไม่คิดว่ายางรถยนต์ชั้นนำที่ใส่ในรถอย่าง  Ferrari  รายนี้ จะเป็นของจีนไปแล้วใช่ไหม .. มันไม่แปลก เพราะเราไม่เห็นคุณภาพความแตกต่างใดๆ เลย

บริษัทยาง   Pirelli  ถูกซื้อโดยบริษัทเคมีแห่งชาติของจีน (Chemchina) เมื่อ 2 ปี ก่อนเข้าถือหุ้นร้อยละ 65 ของบริษัทอิตาลี โดยตลอด 2 ปีที่ผ่านมา การบริหารงานภายในของบริษัทยางรายนี้มีความสับสนอลหม่านอยู่พอตัว จนล่าสุด มีการเสนอให้จีนลดจำนวนการถือหุ้นลงเหลือเพียงร้อยละ 45 ของทั้งหมด โดยมีการประกาศออกมาชัดถึงแนวทางการลดทุนจากบริษัทจีน ซึ่งมันมีผลในเชิงงานบริหาร

แต่ในทางตัวสินค้าไม่ได้มีปัญหาอย่างที่เราเข้าใจกันเลยแม้แต่น้อย

 

Lotus

แบรนด์รถยนต์จากอังกฤษอีกรายที่กลายเป็นของจีนไปแล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้  Lotus   เพิ่งถูกเปลี่ยนมือจากเดิมที่อยู่ภายใต้บริษัทลงทุนมาเลเซีย   DRB Hi Com  มาเป็นของ  Geely   

มูลค่าการลงทุนกว่า 100 ล้านปอนด์ ทาง   Geely   วางแผนปลุกแบรนด์สปอร์ตจากอังกฤษกลับมามีชีวิตอีกครั้งหลังจากถูกวางเอาไว้เป็นแบรนด์ที่ตอบโจทย์การสร้างช่วงล่างให้รถมาเลเซียมายาวนาน

ภายใต้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว  Lotus   จะสร้างรถยนต์อเนกประสงค์ครั้งแรก โดยใช้โครงสร้างแพลทฟอร์มจาก  Volvo   ที่ใช้สร้าง   Volvo  XC 40 พัฒนารถยนต์อเนกประสงค์ภายใต้แบรนด์ ซึ่งคาดว่าจะออกมาในอีก 2ปี ส่วนปีนี้   Lotus  วางแผนปล่อยรถสปอร์ต 2 รุ่นทำตลาด

 

ในแง่มุมทางธุรกิจ การที่บริษัททุนจากจีนเข้าถือแบรนด์ใดๆ ในตลาดไม่ได้หมายความว่า  สินค้าจากแบรนด์นั้นๆ ต้องด้อยคุณภาพเสมอไป การเข้าถือหุ้น , ลงทุน อาจเป็นแนวทางในกาเข้ามามีส่วนร่วมต่อตัวสินค้าที่อาจมีความไปได้ที่จะประสบความสำเร็จในอนาคต  … และในอีกมุมอาจถึงเวลาที่เราต้องมองการลงทุนจากจีนใหม่ ไม่ใช่ว่าอะไรก้ตามที่จีนเข้าไปมีเอี่ยว จะกลายเป็นการลดคุณภาพเสียหมด อย่างที่เราคิด

 

ติดตามข่าวสารและบทความดีๆ จากพวกเรา Ridebuster.com



แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.