ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ปัญหา ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 โจมติ ประเทศไมยอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนแม้ว่า ส่วนใหญ่ จะมาจากการเผากลางแจ้ง และมีสาเหตุอีกมากมาย ทั้งสภาพอากาศ ก็มีส่วนสำคัญ ทว่า อีกต้นตอของปัญหา เรื่องนี้ คือ ค่าฝุ่นจากการสันดาปของรถยนต์ที่เราใช้ในชีวิตแระจำวัน โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซล นั่นเอง
ภาครัฐบาล มีนโยบายมากมายในการขจัดและลดฝุ่น PM 2.5 ให้ลดลงกว่าเดิม ส่วนหนึ่งมรการสนับสนุน การใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น แต่ด้วยความนิยมของรถกระบะ และ รถอเนกประสงค์ เครื่องยนต์ดีเซล ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566 มีมติให้รถบรรทุก ,รถบัส และ รวมถึง รถยนต์ขนาดเล็ก ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล จะต้องสนับสนุน มาตรฐานไอเสียยูโร 5 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
อันหมายความว่า ในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ เราจะเห็นการขยับของรถยนต์ กระบะ และ PPV ขนานใหญ่ในการสอดรับมาตรฐานไอเสียใหม่ ที่จะบังคับใช้ ปีหน้า
การปรับมาใช้มาตรฐานไอเสียยูโร 5 โดยพื้นฐานทั่วไปไม่ได้ซับซ้อนมาก ส่วนสำคัญ คือการติดตั้งระบบกรองไอเสียเพิ่มเข้ามา เพื่อดูซับฝุ่นจากการเผาไหม้ ให้เหลือน้อยที่สุด ก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก โดยตัวกรองนี้จะเป็นอุปกรณ์ เสริมเพิ่มขึ้นมาในระบบท่อไอเสีย เรียกว่า Diesel Particle filter หรือ DPF ซึ่งหลายคนน่าจะพอเคยได้ยินมาบ้าง
บางรุ่นอาจต้องปรับเครื่อง
แต่นอกจากตัวกรองไอเสีย ที่เราพูดถึงแล้ว รถบางรุ่น อาจต้องเดินเกมปรับเครื่องยนต์ เพื่อให้สอดรับกับมาตรฐานไอเสียใหม่ด้วย โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ (ตั้งแต่ 2.5 ลิตร )
ตามหลักแล้ว การปรับปรุงเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ จะมีทิศทางเดียวกัน คือ ลดการทำงานของเครื่องยนต์ในบางจังหวะ โดยเฉพาะ เวลาจอดนิ่งอยู่กับที่ไม่ได้ขับเคลื่อน และ ในจังหวะออกตัวจากหยุดนิ่ง ซุึ่งเป็นจุดที่เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ จะบริโภคน้ำมัน มากวก่าเครื่องยนต์ขนาดเล็ก
ในทางปฏิบัติ มีหลายแนวทาง ที่ทางผู้ผลิตสามารถทำได้ เช่นการติดตั้งระบบหยุดการทำงานของเครื่องยนต์ชั่วคราว หรือที่เรามักรู้จักในนาม Idling Stop อาจช่วยลดไอเสียของเครื่องยนต์ได้ แต่ก็ไม่มากมายนัก เนื่องจกา เมื่อสภาวะอากาศในห้องโดยสารอบอ้าวมากระบบจะสั่งให้เครื่องยนต์ทำงานแทบจะในทันที
อีกแนวทาง คือการติดตั้งระบบ Mid Hybrid เข้ามา ซึ่งมีแนวคิดมีในระยะใหญ่จากผู้ผลิตอย่าง Toyota ตามที่มีกระแสข่าวออกมา
นอกจากที่กล่าวแล้ว การปรับระบบสั่งจ่ายน้ำมัน โดยเฉพาะชุดหัวฉีดน้ำมันเครื่องยนต์ดีเซล อาจจำเป็นสำหรับรถบางรุ่นที่อาจจะยังไม่ได้ทำเพื่อรองรับมาตรฐานดังกล่าว เพื่อประสิทธิภาพการสันดาปที่ดีขึ้น และรองรับกับน้ำมันทีมีการปรับลักษณะเนื้อน้ำมันให้เหมาะสม เพื่อการเผาไหม้ ที่ง่ายและสะอาดมากที่สุด
เช็คความพร้อม ทุกค่ายรถ ก่อนบังคับปีหน้า
แน่นอนว่า มาถึงตรงนี้ หลายคน คงจะให้ความสนใจต่อการปรับตัวรถ ของแต่ละค่าย โดยเฉพาะในแง่ของเครื่องยนต์ เราจึง ขอมาลองเช็คความพร้อม เครื่องยนต์ที่ขายในปัจจุบัน ว่า มียี่ห้อนี้ ที่พร้อมแล้วบ้าง
Nissan
นิสสัน ทั้งกระบะ และ PPV ปัจจุบัน หันมาใช้เครื่องยนต์รุ่นใหม่ รหัส YS23 เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งในต่างประเทศ กับสเป็คไทยไม่ได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ
โดยในยุโรป มีการอัพเดท เครื่องยนต์ YS23 ให้รองรับได้ภุง มาตรฐานไอเสีย ระดับ ยูโร 6 แล้ว เพียงติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมอย่าง DPF และ SCR หรือ Selective Catalytic Reduction System เท่านั้น
Toyota
ทางด้านเจ้าตลาด อย่าง Toyota มีการปรับปรุงชุดหัวฉีด i-Art ไปเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งน่าจะพร้อมรองรับน้ำมันยูโร5 แล้ว เป็นที่เรียบร้อย รวมถึง มีระบบหยุดการทำงานเครื่องยนต์ชั่วคราวแล้วด้วย รอแค่ติดตั้ง DPF เพิ่มเติม ก็น่าจะผ่านฉลุย
แต่ประเด็นที่น่าสนใจ คือ โตโยต้า มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่บล็อก 2.8 ลิตร อาจจะยังไม่พอ สำหรับการไปต่อในมาตรฐานยูโร 5 แม้ว่าจะมีเวอร์ชั่นยูโร6 ออกมาแล้ว แต่ก็ต้องติดตั้งอุปกรณ์ อย่าง Diesel Oxidation Catalysts (DOC) เพิ่มเติม นอกเหนือจาก DPF และ SCR
เมื่อไม่นานมานี้ มีรายงานว่า ทาง โตโยต้า จะตัดสินใจ ติดตั้งระบบ Mild Hybrid และมีการทดลอง โชว์เคสไปแล้วในบางประเทศ เป็นการยืนยัน
ระบบดังกล่าว อาจจะนำมาฝช้กับกระบะในอนาคต เพื่อลดการปล่อยไอเสีย ซึ่งเป็นไปได้ว่า จะใช้ในรุ่นท๊อป เท่านั้น
Isuzu /Mazda
ทางด้าน Isuzu ก็ดูจะมีการเตรียมพร้อมในเรื่องนี้มายาวนาน โดย Isuzu D-MAX 1.9 วัยรุ่น ออนิวที่เราคุ้นเคย โดดเด่นในต่างประเทศ ด้วยการเป็นเครื่องยนต์ดีเซลเพียงรุ่นเดียวที่ไม่ต้องติดตั้ง อุปกรณ์ SCR ที่ต้องเติมสาร AD Blue ในการลดมลภาวะจากเครื่องยนต์ดีเซล
แน่นอนว่ าการผ่านมาตรฐานยูโร 5 ยังต้องพึ่ง DPF อยู่บ้าง แต่ ก็ชัดเจนว่า มันน่าจะผ่านได้ฉลุย
ส่วนเครื่องยนต์ดีเซล 3.0 ตามข้อมูลจากออสเตรเลีย ชี้ว่ามันจะยังผ่านมาตรฐานไอเสีย ยูโร 5 ได้ แค่ ติดตั้ง DPF เท่านั้น
ดังนั้น ต้องติดตามต่อไปว่า ที่มีกระแสว่า เครื่องยนต์ใหม่ จะมาจริงเท็จแค่ไหน
Ford
ทางด้าน Ford กับเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร ออกแบบ ให้รองรับได้ถึงมาตรฐานไอเสีย Euro 6 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือแค่ ติดตั้ง อุปกรณ์ที่จำเป็น ทั้ง DPF และ SCR
Mitsubishi
ทางด้านมิตซูบิชิ เพิ่งออกกระบะใหม่ และมีการปรับปรุงเครื่องยนต์ใหม่ แม้จะเป็นขนาดเดิม สมรรถนะลดลงนิดหน่อย แต่นั่นเพื่อมาตรฐานไอเสียใหม่ ซึ่งพร้อมจะสนับสนุนมาตรฐานยูโร 5 แล้ว เรียบร้อยนั่นเอง เหลือแค่ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมนิดหน่อย ก็พร้อมทันที
ผลกระทบกับผู้ซื้อกระบะ
แน่นอนว่า ด้วย มาตรฐานใหม่ นี้ ที่บังคับในรถเครื่องดีเซลรุ่นใหม่ จะทำให้บริษัทผู้ผลิต ต้องติดตั้งอุปกรณ์ เพิ่มขึ้นมาอย่างแน่นอน
สิ่งที่ตามมาก็คือ ราคาตัวรถจะต้องมีการปรับขึ้นจากปัจจุบัน อย่างน้อย 10,000-20,000 บาท แต่อาจจะมากว่านั้น ถ้ามีการปรับอุปกรณ์อื่นๆ เพิ่มเติมเข้ามาด้วย เช่น ในกรณี ระบบไฮบริด หากติดตั้งเพิ่มเข้ามา
ดังนั้น สิ่งที่บอกได้ทันที คือ กระบะจะปรับราคาเพิ่มขึ้นอีก อันเนื่องจากมาตรฐานยูโร 5 ที่จะบังคับใช้ การเปลี่ยนแปลงของบรรดากระบะ ก็จะเห็นได้ในเร็วๆ นี้ และ โดยส่วนใหญ่น่าจะเป็นการติดตั้ง DPF เพิ่มเท่านั้น เพื่อขจัดเขม่า ให้ได้ตามมาตรฐาน
ในภาพรวม จะเห็นว่า ในเวลานี้ทุกค่านพร้อมแล้ว สำหรับมาตรฐานไอเสียยูโร 5 ใหม่ที่ เตรียมจะออกมาในอนาคตอันใกล้นี้ และแน่นอน นี่จะทำให้ ราคาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เืพ่อแลกกับ สภาพแวดล้อมโดยรวมที่ดีขึ้น ซึ่งจริงๆ รัฐบาลก็น่าสนับสนุน ในการให้ ผู้ใช้รถกระบะเก่า เปลี่ยนถ่าย สู่ รถใหม่ที่มีมาตรฐานไอเสียดีขึ้น