Kia AD

Kia AD

Bust History บทความ

ย้อนตำนาน… “รถตู้” ไปมาอย่างไร ไทยถึงนิยม

ฮุนได เกาหลีขอเป็นทางเลือก

ถ้าถามว่าค่ายใดประสบความสำเร็จในรถตู้กลุ่มครอบครัวมากที่สุดใน 10 ปีที่ผ่านมา Hyundai   ถือเป็นบริษัทที่เข้ามายึดที่มั่นรถกลุ่มนี้ได้อย่างน่าชื่นชมอย่างมาก ภายใต้การนำทัพของการตลาดคนก่อนปัจจุบัน

ตั้งแต่เริ่มทำตลาดในไทย   Hyundai  H1   ถือเป็นรถตู้คู่บารมีแบรนด์มาโดยตลาด ด้วยการทำราคาขายไม่แพงจนเกินเอื้อม มีราคาให้เลือกตั้งแต่ ล้านกลางๆ (1.6ล้าน) ไปยัง 2 ล้านกว่าบาทในรุ่น   Grand Starex  ที่มีการตบแต่งหรู จนนั่งสบาย

จุดเด่นของรถตู้   Hyundai  H1   อยู่ที่เครื่องยนต์ดีเซล 2.0 ลิตร เมื่อถัวรวมกับราคาขายและฟังชั่นภายในที่ครบเครื่องเพียบพร้อมในการใช้งาน ก็ทำให้มันเป็นรถที่ขับได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ จนเริ่มเป็นที่โจษจันในหมู่คนที่มีความต้องการใช้รถตู้ อย่างมาก

และตลอด 10 ปีทีผ่านมา   Hyundai  ไม่เคยเปลี่ยนหน้าตา จนกระทั่งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2561 เพิ่งจะมีการปรับหน้าตา   Hyundai H1   เป็นครั้งแรกในรอบสิบปี และ หน้าใหม่ ดูจะมีความลงตัวน่าใช้งานมากขึ้น กว่าเดิม

รถตู้หรูที่มาที่ไปอย่างไร

ในที่สุด เราก็เดินทางมาถึงบทสุดท้ายกับกลุ่มรถตู้หรู ที่ถือว่าเป็นยอดภูเขากลุ่มรถตู้สำหรับผู้มีอันจะกิน

กลุ่มรถตู้หรู ส่วนหนึ่งเกิดจากตำนานรถตู้ในช่วงแรก  รถโฟล์คตู้ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า มีความสบายในการเดินทาง ยิ่งในช่วงเริ่มต้น ผู้ใช้รถตู้บ่อยๆ ก็โดยมากจะเป้นบรรดาเจ้าขุนมูลนายทั้งหลาย พวกอธิบดี จึงทำให้รถตู้เริ่มแสดงถึงความสบายในการโดยสารและเดินทาง ดีกว่าขับเองให้เหนือยทำไม มีรถตู้สิดีกว่าแน่นอน

จุดเริ่มเริ่มต้นจากโฟล์คตู มาถึงขีดสุดใน   Volkswagen  Caravelle   ที่ได้เครื่องยนต์ดีเซล ช่วยเพิ่มความประหยัดน้ำมัน ประกอบกับลำตัวกว้างยาว ทำให้มีที่นั่งสบาย และสามารถปรับแต่งได้หลากหลายรูปแบบตามความต้องการของลูกค้า

จนกระทั่งในยุคหนึ่ง ปรากฏว่าตัวแทนจำหน่ายในไทยเหมือนจะห่างหายไป  ทำให้ลูกค้าไม่มีทางเลือก และเริ่มกังวลเรื่องบริการหลังการขายในการใช้รถระยะยาว

กลุ่มผู้นำเข้าอิสระจึงหารถตู้หรูเข้ามาตอบตลาดตรงนี้ โดยผู้นำเข้าชั้นนำ เช่น  TSL , Eton หรือ SEC Group  เกิดขึ้นมาได้ จากการนำรถตู้หรู  Toyota  Alphard   เข้ามาขาย ในตัวเจนเนอร์เรชั่นที่ 2 เรื่อยมาจนเจนเนอร์เรชั่นที่ 3

Toyota Alphard

ผู้ประกอบการนำเข้าบางราย ยังนำเข้า รถโตโยต้า  Granvia  , Honda Stepwagon  และ  Nissan  Elegrand   เข้ามาเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าด้วย ซึ่งก็ได้รับความนิยมจากลูกค้าบางกลุ่ม

ในช่วงส้นๆ หลังวอกฤตน้ำท่วมปี พ.ศ. 2554 ฮอนด้า ได้นำเข้ารถยนต์ 3 รุ่น ได้แก่   Honda  CR-Z, Honda  Odyssey   และ  Honda  Stepwagon  แต่กลายเป็นรถ 2 รถตู้ที่ขายดี และวันนี้ลูกค้ายังชอบ และอยากให้นำเข้ามาขายอีก

ส่วน   Toyota  Alphard   ทางโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ตัดสินใจนำเข้ามาขายเองในช่วงปี พ.ศ. 2558 เพื่อตัดตอนจากกลุ่มตลาดผู้นำเข้าอิสระ โดยนำเสนอในรูปแบบสิทธิพิเศษต่างๆ รวมถึงการรับประกันจาก   Toyota  ประเทศไทย โดยตรงด้วย

ตลาดรถตู้ในอนาคต

ในปีนี้ ตลาดรถตู้กลายเป็นอีกหนึ่งตลาดที่คึกคัก หลัง   Hyundai  H1   เปิดตัวขายรุ่นใหม่ ไปเมื่อปีกลาย ปีนี่รถตู้เริ่มส่งสัญญาณความสนุกตั้งแต่ต้นปี โดยเฉพาะ   Toyota  Hiace  ใหม่ ซึ่งเปลี่ยนรูปแบบการออกแบบ จาก  cab over   หรือ ห้องขับอยู่บนเครื่องแบบรถบรรทุก มาสู่การวางปกติ คล้ายรถบ้านๆทั่วไป

Toyota Hiace 2019
ว่าที่ Toyota Hiace รุ่นใหม่

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เราจะได้เห็นกันในงาน มอเตอร์โชว์2018 โดยจะเปิดตัวพร้อมขายทันที อันเป็นการเริ่มปฐมบทรถตู้โตโยต้าใหม่อีกครั้งในรอบ 13 ปี นับตั้งแต่ขายรุ่นปัจจุบัน

เช่นเดียวกันปีนี้ยังมีผู้เล่นหน้าใหม่ MG  เตรียมเข้ามาทำตลาด ด้วยรถตู้  MG V80   ซึ่งจับเอารถของแบรนด์   Maxus   มาแปะตราใหม่ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการสำหรับครอบครัว ด้วยจำนวน 11 ที่นั่งพร้อมครั้งแรกกับพื้นที่ภายในเดินไปมาในห้องโดยสารได้ รวมถึงติดตั้งเกียร์  AMT  ใหม่ และเครื่องยนต์ 2.5 ลิตร ที่ทำให้หลายคนอาจจะสนใจ

ตลาดรถตู้ในไทย เรียกว่ามีประวัติศาสตร์มายาวนานมาก บทความชิ้นนี้อาจไม่ได้ครอบคลุมทุกรายละเอียด แม้ว่าจะพยายามหาข้อมูลและแหล่งอ้างอิงต่างๆ มากมาย มาประกอบก็ตาม แต่นี่คงพอทำให้เห็นแล้วว่า ที่มาที่ไปของรถตู้เกิดขึ้นได้อย่างไร

จากอดีต มาจวบจนปัจจุบัน

เรื่อง โดยณัฐยศ ชูบรรจง

หมายเหตุข้อมูลบางประการในเว็บไซต์นี้มาจากแหล่งที่มาภายนอก อาจจะมีความคลาดเคลื่อนบางประการ โปรดตรวจสอบอีกที หากต้องการนำไปใช้อ้างอิง

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.