Home » Mazda สู่เบอร์ 3 รถนั่ง… ได้อย่างไร
บทความ สกู๊ปเด็ด

Mazda สู่เบอร์ 3 รถนั่ง… ได้อย่างไร

ในช่วงตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา แบรนด์รถยนต์ที่ดูจะขยับปรับตัวมากที่สุด เห้นทีจะไม่พ้นแบรนด์มาสด้า พวกเขาเปลี่ยนตัวเองจนลูกค้าเก่าใหม่รู้สึกได้ถึงการเปลี่ยนแปลง มาสด้าในวันนี้ไม่เหมือนเมื่อก่อนพวกเขามีของดี และใช้มันให้เป็นประโยชน์ทางด้านการตลาด

ตลอด 5 ปีของมาสด้ามาพร้อมการเปลี่ยนแปลงสำคัญ 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ การออกแบบรถใหม่ด้วยเส้นสายที่มีความเป็นสปอร์ตมากขึ้นสร้างความเป็นปัจเจกต่อตัวรถมากขึ้น แนวคิดการออกแบบใหม่นี้เรียกว่า   Kodo Design  สะท้อนภาพลักษณ์ที่ดูดีมีเสน่ห์ลงตัวในความสปอร์ตตั้งแต่แรกเห็น

mazda

โดยพร้อมกันกับการออกแบบที่สวยงาม มาสด้ายังนำเสนอสมรรถนะการขับขี่ด้วยการวิศวกรรมใหม่หมด ที่รียกว่า   Mazda Sky Activ Technology ครอบคลุมทุกส่วนในรถยนต์มาสด้าใหม่ๆ ตั้งแต่เครื่องยนต์ , โครงสร้าง,เกียร์ ไปจนถึงช่วงล่าง และหน่วยประมวลผลที่ช่วยในการขับขี่ดีขึ้น อย่าง   GVC   ซึ่งเริ่มเข้ามาแนะนำในประเทศไทย ในตลอดหลายปีทีผ่านมา

เมื่อมองย้อนไปถึงยอดขายของมาสด้าในปี พ.ศ. 2558 จะพบว่า มียอดขายเพียง 39,471 คัน ต่อปี ถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับแบรนด์รถยนต์ใหญ่ชั้นนำ อย่าง   Toyota  หรือ  Honda  แต่การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของมาสด้า เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2014 เมื่อทางบริษัทตัดสินใจแนะนำรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาสด้า 2 ใหม่ ออกสู่ตลาด

จุดเด่นในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว คือการเป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็กรุ่นเดียวในตลาดปัจจุบันที่มีเครื่องยนต์ดีเซล มีความประหยัดในการขับขี่ และสมรรถนะที่น่าสนใจ ความสำเร็จดังกล่าวชี้ได้จากจำนวนรถยนต์บนถนน และการไถ่ถามความสนใจของผู้บริโภคต่อตัวผลิตภัณฑ์

ในปี 2015 มาสด้า เปิดตัว   Mazda CX-3   ใหม่ เป็นครั้งแรกในการลงตลาดรถยนต์นั่งขนาดเล็ก และก็มีเครื่องยนต์ดีเซลเช่นกัน ขณะที่รถรุ่นแรกๆ ที่มาเปิดตัว อาทิ   Mazda Cx-5   และ  Mazda 3   ที่นำร่องมาในช่วงแรกก็ยังถูกใจลูกค้า มีการปรับออพชั่นตลอดปี เรียกว่ามีออพชั่นใหม่ เพิ่มขึ้นมาทุกปี

mazda

โดยในปี 2017 ทางมาสด้าจัดการปรับ Mazda CX-5   ใหม่ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มขายมาในปี 2013 ด้วยการออกแบบใหม่ที่ดุลงตัวหรู และพรีเมี่ยมมากขึ้น แนวคิดการออกแบบใหม่นี้ช่วยให้รถมีความลงตัวดูดีน่าใช้งานมากขึ้น ถึงจะไม่ได้ปรับเครื่องยนต์มากมายนัก แถมตัดเครื่องยนต์เบนซิน 2.5 ลิตร ออกไปจากตลาดบ้านเราด้วยซ้ำ ลูกค้าก็ยังชื่นชอบรถและส่งให้ยอดขายรถรุ่นนี้ในปี 2018 กลับมาเป็นเท่าตัวจากปีก่อนๆ

ตารางข้อมูลยอดขายมาสด้า พ.ศ. 2558-2561

ยอดขายปี จำนวนยอดขาย (คัน) เติบโตจากปีก่อนหน้านี้ ส่วนแบ่งการตลาด
พ.ศ.2561 (2018) 70475 37 % 6.7 %
พ.ศ.2560 (2017) 51,355 21 % 5.9 %
พ.ศ2559 (2016) 42,537 8 % 5.5 %
พ.ศ2558 (2015) 39,471

เมื่อมองยังความสำเร็จมาสด้า จนถึงขนาด นายชาญ ชัย ตระการอุดมสุข บิสใหญ่แม่ทัพมาสด้า กล้าประกาศว่า มาสด้าอยู่ในฐานะรถนั่งอันดับที่ 3 อย่างมั่นคงและยั่งยืน

ความสำเร็จของมาสด้าชี้ให้เห็นว่า การขึ้นมาเป็นรถนั่งเบอร์ 3 ในวันนี้ มาจากความตั้งใจจริงในการทำตลาด แม้ว่าช่วงที่ผ่านมามาสด้าจะเจอมรสุมสำคัญจากลูกค้า เช่นรถมีปัญหาในการใช้งาน และรวมถึงความคับคั่งของศูนย์บริการ ที่ถูกผู้ใช้บ่นกราว ถึงความไม่สะดวกในการใช้บริการ

หากมองไปแล้ว การปรับตัวของมาสด้าในเชิงผลิตภัณฑ์และแง่มุมการตลาดของแบรนด์ถือว่าทำได้ดี จนแม้แต่ลูกค้าที่เคยใช้รถยนต์ทั่วไปแบรนด์เจ้าตลาด ยังต้องหันมามอง ส่วนลูกค้ากลุ่มใหม่โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ วัยรุ่นหนุ่มสาววัยทำงานต่างมองมาสด้า ในฐานะแบรนด์รถยนต์ที่เป็นขวัญใจแบรนด์หนึ่งจำนวนไม่น้อย

Mazda2 (

ประเด็นหนึ่งที่อุ้ชูมาสด้าจนก้าวขึ้นมาแท่นเบอร์ 3 รถนั่งในตลาด คงไม่พ้นความกล้าทำตลาด โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซล ระดับยูโร 5 แนะนำในรถยนต์หลายรุ่นของบริษัท ซึ่งในช่วงก่อนหน้านี้ถ้าเทียบแบรนด์ญี่ปุ่นด้วยกัน ไม่มีใครทำตลาดรถยนต์นั่งเครื่องดีเซลมาก่อน

รถเก๋งคันสุดท้ายในตลาดที่ลูกค้าสามารถจับต้องเครื่องยนต์ดีเซลได้คือ  Chevrolet Cruze   ซึ่งก็เลิกทำตลาดไป 2-3 ปี แล้ว การส่ง   Mazda2   อีโค่คาร์ดีเซลออกมาในราคาที่ไม่ได้แพงจนเกินไปตามโครงการอีโค่คาร์ระยะที่ 2 ทำให้มาสด้ากกลายเป็นขวัญใจคนมองรถเล็ก หรือไม่ได้เน้นว่าจะต้องซื้อรถราคาแพงจนเกินงาม

รถยนต์ที่ขายดีของมาสด้ากลุ่ม   Sky Active

  2559 (2016) 2560 (2017)  2561 (2018) ยอดสะสม 3 ปี
มาสด้า 2 23,223 31760 45972 100,955
มาสด้า 3 4,121 4979 5255 14355
Mazda Cx-3 4,787 3812 3536 12,135
Mazda CX-5 3,323 4235 8184 15,742

สำหรับมาสด้า ,รถยนต์มาสด้า 2 น่าจะต้องเรียกว่า เป็นตัวชูโรงสำคัญของแบรนด์ เนื่องจากเป็นรถที่ขายดีที่สุดของบริษัทตลอดหลายปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่มีการเปิดตัวออกมาขาย และเด่นด้วยการมีรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล รวมถึงการออกแบบที่โดนใจ มียอดสะสมรวม 3 ปี กว่า 1 แสนคัน

รองลงมา เป็น   Mazda CX-5   อเนกประสงค์คอมแพ็คที่มีเครื่องยนต์ดีเซลเช่นกัน แถมยังดูมีความพรีเมียม และท้ายสุดในอันดับ 3 เป็นรถยนต์   Mazda 3    รถคอมแพ็คคาร์

ดังนั้นถ้าสรุปรวบยอดความสำเร็จของมาสด้า จนเป็นรถนั่งเบอร์ 3 ง่ายๆ คือ 1.การแนะนำเครื่องยนต์ดีเซลและเครื่องยนต์ประสิทธิภาพสูงสูงตลาด 2.การออกแบบที่โดนใจ 3.การมีรถทางเลือกที่หลากหลาย และ 4.การทำตลาดอย่างต่อเนื่องทุกปี ด้วยออพชั่นใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มสร้างความสดใหม่ตลอดเวลา เช่น สีใหม่ , ออพชั่นใหม่ เป็นต้น

สำหรับปีนี้ มาสด้า มั่นใจว่าจะดำเนินยอดได้ตามเป้าหมายอีกครั้ง จากการเปิดเผยในที่ประชุมมาสด้าล่าสุดกับสื่อมวลชน มาสด้ามีแผนในการนำรถยนต์   Mazda CX-8  ใหม่เข้ามาขาย การเปิดเผยดังกล่าวเรียกว่า เป็นครั้งแรกของแบรนด์รถยนต์ญี่ปุ่นที่กล้าก้าวเข้ามาทำตลาดอเนกประสงค์ 7ที่นั่งเต็มรูปแบบ

นอกจากนี้ในปีนี้มีการยืนยันว่าจะนำมาสด้า 3 ใหม่ หนึ่งในรถยนต์ที่ได้รับความนิยมของบริษัทเข้ามาขายด้วย จึงนับว่าจะเป็นอีกปีที่ทางมาสด้าน่าจะสร้างยอดขายได้จากแรงขับเคลื่อนของในบริษัทเอง

การเปลี่ยนแปลงของมาสด้าในองค์ทั้งในระดับโลกและในปะเทศไทย เรียกว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ทางบริษัทก้าวเข้ามาสุ่ความสำเร็จ และในปีนี้มาสด้าจะมีความสำเร็จเพียงใด เราคงต้องจับตา เพราะเจ้าตลาดยักษ์ใหญ่ก็ดูจะตื่นขึ้นมาแล้วเช่นกัน

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.