ในปีทีผ่านมา ระบบขับเคลื่อน Nissan e-Power ได้รับความสนใจจากคนไทย จำนวนมาก หลังจากทาง นิสสัน มีการปรับราคาขาย Nissan kick e-Power ให้ต่ำลงกว่าเดิม จนต้องจองยาวรอรถกันนานๆ
ระบบ Nissan e-Power ไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่จริง มันเปิดตัว มาตั้งแต่ปี 2018 ใช้ในรถยนต์หลายรุ่น ทั้ง รถซิตี้คาร์ , รถ MPV อย่าง Nissan serena e- Power และ ล่าสุด มาอยู่ในรถ SUV อย่างที่เราทราบ วันนี้ เราจะมาผ่า ข้อดี ข้อเสีย ของระบบนี้ หลังจากที่เราเคยสัมผัส มันมานาน เพื่อ คนที่สนใจ จะได้เข้าใจ มันอย่างจริงจัง ก่อน การตัดสินใจ
หลักการทำงาน เบื้องต้น
ระบบ E- Power ของ นิสสัน ไม่ว่า คุณคิดจะเรียกว่าอะไร เนื้อแท้ ของมัน คือ ระบบไฮบริด นั่นเอง
รูปแบบ ของระบบไฮบริด ของ e- Power ในทาง วิศวกรรม เรียกว่า “Series Hybrid” หรือ ไฮบริดอนุกรม โดย ระบบหนึ่ง จะทำงาน อยู่บนอีก ระบบหนึ่ง (อ้างอิงจาก Nissan)
บางครั้ง ทำงานร่วมกัน บ้างทำงาน ทีละระบบ ก็ขึ้นอยู่กับ ว่า ในเวลานั้นทำงานอย่างไร
อุปกรณ์ ประกอบ ด้วย หัวใจหลัก สำคัญ ในการขับเคลื่อนชุดมอเตอร์ไฟฟ้าขับ ทำหน้าที่ให้กำลังขับล้อ ขณะที่ เครื่องยนต์ ทำหน้าที่ ให้กำเนิดไฟฟ้า หรือ พูด ง่ายๆ เครื่องยนต์ เป็นเครื่องปั่นไฟ พกพา ติดตัวไปด้วยนั่นแหละครับ
ไฟฟ้าจากเครื่องยนต์ จะถูก แปลง โดยมอเตอร์ตัวที่ 2 ที่ทำหน้า เอากำลังหมุนเครื่องยนต์ มาปั่นเป็นไฟฟ้า แล้วแปลง ไปเก็บในชุดแบตเตอร์รี่ลิเธียม ไอออน
ส่วนมอเตอร์ขับ จะดึงไฟฟ้าจากแบตเตอร์รี่ มาใช้ในการขับเคลื่อน และ จะทำงานแบบนี้ อย่างต่อเนื่อง เมื่อแบตเตอร์รี่อยู่ในระดับสูง หรือ พอต่อการใช้งาน จะไม่ติด เครื่องยนต์ขึ้นมา จนกว่าไฟฟ้า จะอยู่ในระดับต่ำ หรือ ระบบ คิดว่า ต้องป้อนไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งาน
ข้อดี
อัตราเร่งดี กว่า รถสันดาปทั่วไป
อย่างแรกที่ ไม่ว่าใครที่ขับระบบ e- Power จะพูด เป็นเสียงเดียวกันทันทีว่า ระบบนี้ ให้อัตราเร่งดีกว่า รถทั่วไป โดยเฉพาะ เมื่อเทียบกับรถสันดาป
สาเหตุ ก็มาจากกการที่นิสสัน เลือกใช้ มอเตอร์ไฟฟ้า ในการขับเคลื่อนรถ ธรรมชาติของมอเตอร์ไฟฟ้า คือ สามารถ ตอบสนองในการขับขี่ทันทีทันใด หรือ ที่เรียกว่า “Instant Torque”
เมื่อเหยียบปุ๊ป มอเตอร์ จะตอบสนองปั๊ป และ ด้วยระบบนี้ไม่ได้ใช้ ชุดเกียร์ หลายอัตราทด เหมือนรถทั่วไป มีเพียงอัตราทดรอบเฟืองท้าย ทำให้การตอบสนองยิ่งทันใจมากขึ้นการรถสันดาปทั่วไป เหยียบเป็นมา และ มีอาการตอบสนอง แบบรถยนต์ไฟฟ้านั่นเอง
ประหยัดน้ำมันในเมือง
ด้วยแนวคิดในการใช้ มอเตอร์ในการขับเคลื่อน และเครื่องยนต์ใช้ในการปั่นไฟฟ้า ข้อดี สำคัญของ e- Power คือ ประหยัดน้ำมันมากๆ กับ การขับขี่ในเมือง
ความประหยัดดังกล่าว มาจากการที่เครื่องยนต์ไม่ต้องสตาร์ท หรือทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเวลาขับความเร็วต่ำ จะใช้ไฟฟ้าในแบตเตอร์รี่ จนกว่าแบตเตอร์รี่ จะอยู่ในระดับต่ำ ระบบจึงจะติดเครื่องยนต์ขึ้นมาชาร์จไฟฟ้า เข้าแบตเตอร์รี่ เป็นครั้งคราว ให้ถึง ระดับที่เหมาะสม และทำแบบนี้ไปเรื่อย
เช่นกัน การเบรก หรือชะลอความเร็ว สามารถชาร์จไฟฟ้าเข้าแบตเตอร์รี่ได้ด้วย ทำให้ในการขับขี่ในเมือง ระบบ อีพาวเวอรฺ จะค่อนข้างประหยัด น้ำมันค่อนข้างมากพอสมควร สามารถทำอัตราประหยัด 20 ก.ม./ลิตร ได้สบายๆ
ประหยัด ค่าบำรุงรักษา
ในแง่การใช้งานระยะยาว ค่าบำรุงรักษา ไม่ได้มีค่าใช้จ่ายมากไปกว่ารถยนต์อีโค่คาร์สักเท่าไรนัก โดยมีค่าบำรุงรักษา เพียง 22,000 บาทเท่านั้น ตลอด ระยะเวลาการใช้งาน 100,000 ก.ม. หากเฉลี่ย คนทั่วไป ใช้รถ ปีละ 20,000 ก.ม.ก็ คือ 5 ปี หรือตกปีละราวๆ 4,400 บาทเท่านั้น (อ้างอิง จากการตรวจสอบ บริการหลังการขายของ Nissan)
นอกจากนี้ ถ้าเปรียบเทียบ กับรถยนต์สันดาป เดิม จะพบว่า น้ำมันเกียร์ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายใหญ่ ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนทุกๆ 40,000 ก.ม. หายไป
ความรู้สึกเดียวกับ รถยนต์ไฟฟ้า
ท้ายสุดในแง่ การขับขี่ ระบบ e-power ให้ความรู้สึกในการขับขี่ใกล้เคัยงกับรถยนต์ไฟฟ้าแทบทุกมิติ ไม่ว่าจะอัตราเร่ง ,การตอบสนองของรถ ระหว่างการขับขี่
แตกต่างเพียงแทนที่ เราไม่ต้องมานั่งหวั่นใจกับที่ชาร์จหรือ ต้องคิดว่า วันนี้ต้องไปคอยใครชาร์จให้เสียเวลาหรือไม่ ก็เปลี่ยนเป็นการเติมน้ำมัน แทนเสีย สะดวกสบาย ง่ายต่อการใช้งาน
ข้อเสีย
ความเร็วสูงสุดน้อยลง
แม้ว่าคนทั่วไป จะไม่สนใจ เรื่องความเร็วสูงสุด ของรถสักเท่าไร แต่สำหรับใครที่เป็นนักขับตัวจริง อาจสนใจ เรื่องความเร็วสูงสุด หรือ Top Speed และมันทำความเร็วได้เพียง 170 ก.ม./ช.ม.เท่านั้น น้อยกว่ารถสันดาป ทั่วไป แต่นั่นก็พอๆ กับรถยนต์ไฟฟ้าบางรุ่นที่ขายในปัจจุบัน และ เพียงพอ ต่อการใช้งานทั่วไป
ไม่ประหยัด ในการขับทางไกล
เรื่องหนึ่งที่เราต้องกล่าวกันตามตรง คือ ระบบ E-Power อาจจะไม่ประหยัดในการขับทางไกลสักเท่าไรนัก ในกรณีนี้ เราพูดถึง รถ Nissan kick e- Power เป็นตัวอย่าง เราพบว่า เมื่อขับด้วยความเร็วเดินทาง 100-120 ก.ม./ช.ม. เครื่องยนต์ จะต้องทำหน้าที่ปั่นไฟฟ้าตลอด ระหว่างการขับขี่
และด้วยเครื่องยนต์ขนาด เพียง 1.2 ลิตร เลยทำให้ เครื่องยนต์ต้องทำงานรอบจัดมาก โดยเฉพาะเมื่อยิ่งใช้ความเร็ว ส่งผลให้ จากการทดสอบ ของเราที่ผ่านมือ รถคันนี้มาหลายรอบ มันมีอัตราประหยัดเพียง ราวๆ 16-17 ก.ม./ลิตรเท่านั้น เมื่อขับทางไกล
มันอาจจะดีกว่านี้ได้ ถ้า เครื่องยนต์ ที่ใช้ปั่นไฟฟ้ามีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่ง ทางนิสสัน มีเครื่องยนต์หลายแบบ พร้อมนำมาใช้ในการปั่นไฟฟ้า อย่างเช่นเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร เป็นต้น ซึ่งแนะนำในรถบางรุ่นของบริษัท ในต่างประเทศ แต่มันยังไม่มาถึงประเทศไทย
มีเสียงเครื่องดัง เวลา เร่งแซง
อย่างที่เรากล่าวว่า เครื่องยนต์จะทำงาน เมื่อขับทางไกล เนื่องจากไฟฟ้าในแบตเตอร์รี่ต้องถูกเติมตลอดเวลา ทีนี้ในเวลาที่คุณต้องการเร่งแซง เสียง เครื่องยนต์ ก็จะเร่งกระหึ่มดังขึ้นมาด้วยเช่นกัน
สาเหตุที่เครื่องยนต์ดังเวลาเราเร่ง ไม่ใช่ เพราะ เราเร่งเครื่อง แต่ เราเร่งการขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้า เมื่อระบบพบว่า มีการเร่งมอเตอร์ และไฟฟ้าอาจจะไม่พอ หรือ ไม่ต่อเนื่องในการขับเคลื่อน เครื่องยนต์ จึงจะถูกเร่งเพื่อให้เกิดการตอบสนองอย่างฉับพลันด้วย
ยิ่งใช้ความเร็วสูงรอบเครื่องยิ่งดังตามไปด้วย คุณอาจจะรำคาญ โดยเฉพาะ เวลาขึ้นเขา หรือใช้ความเร็ว แต่ไม่มีปัญหา ถ้าเป็นสายขับชิล เครื่องยนต์จะเดินรอบเครื่องเบาๆ ไปเรื่อย
ในภาพรวม ระบบ อีพาวเวอร์ เป็นระบบขับเคลื่อนที่ตอบสนองได้ดี คล้ายกับรูปแบบ การขับขี่ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า แต่ให้ความมั่นใจ และสะดวกกว่ามากมาย วันนี้มันอยู่ใน Nissan kick e-Power ในเร็วๆ นี้ อาจจะออกมา ตอบโจทย์ เพิ่มเติมก็ได้