ตั้งแต่เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีประเด็นที่โลกสื่อสังคมออนไลน์ต่างพูดถึงอย่างหนักในเรื่อง “รถใหม่ป้ายแดง” ว่าแท้ที่จริงแล้ว มันผิดกฎหมายเนื่องขัดต่อพระราชบัญญัติรถยนต์ ในข้อใช้รถไม่จดทะเบียนในทาง ทำให้หลายคนต่างตกใจว่า รถใหม่ที่กำลังใช้งานอยุ่นั้นสรุปแล้วใช้ไม่ได้หรือ
เรื่องรถใหม่ป้ายแดงผิดกฎหมาย ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคม และมีการพูดถึงมายาวนานทางเชิงกฎหมาย หากในความเป็นจริงคนใช้รถใหม่ป้ายแดง ต่างก็สงสัยว่าท้ายที่สุดแล้ว ถ้าป้ายแดงผิดกฎหมาย ทำไมบรรดาผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ยังใช้กันอยู่ในปัจจุบัน และรัฐก็ไม่ได้ห้ามปรามหรือ ถอดป้ายแดงไม่ให้ใช้งาน
ที่มาป้ายแดง…
“ป้ายแดง” เป็นป้ายทะเบียนสีแดงที่ออกให้สำหรับผู้ที่ประกอบกิจการเฉพาะในการขายหรือซ่อมรถ สำหรับสวมทะเบียนเพื่อให้รถสามารถขับใช้ในทางได้เหมือนรถที่จดทะเบียนเป็นการชั่วคราว ซึ่งเป็นการออกป้ายทะเบียนพร้อมสมุดคู่มือประจำป้าย ตามความในมาตร 27 ของ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522
การใช้ป้ายแดง ดั้งเดิมทีเป็นการอนุญาตให้ผู้ที่ประกอบการเกี่ยวกับรถยนต์ใช้เพื่อสวมทะเบียนให้รถคันที่ต้องนำออกไปขับใช้ในทาง โดยกำหนดให้ผู้ขับขี่หรือใช้ป้ายจะต้องบันทึกข้อมูลในการใช้ป้ายในการเดินทาง ได้แก่ การลงวันที่ เวลา ที่ใช้รถ และกลับถึง ,ความประสงค์ในการใช้รถ , ชื่อผู้ขับขี่ และ รายละเอียดเกี่ยวกับตัวรถบางส่วน
เพื่อบอกถึงการใช้รถยนต์คันดังกล่าวที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ว่าใช้ทำอะไร เมื่อใด และใครเป็นผู้ใช้ เนื่องจากป้ายแดง สามารถสลับป้ายไปใช้กับรถคันอื่นๆได้ ไม่ยึดติดอยู่กับรถคันใดคันหนึ่ง
จากความตามกฎหมายสู่การใช้งานจริง
การกำหนดป้ายแดงขึ้นมาก็เพื่ออำนวยความสะดวกกู้ประกอบการในการเคลื่อนย้ายรถ เพื่อทำการกิจใดๆ ที่อาจจำเป็นขับเคลื่อนย้ายรถที่ยังไม่จดทะเบียน หากในความเป็นจริงทางผู้ประกอบการซื้อ-ขายรถยนต์ นอกจากจะใช้ป้ายแดงในการเคลื่อนย้ายรถทำกิจการต่างๆ แล้ว ยังให้ป้ายแดงกับผู้ใช้เพื่อขับหรืใช้งานรถชั่วคราว ระหว่างการรอจดทะเบียน
ตามขั้นตอนการจดทะเบียนทะเบียนรถยนต์ใหม่ ทาง นายชัยรัตน์ สงวนซือ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ได้เคยออกมาเปิดเผยว่าทางกรมการขนส่งทางบกใช้เวลาในการจดทะเบียนรถใหม่ ด้วยเวลาเพียงวันเดียวเท่านั้น
หากในความเป็นจริงของการยื่นจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ โชว์รูมทั้งหลายไม่ได้ทำธุรกรรมการยืนจดทะเบียนรถยนต์แบบคันต่อคัน แต่ใช้การรวบรวมจำนวนหนึ่งแล้วจึงไปยื่นจดพร้อมกัน ซึ่งประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการมากกว่า
ทำให้ผู้ซื้อรถใหม่ ที่อาจจะมีความต้องการใช้สินค้าที่ตัวเองได้ซื้อมา จำเป็นต้องใช้รถยนต์ในสภาพติดป้ายแดงด้วยความจำยอม และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
เพราะทันทีที่รับรถใหม่กลับบ้าน เชื่อว่าไม่ว่าใครก็อยากจะใช้รถที่ตัวเองเป็นเจ้าของ ไม่อยากจะจอดทิ้งไว้ที่บ้าน จนต้องยังขึ้นโขยกรถเมล์ต่อรถไฟฟ้า ทั้งที่สิ้นเดือนก็ต้องจ่ายชำระค่าผ่อนรถกับไฟแนนซ์แล้ว
ลากใช้ป้ายแดง ค่านิยมอันตราย
ในแง่หนึ่ง “ป้ายแดง” ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า แต่สำหรับลูกค้าบางคนกลับคิดว่า การใช้ป้ายแดงนั้นดูโก้เท่ห์ ทั้งที่ความจริงแล้วมีความสุ่มเสี่ยงมากกว่าที่คิดเสียอีก
การใชป้ายแดงอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในเบื้องต้นว่า ป้ายแดงถูกนำมาใช้เพื่อรอการจดทะเบียนรถยนต์คันที่เราซื้อ และทางกรมการขนส่งตลอดจนเจ้าหน้าที่ตำรวจที่รับหน้าที่ตามที่กรมการขนส่งมอบหมายก็อนุโลมให้ใช้ได้ แต่ไม่ได้ผิดกฎหมาย ตามที่บุคลากรทางกฎหมายบางคนยกประเด็นนี้ขึ้นมากล่าวอ้าง เนื่องจากกระบวนการจดทะเบียรถยนต์ก็ถือว่าเป็นขั้นตอนหนึ่งของการซื้อ-ขายรถยนต์ เช่นกัน
แต่การใช้ป้ายแดงก็ควรจะอยู่ในขีดจำกัดที่เหมาะสม เนื่องจากการสวมป้ายแดงหมายถึง รถที่ยังไม่มีการจดทะเบียนใช้งานอย่างถูกต้อง ป้ายแดงเหมือนป้ายชั่วคราว ซึ่งถ้าหากรถเกิดถูกโจรกรรม ก็ยากจะที่ติดตาม หรือถูกนำไปใช้ก่ออาชญาหรรม เนื่องจากรถคันดังกล่าวยังไม่มีการจดทะเบียนอย่างชัดเจน
กรณีที่ผู้ใช้ลากป้ายแดงนานๆ แล้ว หากเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบการใช้ป้ายแดง ก็อาจจะเข้าข่ายผิดกฎหมาย พระราชบัญญัติรถยนต์มาตรา 6 เข้าข่ายรถยนต์ที่ไม่ได้มีการจดทะเบียน มาใช้ในทาง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท ตามมาตราที่ 59 พรบ. รถยนต์ พ.ศ.2522
แต่ถ้าเพื่อนๆถามว่าเราจะใช้ป้ายแดงได้นานเท่าไร ก็คงต้องตอบว่าจนกว่าจะได้ป้ายทะเบียนจริงหรือป้ายขาว โดยมากทางโชว์รูมจะใช้เวลาในการจดทะเบียนไม่เกิน 1 เดือน ซึ่งในช่วงปี พ.ส. 2553 ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เคยวางแนวทางการใช้ป้ายแดงอย่างคร่าวๆ สำหรับรถใหม่ ว่า ต้องใช้งานป้ายแดงไม่เกิน 1 เดือน หรือใช้งานไม่เกิน 3,000 กิโลเมตร
ที่สำคัญ เมื่อคุณคืนป้ายแดงแก่ทางโชว์รูมแล้ว ค่ามัดจำป้ายที่จ่ายไว้ตอนแรกในระหว่างซื้อรถก็ได้คืนด้วย
“ป้ายแดง” น่าปวดหัว เรื่องจริงที่หลายคนอาจไม่เคยรู้
มาถึงตรงนี้ผมเชื่อว่า หลายคนน่าจะเห็นข้อเท็จจริงของการใช้รถยนต์ป้ายแดงแล้วว่า มันเป็นเพียงป้ายชั่วคราวในระหว่างการรอจดทะเบียน ใช้เพื่อทดแทนป้ายทะเบียนจริงระหว่างรอดำเนินการจดทะเบียน ซึ่งไม่ได้ผิดหลักกฎหมายใดๆ เว้นแต่คุณได้ป้ายจริงแล้ว แต่ยังไม่ยอมไปเปลี่ยนไป แบบนั้นจึงจะเข้าข่ายผิดพรบ. แน่นอน
อย่างไรก็ดี สำหรับใครที่ใช้ป้ายแดงอยู่ในตอนนี้ควรจะทราบข้อจำกัดในการใช้ป้ายแดงสักนิด เผื่อจ่าเรียกจะได้รู้ว่า คุณได้ทำผิดข้อบังคับของการใช้ป้ายแดงหรือไม่ โดยข้อบังคับการใช้ป้ายแดงดังกล่าวถูกระบุไว้ในมาตร 27 ซึ่งสามารถจำแนกระเบียบการใช้ได้ดังนี้
1.ใช้ในเวลากลางวันเท่านั้น ตามข้อบังคับของการใช้ป้ายแดงขิงมาตรา 27 พรบ. ยานยนต์ ระบุว่า รถป้ายแดง สามารถขับใช้งานได้ตั้งแต่ช่วงพระอาทิตย์ขึ้น จนถึงพระอาทิตย์ตกเท่านั้น ดังนั้นอย่าแปลกใจ ถ้าคุณขับป้ายแดงในเวลากลางคืนแล้วตำรวจอาจจะเรียกตรวจสอบหรือจับกุม เนื่องจากผิดกฎหมายอย่างชัดเจน
2.ต้องมีบันทึกการเดินทาง ป้ายแดงจริง หรือป้ายที่ออกโดยกรมการขนส่งทางบก จะมีสมุดคู่มือประจำป้ายมาด้วย โดยสมุดดังกล่าวนั้น เป็นคู่มือใช้ควบคุมการเดินทางของป้าย ซึ่งตามหลักแล้ว คุณควรจะบันทึกการใช้งานรถคันดังกล่าว และแสดงต่อเจ้าหน้าที่หากได้รับการเรียกตรวจสอบ และเนื่องจากป้ายแดงไม่ใช่ของคุณเอง จึงควรลงบันทึกด้วยดินสอเอาไว้ว่า เดินทางไปไหน เวลาใด ใครเป็นผู้ขับขี่
จะได้ไม่ต้องมานั่งเถียงเจ้าหน้าที่ เมื่อถูกเรียกตรวจสอบเสียเวลานิด แต่ไม่เสียเงินแน่นอนครับ
3.ห้ามวิ่งข้ามจังหวัด เจอบ่อยมากออกรถใหม่ที่ กทม. แล้วขับรถโฉบกลับบ้านไปอวดพ่อแม่ รู้อีกทีก็โดนจ่าจับ ทุกอย่างถูกต้องหมด ยกเว้นคุณใช้รถข้ามจังหวัด แม้ว่าตามมาตรา 27 จะไม่ได้มีการบอกเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน แต่การห้ามป้ายแดงวิ่งข้ามจังหวัด เป็นการป้องกันเหตุอาชญากรรมในทางหนึ่ง ซึ่งหากเจ้าหน้าที่เรียกตรวจสอบ ร้อยทั้งร้อยคุณผิดแน่นอน
เว้นแต่คุณจะมีการทำเอกสารขออนุญาตต่อนายทะเบียนที่ป้ายแดงนั้นใช้ เช่น ป้ายแดงกรุงเทพ ก็ต้องไปขอที่เขตกรุงเทพ เมื่อได้เอกสารการขออนุญาตใช้รถข้ามจังหวัด ได้มาก็เก็บไว้ ติดรถ ถ้าตำรวจเรียกก็ยื่นให้ดู แบบนี้ทำได้ครับ
4.ระวังป้ายปลอม หลายคนที่ซื้อรถใหม่มักจะไม่ทันระวังและมารู้ตัวอีกทีก็รู้ว่าตัวเองกำลังใช้ป้ายแดงปลอม ซึ่งทางเซลล์หรือบริษัทขายรถ อาจจะให้คุณมาใช้กำมะลอไป เนื่องจากป้ายแดงจริงนั้นขอได้จำนวนจำกัด และในแต่ละเดือนรถยนต์ใหม่ที่ขายกัน ก็มีจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว
ป้ายแดงปลอมเป็นเรื่องที่ทางกรมการขนส่งทางบไม่เคยจัดการได้สักที และเป็นภาระของคนใช้รถใหม่ เพราเวลาโดยตำรวจจับ เขาไม่ได้ไปจับคนให้ป้ายแดงปลอมกับคุณ แต่มาจับคุณว่าใช้ป้ายแดงปลอม ในฐานะปลอมแปลงเอกสารทางราชการ มีโทษจัดการหนักมากรองๆ จากการใช้รถไม่จดทะเบียนในทาง และบางครั้งอาจจะเรื่องใหญ่ เนื่องจากป้ายแดงปลอมไม่มีการสำแดงที่มีของรถเป็นเอกสาร อาจะถูกตราว่ารถคันนั้น เป็นรถที่ผิดกฎหมาย
5.ง่ายต่อการโจรกรรม เชื่อหรือไม่ว่า การใช้ป้ายแดงคุณมีโอกาสเสี่ยงในการถูกขโมยรถสูงมาก อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า รถยนต์ป้ายแดงเป็นรถที่ยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้โจรขโมยรถส่วยใหญ่หมายปองรถป้ายแดงเป็นอันดับแรกๆ เนื่องจากสามารถแอบอ้างว่าเป็นเจ้าของรถได้ เพียงมีเอกสารหลักฐานให้ครบเท่านั้น
ผิดกับป้ายปกติ ที่จะมีการขึ้นทะเบียนชื่อผู้ครอบครอง และชื่อเจ้าของรถอย่างชัดเจน ว่าเป็นรถของใครอย่างไรกัน
การใช้ “รถป้ายแดง” ไม่ใช่เรื่องที่ผิดหากใช้อย่างเข้าใจปและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดในการใช้งาน ที่จริงป้ายแดงถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ซึ่งคุณสมควรจะรู้ไว้ใช่ว่าและปฏิบัติตามให้ถูกต้อง
ภาพประกอบความ ใช้เพื่อเสริมการเล่าเรื่องเท่านั้น
ชอบกดไลค์ใช่กดแชร์ ขอบคุณทุกกำลังใจสำหรับพวกเรา ridebuster.com