โครงการอีโค่คาร์เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงต้นยุค 2010 ด้วยความหวังของรัฐบาลในการให้ประชาขชนมีรถยนต์ราคาถูกได้ใช้งาน และในทางเดียวกันยังช่วยส่งเสริมการรักษามลพิษ โดยเฉพาะการใช้งานในเมืองได้ด้วย
รถอีโค่คาร์มีมากมายหลายรุ่นที่คนไทยรู้จัก กับแบรนด์ Suzuki ทุกคนจะรู้จักมักจี่รถยนต์ Suzuki Swift เสียมาก เนื่งอจากเป็นรถยนต์อีโค่คารืที่ออกมาน่าใช้งานและราคาไม่ได้แรงมากนัก เทียบกับคถณภาพและราคา ทว่าในกลุ่ม 5 ประตู ก็ยังมีน้องน้อยอีกรุ่นในนาม Suzuki Celerio ที่ตั้งใจทำออกมา ในภาพเสมือน K Car ที่คนไทยอยากได้นักหนา
ต้นกำเยิดรถคันนี้ ต้องบอกว่ามันทำมาเพื่อตลาดแบบ Emerging Market โดยพุ่งเป้าไปขายในหลายประเทศ ทั้งไทย ,อินโดนีเซีย และ อินเดีย ต้นแบบของรถรุ่นนี้ก่อกำเนิดจาก Suzuki A wind Concept ที่ออกมาแสดงเปืดตัวในไทยเป็นครั้งแรกในฐานะเจ้าภาพที่ต้องผลิตรถรุ่นนี้ ซึ่งหลายคนให้ความสนใจและดูทรงน่าจะขายดี
แต่พอเปิดตัวเอาออกมาขายจริง สิ่งที่เคยเป็นประแสดีตอต้นแบบโชว์ตัวกลับพลิกความคาดหมายหลายอย่าง โดยเฉพาะตัวรถที่ออกมาในสไตล์ที่กล้าพูดว่า แทบไม่ถูกใจคนไทยทั่วไป
สำหรับบ้านเรารถคือเครื่องชี้วัดสถานะทางสังคมอย่างหนึ่ง การซื้อรถใช้งานไม่เพียงกันแดดกันฝนเท่านั้น แต่ยังต้องเป็นรถที่พร้อมมอบการเดินทางไปได้ทั่วตามความต้องการ รถหนึ่งคันของคนไทย แทบจะเป็นทุกอย่าวตั้งแต่ ยานพานะคู่ใจ , เพื่อน และที่สำคัญต้องไปได้ทั่วไทย
ภาพลักษณ์จึงเป็นสิ่งแรกๆ ที่คนไทยมองหา ซึ่งกลายเป็น Suzuki Celerio ที่เคยดูมุ้งมิ้ง ณ ตอนเป็น Suzuki A wind พอทำออกมาขายจริงหน้าตาดันกลายไปทางรถอินเดียมากกว่า แต่ยังคงมีรายละเอียดแบบ K Car อยู่บางประการ
อาทิ การทำรถให้มีทรงสูง มีลักษณะคล้ายกล่องมากที่สุดเท่า แม้ว่าเส้นงานออกแบบ จะไม่ได้กล่องไปเลยอย่างที่หลายคนต้องการ มันยังมีความโค้งมล
ไฟหน้าดวงโตที่ออกแบบมาให้รู้สึกตาโปน เป็นสิ่งแรกที่หลายคนไม่ชอบเกี่ยวกับรถคันนี้ มันยังมาพร้อมล้ออัลลอยขนาดเล็กเน้นการใช้งาน ทรงรถที่ทำออกมาจะกล่องก็ไม่ใช่จะโค้งก็ไม่เชิง ทำให้ลูกค้าไม่ได้ปลื้มนัก
โดยเฉพาะที่ผ่านมา Keicar ทำออกมาได้น่ารักกว่ามากมาย จนหลายคนถาม เอาแบบนั้นมาขายไทยไม่ได้หรอ
ทางด้านภายในห้องโดยสาร Suzuki Celerio ออกแบบให้รองรับการโดยสารได้ 4 ที่นั่ง โดยเทียบกับ Suzuki Swift แตกต่างด้วยการให้เบาะนั่งชิ้นเดียว และมีความแบนกว่า สำหรับการโดยสารทั่วไปไม่เน้นเดินทางไกล
ส่วนเบาะตอนหลังก็แบนเช่นกัน เพื่อให้มีพื้นที่โดยสารได้สะดวกเหมาะกะบการเดอนทางไม่ไกลมาก ขณะที่พื้นที่สัมภาระก้มีมากพอต่อการจุของเดินทางในประจำวัน และยังสามารถปรับพับได้ 100%
เรื่องความสะดวกสบายก็มีเท่าที่จพเป้นเรือนไมล์ , วิทยุอยากได้ต้องซื้อรุ่นกลางขึ้นมา
ยังดีที่เรื่องการโดยสารกลับทำได้ดีกว่าที่คาดไม่ได้คับแคบนัก แม้ว่าระยะห่างจากผู้โดยสารและผู้ขับขี่จะไม่ใหญ่มากนักแต่ก็ถือว่าพอเพียง โดยเฉพาะจุดเด่น คือเรื่องพื้นที่เหนือศรีษะที่มีความใหญ่พอตัว จากการออกแบบตัวรถให้มีความสูง
ถึงแม้ตัวรถจะเล็กไปบ้างตามาไตล์รถเน้นใช้งานในเมือง หากได้ลองขับ เจ้า Suzuki Celerio ก็ไม่เป็นสองรองใครเหมือนกัน
ใต้เรือนร่างรถคันนี้ มาพร้อมเครื่องยนต์ 3 สูบ K10B ให้กำลังสูงสุดน้อยที่สุดในบรรดาอีโค่คาร์เพียง สูงสุด 68 แรงม้าเท่านั้น และแรงบิดสูงสุดทำได้ 90 นิวตันเมตร แต่นั่นก็เป็นกำลังเครื่องแบบที่นิยมในญี่ปุ่นเช่นกัน
ช่วงอรกมีให้เลือกทั้งเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และ เกียร์อัตโนมัติ แบบ CVT ตั้งแต่รุ่นกลางขึ้นไป อัตราประหยัดทำได้ราวๆ 20 ก.ม./ลิตร และในช่วงเปิดตัวระยะแรกมีการแข่งขันประหยัดน้ำมันโดยลูกค้าผู้ใช้งานจริง บางคนทำอัตราประหยัดได้ราวๆ 30 ก.ม./ลิตร ด้วยซ้ำไป
แต่ด้วยนิสัยคนไทย รถคันเดียวต้องไปได้ทั่วไทย ทำให้คนจำนวนำม่น้อยมองว่า กำลังขับของ Celerio นั้นน้อยเกินไป แม้ว่าถ้าพูดถึงการใช้งานในเมืองจะทำออกมาค่อนข้างเหมาะสม แต่เมื่อต้องขับเดินทางต่างจังหวัด มันกลับยังไม่ตอบโจทย์เท่าที่ควรนัก
เนื่องจากกำลังน้อยจึงทำให้เวลาเร่งแซงวค่อนข้างยาก โดยเฉพาะในถนนประเภท 2 เลนสวนแต่ถ้าเดินทางช้าๆไปเรื่อยๆ ก็สามารถขึ้นเหนือล่องใต้ได้สบาย ยกเว้นเส้นทางภูเขาสูงชัน อาจจะต้องยอมรับว่า เซเรลิโอนั้นยังไม่ค่อยตอบโจทย์เท่าไร
ด้วยเหตุนี้ มันจึงมีฉายาที่บางคนเรียกว่า “อีโค่คาร์คนเมือง” คือเน้นใช้งานในเมืองจริงๆ
แต่จุดเด่นของรถรุ่นนี้กลับเป็นระบบกันสะเทือนที่ทำออกมาได้ดีเกินราคา เรียกว่า Suzuki Swift เคยทำได้ดีขนาดไหน คันนี้ก็ทำได้ดีขนาดนั้น แถมมีความคลอ่งตัวสูงกว่าด้วยวงเลี้ยวแคบสุด 4.7 เมตร แถม กายภายตัวรถออกแบบให้มีระยะยื่นหน้า-หลังสั้น
ถ้าว่ากันตามจริง หลายอย่างมันถอดแบบออกมาจากรถ Kei Car แต่ปรับให้เหมาะสมกับ สภาพการจราจรของคนในอาเซียน และคนไทยมากขึ้นนั่นเอง
รุ่นใหม่มีขายที่ อินเดีย
แต่ที่จริง Suzuki Celerio นั้นไม่ได้ตายหายไปจาก ซูซูกินะ เพียงแต่ประเทศไทย ทางค่ายตัดสินใจให้มันจบที่รุ่นนี้ Celerio มีการเปิดตัวไปก่อนหน้านี้ที่อินเดีย โดยตัวรถรุ่นใหม่ปรับภาพลักษณ์ให้น่าใช้ยิ่งขึ้น และมีความทันสมัยมากกว่าปัจจุบัน
หลายคนมองว่างานดีไซน์ตัวใหม่น่าจะพอไปได้ เมื่อเทียบกับรุ่นที่ขายในไทย มันดูน่ารักขึ้น แต่ก็มีความเป็นอินเดีย ที่ถือเป็นตลาดหลักของรถรุ่นนี้มากขึ้นด้วย
ส่วนเครื่องยนต์มีการปรับไปใช้เครื่องรหัส K10C ที่มีความใหม่กว่า โดยมาพร้อมเครื่อง 1.0 ลิตร 3 สูบ ระบบหัวฉีดคู่ แต่ไม่มีระบบเกียร์ออโต้ มีระบบ AMT รวมถึงเกียร์ธรรมดามาให้ แต่สิ่งสำคัญคือการเปลี่ยนมาใช้โครงสร้างตัวรถใหม่ Heartect ที่มีความเบากว่าเดิม โดยตัวรถมีการปรับขนาดจากรุ่นเดิมเล็กน้อย
Celerio ของดียุคอีโค่คาร์ที่ยังคุ้มอยู่ในเวลานี้
ปัจจุบัน Celerio น่าจะเรียกว่า เป็นสัญลักษณ์ของ รถเล็กแห่งยุคอีโค่คาร์ ด้วยมันเป็นรถรุ่นเดียวในเวลานั้นที่นำเสนอตัวรถในขนาด A-Segment Subcompact Car ซึ่งทางรัฐบาลเคยกำหนดเป็นขนาดตัวรถในตอนแรกที่เริ่มโครงการ Ace Car ก่อนจะกลายมาเป็นอีโค่คาร์อย่างที่หลายคนรู้จัก
วันนี้ตัวรถยังพอหาซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายซูซูกิ และมีค่าผ่อนแสนถูกเพียงเดือนละไม่ถึง 3,000 บาท เป็นรถที่ใครก็สามารถเป็นเจ้าของได้ แถมการใช้งานไม่วุ่นวายยุ่งยากและขับอย่างไร ก็ประหยัดน้ำมันพอตัว แถมไม่ต้องตากแดดตากลม เหมือนการใช้งานรถมอเตอร์ไซค์ เ
อาจพูดว่าผ่อนเท่ากันแต่ความสบายแตกต่างกันอย่างชัดเจน อย่างน้อยก็ไม่ลำบากกับการใช้งานในยามฝนตก และไม่ร้อนตับแลบในหน้าร้อน
ส่วนใครที่คิดว่าจะหามือสองเท่าที่สำรวจราคามีตั้งแต่แสนต้นๆไปถึงแสนกลาง ตามสภาพตามปี ยิ่งใครซื้อตรงจากเจ้าของไม่ผ่านเต๊นท์ราคาก้น่าจะยิ่งถูกมาก เผลอๆ อาจไม่ถึงแสนด้วยซ้ำ
ดังนั้นใครที่ต้องการแค่รถสักคันใช้ในชีวิตประจำวันแบบไม่ยุ่งยากถือว่าเหมาะสม แถมสมรรถนะการขับขี่ของมันยังทำออกมาได้ค่อนข้างดี โดยเฉพาคนที่เน้นกับการใช้งานในเมืองเป็นหลัก
ข้อมูลตัวรถประกอบบทความจาก Suzuki