Home » 9 เหตุควรรู้ ประกันภัยรถอาจไม่จ่ายค่าเสียหาย
1280px-Japanese_car_accident
รู้เรื่องประกันภัยรถยนต์ เคล็ดลับเรื่องรถ

9 เหตุควรรู้ ประกันภัยรถอาจไม่จ่ายค่าเสียหาย

ผมเชื่อว่าทุกวันนี้การซื้อประกันความเสี่ยงภัย หรือที่เราเรียกว่า “ประกันภัยรถยนต์” ถือเป็นสิ่งทีหลายคนต่างยินยอมพร้อมจะซื้อความมั่นใจ แต่มันรับผิดชอบมากเท่าที่เราคิดหรือเปล่า 

หลายคนอาจไม่ทราบมาก่อนว่า บริษัทประกันภัยรถยนต์สามารถขอปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ในหลายกรณี และคุณสมควรทราบไว้ 

1.ไม่มีคุณสมบัติในการขับขี่ 

กรณีนี้พบบ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ กรณีไม่พกใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ หรือไม่มีใบขับขี่ ไม่ว่าคุณจะขับรถชนหรือถูกเขาชน ก็ถือว่าเป็นฝ่ายผิดทันที ทางบริษัทประกันอาจขอปฎิเสธความรับผิดชอบกรณีดังกล่าวได้ เนื่องจากถือว่า คุณสมบัติผู้ขับขี่ไม่ถูกต้อง 

อีกกรณีที่พบบ่อย คือ มีการระบุผู้ขับขี่ในสัญญาอย่างชัดเจน กรณีนี้ถ้าเกิดบุคคลที่ไม่ได้ระบุในสัญญา เกิดขับรถจนก่อให้เกิดความเสียหาย ก็จะไม่ได้รับความรับผิดชอบความเสียหาย ไม่ว่ากรณีใดๆ 

อย่างไรก็ดี ในกรณีหลัง ปัจจุบัน (เมื่อก่อนจะไม่ชดใช้ให้เลย) พบว่า บริษัทประกันในประเทศไทยมีการลดหย่อนผ่อนผัน โดยหากผู้ขับขี่ไม่ใช่ผู้ที่ระบุในประกันเกิดอุบัติเหตุ และตกเป็นฝ่ายผิด ประกันภัยจะยังชดใช้ให้ แต่ต้องเสียค่าเสียหายส่วนแรก มากกว่าปกติ (เป็นไปตามเงื่อนไข) หากก็ยังต้องดูว่ามีส่วนกับเงื่อนไขไม่รับผิดชอบค่าเสียหายในกรณีอื่นหรือไม่ด้วย 

 

2.ขับรถบริการสาธารณะ 

ทุกวันนี้หลายคนชอบจะขับ   Uber / grab   กัน แต่ทราบไหมครับว่าทางแง่การรับประกันรถ ไม่ครอบคลุมในเรื่องนี้ เนื่องจากการตีประกันภัยตอนคุณทำสัญญามีระบุ ชัดเจนว่า ใช้เพื่อขนส่งส่วนบุคคล หรือใช้ขนส่งสาธารณะ ความรับผิดชอบและค่าเบี้ยจะไม่เท่ากัน 

ในกรณีที่คุณนำรถขับบริการสาธารณะแล้วเกิดอุบัติเหตุ จึงสามารถถูกปฏิเสธได้ทันที ถ้าประกันตรวจสอบว่าผิดเงื่อนไขในการรับประกัน  (สามารถพิสูจน์ได้ว่า คุณขับให้บริการรถสาธารณะ นั่นรวมถึงกรณีขับแท็กซี่ป้ายดำด้วย)

1280px-Japanese_car_accident

3.แต่งรถเพิ่ม 

อันนี้อยากเตือนสาวกนักแต่งรถหลายคนเลยว่า อาจจะพบปัญหาได้ ถ้าคุณแต่งรถโดยไม่ได้แจ้งประกันภัยว่ามีการแต่งเพิ่มในภาพหลัง อาจจะถูกปฏิเสธการรับประกันภัยในส่วนที่มีการตบแต่งเพิ่มเติมได้ ดังนั้น ถ้าคุณแต่งรถมาเพิ่มก็แจ้งประกันว่ามีการตบแต่งเพิ่มเติม เช่นชุดแต่งใหม่ เพื่อ จะไม่ได้ไม่มีปัญหาในภายหลังครับ 

 

4..ใช้รถกระทำผิดกฎหมาย 

ถ้าริจะเป็นโจร บอกก่อนเลยว่าประกันภัยรถไม่รับผิดชอบแน่ การนำรถไปทำผิดกฏหมายไม่ว่าในกรณีใดๆ จะถูกปฏิเสธความรับผิดชอบจากบริษัทประกันภัยในทันที เนื่องจากเป็นการใช้รถนอกเหนือการใช้รถปกติ และเป็นการใช้รถที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่าปกติ 

 

5.ใช้รถเพื่อการแข่งขัน 

แต่งซิ่งไม่ว่า แต่ถ้าคุณขับรถแข่งกับคนอื่น ไม่ว่าบนถนนหรือสนามแข่ง ประกันบอกว่าไม่รับผิดชอบนะจ๊ะ เพราะ มีความเสี่ยงสูงเกินไป ดังนั้นจะทำรถแข่งรถซิ่ง ไม่ต้องทำประกันภัยนะครับ 

6.เมาแล้วขับ 

ข้อหนึ่งที่ประกันภัยออกตัวเลยว่า ไม่รับผิดชอบแน่ๆ คือในกรณีเมาแล้วขับ เนื่องจากเป็นการกระทำประมาทอย่างจงใจ และสานมารถหลีกเลี่ยงได้ แถมยังผิดกฎหมายจราจรชัดเจน ซึ่งในหลายกรณีเมาแล้วขับ ประกันภัยหลายแห่งจะปกฺเสธความรับผิดชอบต่อรถ หรือคุณ แต่อาจจะรับผิดชอบส่วนอื่น เช่นบุคคลที่ 3 หรือ ทรัพย์สินบุคคลที่ 3 แทน 

Subaru WRX ชนยับ

7.ชนรถญาติ 

ข้อนี้หลายคนไม่รู้ แต่ถ้าศึกษาดีๆ  จะพบว่า การชนรถญาติกัน จะถูกปฏิเสธความรับผิดชอบ เนื่องจากทางบริษัทมองว่า อาจเป้นการฉ้อโกงได้ เนื่องจากมีความสัมพันธ์เกี่ยวดองกันในทางสายเลือด โดยเฉพาะ รถของพ่อ-แม่-ลูก ถ้าชนกันประกันภัยไม่รับผิดชอบโดยเด็ดขาด 

 

8.รถโดนขโมย 

ข้อนี้เป็นข้อพิพาทในหลายกรณีในต่างประเทศ อาจจะเห็นได้น้อยในบ้าน แต่เมื่อรถโดนขโมยแล้วแล้ว โดยมากประกันภัยจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายทันที เนื่องจากถือว่าเป็นกรณีรถถูกโจรกรรม หรือรถหาย ถึงแม้คุณจะได้รถคือก้จะกลายเป็นทรัพย์สินของบริษัทประกันภัยอยู่ดี 

แต่ในบางกรณีคุณอาจถูกปฏิเสธการรับประกันภัยทุกกรณี  เนื่องจากมีความประมาทในการสุ่มเสียงและสามารถพิสูจน์ได้ อาทิ กรณีจอดรถลงมากดเงินโดยสตาร์ทเครื่องรถทิ้งไว้ ,หรือคุณเปิดกระจกรถทิ้งไว้ อันล่อเป้าโจรหรือก่อให้เกิดการโจรกรรม บริษัทจะปฏิเสธทันทีครับ 

 

9.การเสียหายตามอายุการใช้งาน 

เรื่องนี้หลายคนงง แต่มันหมายถึงกรณีเครื่องยนต์หรือระบบขับเคลื่อนเสียหายจากการใช้งานของเรา ประกันจะไม่รับผิดชอบ เนื่องจากเป็นการพังตามการใช้งานไม่ใช่อุบัติเหตุ เว้นแต่กรณีสามารถพิสูจน์ได้ว่า สาเหตุที่พังมีส่วนมาจากการซ่อมแซมจากอุบัติเหตุครั้งก่อน โดยมามีระยะไม่เกิน 3 เดือนนับแต่งวันที่ ซ่อมเรียกว่า อาการเกี่ยวเนื่อง ถ้าพบว่ามีความบกพร่องใดๆ เพิ้มเติมหลังการซ่อม ให้รีบติดต่ออู่ที่ไปซ่อมทันทีครับ 

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.