Home » เครื่อง 1800 ของดีวันวาน ที่วันนี้กำลังจะเป็นอดีต
Bust Technic

เครื่อง 1800 ของดีวันวาน ที่วันนี้กำลังจะเป็นอดีต

กระแสการเปลี่ยนแปลงของยานยนต์ทั่วโลก นับว่าได้รับการจับตาอย่างมาก ไม่เพียงแค่การเปลี่ยนแปลงจากเครื่องยนต์สันดาป สู่ยุครถยนต์ไฟฟ้า แต่เรื่องราวของวิศวกรรมในวันวานก็เช่นกัน

หนึ่งในเรื่องที่หลายคนจับตา คือ การเตรียมโบกมืออำลา ของเครื่องยนต์ขนาด 1,800 ซีซี ขุมพลังเดิมแห่งความก้ำกึ่งที่เคยฉายแววขายดีมาตั้งแต่ช่วงต่นยุค 2000

เครื่องยนต์ 1,800 ซีซี เป็นเครื่องยนต์ขนาดกลาง เกิดขึ้นในราวๆยุค 2000 จากรถยนต์คอมแพ็คคาร์ เดิมที รถกลุ่มนี้ใช้เครื่องยนต์ 1,600 ซีซี ในช่วงยุค 90’s และเป็นที่ทราบกันดีว่า เครื่องยนต์ขนาดที่ใหญ่กว่า 2,000 ซีซี ซึ่งมีมานาน ก็ค่อนข้างกินน้ำมันเอาเรื่องโดยเฉพาะการขับขี่ในเมือง และคนจำนวนหนึ่ง มิได้ต้องการสมรรนถะมากมายนักในรถของพวกเขา

นั่นทำให้ บริษัทรถยนต์ เริ่มมองหาเครื่องยนต์ใหม่ ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ฮอนด้า น่าจะเป็นเจ้าแรกๆที่ปั้นเครื่องยนต์ที่มีขนาดมากกว่า 1,600 ซีซี ก่อนจะตามมาด้วยโตโยต้า ขณะที่มาสด้า ไม่ยี่หระ เพราะ เป็นแบรนด์รถยนต์หนักแน่นในสมรรถนะ จึงทำเพียงเครื่องยนต์ 1.6 และ 2.0 ลิตรเท่านั้น

หลังจากรุ่น ซีวิคไดเมนชั่น ทำตลาด ทางฮอนด้าวางจำหน่าย Honda Civic FD โฉมใหม่ โดยมาพร้อมเครื่องยนต์ขนาด 1.8 ลิตร เป็นครั้งแรก(ซีวิค ไดเมนชั้น เป็นเครื่อง 1700 ซีซี) และลากยาว ต่อมาอีก 2 เจนเนอร์เรชั่น ขณะที่ โตโยต้า เริ่มทำเครื่องยนต์ตามออกมาเช่นกันใน Toyota Corolla และ สืบต่อมา จนเก๋งคอมแพ็ค เครื่องยนต์ 1.8 ลิตร เริ่มกลายเป็นมาตรฐานใหม่ ฮอนด้า เป็นรายแรกที่ทอน เครื่องยนต์ 1.6 ลิตรออกไป และเพิ่มทางเลือก 2.0 ลิตรเข้ามาแทนที่

ส่วนทาง โตโยต้า และนิสสัน ที่กลับมาลงตลาด กลับยังทำตลาด 1.6 ลิตรอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เป็นนิสสัน ที่ชักธง เลิกขายเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร เป็นรายแรก ด้วยความต้องการของการตลาดผันสู่ ไลน์อัพ 1.6 ลิตรเท่านั้น ปล่อยให้ยักษ์ใหญ่ นัวทำตลาดแข่งกันมายาวนาน

เกมเครื่อง 1.8 ลิตร มาเสื่อมความนิยมในช่วงปี 2016 เมื่อ ฮอนด้า ตัดสินใจ ใส่เครื่องยนต์ 1.5 ลิตร เทอร์โบ ชาร์จเข้ามาในรถยนต์ Honda Civic รุ่นก่อนหน้าปัจจุบัน ในรหัสตัวถัง FC การติดตั้งเครื่องยนต์เทอร์โบเข้ามา ตามเทรนด์ เครื่องยนต์บล็อกเล็กจัดจ้าน หรือ Engine Dwnsizing ทำให้หลายคนสนใจ แม้ว่าในรุ่นที่ผ่านมาเครื่องยนต์ 1.8 จะยังเป็นตัวชูโรง ก่อนรุ่นใหม่ จะถอดออกไปในที่สุด ในกลุ่มเก๋ง

หากแต่เครื่องยนต์ 1.8 ลิตร ก็มีชีวิตยืนยาว ต่อลมหายใจมาจนถึงราวๆปี 2021 จาก รถยนต์อเนกประสงค์ อย่าง Honda HR-V

การเสื่อมความนิยม

จุดเริ่มต้น การเสื่อมความนิยมนั้น มาจากข้อเท็จจริง ที่หลายคนเริ่มเห็นว่าเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร ในความจริง มีกำลังไม่ต่างจากเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร นัก

ยกตัวอย่างเช่นเครื่องยนต์ 4B10 ของ มิตซูบิชิ มีกำลังขับ 143 แรงม้า แต่เครื่องยนต์ 4B11 มีกำลังขับ สูงกว่าเป็น 150 แรงม้า ซึ่งมิได้ต่างกันมากนัก เช่นเดียวกัน ในฝั่งฮอนด้าเครื่องยนต์ R18A มีกำลังราวๆ 140 ม้า แต่เครื่องยนต์รหัส R20 สามารถเบ่งพลังเป็น 170 กว่าม้า ได้สายจากพื้นฐานเดียวกัน

เมื่อประกอบกับความจริงว่า ยุคสมัยมาสู่เครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จ ประกอบกับ ทางฝั่งฮอนด้า พยายามลดแพลทฟอร์มเครื่องยนต์ลง ตามนโยบายใหม่ จึงจัดการปรับงานวิศวกรรม หลักๆ มาเป็นเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร ทำทั้งมีเทอร์โบและไฮบริด ออกมาตอบโจทย์ แล้วปัดเครื่องยนต์ 2.0 ลิตรเทอร์โบ เป็นขุมพลังสมรรถนะแทน ส่วนกลุ่มรุ่นเล็ก เป็นเครื่องยนต์ 1.0 เทอร์โบ

ทำให้ ฮอนด้าตัดตอนเครื่องยนต์ 1.8 ลิตรออกไปจากระบบ ส่วนนิสสันเองมีการเลิกการวางจำหน่ายไปก่อนหน้านี้แล้ว

มีเพียงทางโตโยต้า ที่ยังทำตลาดเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร ต่อเนื่องแต่เมื่อเปิด Toyota Corolla รุ่นปัจจุบันกลับมุ่งเน้นทำรุ่นไฮบริดมาวางขายมากกว่าแล้ววาง เครื่อง 1.8 ลิตรเป็นเครื่องยนต์สายซิ่งเอาใจคอสปอร์ตในรุ่น GR Sport

เช่นเดียวกัน ยังผลักดันไปลงในรุ่นเริ่มต้นในรถหลายรุ่น อาทิ Toyota C-HR และ Toyota Corolla Cross ภายหลัง Toyota C-HR เครื่อง 1.8 ลิตร มีการยกเลิกการวางจำหน่ายไปออกไป จนเหลือเพียง Toyota Corolla Cross 1.8 sport Plus เป็นรถอีกรุ่นที่ทำตลาด จนกลายเป็นสันดาป 1.8 ลิตรเหลือเพียงรถสองรุ่นเท่านั้น ณ ปัจจุบัน

แต่ประเด็นสำคัญอีกอย่าง คือการปล่อยไอเสียของเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร กับ 2.0 ลิตร ค่อนข้างใกล้เคียงกันมาก ด้วยโครงสร้างภาษีใหม่ มันจึงถูกจัดเก็บ ในอัตราเท่ากัน และด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน สามารถทำเครืองยนต์ 2.0 ลิตร ให้ปล่อยไอเสียต่ำลงได้ ขณะเดียวกัน ลูกค้าก็ได้พละกำลังเพิ่มด้วย เป็นแนวทางที่ดีไม่น้อย

แนวโน้มในอนาคต

มาถึงตรงนี้ค่อนข้างชัดแล้วว่า เครื่องยนต์ 1.8 ลิตร จะต้องหายไปจากตลาด ในอนาคตไม่ช้าก็เร็ว

ในกรณีของฮอนด้า มันถูกแทนที่ด้วยเครื่องยนต์ 1.5 เทอร์โบ ที่ทำกำลังขับดีกว่า และเสริมเติมความต้องการลูกค้าได้หลากหลาย ตามทางเลือก

ขณะที่โตโยต้า ด้วยการทำตลาดในปัจจุบัน มีแนวโน้มสูงที่จะต้องแนะนำเครื่องยนต์ Dynamic Force 2.0 ลิตร เข้าทำตลาดในไทย ทั้งเครื่องยนต์ไฮบริด และเครื่องยนต์ สันดาป เพระาเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร ก็ขายมายาวนาน จนปรับมาสู่ที่สุดแล้ว ต้องถึงเวลาปรับตัวให้เข้ากับเรื่องของการปล่อยไอเสีย ซึ่งเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร รุ่นใหม่ กลับทำได้ดีกว่า

ส่วนทางนิสสัน ค่อนข้างชัดเจน ว่าจะไปทาง Nissan e-Power เป็นแนวทางของพวกเขา ที่ค่อนข้างปราดเปรื่องในการดูดลูกค้าเข้าแบรนด์

แน่นอน ชัดเจนว่าเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร ต้องโบกมือลาไปแน่ในอนาคต และยุคนี้อาจจะเป็นยุคสุดท้ายของมัน

หากความดีความชอบสำหรับใครที่เคยใช้เครื่องยนต์ 1.8 ลิตร คงไม่พ้น การตอบสนองที่ดี ขับได้ใช้งานดีทั้งในเมืองและนอกเมือง ซดน้ำมันไม่มากมายเกินไป นั่นทำให้มันนิยมในอดีต หากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทำให้ มีสิ่งที่ดีกว่า เพิ้่มความสามารถเครื่อง 2.0 ลิตร หรือ แม้แต่การลดไอเสีย ทำให้ในที่สุด เราต้องลา อดีตขุมพลังยอดนิยมที่ทุกคนเคยแล

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.