ช่วงนี้ ใครที่กำลังจัซื้อรถใหม่ คงได้ยินเทคโนโลยีใหม่มากมายที่ค่ายจีนขนออกมาให้จับจองกัน หนึ่งในนั้นคือ เทคโนโลยี ที่เรียกว่า EREV แม้ว่าเราจะเคยพูดถึงเทคโนโลยีตังนี้ไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่ ณ วันนี้ หลายคน ดุจะยังสับสนกับเทคโนโลยี PHEV
ความเหมือนที่แตกต่าง ดูจะเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนดูแล้วเข้าใจผิดหรือคลาดเคลื่อนระหว่างเทคโนโลยี 2 ตัวนี้ ก่อนอื่นเลยครับ ทั้งคู่เป็นเทคโนโลยีคนละตัวกันอย่างแน่นอน และยิ่งไปกว่านั้น ตอบสนองแต่การใช้งาน ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ จนหลายคนอาจจะคาดไม่ถึง
PHEV ขั้นกว่า ของไฮบริด ปูทางสู่ยานยนต์ไฟฟ้า
ตอนที่ เทคโนโลยี PHEV ถือกำเนิด มันถูกวางเป็น ขั้นต่อไปของไฮบริด ก่อนนำไปสู่ยุครถยนต์ไฟฟ้า คำว่า PHEV ย่อมาจาก Plug in Hybrid Electric Vehicle
โดยหลักการการขับเคลื่อนทั้งหมด เสมือรถยนต์ไฮบริด เกือบทุกอย่าง แตกต่างตรงติดตั้งแบตเตอร์รี่ขนาดใหญ่ขึ้น มีความสามารถรับไฟฟ้าจากภายนอกได้และ มอเตอร์ไฟฟ้าที่ขนาด และกำลังมากขึ้น จนสามารถทำให้มันขับไฟฟ้าล้วนได้ในระยะหนึ่ง ในยุค 10 ปีก่อน จะขับได้ราวๆ 30-40 ก.ม. ต่อการชาร์จ ก่อนจะพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบัน บางรุ่นขับไฟฟ้าได้ไกล 100 ก.ม. และ อาจมากกว่านั้นด้วย รวมถึง ยังรับการชาร์จ DC ได้ด้วย เมื่อเทียบกับยุคก่อน
อย่างไรก็ดี ,จุดเด่นของ PHEV จริงๆ ไม่ใช่การขับด้วยไฟฟ้า แต่คือการที่เครื่องยนต์สามารถนำกำลังมาขับเคลื่อนผ่านชุดเกียร์ร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าได้ด้วย ในบางจังหวะ ทำให้มันมีความสามารถในการทำงาน เสมือนคู่หูระหว่างกัน
รถยนต์บางยี่ห้อจึงเอาจุดเ่ดนในข้อนี้มาเป็นจุดขาย คือนอกจากสามารถขับไฟฟ้าได้แล้ว ยังมีกำลังขับมหาศาล เรียกว่า รถยนต์ PHEV 300-500 ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลย ด้วยเหตุนี้ มันจึงมักมีอัตราเร่งที่เร็วพอสมควร อย่าง Haval H6 PHEV รถ PHEV ราคาล้านต้นๆ มีกำลังขับสูงสุด 326 แรงม้า และแรงบิดสูงสุด 530 นิวตันเมตร
แต่จะว่าไปข้อเสีย PHEV ก็มี เช่นกัน ข้อแรก ด้วยการวางเป็นระบบ ไฮบริดที่มีแบตใหญ่ ทำให้น้ำหนักตัวรถเพิ่มขึ้นมาก จากรุ่นสันดาปปกติ หรือแม้แต่ไฮบริดโดยเฉลี่ย อาจมากถึง 100-200 ก.ม. เลยทีเดียว (ขึ้นอยู่กับขนาดแบตเตอร์รี ่และส่วนประกอบหลักอย่างมอเตอร์ขับเคลื่อนที่นำมาใช้)
นั่นทำให้ ในอดีต เรามักพบว่า รถ PHEV เมื่อไฟฟ้าหมด แล้วยกภาระมาให้เครื่องยนต์ขับเคลื่อน มันจะค่อนข้างกินน้ำมันมากๆ ในอดีต ผมเคยลองขับ MG HS Plug in hybrid พอไฟหมด กลายเป็นเครื่องยนต์ต้องแบกน้ำหนักแบตไปด้วย ส่งผลให้อัตราประหยัดมันทำได้เพียง 11 -12 ก.ม./ ลิตร เท่านั้น แถมเมื่อบวกกับการคำนวนพลังงานที่เราเติมไปในแบตเตอร์รี่ ในรถบางรุ่นแทบจะใกล้เคียงรถสันดาปปกติ ไม่ได้มีความต่าง เว้นเพียง เรื่องการลดปล่อยไอเสียได้มากขึ้น
แต่ปัจจุบัน เรื่องน้ำหนัก และขนาดแบตเติร์รี่ที่ใช้เริ่มดีขึ้นตามลำดับ เนืองจาก รถ PHEV หลายรุ่นเริ่มเปลี่ยนแนวทางมาใช้แบตเตอร์รี่แบบเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งช่วยทั้งลดต้นทุน และตอบโจทย์ในการขับขี่ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Haval H6 PHEV รุ่นใหม่มีการปรับแบตเตอร์รี่มาใช้ แบตฯ ที่มีเซล แบบ Short Blade Battery เหมือนในรถยนต์ไฟฟ้า ORA Good CAT
อย่างไรก็ดี ,ด้วยความซับซ้อนในการทำงาน ของระบบ มีรายงานจากข้อมูลบางแหล่งเช่น Consumer Report เมื่อปี 2024 พวกเขารายงานว่า รถยนต์ PHEV มีแนวโน้มที่จะมีความมั่นใจในการใช้งงานระยะยาวน้อยกว่ารถสันดาปปกติถึง ร้อยละ 70 แต่ปัญหาที่พบ ก็มีแนวโน้มที่น้อยลงตามลำดับ และ น้อยลงเรื่อยๆ
EREV นิยามรถยนต์ไฟฟ้าไร้ข้อจำกัด
ทางด้าน EREV เป็น คำนิยมที่มาใหม่ มันย่อมาจากความว่า Extended Range Electric Vehicle หรือ ถ้าแปลกง่าย รถยนต์ไฟฟ้าที่ถูกเพิ่มระยะทาง
จุดเริ่มต้นของ EREV ไอเดียมาจากใครผมไม่ทราบ ที่แน่ๆ จีนมาผุดไอเดียนี้ หลังเริ่มประสบความสำเร็จจากรถยนต์ไฟฟ้า แต่ถ้าเอาย้อนไปนานกว่า 10 ปี จำได้ว่า มาสด้า พยายามลองทำมานานมาก โดยใช้เครื่องยนต์โรตารี่ของพวกเขา ในหน้าที่ใหม่ที่ไม่ใช่ขับเคลื่อนโดยตรง
จุดแตกต่าง ระหว่าง EREV (หรือบางค่ายอาจเรียก REEV) คือ หลักการขับเคลื่อน คือแบบรถยนต์ไฟฟ้า นั่นคือ ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 100% ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอร์รี่
แต่แทนที่จะทำแบบ Battery Electric Vehicle คือไปเน้นที่แบตเตอร์รี่เพียงอย่างเดียว เพื่อให้วิ่งไฟฟ้าล้วนได้ไกลๆ และไปเพิ่มความสามารถในการชาร์จไฟเทพ อย่างที่มักนิยมมาตีแผ่
EREV ลบข้อจำกัดนี้ โดยติดตั้งเครื่องยนต์สันดาปในขนาดที่เหมาะสม มาเพื่อทำหน้าที่ชาร์จไฟฟ้า เข้าแบตเตอร์รี่ระหว่างขับขี่ หรือ อาจชาร์จเมื่อแบตเตอร์รี่อยู่ในระดับต่ำ ก็สุดแท้แล้วแต่ว่า แต่ละค่ายจะวางระบบตัวเองไปแนวไหน
ข้อดีของระบบนี้ คือการลดข้อจำกัดของรถยนต์ไฟฟ้าในการขับขี่ เช่นระยะทาง,การรอชาร์จ และอีกมากมาย ที่ถือเป็นจุดบกพร่อง หรือ ข้อจำกัดของรถยนต์ไฟฟ้า
และด้วยการขับขี่แบบรถยนต์ไฟฟ้า 100% มันจึงมีสัมผัสแบบเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด ไม่ว่าจะอัตราเร่ง , ความเงียบ(เมื่อเครื่องยนต์ไม่ทำงาน) ความสามารถในการชาร์จไฟฟา้า
หรือ ถ้าอธิบายให้เข้าใจง่ายไปอีก มันคือ รถยนต์ไฟฟ้า มีเครื่องยนต์ปั่นไฟของตัวเอง
นั่นหมายถึงเครื่องยนต์มีบทบาทเดียว คือป้อนไฟฟ้าเข้าแบตเตอร์รี่ ไม่มีหน้าที่ หรือ นำมาใช้ในการขับเคลื่อน
อันที่จริง รถยนต์ไฟ้าในยุคแรก อย่าง BMW i3 มีออพชั่น Range Extended Engine ให้ลูกค้าเลือกติดตั้ง โดยใช้เครื่องมอเตอร์ไซค์ 647 ซีซี 2 สูบ ในการปั่นไฟฟ้าเข้าแบตเตอร์รี เพื่อทำให้สามารถขับต่อไปได้ ยามเดินทางไกลไม่สะดวกชาร์จหรือเร่งรีบ
ดังนั้น รถยนต์ EREV ส่วนใหญ่ จึงมีติดตั้ง เครื่องยนต์ขนาดไม่ใหญ่มาก เช่น Deepal S05 ติดตั้งเครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ 1.5 ลิตร ให้กำลังขับสูงสุด 95 แรงม้า เท่านั้น
ไม่เพียงเท่านี้ ด้วยการเป็นเพียงเครื่องปั่นไฟฟ้า ขนาดถังน้ำมันจึงไม่ใหญ่มาก อย่าง BMW i3 รุ่นที่มีเครื่องยนต์ มีถังน้ำมันเพียง 9 ลิตร เท่านั้น แต่ ทุกวันนี้ ภาพของ EREV พยายามเจือจางใกล้เคียงกับ PHEV อย่าง Deepal S05 มีถังน้ำมันขนาด 44.9 ลิตร นั่นใหญ่ ใกล้เคียงกับรถอย่าง Haval H6 PHEV ที่มีถังน้ำมันขนาด 55 ลิตร เลย
จนบางทีก็อยากตั้งคำถามว่า เป็น REEV (EREV) หรือใจอยากเป็น PHEV กันแน่
สรุป EREV VS PHEV ต่างอย่างไร
มาถึงตรงนี้ หลายคนคงพอจะเก็ท ภาพของ EREV กับ PHEV กันแล้วบ้างมั้งครับ พูดให้เข้าใจ มันคือ เทคโนโลยีที่สวนทางหัน
PHEV = รถยนต์ไฮบริดที่เพิ่มความสามารถให้มันมีความเสมือนการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น
EREV = รถยนต์ไฟฟ้าที่ลบข้อด้อยของรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยการใส่เครื่องยนต์มาปั่นไฟ
แต่สิ่งที่ทั้งคู่ต่างกัน ชัดเจน และ ที่ได้เปรียบกว่า คือ PHEV สามารถ รวมกำลังขับของเครื่องยนต์และมอเตอร์ ไปบวกกันแล้วทำอัตราเร่ง การตอบสนองดีกว่า อย่างชัดเจน
ขณะที่ EREV ถ้ามันขับลงล้อ มันก็คือไฮบริดทันที เนื่องจากเป็นการใช้การขับเคลื่อนแบบผสมผสาน แต่ข้อดีของ EREV คือมันเป็นฟีลลิ่งรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่าสันดาป การตอบสนองแบบรถยนต์ไฟ้า ภายใต้ขีดจำกัดของมอเตอร์ไฟฟ้า
ดังนั้น ในความเหมือนที่แตกต่างกัน ก็มีจุดดีจุดด้อยต่างกันไป ว่าแต่แบบไหนจะเหมาะกับการใช้งานของคุณ คุณเลือกเองครับ
เรื่องโดย ณัฐพิพัฒน์ วรโชติโกศล