เมื่อไม่กี่วันก่อน มีประเด้นน่าสนใจ เกิดขึ้น บนโลกโซเชี่ยล เมื่อมีเพจหนึ่ง ออกมาพูดถึง รถพวงมาลัยชวา และรถพวงมาลัยซ้าย ที่วางจำหน่ายในไทย และต่างประเทศ ว่า ที่จริงมันคือรถคนละรุ่นกัน สิ่งที่เขาต้องการพยายามจะสื่อ คือ ไม่อยากให้คนไทย สนใจว่าราคาในต่างประเทศเป็นเช่นไร หรือ ต่างจากไทย มากเท่าไรกัน
แต่พอโพสนี้ออกมา หลายคนกับ โฟกัส ที่ เรื่อง พวงมาลัยซ้าย – พวงมาลัยขวา มากกว่า การที่โพส สรุป จบปึ้ง ว่า เฮ้ย มันคือ รถคนละรุ่นกันฟังดู ก็เหมือนกำปั้นทุบดิน มากไป
อันที่จริง แล้ว ทั่วโลก ส่วนใหญ่ นิยมใช้ ระบบ Right Hand Traffic ซึ่งต้องใช้ รถยนต์ที่มาพร้อมกับพวงมาลัยซ้าย จุดเริ่มต้น ก็มาจากธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งพวกเราส่วนใหญ่ จะเป็นคนถนัดขวา มากกว่า ถนัดซ้าย เป็นมาตั้งแต่โบราณายุคใช้สัตว์เป็นพาหนะ
หลายประเทศ จึงพยายามกำหนดให้ใช้การจราจรแบบ Right Hand Traffic มากกว่า ส่วนประเทศไทย เรา เนื่องจากอิทธิพลของอังกฤษ ในการกำหนดตัวบทกฏหมายต่างๆ เราจึงใช้ การขับขี่ แบบ Left Hand Traffic หรือ ขับด้วยพวงมาลัยขวานั่นเองครับ
ถ้าเปรียบเทียบจำนวนประเทศ ที่ใช้รถพวงมาลัยซ้าย จะมีทั้งหมด 174 ประเทศ ขณะที่ประเทศพวงมาลัยขวา มีเพียงราวๆ 85 ประเทศ
ทำให้ เมื่อผู้ผลิตรถยนต์พัมนารถรุ่นอะไรขึ้นมาขายก้ตาม มักเล็กที่กลุ่มตลาดใหญ่ก่อน หรือพูดง่ายๆ มัก จะผลิตรถยนต์พวงมาลัยซ้ายออกมาก่อน แล้วค่อยพัฒนารุ่นพวงมาลัยขวา เติมเข้ามา
แม้เราจะพูดว่า ในขั้นตอนการพัมนา มันถูก พัฒนา ทีละรุ่น แต่ความจริงแล้ว ในการพัฒนารถรุ่นเดียวกัน ขึ้นมาเป็น พวงมาลัย ซ้าย หรือ ขวา นั้น ไม่สมควรเรียกว่า รถคนละรุ่นกัน
ความจริงคือ อย่างไรเสีย รถรุ่นนั้น ก็คือ รถรุ่นเดียวกัน แบบเดียวกัน เพียงแต่มีการปรับ รายละเอียด ให้มันพร้อมสำหรับ การขับขี่ ในประเทศที่เป็นพวงมาลัยขวา ก็เท่านั้นเอง
จุดสำคัญ คือ การพัฒนา เรื่องการขับขี่เป็นหลัก เริ่มจากการย้าย พวงมาลัยและตำแหน่ง อุปกรณ์ขับขี่ , การปรับให้ ระบบปัดน้ำฝน ครอบคลุม มาพื้นที่จากด้านซ้าย มาเป้นฝั่งขวามากขึ้น
นอกจากนี้ ในการพัฒนารถยนต์บางรุ่น ยังคำนึงถึง สมดุลตัวรถ ที่มีผลต่อการขับขี่ อาจมีการคิด เผื่อ สำหรับการย้ายจุดติดตั้งบางอย่าง เช่น ตำแหน่งแบตเตอร์รี่ และอื่นๆ อีกมาก
ต้องยอมรับว่า การปรับ รถ 1 คัน มาเป็นพวงมาลัย ซ้าย หรือขวา ไม่ใช่งานง่ายๆ ต้องมีการคิดคำนวน คำนึงหลายอย่าง มากวก่าที่เราอาจจะรู้สึกว่า แค่ย้ายฝั่งมันจะยากอะไร
การพัมนารถให้เป็นพวงมาลัยซ้าย หรือขวา ถ้าเจาะจงลงไป อาจจะต้องเริ่มตั้งแต่งานโครงสร้าง ต้องมีการปรับเปลี่ยน ชุดพนังห้องเครื่องยนต์ เพื่อให้มีช่อง สำหรับแกนพวงมาลัย ทางด้านขวาแทน ด้านซ้าย นอกจากนี้ ยังต้องเผื่อสำหรับการติดตั้ง อุปกรณ์ขับขี่อื่นๆ เช่น เบรก และ คันเร่ง
คันเกียร์ ถ้าอยู่ตรงกลาง อาจไม่ต้องปรับอะไร แต่ถ้าเป็นเกียร์ที่คอพวงมาลัย อาจจะ ต้องมีการปรับปรุงตำแหน่งติดตั้ง
นั่นยังรวมถึงปรับ ชุดอุปกรณ์ไฟเลี้ยว และปัดน้ำฝนด้วย ให้ถูกต้องเหมาะสม ในการใช้งาน
ไม่เพียงแค่นี้ อุปกรณ์ อย่างปุ่มโหมกการขับขี่ ,ตำแหน่ง และสวิทช์ ที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่ ต้องปรับให้อยู่ในตำแหน่งที่ใช้งานง่าย ด้วย
ถ้าเราขึ้นไป บนรถคันไหน แล้วรู้สึกว่า นั่งอยู่ในที่นั่งผู้ขับขี่ แล้วบางอย่างดูไกลมือจัง อาจเป็นไปได้ว่า รถคันนั้น พัฒนา รุ่นขับขวา (พวงมาลัยขวา) มาทีหลัง จากพวงมาลัยซ้าย ซึ่งส่วนใหญ่ จะพบได้ในรถยุโรป และรถยนต์จากประเทศ จีนหลายรุ่น
นอกจากนี้ พวกปุ่ม มาตรวัด สวิทช์ควบคุมต่างๆ อย่าง กระจก และ กระจกมองข้าง ยังต้องปรับย้ายฝั่ง
แต่การปรับสวิทช์ต่างๆ นั้นไม่ง่าย มันต้องมีการปรับปรุง ชุดปลั้กและสายไฟ เพื่อ ให้ ตำแหน่งมาอยู่ในด้านที่ถูกต้อง หรือ พูด อย่างเปิดอก บางครั้ง รถพวงมาลัยขวา หรือ ซ้าย อาจจะต้อง ออกแบบ ตำแหน่ง ชุดสายไฟใหม่ เพื่อให้ สอดรับ กับ ตำแหน่งผู้ขับขี่ ที่เปลี่ยนไป
ตลอดจน เมื่อ ผู้ขับขี่เปลี่ยนตำแหน่งในการนั่งขับขี่ สมดุลของรถ จะมีการเปลี่ยนไป หากขับคนเดียว น้ำหนัก จะอยู่หน้าขวา แทนหน้าซ้าย สมดุลของรถจึงต้องมีการปรับปรุง ตามไปด้วย
อย่างเช่น ชุดเบรก แม่ปั้มบน ต้องถูกย้ายฝั่ง มาติดตั้ง ทางขวา แทนฝั่งซ้าย เป็นต้น
แต่เรื่องอื่นๆ อย่าง เครื่องยนต์ , มอเตอร์, แบตเตอร์รี่ และโครงสร้างหลัก ยังเหมือนเดิมทุกประการ ไม่ได้แตกต่าง เปลี่ยนไป จากกัน
จึง อาจจกล่าวได้ว่า โดยส่วนใหญ่เหมือนกัน จะมีการปรับปรุงแค่บางอย่างเท่านั้น เพื่อให้สอดรับกับ การเป็นรถพวงมาลัยขวา หรือ ซ้าย มากขึ้น
อย่างไร ก็ดี ถ้าดูจากที่เรา พยายามอธิบายมาว่า การแปลงรถ จาก พวงมาลัยซ้าย มาเป็นพวงมาลัยขวา มีอะไรบ้าง เราจะพบว่า มีสิ่งที่ต้องทำยาวมากเป็นหางว่าว จนค่อนข้างใกล้เคียง ว่า มันคือรถคนละรุ่น
แต่ ถ้าจะเรียกว่า รถคนละรุ่น น่าจะหมายถึง คำว่า คนละ รุ่นย่อย ในสารบบ ของรถรุ่นนั้น หรือ บริษัทผู้ผลิต มากกว่า ไม่ควรใช้ว่า “รถคนละรุ่น”
เพราะ รถคนละรุ่น หมายถึง คนละรูปโฉม ทั้งภายใน และภายนอก รวมถึง วัตถุ ประสงค์ ในการใช้งาน ที่มีความแตกต่างกัน ตอบสนอง ต่างกัน โดยสิ้นเชิง