Home » Torsion Beam ช่วงล่างหลังยอดฮิต ทำไมผู้ผลิตถึงนิยม
Bust Technic

Torsion Beam ช่วงล่างหลังยอดฮิต ทำไมผู้ผลิตถึงนิยม

หลายคนที่ชื่นชอบการวิศวกรรมยานยนต์ คงจะสังเกตกันอยู่บ้างว่า ในบรรดารถยนต์ราคาแสนบาทกลางไปถึงล้านบาทต้นๆ ส่วนใหญ่จะนิยมติดตั้งช่วงล่างหลังแบบ Torsion Beam มาให้

แม้เราจะรู้สึกคุ้นเคยต่องานวิศวกรรม และวิศวกรคงเลือกสิ่งที่ดีที่สุดมาให้รถของพวกเขา แต่การเซือัพเช่นนี้ก็มีที่มาที่ไปที่น่าสนใจ วันนี้มันเริ่มขายตัวจากบรรดารถยนต์นั่งขนาดเล็กไปสุ่รุ่นใหญ่มากขึ้นแล้วด้วย

ไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราเห็นการเติบโตของช่วงล่างหลังแบบ Torsion Beam จากรถซิตี้คาร์ขนาดเล็ก ดั้งเดิมเรามักจะวิพากษ์วิจารณ์กันเสมอว่าที่พวกมันใช้ช่วงล่างแบบนี้เพื่อประหยัดต้นทุนการผลิต แต่ปัจจุบันรถเก๋งและรถอเนกประสงค์ระดับ Compact Class บางรุ่นเริ่มกันมาใช้ช่วงล่างแบบนี้ มากขึ้นนั่นสื่อถึงความนิยมมากขึ้นไม่เว้นกระทั่งการ รถยนต์ MPV อย่าง Nissan Serena ที่กำลังมาแรงยุคนี้ด้วย

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อยว่า ระบบช่วงล่างแบบ ทอร์ชั่นบีม (Torsion Beam) หรือบางคนอาจจะเรียกว่า Twist Beam (ช่วงล่างคานบิด) เป็นช่วงล่างแบบกึ่งอิสระกล่าวคือ ล้อทั้งด้านซ้ายและขวา จะถูกเชื่อมต่อผ่านชุดคานเหล็ก ทำหน้าที่ในการรับแรงกระแทกเบื้องต้นจากล้อและยาง เมื่อผ่านผิวขุรขระ ตัวเหล็กคานสามารถดูดซับแรงสะเทือนได้เล็กน้อยในระหว่างการขับขี่ แต่ไม่มากเท่ากับช่วงล่างแบบอิสระ อย่างช่วงล่าง มัลติงลิงค์ทั้งหลาย ที่มีจุดยึดต่างๆละเอียดกว่า และมีจำนวนลูกยางในระบบช่วงล่างมากกว่า

การวิศวกรรม และติดตั้งก็ทำได้ค่อนข้างง่าย เนื่องจากเป็นชุดคานชิ้นใหญ่ โดยมีช๊อคอัพและสปริง ติดตั้งแยกออกมา โดยวางอยู่บนชุดคาน เพื่อควบคุมและซับแรงกระแทกที่เกิดขึ้น โดยตัวโช๊คจะวางตำแหน่งติดตั้งเข้าตัวถัง ส่วนสปริงนิยมวางไว้ใต้ตัวถังเพื่อควบคุมและสร้างแรงกดกับตัวคานเหล็กทางด้านล่าว

นั่นสร้างผลดีที่สำคัญ คือ พื้นที่การติดตั้งไม่เยอะมาก ถ้าคุณมีโอกาสรื้อดูซุ้มโช๊คอัพหลังของรถซิตี้คาร์ทั้งหลาย หรือรถรุ่นใดที่ใช้ เซทอัพแบบนี้จะพบว่า มันค่อนข้าง จะใช้พื้นที่น้อยมากในการติดตั้ง

มอบประโยชน์แก่ลูกค้า โดยเฉพาะในแง่พื้นที่สัมภาระที่สามารถทำให้มีขนาดใหญ่มากขึ้นได้ และรวมถึงลดขนาดซุ้มล้อที่จะต้องกินพื้นที่ในห้องโดยสารได้ด้วยในคราวเดียวกัน

แน่นอนการใช้ระบบช่วงล่างทอร์ชั่นบีม ยังทำให้มีต้นทุนค่อนข้างถูก เนื่องจากชิ้นส่วนที่ติดตั้งนั้น เป็นชิ้นใหญ่เสียส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะตัวคาน, ช๊อกอัพ และ สปริง และยังมีบรรดาลูกยางช่วงล่างค่อนข้างน้อยด้วย

ในการใช้งานระยะยาวช่วงล่างแบบนี้ดีต่อผู้ใช้อย่างมาก เนื่องจากไม่จุกจิกต่อการใช้งาน มีความทนทานไม่ค่อยต่างจากระบบช่วงล่างแบบแหนบหลายแผ่นซ้อนในกระบะทั้งหลาย เพียงแต่ระบบนี้ทำมาเพื่อรถนั่งที่ใช้โครงสร้างแบบ Monoque โดยเฉพาะ

นอกจากนี้ จากข้อมูลของวิศวกร มาสด้าที่ได้บอกเล่าตอนเปิดตัว Mazda 3 เข้าทำตลาด พวกเขาชี้ว่า ระบบช่วงล่างทอร์ชั่นบีมนั้น สามารถควบคุมการโคลงตัวไม่พึงประสงค์ได้ดีกว่าช่วงล่างมัลติลิงค์ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการที่มาสดเ้าติดตั้งระบบช่วงในการเข้าโค้งอย่าง G – Vectoring Control ช่วยทำให้การขับขี่ค่อนข้างจะเป็นไปตามใจผู้ขับขี่มากกว่า โดยเฉพาะในกลุ่มรถขับเคลื่อนล้อหน้า

แม้ว่าจะมีข้อดีมากมาย ในทางกลับกันเจ้าช่วงล่าง “ทอร์ชั่นบีม” ก็มีข้อด้อยไม่น้อยเช่นกัน

ประการแรก, มันเป็นช่วงล่างแบบกึ่งอิสระ ซึ่งคำว่ากึ่งหมายความว่า ล้อซ้ายและขวาจะรับแรงกระแทกไปพร้อมๆ กัน เวลาตกกระแทก ทำให้ความสบายในการโดยสารสู้ช่วงล่างอิสระไม่ได้

ส่วนใหญ่รถที่มีราคาไม่แพงมาก มักจะนิยมใช้ช่วงล่างหลังแบบทอร์ชั่นบีม เนื่องจากสามารถคุมต้นทุนได้มากกว่า และมอบประสิทธิภาพในการใช้งานที่เพียงพอสำหรับการขับขี่ทั่วไป

แต่ไม่เป็นปัญหาถ้าคุณขับในเส้นทางที่ค่อนข้างเรียบ เช่นการใช้งานในเมืองทั่วไป ด้วยเหตุนี้รถเก๋งขนาดเล็กจึงนิยมช่วงล่างนี้กันมาก เนื่องจากไม่ใช่รถที่ขับบนทางสมบุกสมบันนัก

ข้อต่อมา ความกระด้างมากกว่า เนื่องจากการใช้คานเหล็กให้ตัวได้วางไว้รับแรงกระแทก รวมถึงจุดให้ตัวพวกลูกยางนั้นมีจำนวนน้อยกว่ามัลติลิงค์มาก ทำให้เวลาเกิการกระแทก โดยเฉพาะจุดที่มีความหนาค่อนข้างมาก อาทิการตกหลุมกระแทกจะรู้สึกถึงความสะเทือนในการโดยสารมากกว่าอย่างชัดเจน

ปัจจุบันด้วยการวิศวกรรมในปัจจุบันบางอย่างสามารถแก้ไขได้ ด้วยการใส่ล้อและยางที่มีความหนากว่าปกติ อาทิใน Nissan Serena หรืออาจจะทำผ่านการเซทการตอบสนองของโช๊คอัพและลดความแข็งของสปริงให้เหมาะสมต่อ วิะีการขับขี่ก็ได้

แต่ท้ายสุด ถ้าเราเปรียบเทียบกับ ช่วงล่างอิสระ การเกาะถนนก็ยังเป็นอีกสิ่งที่ด้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัดเจน อาจไม่ใช่กับการใช้งานปกติทั่วไป แต่รู้สึกได้เวลาขับด้วยความเร็ว หรือ เข้าโค้งแรงๆ รถจะค่อนข้างออกอาการโคลงตัวมากกว่าอย่างชัดเจน และการโคลงตัวหรือ Body rolls จะยิ่งเห็นในการขับบนทางโค้งต่อเนื่อง รวมถึงรถที่มีดคลงสร้างสูงโปร่ง

โดยสรุปแล้ว ช่วงล่าง ทอร์ชั่นบีม มีข้อดีในแง่ต้นทุนการผลิต , ความง่ายต่อการติดตั้ง และการบำรุงรักษาที่ค่อนข้างง่ายสำหรับผู้ใช้ รวมถึงยังลดการสูญเสียพื้นที่ในห้องโดยสารโดยไม่จำเป็นได้อีกด้วย

แต่ข้อเสียของมันคือ ประสิทธิภาพในการขับขี่อาจไม่สู้ช่วงล่างอิสระทั้งหลาย ซึ่งสามารถแยกการควบคุม ซับแรงล้อซ้ายและขวา ทำให้การเกาะถนนผ่านหน้าสัมผัสยางทำได้ดีกว่า

หากก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล ถ้าคุณซื้อรถใช้งานทั่วไป เว้นเพียงคุณเป็นขาซิ่งชอบทำความเร็ว อาจจะต้องจริงจังซีเรียารถที่ใช้ช่วงล่างหลังแบบอิสระจะดีกว่า

เรื่องโดย ณัฐพิพัฒน์ วรโชติโกศล

เขียนเพื่อนำเสนอข้อมูลความเข้าใจ บนเว็บไซต์ Ridebuster.com

ข้อมูลประกอบบทความบางส่วน wikipedia

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.