Home » ผ่อนซื้อรถใหม่ นานกี่ปีดีที่สุด
สาระเรื่องซื้อรถ เคล็ดลับเรื่องรถ

ผ่อนซื้อรถใหม่ นานกี่ปีดีที่สุด

ในขั้นตอนการซื้อรถยนต์ใหม่ปัจจุบัน การใช้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ถือว่าเป็นกระบะวนการปกติที่เราต้องดำเนินการเนื่องจากปัจจัยต่างๆ มากมายที่บีบบังคับ ทำให้เราจำนวนไม่น้อยต่างพยายามหาหนทางในการซื้อรถโดยการเสียเงินในกระเป๋าน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ 

ในขั้นตอนการซื้อรถ ขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญ และหลายคนมักจะมองข้ามเสมอ คือ การเลือกว่าคุณจะผ่อนชำระกับธนาคารกี่ปี หรือพูดสั้นๆ เข้าใจง่ายว่า เป็นหนี้กี่ปี ที่จะต้องมีภาระผูกพันจนกว่าจะผ่อนหมด รถจึงจะกลายเป็นของคุณ หลายคนไม่คิดมากในเรื่องทั้งที่ความจริงเป็นเรื่องสำคัญมากเนื่องจากดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่คุรต้องเสียให้ธนาคารไปฟรีๆ และมันมีผลต่อความยากในการผ่อนชำระด้วย และวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องนี้กัน 

เข้าใจหลักการเช่าซื้อ … เบื้องต้น 

ผู้อ่านหลายคนอาจจะเคยเช่าซื้อรถมาแล้ว หากบางคนอาจจะไม่เคย หรือบ้างอาจจะยงไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ว่ากระบวนการสินเชื่อรถยนต์ รวมถึงรถจักรยานยนต์เป็นอย่างไร 

การเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์มีความเหมือนกันในข้อหนึ่ง คือ ราคาขายรถยนต์ (ราคาตั้งขายหน้าร้าน-โชว์รูม) จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ก้อนใหญ่ๆ คือ 

1.เงินดาวน์ หมายถึงเงินที่คุณยินดีชำระให้กับทางสถาบันการเงินเบื้องต้น เพื่อรับรองว่าคุณจะมีอำนาจในการผ่อนชำระ หรือ ว่าง่ายๆ มันเหมือนหลักประกันกับทางธนาคาร ยิ่งดาวน์มากก็ยิ่งมียอดผ่อนถูกลง เมื่อคำนวนแต่ละเดือน (เงินจองจะถูกนำมารวมกับเงินส่วนนี้)

2.ยอดเช่าซื้อ หรือ บางคนอาจเรียกว่ายอดผ่อน คือ ราคาขายที่หักเงินดาวน์ ส่วนที่เหลือจะถูกนำมาเข้าสู่กระบวนการเช่าซื้อของธนาคาร ซึ่งเราเรียกว่า ยอดเช่าซื้อ 

ตัวยอดเช่าซื้อนี้ จะถูกคำนวนรวมกับดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญา แล้วคำนวนออกมาตามจำนวนงวดที่เราต้องการผ่อนชำระ กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ยอดผ่อนชำระ” 

โดยหลักการธนาคารส่วนใหญ่เหมือนกัน คือ ยิ่งผ่อนชำระยาว ก็จะยิ่งมีดอกเบี้ยสูงขึ้น ขณะเดียวกัน ถ้าคุณผ่อนชำระไม่นานมาก เช่นในระยะ 4-5 ปี ดอกเบี้ยในการผ่อนรถก็จะน้อยลง จนบางครั้งบริษัทรถยนต์บางรายอาจให้โปรโมชั่นผ่อนดอกเบี้ย 0%  ก็มี 

 

ตัดสินใจผ่อนนานแค่ไหนดี 

แม้จะเป็นจุดที่สำคัญ แต่คนจำนวนน้อยมากที่คำนวนถึงเรื่องระยะเวลาการผ่อนชำระสินเชื่อ เนื่องจากคนจำนวนไม่น้อย มักจะดูที่สถานการณ์ในปัจจุบันเป็นสำคัญ 

ตามหลักแล้วการจะผ่านไฟแนนซ์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ คือ จำนวนยอดผ่อนแต่ละเดือนต้องครอบคลุมโดยรายได้ของแต่ละเดือนของผู้เช่าซื้อ  ใ้คุณใช้เรื่องนี้เป็นพื้นฐานก่อนในการตัดสินใจอันดับแรก 

จากนั้นลองมองอัตราดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นของการเลือกเช่าซื้อว่า ในแต่ละจำนวนงวดที่ยาวนานในการผ่อนนั้น คุณมีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยที่คิดโดยทางธนาคารแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ยกตัวอย่างเช่น คุณผ่อน 5 ปี เสียดอกเบี้ยร้อยละ 4ต่อปี กับ คุณผ่อน 4 ปี เสียดอกเบี้ยร้อยละ 3.85 ต่อปี แม้ว่าจะดูน้อยมาก แต่เมื่อตำนวนกับจำนวนเงินยอดผ่อนแล้ว อาจจะแตกต่างกันมาก ซึ่งเมื่อหารต่องวดมาแล้วอาจจะต่างกันไม่ถึงพันบาทด้วยซ้ำ 

อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงที่สำคัญและไม่สามารถปฏิเสธได้ คือ อัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้น เมื่อคุณยิ่งผ่อนชำระนาน เนื่องจากธนาคารจะนำมาคำนวนเป็นค่าความเสี่ยงของธนาคารต่อการเช่าซื้อ ในกรณีที่คุณผ่อนชำระ 6- 7 ปี ยอดผ่อนชำระจะถูกเสียให้อัตราดอกเบี้ยมากขึ้นตามลำดับ แต่ก็มีข้อดีที่ยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือนคุณจะน้อยมากกว่าการรีบเร่งผ่อน 

แต่ถ้าในเราแนะนำการผ่อนรถในระยะเวลา 5-6 ปี เป็นระยะเวลาที่ดี คือ

1.รถใหม่จะออกมาทุก 5-6 ปี ดังนั้น หากต้องการเปลี่ยนรถใหม่ คุณสามารถทำได้ 

2.ดอกเบี้ยการผ่อน 5-6 ปี มีความแตกต่างกันไม่มากจาก 3-4 ปี นัก เมื่อคำนวนเป็นการผ่อนในแต่ละงวด 

3.จากการวิจัยพบว่า คนเราจะเบื่อรถคันเก่าเมื่อใช้มานาน 5-6 ปี 

4.นับตั้งแต่ปีที่ 4 ขึ้นมา หากคุณใช้รถตามปกติจน ค่อนข้างไปทางใช้งานหนัก การเสื่อมสภาพจะเริ่มเห็นผลในระยะนี้ 

 

คิดให้ถี่ถ้วนเลือกผ่อนนาน หรือ สั้นดีกว่ากัน 

มาถึงตรงนี้หลายคนน่าจะเข้าใจแล้วว่า ข้อดีของการผ่อนนาน หรือผ่อนสั้นแตกต่างกันอย่างไร  

การผ่อนสั้น คุณเสียดอกเบี้ยน้อยในแต่ละปี แต่ก็ต้องมาด้วยภาระยอดผ่อนมโหราฬ 

การผ่อนสั้น คุณเสียดอกเบี้ยจำนวนมาก แต่ก็แบกมาด้วยภาระการผ่อนสบาย 

ส่วนจะเลือกแบบไหน ควรดูจากฐานรายได้และภาระในแต่ละเดือนที่เกิดขึ้น ว่าคุณจะรับมือกับพวกมันไหวหรือไม่ 

ที่เราพูดมาทั้งหมดนี้เป็นการผ่อนชำระแบบปกติเท่านั้น หลายคนอาจสงสัยว่า และเราจะมีทางเลือกอื่นหรือไม่ ในการเช่าซื้อรถ หรือมีทางที่จะทำให้ภาระผูกพันปิดเร็วขึ้นหรือไม่ คำตอบ คือมี และมีหลายทางเลือกด้วย 

1.เลือกผ่อนโปรแกรมพิเศษ  การผ่อนผ่านโปรแกรมพิเศษ เช่นการผ่อนแบบขั้นบันได หรือการผ่อนแบบบอลลูน เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้คุณไม่เสียดอกเบี้ยมาก และผ่อนชำระสบาย แต่ทั้งนี้ต้องศึกษาให้ได้ในเงื่อนไขการผ่อนว่า คุ้มค่าหรือไม่ กับการเข้าระบบพิเศษ 

2.การจ่ายเงินมากกว่างวดผ่อน ในการผ่อนชำระสินเชื่อ แม้ว่าจะมีการฟิกอัตราผ่อนชำระมาให้ แต่ธนาคารไม่ได้ห้ามคุณไม่ให้ผ่อนชำระเกินวงเงิน ที่กำหนด คุณสามารถทำได้ และจะทำให้คุณปิดสินเชื่อได้เร็วขึ้นด้วย  นั่นหมายถึงคุณอาจรับข้อเสนอผ่อนนาน เพื่อให้ผ่านสินเชื่อ แล้วเมื่อผ่อนจริง อาจจ่ายเงินมากกว่าวงเงินที่กำหนดก็ได้ 

3.เร่งปิดบัญชี อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน บางครั้งคุณอาจได้โบนัส หรือเงินจากมรดก มาในอนาคตก็ได้ การผ่อนนานอาจฟังดูเหมือนฝันร้าย  แต่ถ้าคุณคิดว่าคุณอาจจะมีเงินก้อนในอนาคต และการผ่อนนานไม่ได้สร้างความลำบากในชีวิตคุณสมควรจะผ่อนยาว แล้วเมื่อมีโอกาสที่เหมาะสม ก็เอาเงินมาเปิดบัญชีการผ่อน ซึ่งปัจจุบันกฎหมายใหม่เอื้อให้ลูกค้าสามารถปิดบัญชีง่ายขึ้น โดยธนาคารต้องลดดอกเบี้ยมากกว่าตามที่กำหนด 

นั้นหมายความว่าคุณผ่อนยาวก็ได้ แล้วจังหวะหนึ่งคุณมาปิดบัญชี ก็อาจจะได้อัตราดอกเบี้ยเท่าคนผ่อนระยะสั้นเช่นกัน 

 

ถึงแม้ฟังดู การผ่อนน้อยปี จะมีข้อดีค่อนข้างมาก ทว่าหลายครั้งก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณเอง ว่าจะสามารถแบกภาระการผ่อนชำระได้หรือไม่ หากคุณสามารถรับภาระไหว การผ่อนนานก็อาจจะเป็นทางออกที่ดี แต่ถ้าคุณคิดว่าไม่อยากเสียดอกเบี้ยให้ธนาคารนานไป คุณอาจจะเหมาะกับการผ่อนระยะสั้นมากกว่า  

 

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.