Home » ผ่อนรถแบบบอลลูน คืออะไร
สาระเรื่องซื้อรถ เคล็ดลับเรื่องรถ

ผ่อนรถแบบบอลลูน คืออะไร

ทุกวันนี้ การซื้อรถยนต์ของคนไทยส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80-90 โดยมากจะใช้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์จากบรรดาธนาคาร สถาบันการเงินต่างๆ ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากการเช่าซื้อปกติ ยังมีลูกเล่นทางการเงินใหม่ เรียกว่ าการผ่อนแบบบอลลูน

หลายคนให้ความสนใจกับการผ่อนแบบใหม่ บางคนว่าได้ไม่คุ้มเสีย วันนี้เพื่อให้เข้าใจอย่างกระจ่างชัด เราจะมาดูระบบระเบียบการผ่อนลักษณะนี้ว่ามันจะออกมาเป็นอย่างไร

การผ่อนบอลลูน คืออะไร

การผ่อนแบบบอลลูน แรกเริ่มเดิมทีนิยมในกลุ่มสินค้าประเภท อสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากมีมุลค่าสูงและมีมุลค่าเพิ่ม จนกระทั่งในระยะหลังสถาบันการเงินหลายแห่งเริ่มนำวิธีการนี้มาใช้กับการซื้อรถยนต์ เนื่องจากทำให้ลูกค้าตัดสินใจง่ายกอปกับ การเช่าซื้อจากบริษัทหรือนิติบุคคล มักมีการเปลี่ยนแปลงรถให้ใหม่อยู่เรื่อยๆ จึงทำให้ระบบนี้แรกเริ่มนิยมใช้กับกล่มรถยนต์หรูราคาแพง อาทิรถนำเข้า หรือ รถยนต์ไฮเอนด์พรีเมี่ยม ก่อนจะมานิยมในกลุ่มรถยนต์ตลาดปกติทั่วไป อาทิ โปรโมชั่น สบายดี ของทางโตโยต้า

หลักการผ่อนแบบบอลลูนนั้น จะแบ่งมูลค่าสินค้า (รถคันนั้น) ออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ

1. ส่วนเงินดาวน์ คือ เงินรับประกันความสามารถในการชำระสินค้าในเบื้องต้นแก่สถาบันการเงิน คล้ายกับระบบการผ่อนปกติทั่วไป

2.เงินบอลลูน คือ เงินที่ทางบริษัทการเงินหักออกไปส่วนหนึ่ง เป็นยอดใหญ่ที่เราต้องชำระเมื่อถึงในเวลาที่กำหนด โดยส่วนใหญ่ จะหักในอัตรา 40-50%   ของราคาสินค้า ณ วันที่เช่าซื้อ โดยยอดนี้จะต้องชำระเมื่อครบสัญญาและต้องการเป็นเจ้าของสินค้าดังกล่าว

3.เงินผ่อนชำระรายงวด คือเงินผ่อนชำระค่างวดตามปกติ คล้ายกับการผ่อนสินค้าอื่นๆทั่วไป โดยคำนวนจากการหักเงินดาวน์และเงินบอลลลูน หารด้วยจำนวนงวดตามสัญญาที่ตกลง

ด้วยการหักเงินดาวน์และเงินบอลลูนออกไป ทำให้ค่างวดผ่อนชำระในแต่ละเดือนของการผ่อนแบบบอลลูน ถูกกว่า การผ่อนชำระปกติ ยกตัวอย่างเช่น รถ   Toyota  Corolla  Altis  Hybrid  Entry   ราคา 939,000 บาท

ถ้าสมมุติคำนวนการผ่อนปกติ  โดยดอกเบี้ยตลอดสัญญาอยู่ที่ 2.5% ต่อปี  เป็นระยะเวลา 60 เดือน  ก็จะออกมาดังนี้

เงินดาวน์ 20% = 187,8000 บาท

ยอดจัดจริง = 751,200 บาท

ดอกเบี้ยรายปี 18,780 บาท ต่อ ปี รวม 5 ปี (60 เดือน) = 93,900 บาท

รวมยอดต้องผ่อนชำระทั้งหมด 845,100 บาท เฉลี่ยค่างวด 14,085 บาท

 

กลับกันกรณีบอลลูน ในจำนวนปีที่เท่ากัน

เงินดาวน์ 20% = 187,8000 บาท

ยอดสินเชื่อคงเหลือ= 751,200 บาท

ยอดบอลลูน สมมุติหัก 53%  ของยอดสินเชื่อคงเหลือ  = 398,186 บาท (ยกเป็นงวดที่ 59)

ยอดเหลือผ่อนชำระรายงวด  = 353,104 บาท 

สมมุติ ดอกเบี้ยบอลลูนคิดที่ (6% ต่อปี ) =21,180 บาท ต่อปี ระยะ 5 ปี = 105,904 บาท 

ค่างวดเท่ากับ 7,650 บาท ต่องวด (1-59) และงวดที่ 60 จ่าย 398,186 บาท เพื่อรับกรรมสิทธิเป็นเจ้าของ

จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นว่า การผ่อนชำระแบบบอลลูน มีข้อดีในเรื่องค่างวดชำระต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง จากการผ่อนชำระแบบปกติทั่วไป ซึ่งหากมองให้ดีการผ่อนแบบบอลลูน ที่หลายคนกลัวนักกลัวหนา ก็มีข้อดีเช่นกัน คือ

1.เป็นการการันตีมูลค่าสินค้าในอนาคต จึงเหมาะ กับ สินค้าที่มีมูลค่าสุง อาทิ อสังหาริมทรัพย์หรือรถยนต์หรูราคาแพง ว่าจะมีราคาขายตามที่สถาบันกำหยด มีมูลค่ารับซื้อแน่นอน

2.การผ่อนชำระต่ำ ทำให้ภาระหนี้น้อยกว่าการเช่าซื้อปกติทั่วไป

3.สามารถตัดสินใจภายหลังได้ว่าจะเป็นเจ้าของสินค้านั้นต่อหรือไม่ ได้ในอนาคต

 

อย่างไรก็ดี จะเห็นว่า การผ่อนแบบบอลลูน นั้นมีข้อเสียสำคัญคือ

1.ไม่ได้เป็นเจ้าของทันทีหลังหมดงวดชำระปกติ ต้องชำระงวดบอลลูน

2.งวดบอลลูนมีมูลค่าหนี้สูงพิเศษ

3.ดอกเบี้ยบอลลูนจะสูงกว่าการผ่อนชำระปกติเสมอ (อาจสูงกว่าการยกตัวอย่างของทางเรา)

4.ไม่สามารถปิดก่อนการชำระหมดตามสัญญาได้ หรือถ้าได้ ก็อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

 

ถึงแม้นว่าบอลลูนจะดุมีข้อเสียไม่น้อยเมื่อเทียบกับการผ่อนชำระปกติธรรมดาทั่วไป ทว่าการผ่อนแบบนี้ปัจจุบันก็ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น โดย

1.ค่างวดบอลลูนก้อนสุดท้าย สามารถทำเป็นการแบ่งผ่อนชำระได้ตามตกลงกับสถาบันการเงิน (ดอกเบี้ยและเงื่อนไขเป็นข้อตกลงของสถาบันการเงินนั้นๆ )

2.เทิร์นรถคันใหม่ออกมาขับหลังจากถึงงวดบอลลูน โดยนำส่วนต่างมาเป็นค่างวดเงินดาวน์ คันใหม่ ส่งผลให้ เรามีรถใช้ใหม่ๆ เสมอ

 

ปัจจุบันการทำเช่าซื้อแบบบอลูน ได้รับความนิยมมากในหมู่รถหรู เนื่องจาก

1.รถมีราคาแพง มูลค่าสูง (พอๆกับ อสังหาริมทรัพย์)

2.รถเหล่านี้หลายยี่ห้อมีอายุการใช้งานที่ชัดเจน ไม่ได้ออกแบบให้ใช้งานคงทนตลอดกาล

3.การเช่าซื้อลักษณะนี้เหมาะสำหรับการซื้อในลักษณะรูปแบบบริษัท (นิติบุคคล) เนื่องจากสามารถนำไปทำเรื่องในลักษณะเช่ารถ ซึ่งได้รับการลดหย่อนทางภาษี  (โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม)

 

การเช่าซื้อแบบบอลลูน ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ต้องยอมรับว่ามันอาจไม่ได้เหมาะกับทุกคนที่ต้องการมีรถ การเช่าซื้อแบบนี้มีข้อดีก้มาก และก็มีข้อเสียเช่นกัน เราควรตัดสินใจให้ดีว่าการเช่าซื้อแบบไหน เหมาะกับเราที่สุด 

 

 



แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.