Home » ขับรถลงเขา เขาอย่างถูกวิธี ต้องทำอย่างไร
เคล็ดลับขับรถ เคล็ดลับเรื่องรถ

ขับรถลงเขา เขาอย่างถูกวิธี ต้องทำอย่างไร


ในบรรดาเส้นทางขับรถที่ยากมากมาย การขับรถขึ้นลง ถือเป็นเส้นทางหนึ่งที่มีความปราบเซยนอย่างมาก เนื่องด้วยความไม่คุ้นเคยของเส้นทางและ ความยากจากหนทางที่คดเคี้ยวสลับซับซ้อน

เส้นทางบนเขาเป็นเสน้ทางที่คุณไม่สามารถเลี่ยงได้ถ้าต้องการไปเที่ยวเก็บความหนาว ชมทะเลหมอก อย่างที่หลายคนต้องการ แต่ที่น่าหวั่นใจไม่น่าใช่ตอนขึ้นเขาหากเป็นตอนลงจากเขา นี่แหละที่อันตรายมาก และเราจะมาบอกว่าคุณควรลงอย่างไร  

1. ใช้ความเร็วเหมาะสม ประการแรกที่คุณรู้ไว้เลยเกี่ยวกับทางเขาคือมันมีอันตรายมาก บางแห่ง ซ้ายเขา ขวาเหว วิธีแรกที่คุณจะปลอดภัยคืออย่า ขับรถเร็วเกินไป ใช้ความเร็วตามความเหมาะสมในภาวะของสภาพเส้นทาง

2.เปลี่ยนมาใช้โหมดปรับเกียร์เอง ถ้ารถคุณมีโหมดปรับเกียร์เอง  ให้เปลี่ยนมาใช้โหมดปรับอัตราทดเอง โดยอาจจะดันเข้าหาตัวหรือออกไปด้านข้างในตำแหน่งเกียร์  D   ซึ่งจะช่วยให้ระบบเกียร์ไม่เปลี่ยนเกียร์ทดที่สุงเกินไป ซึ่งจะทำให้รถไหลลงเขาเร็วขึ้น และไม่อาจควบคุมได้

การเลือกเกียร์เอง ทำให้คุณสามารถใช้เกียร์ช่วยชะลอรถ หรือ ที่เรียกว่า   Engine Brake   ซึ่งทำให้รถไม่ไหลลงเร็วจนเกินไป และอยู่ในความเร็วที่เหมาะสม

ในกรณีที่รถคุณเป็นรุ่นเก่าหรือ เป็นรถเกียร์ออโต้ พวก  CVT   ที่ไม่มีโหมดให้เลือกตำแหน่งเกียร์เอง (พวกอีโค่คาร์) ตำแหน่งเกียร์   S   หรือ   D3   พอจะช่วยให้คุณชะลอความเร็วให้เหมาะสมได้บ้าง

โดยวิธีการใช้ เกียร์เลือกตำแหน่งเอง พยายามดูให้เครื่องยนต์ ทำงานอยู่ในช่วงไม่เกิน 4,000 รอบต่อนาที ทั้งรถเครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์ดีเซล  หากสูงก็เพิ่มตำแหน่งเกียร์ถัดไป แล้วค่อยลดลงมาใหม่ก็ได้ครับ

3.ไม่เบรกยาวต่อเนื่อง เมื่อขับเกียร์ออโต้ คุณถูกริบเอาชุดตัดต่อกำลังเครื่องยนต์กับเกียร์ หรือ คลัทช์ออกไป ทำให้เครื่องและเกียร์ทำงานต่อเนื่องตลอดเวลาที่คุณขับเคลื่อน

ด้วยความที่เหลือแต่เบรก เราจึงพึงพามันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อชะลอความเร็วหรือให้รถหยุด แต่บนเขาที่มีแรงกระทำจากแรงดึงดูดของโลก หลายคนมักชอบเบรกยาวอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อผ้าเบรกทนถึงขีดสุดพวกมันจะมีอาการที่เรียกว่า เบรกเฟด ทำให้รถไม่สามารถลดความเร็วหรือเบรกหยุดได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีแน่บนทางเขา

Review Ford Everest 2018

ดังนั้นถ้าคุณขับบนทางเขา แล้วลงทางลาดชันต่อเนื่อง ให้เบรกเป็นจังหวะ เหยียบแล้วปล่อย อย่างเหยียบแช่ยาวๆ เพราะทุกครั้งที่เบรกผ้าเบรกจะมีความร้อนสะสมที่ตัวมาก ให้มันได้ระบายความร้อนบ้าง เหยียบปล่อย เหยียบปล่อย จะช่วยให้ มันทำงานได้ดี และไม่งอแง ในการใช้งาน

4.ผ่อนคันเร่งบ้าง ในบางเส้นทางคุณจะพบว่าเป็นทางลงเขาต่อเนื่อง และคุณไม่จำเป็นต้องเร่งรถก็ลงเขาเร็วอยู่แล้ว ดังนั้นราอยากจะบอกว่า ผ่อนคันเร่งบ้างไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้ใช้ ยกเท้าออก แล้วดูจังหวะชะลอความเร็วดีกว่าครับ

5.เว้นระยะห่างจากคันหน้า  หลายคนขับรถลงเขาบางทีชอบจี้คันหน้า ทั้งที่จริงการเว้นระยะห่างเวลาลงเขา ทำให้คุณขับรถง่ายกว่าด้วยซ้ำ

การเว้นระยะห่าง ทำให้คุณเห็นเส้นทางข้างหน้า และยังมีพื้นที่ในการขับขี่ เช่นการปล่อยรถไหล โดยไม่ใช้คันเร่ง และหรือเปลี่ยนเกียร์ช่วยลดความเร็วจะเป็นไปได้ง่ายกว่า โดยตามคำแนะนำเราควรเว้นระยะห่าง 1-2 ช่วงคันรถเมื่อลงเขา

อีกอย่างคือ ถ้ามีเหตุฉุกเฉิน เช่นมีรถเสีย หรือประสบอุบัติเหตุระหว่างทางคุณจะได้มีเวลาตัดสินใจในการแก้ไข สถานการณ์

6.ไม่ต้องใช้เทคนิคขับขี่เยอะ บางคนที่เป้นวัยรุ่นอาจจะชอบที่เห็นมือโปรขับลงเขามีดึงเบรกมือ หรือทำอะไรต่อมิอะไรมากมาย แต่ความจริงคือ ขับธรรมดาทั่วไปนี่แหละครับดีที่สุด การขับรถลงเขาด้วยการเปลี่ยนเกียร์ถูกต้อง เบรกถูกต้อง ก็เพียงพอแล้ว ไม่ต้องพิสดารอะไรมากมายให้มากความ  แถมถ้าคุณทำผิดอาจทำให้รถเสียหลักเกิดอุบัติเหตุ แทนที่จะดีกลับกลายเป็นแย่กว่าเดิมอีก

เพราะการขับรถบนถนนคือการไปถึงจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัยครับ

7.ตัดโค้งถ้าเป็นไปได้ ในบางเส้นทาง ถ้าโค้งเยอะมาก คุณอาจพิจารณาการตัดโค้ง แต่จะทำก็ต่อเมื่อ คุณเห็นแล้วว่าสามารถทำได้ รถว่าง ไม่มีรถสวน มองเห็นช่วงโค้งตลอดแนวโค้ง หรือ ภยันตรายที่ทำให้คุณเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ

การตัดโค้ง คือการที่คุณไม่วิ่งเข้าโค้ง แต่ผ่านไปตรงกลางของมัน เช่น ข้างหน้าเป็นโค้ง  S   สั้น ทางขวา แล้วคุณเห็นแล้วว่าไม่มีรถสวน คุณอาจจะเลือกผ่านกลางช่วง  S   ไปเลยก็ได้ (ถ้าไม่มีรถสวนมา)

การทำแบบนี้ทำให้คุณไปได้เร็วขึ้นและทำให้ผู้โดยสารนั่งสบายขึ้นด้วยในจังหวะหนึ่งอีกด้วย

การขับรถลงเขาเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ สิ่งที่ผมบอกคุณเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการขับขี่ลงเขาเท่านั้น แต่ก็คงพอจะทำให้เพื่อนๆขับรถลงเขามั่นใจมากขึ้น สำคัญที่สุดของการขับลงเขาคือคุณต้องไม่มาทในการขับรถ เพียงเท่านี้ก็เที่ยวได้สนุกแล้วครับ

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.