Home » 7 ศัพท์ “ประกันภัยรถยนต์” ที่คุณควรรู้จัก
Lamborghini Urus ขายซาก
รู้เรื่องประกันภัยรถยนต์

7 ศัพท์ “ประกันภัยรถยนต์” ที่คุณควรรู้จัก

ทุกวันนี้รถยนต์ที่เราใช้ต่างมาพร้อมการประกันภัย เพื่อให้มั่นใจในการขับขี่มากขึ้น หลายคนอาจไม่เคยใช้พวกมันมาก่อน และเมื่อใช้หรือต้องทำอะไรเกี่ยวกีบประกันภัยก็จะงงมากมายกับศัพท์ ประกันภัย วันนี้เราจะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักศัพท์บางอย่างที่คุณสมควรรู้ในวันต้องเจรจาเรื่องประกันภัย

Lamborghini Urus ขายซาก

1.ซ่อมห้าง

คำว่า “ซ่อมห้าง” จะเป็นคำแรกที่คุณได้ยินจากบรรดานายหน้าประกันภัย เมื่อต่อประกันภัยในปีแรก และทำเอาหลายคนงงกับมันไม่น้อย

การซ่อมห้าง หมายถึง การที่ประกันภัยกรมธรรม์นั้นคุ้มครองรถคุณโดยอนุญาตให้นำรถเข้าซ่อมศูนย์ซ่อมตัวถังที่ได้รับการรับรองจากบริษัทรถยนต์ ไม่ว่าจะซ่อมในศูนย์บริการ หรือ ทางศูนย์ส่งให้ซัพพลายเออร์ข้างนอกซ่อมตามมาตรฐานที่กำหนด ก็ถือว่าเป็นการซ่อมห้างเหมือนกัน

ข้อได้เปรียบการซ่อมห้างกับงานอู่ คือ อะไหล่ที่นำมาซ่อมบำรุงทุกชิ้น (ในกรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้น) จะเป็นอะไหล่แท้และสามารถขอเรียกตรวจสอบได้  ส่วนงานซ่อมอู่อะไหล่บางชิ้นอาจจะเป็นอะไหล่เทียบ หรือ ของเทียม เพื่อลดต้นทุนการซ่อมของ บ. ประกันภัย

 

2.ค่า excess

ค่า excess  หรือ ค่าเสียหายส่วนแรก หมายถึง เงินที่ลูกค้าต้องจ่ายให้กับบริษัทประกันภัย เพื่อรับผิดกับการชนไม่มีคู่กรณี หรืออาจปล่อยให้คู่กรณีหนีไปทั้งโดยเจตนา และไม่เจตนา การเสียค่าเสียหายส่วนแรกเป็นไปตามบทบัญญัติของ คปภ. เพื่อทำให้ผู้ใช้รถระวังในการขับขี่มากขึ้น  โดยกำหนดให้มีขั้นต่ำครั้งละ 1,000 บาท และมากกว่านั้น ตามที่มีการระบุในกรรมธรรม์ประกันภัย

ทำไมต้องเสียค่าเสียหายส่วนแรก สาเหตุที่กฎนี้ถูกบังคับใช้ เนื่องจากพบว่า มีการชนที่ไม่มีคู่กรณีจำนวนมาก ทำให้บริษัทประกันภัยสูญเสียค่าสินไหมทดแทน ที่ไม่จำเป็นกับผู้เอาประกัน ไม่ว่าจะจากการขับขี่ประมาทเลินเล่อ หรือ ความไม่รู้เท่าทัน จึงกำหนดให้มีค่าเสียหายส่วนนี้ขึ้นมา โดยกำหนดให้ผู้เอาประกันต้องจ่ายเงินเบื้องต้น ส่วนที่มากกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น ประกันภัย เป็นผู้รับผิดชอบ

 

3.เคลมแห้ง

เคลมแห้ง เป็นศัพท์ที่ทางบริษัทประกัน ใช้เรียกกรณีการชนที่ไม่พบคู่กรณีร่วมเหตุการณ์ แต่พบว่ารถของคุณนั้นได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์จริง ในกรณีการเคลมแห้ง ส่วนใหญ่ลูกค้าจะต้องเสียค่าเสียหายส่วนแรก

ตัวอย่างกรณีเคลมแห้งที่ชัดเจน เช่น หินกระเด็นใส่รถจนได้รับความรับความเสียหายแก่ตัวถังหรือกระจก

 

4.ใบเคลม

ใบเคลม คือ ใบยืนยันเหตุการณ์ปละความเสียหาย ที่ผู้เอาประกันภัยได้รับการบันทึกจากเจ้าที่สำรวจที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทประกันภัย หลังจากเกิดเหตุเพื่อนำรถเข้าซ่อมตามที่เราเห็นสมควร ภายใต้เงื่อนไขของบริษัทประกันภัย

ใบเคลมจะมีอายุประมาณ 1 ปี นับตั้งแต่วันที่แจ้งเหตุการณ์ โดยคุณจะต้องนำใบเคลม พร้อมเอกสารทางประกันภัยเข้าติดต่ออู่หรือศูนย์บริการที่จะเข้าซ่อม

Subaru WRX ชนยับ

5.ประเมินเสียหายโดยสิ้นเชิง

ค่าประเมินเสียหายโดยสิ้นเชิง หรือ  Total  Loss   เป็นการประเมินมูลค่าความเสียหายต่อรถของคุณจากเหตุการณ์ว่าไม่คุ้มที่จะซ่อมให้กลับมาดีดังเดิม สมควรขายซากทิ้ง

ตามปกติแล้ว   Total Loss   จะตีประเมินจากราคาค่าซ่อมที่อู่หรือศูนย์บริการนำเสนอ เปรียบเทียบกับราคารถรุ่นที่คุณใช้ของราคารถขณะเกิดความเสียหาย (ในเวลานั้น) ด้วยเกณฑ์ประเมินร้อยละ 70 ของราคารถ

 นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมรถใหม่ชนหนัก ประกันจึงพยายามให้คุณซ่อมใช้ต่อ  เพราะราคารถใหม่ยังมากกว่าค่าซ่อมอยู่

แต่เมื่อรถคุณถูกประเมินว่า เสียหายทั้งหมดแล้ว ทางบริษัท ประกันภัยจะต้องจ่ายเงินทุนประกันภัยให้แก่ ผู้เอาประกันภัย หรือ ผู้รับประโยชน์ตามที่ได้ระบุกรมธรรม์ โดยเราต้องโอนรถของเราไปให้ บริษัทประกันภัยด้วย  แต่ถ้ารถคันนั้นรักมาก ไม่อยากให้เป็นซากไป สามารถเจรจาขอเงินค่าซ่อมรถได้ ไม่เกินร้อยละ 70%  ของราคารถ เพื่อไม่ให้เข้าเงื่อนไข   Total Loss   หมายถึง คุณอาจจะต้องออกเงินเองบางส่วน

 

6.ทุนประกัน

ทุนประกัน คือ  จำนวนเงินสุงสุดที่ผู้รับประกันภัยจะต้องชดใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัย เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น สำหรับประกันภัยรถยนต์หมายถึง กรณีรถเสียหายโดยสิ้นเชิง ทางผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินทุนประกันตามที่ได้ทำไว้กับทางบริษัทประกันภัย  หรือ ในศัพท์ อาจเรียกว่า คืนทุนประกันภัย ซึ่งโดยมากจะประเมินที่ร้อยละ 70 ของราคารถที่เราใช้ในเวลานั้น

 

7.พรบ.

เวลาซื้อประกันน่าจะเคยถูกถามว่า “เอา พรบ ด้วยหรือเปล่า” แล้ว พรบ. คืออะไร

พรบ. คือ ประกันภัยภาคบังคับในรถยนต์ทุกคนัที่ใช้ถนนเมืองไทย ซึ่งหากเราขับรถโดยไม่มีพรบ.  มีความผิดตามกฎหมาย ปรับ 10,000 บาท โดยพรบ. มีอายุคุ้มครอง 1 ปี นับจากวันที่ทำ และต่ออายุแบบปีต่อปี แต่มีเงื่อนไขว่า ถ้าคุณจะเสียภาษีรถยนต์ประจำปี พรบ. ที่ประกอบการขอต่อภี ต้องมีอายุอย่างน้อย 90 วัน

 

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.