ในยุคปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า เราได้เห็นนวัตตกรรมใหม่ๆ จากบริษัทรถยนต์เข้ามาตอบโจทย์การใช้งานมากขึ้น สำหรับระบบขับเคลื่อน ปัจจุบัน เราจะพบคำว่า รถไฮบริด มากขึ้น ระบบเหล่านี้ อาจฟังดูเหมือนกัน ทั้งที่ความจริง มันกลับแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
รถไฮบริด เกิดขึ้นมานานกว่า 20 ปี แล้ว แต่เพิ่งจะมาได้รับความนิยมในช่วง 1 0ปี ที่ผ่านมา ประเทศไทย รถยนต์ Toyota Camry เป็นรถรุ่นแรกที่นำพารถยนต์แบบนี้เข้ามาตอบโจทย์ลูกค้า ก่อนจะตามมาด้วย Toyota Prius , Honda Jazz Hybrid และอีกมากมายนับไม่ถ้วน วันนี้เราจะมาพาคุณล้วงลึกกันถึงข้อมูลระบบไฮบริดที่มีชายในวันนี้กัน
ระบบไฮบริดคืออะไร
ก่อนจะลงลึกในรายละเอียดอยากให้ทุกคน ลืมทุกอย่างที่รู้ไป แล้วมาเริ่มต้นใหม่กันทั้งหมด
หลายคนคงเคยได้ยินมาบ้าง เกี่ยวกับเรื่องราวของรถไฮบริด แต่ที่จริงระบบไฮบริดเป็นความคิดในการนำระบบขับเคลื่อน 2 แบบ เข้ามาผสมผสานในการใช้งาน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการขับขี่ ไม่จำเป็นต้องเป็นเพียงการขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าอย่างที่เราเข้าใจเท่านั้น
ระบบไฮบริดส่วนใหญ่ที่นิยมในปัจจุบัน เป็นการติดตั้งระบบมอเตอร์ไฟฟ้า พร้อมแบตเตอร์รี่เข้ามา ทำงานร่วมกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน หลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า จะเปลี่ยนไปตามเงื่อนไข ตามการเซทระบบของทางบริษัทผู้ผลิต โดยมากจะมีหลักการหลายส่วนที่คล้ายกัน ขึ้นอยู่กับตามแต่ละประเภท
ระบบไฮบริดแม้นว่าจะใช้ชื่อเรียกเหมือนกัน เมื่อย่อยลงไปในรายละเอียด จะพบว่า มันมีรายละเอียดแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แล้วแต่ผู้ผลิตจะเรียกตามความสามารถในการทำงาน ว่ามันสามารถสนองตอบในการขับขี่ได้มากน้อยเพียงใด อันมีปัจจัยมาจากการเซทอัพขนาดมอเตอร์ไฟฟ้าและแบตเตอร์รี่ ที่แตกต่างกัน เพื่อสนองความต้องการ
Mild Hybrid
ในอนาคต ระบบ Mild Hybrid จะเข้ามามีบทบาทในรถยนต์มากขึ้น เนื่องจากเป็นระบบที่เซทง่ายราคาถูก และไม่มีความซับซ้อนของชิ้นส่วนมาก ระบบนี้ปัจจุบันถูกติดตั้งในรถยนต์หลายรุ่น ตั้งแต่รุ่นเล็กไปจนถึงรถราคาแพง
ความคิดในการพัฒนาระบบนี้ คือนำมอเตอร์ไฟฟ้าเข้ามาใช้ช่วยการทำงานของเครื่องยนต์ในบางจังหวะ เพื่อลดภาระการทำงานของเครื่องยนต์ในจังหวะที่เราต้องใช้คันเร่งหนักๆ แต่ข้อด้อยระบบนี้ มอเตอร์ไฟฟ้าจะไม่สามารถขับเคลื่อนรถด้วยระบบไฟฟ้าล้วนได้
ข้อดี ของระบบนี้คือ มีราคาถูก มีขนาดเล็ก และไม่ยุ่งยากนัก ข้อสังเกต มอเตอร์ไฟฟ้าจะติดตั้งอยู่ในชุดเกียร์ เพื่อให้ให้กำลังขับอย่างอิสระจากเครื่องยนต์ในบางจังหวะ ก่อนที่เครื่องยนต์จะเข้ามาทำงานในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยมากมอเตอร์ไฟฟ้าจะมีพละกำลังไม่เกิน 20 แรงม้า และแบตเตอร์รี่ขนาดไม่เกิน 20 กิโลวัตต์
การจัดวางระบบจะคล้ายกับระบบไฮบริดปกติ สามารถทำงานได้ 3 รูปแบบ สำคัญ คือ
- 1.ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าช่วยออกตัว
- 2.ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเสริมกำลังเครื่องยนต์ในช่วงเร่งแซง
- 3.ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าปั่นไฟกลับเข้าแบตเตอร์รี่ เมื่อไม่ใช้คันเร่ง หรือ ปล่อยรถไหล
ด้วยการทำงานดังกล่าวระบบ Mild Hybrid จึงทำให้เครื่องยนต์สามารถหยุดการทำงานในบางจังหวะหรือทำงานน้อยลงในบางช่วงได้อาทิ การออกตัว , การเร่งแซง ปัจจุบันด้วยระบบที่มีราคาถูกรถยนต์หลายรุ่นจึงติดตั้งมาให้ เพราะมันให้ทั้งสมรรถนะในการขับขี่ และยังเสริมความประหยัดกว่าการใช้เครื่องยนต์ปกติ 15%
ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์หลายบริษัทสนใจระบบนี้มาก เนื่องจาก มีต้นทุนต่ำราคาถูก และผู้ใช้ไม่ต้องประบพฤติกรรมในการขับขี่มาก เรียกว่าเป็นระบบเรียนรู้การทำงานของไฮบริดในเบื้องต้น และเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ปัจจุบัน ระบบนี้พัมนาให้มีกำลังไฟฟ้าสูงขึ้นเป้น 48 โวล์ต ในรถยนต์หลายรุ่น ทำให้มีความสามารถในการทำงานมากขึ้น
Full Hybrid
ระบบ Full Hybrid หรือ ระบบไฮบริดฉบับเต็ม เป็นระบบที่ถูกพูดถึงกันโดยส่วนใหญ่ในรถยนต์ไฮบริดที่มีราคาสูงในปัจจุบัน ระบบนี้เริ่มต้นใน Toyota Prius ก่อนจะได้รับความนิยมในวันนี้
การจะนับว่า ระบบรถคันไหน เป็น Full Hybrid หรือไม่มีหลายองค์ประกอบสำคัญ ไม่ใช่แค่ว่าแบตเตอร์รี่ใหญ่กว่าเท่านั้น โดยมากรถยนต์เหล่านี้ เครื่องยนต์จะเปลี่ยนวิธีการทำงาน จากดั้งเดิม ไปสู่ Atkinson Cycle เครื่องยนต์จะมีกำลังแรงม้าน้อยลง แต่ให้ประสิทธิภาพดีกว่าเมื่อทำงานในรอบสูง แล้วในรอบต่ำใช้การทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าทดแทน
อันที่จริงถ้านับวิธีการติดตั้งระบบ Full Hybrid จะจำแนกเป็น 2 แบบ คือ
1.Parallel Hybrid
ระบบไฮบริดคู่ขนาดเรียกว่าเป็นเรื่องที่เราสามารถเห็นได้ประจำในรถยนต์ไฮบริดยุคใหม่ ระบบแบบนี้จะสามารถสั่งให้มอเตอร์ไฟฟ้าทำงานคู่ขนานไปกับเครื่องยนต์ หรือทำงานแยกอิสระก็ได้
ตัวระบบจะติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้า ตั้งแต่ 2 ชุด ขึ้นไป เพื่อทำหน้าที่ เสริมการทำงานเครื่องยนต์คล้ายในระบบ Mild Hybrid ในชุดเกียร์ แต่ต่างตรงที่ระบบ Full Hybrid ส่วนใหญ่ จะเอามอเตอร์ไฟฟ้า ทดแทนอัตราทดเกียร์เลย หรือ ว่าง่ายๆ เอามอเตอร์ไฟฟ้า ทำอัตราทดแทนชุดเกียร์
มอเตอร์ไฟฟ้าตัวที่ 2 จะทำหน้าที่ให้กำลังขับเคลื่อนโดยตรง ลงเพลาขับ จึงสามารถดับเครื่องยนต์สันดาปภายในช่วงความเร็วต่ำ ไปจนถึงความเร็วปานกลางระดับ 120-130 ก.ม./ช.ม. และสามารถใช้ขับเคลื่อนต่อเนื่อง Cruise ได้ในเวลาสั้นๆ ด้วย
เมื่อเทียบกับระบบ Mid Hybrid ระบบ Full Hybrid จะมีฟังชั่นการทำงานเพิ่มขึ้น คือ
- 1.สามารถขับเคลื่อนด้วยโหมดการขับขี่ไฟฟ้าล้วนได้ สูงสุด ที่ความเร็ว 120 ก.ม./ช.ม. แต่ไม่เกิน 140 ก.ม./ช.ม.
- 2.มีฟังชั่น Cruise ในความเร็วปกติ (80-120 ก.ม./ช.ม.) ระบบจะดับการทำงานเครื่องยนต์ และใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับแทนในช่วงเวลาสั้นๆ จนกว่าจะถึงจุดที่ระบบกำหนดว่าแบตเตอร์รี่จำเป็นต้องชาร์จไฟฟ้า
- 3.ทำงานควบคู่ คุณสามารถขับไปชาร์จไป และในระหว่างที่เครื่องยนต์ทั้งทำงานให้กำลังขับ ก็สามารถชาร์จไฟฟ้าแบตเตอร์รี่ได้ด้วย
- 4.Over Drive คือตอนที่คุณขับปกติ แล้วต้องการเร่งแซง มอเตอร์ไฟฟ้าจะทำหน้าที่ให้กำลังขับก่อน และนานกว่าระบบ Mild Hybrid เนื่องจาก มีกำลังขับและแรงบิด มากกว่า มันสร้างสิ่งทีเรียกว่า แรงบิดฉับพลัน หรือ Instant Torque รู้สึกได้ทันทีที่คุณจุ่มคันเร่งลงไป ช่วยให้รถมีการตอบสนองที่ดีกว่าพอสมควร
ตัวอย่าง รถที่ใช้ระบบ Full Hybrid : Toyota Corolla altis , Toyota C-HR , Honda Accord Hybrid
2.Series Hybrid
ระบบ ไฮบริดอนุกรม หรือ Series Hybrid เดิมทีไม่มีใครผลิตออกมา แต่ระยะหลังมีหลายบริษัทนำแนวคิดนี้ไปผูกกับคำว่า Range Extender เป็นวิธีการเรียกรถยนต์ไฟฟ้าที่ติดตั้งเครื่องยนต์มาช่วยปั่นไฟฟา ซึ่งที่จริงแล้ว จะพูดกันตามตรง มันคือแขนงหนึ่งของระบบไฮบริด
แนวคิดไฮบริด อนุกรม คือการใช้เครื่องยนต์ทำหน้าที่บางอย่างเท่านั้น แต่ไม่ได้นำมาใช้ขับกำลังลงชุดขับหรือล้อโดยตรง ปัจจุบัน บริษัทอย่างนิสสัน ได้นำความคิดดังกล่าว มาทำขายจริง ในชื่อระบบ E-Power โดยรถจะขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าล้วน 100% หากมันไม่ได้ติดตั้งแบตเตอร์รี่ขนาดใหญ่มาก มันอาศัยการทำงานของเครื่องยนต์ 1.2 ลิตร 3 สูบ ปั่นไฟฟ้ากลับเข้ามาชาร์จตัวแบตเตอร์รี่อย่างต่อเนื่อง หรือพูดให้เข้าใจง่าย เครื่องยนต์เป็นเพียงเครื่องปั่นไฟเท่านั้น
อย่างไรก็ดี ปัจจุบันหลายบริษัทยอมรับความจริงว่า ระบบไฮบริดแบบนี้ ต้องนับรวมพวกรถที่ติดตั้ง Range Extender มาด้วย ซึ่งก็มีหลายแบรนด์ อาทิ BMW I 3 , BMW i8 ไปตลอดจน ตระกูล E-Power ของนิสสัน
ข้อดีคือ คุณได้คุณสมบัติวิธีการตอบสนองแบบรถยนต์ไฟฟ้า แต่ยังไม่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการเติมพลังงาน เนื่องจากยังใช้วิธีการดั้งเดิม เติมน้ำมัน
Plug in Hybrid
ปลั้กอิน ไฮบริด หรือระบบไฮบริดแบบเสียบปลั้ก (Plug in Hybrid) ถูกพัฒนาขึ้นมาตอบสนองความต้องการของคนที่ต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้า แต่ยังไม่สามารถหย่าขาดจาการใช้น้ำมันได้
ระบบนี้คล้ายกับระบบ Full Hybrid แตกต่างตรงที่แบตเตอร์รี่จะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย ระบบสามารถชาร์จไฟฟ้าได้จากเครื่องยนต์ หรือจะรับฟ้าผ่านชุดเต้าเสียบก็ได้ ช่วยอำนวยความสะดวกมาก และประหยัดตั้งแต่เริ่มใช้งานทันที
ด้วยความสามารถในการเสียบปลั้กชาร์จทำให้ แบตเตอร์รี่สามารถรับประจุได้ถึง 92-98% มากกว่าระบบไฮบริดปกติ ซึ่งโดยมากจะชาร์จเพียง 80% ของแบตเตอร์รี่ จึงมีประสิทธิภาพน้อยกว่าระบบนี้
และด้วยความสามารถด้านประจุไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตโดยส่วนใหญ่ จึงทำให้รถเสียบปลั้ก มีระยะทางในโหมดไฟฟ้าล้วนหรือ EV คล้ายคุณขับรถยนต์ไฟฟ้าได้นานขึ้น ปัจจุบันมีระยะทางสูงสุดประมาณ 30-40 กิโลเมตร และโหมดไฟฟ้าล้วนสามารถทำความเร็วได้ราวๆ 120 ก.ม./ช.ม.
ถ้าเทียบกับการชาร์จแบตเตอร์รี่โดยอาศัยเครื่องยนต์จะพบว่า ระบบเสียบปลั้กนั้นถูกกว่ามาก แต่ก็ต้องยอมจ่ายแลกกับประสิทธิภาพของมัน
ปัจจุบันระบบไฮบริดที่วางจำหน่ายในตลาดบ้านเรามีมากมายหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบ ก็มีดีมีเสียต่างกันออกไป ท้ายสุดทั้งหมด ก็คงอยู่ที่ผู้บริโภคว่าต้องการระบบแบบไหนมาตอบโจทย์ในการใช้งาน