ท่ากมลางกระแสฝุ่นละออง PM 2.5 ตั้งแต่ต้นปีทีผ่านมา ทำให้ภาครัฐมองการเพิ่มพลังงานทางเลือกใหม่ให้กับบรดารถเครื่องยนต์ดีเซลทั้งหลาย น้ำมันดีเซล B20 กลายเป็นเรื่องใหม่ที่เริ่มได้รับความตระหนักจากบริษัทรถยนต์ชั้นนำ และวันนี้เราจะพาล้วงลึกความจริง น้ำมันดีเซล B20 กัน
น้ำมันดีเซล B20 คืออะไร
น้ำมันดีเซล B20 คือ น้ำมันดีเซลสูตรใหม่ที่ใช้ส่วนผสมของไบโอดีเซล (B100) กับน้ำมันดีเซล ในอัตราส่วน 20 ส่วน ต่อ 80 ส่วน คล้ายคลึกกับการผสมของน้ำมันแก๊สโซฮอล E20 ในรถยนต์เบนซิน
ด้วยการผสมอัตราส่วนของไบโอดีเซลมากขึ้น ทำให้ราคาน้ำมันดีเซล บี 20 มีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปกติ ประมาณ 5 บาท (ราคาจำหน่ายในวันที่เขียนบทความ 21.39 บาท / ลิตร) และถูกกว่าน้ำมันดีเซลพรีเมี่ยมประมาณ 9 บาท โดยประมาณ
ในช่วงเริ่มแรกของการประกาศใช้น้ำมันเดีเลสูตรใหม่ที่มีการผสมไบโอดีเซลมากขึ้น ทางภาครัฐมุ่งเน้นทางด้านกิจการขนส่งเป็นหลัก โดยเฉพาะกลุ่มรถบรรทุกขนาดใหญ่และรถโดยสาร จนในระยะหลังได้เริ่มหันมาสร้างความตระหนัดให้ประชาชนที่ใช้รถยนต์ส่วนตัว โดยเฉพาะรถกระบะเครื่องยนต์ดีเซลได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย
จนในที่สุดบริษัทรถยนต์ชั้นนำ โตโยต้า มอเตอร์ ประกาศ รับรองให้รถกระบะและรถอเนกประสงค์พื้นฐานกระบะ (PPV) ของบริษัท ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล 2.8 ลิตร รหัส 1 GD-FTV และ 2.4 ลิตร รหัส 2 GD-FTV สามารถใช้น้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวได้
ไม่นานนัก บริษั ตรีเพชรอีซูซุเซลล์ จำกัด ผู้จำหน่ายรถยนต์ Isuzu ในประเทศไทย ประกาศรับรองให้เครื่องยนต์ดีเซล 1.9 ลิตร RZ4E-TC สามารถใช้ได้ เช่นเดียวกับเครื่องยนต์ 3.0 ลิตร 4JJ1-TCX ทั้งคู่ติดตั้งในรถกระบะ Isuzu D max และ Isuzu Mu-X ใหม่
และล่าสุด Nissan เป็นบริษัทรถยนต์รายที่ 3 รับรองการใข้น้ำมันดีเซล B20 ในรถยนต์ Nissan Navara รหัสตัวถัง D23 ซึ่งใช้เครื่องยนต์ YD25DDTi สามารถใช้น้ำมันดังกล่าวได้
สรุป รถกระบะ-อเนกประสงค์ใหม่ที่ใช้น้ำมันดีเซล B20 ได้
- 1.Nissan Navara
- 2.Isuzu D-max
- 3.Isuzu Mu-X
- 4.Toyota Hilux Revo
- 5.Toyota Fortuner
ข้อควรรู้ในการใช้งาน
แม้นว่าทางทีมงาน Ridebuster.com จะยังไม่มีโอกาสได้ทดลองการใช้งานน้ำมันดีเซล B20 อย่างเป็นทางการ แต่จากการรวบรวมข้อมูลจากการพูดคุยในกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ชี้ชัดว่า น้ำมันดีเซล บี20 มีอัตราเร่งลดลงเมื่อเทียบกับน้ำมันดีเซลปกติ โดยจากข้อมูลในต่างประเทศ เดเผยว่าการผสมน้ำมันไบโอดีเซลมากขึ้นจะทำให้ประสิทธิภาพลดลง 3-5% ในแง่อัตราเร่ง เนื่องจากพลังงานจากไบโอดีเซลน้อยกว่า น้ำมันดีเซลปิโตรเลียมปกติ รวมถึงยังทำประสทธิภาพความประหยัดลดลงเล็กน้อย จากค่าพลังงานในเนื้อน้ำมันที่น้อยกว่า แต่ก็แลกกับราคาที่ถูกกว่า
หากเทียบการเติมน้ำมันดีเซลปกติ กับ ดีเซล บี20 ในอัตรา 80 ลิตร (เต็มถังรถกระบะ) จะพบว่า น้ำมันดีเซล บี 20 จะมีค่าใช้จ่าย 1,711 บาท (ราคาลิตรละ 21.39 บาท) ขณะที่น้ำมันดีเซลปกติ จะมีค่าใช้จ่าย 2,111 บาท ( ราคาลิตรละ 26.39 บาท) หรือมีส่วนต่าง 400 บาท ค่าใช้จ่ายถูกลงประมาณ 18.94% จากปกติ
อย่างไรก็ดีในมุมผู้ลิตรถยนต์แม้ว่าจะมีการรับรองการใช้งาน ก็ยังไม่ถึงกับเปิดกว้างอย่างน้ำมันแก๊สโซฮอลในรถเก๋งอย่างที่เราเข้าใจ
ในเว็บไซต์ของรถบรรทุก Isuzu ได้ชี้แจงรายละเอียดสำคัญ ว่า สมควรจะต้องมีการตรวจสอบท่อทางเดินน้ำมัน และเปลี่ยนไส้กรองเชื้อเพลิง (กรองดีเซล) ก่อนใช้น้ำมันครั้งแรก หลังจากนั้นเปลี่ยนทุก 2,000 กิโลเมตร อีก 2 ครั้ง จึงจะสามารถใช้กรองได้ยาว 10,000 กิโลเมตร
นอกจากนี้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล B20 สมควรเป็นรถใช้งานประจำ ไม่จอดทิ้งนานเกิน 2 เดือน และไม่ใช้รถในพื้นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศเซลเซียส เนื่องจากน้ำมันอาจจะเป็นไขส่งผลต่อการทำงานของเครื่องยนต์ และแนะนำให้เติมจากปั้มน้ำมันที่ได้มาตรฐาน
ส่วนทางด้านนิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย ก็มีคำแนะนำคล้ายๆ กัน คือ เปลี่ยนกรองเชื้อเพลิงทุกๆ 18 เดือน หรือ 30,000 กิโลเมตร ไม่ใช้รถในพื้นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 16 องศาเซลเซียส และแนะนำให้ตรวจเช็ครถเป็นรถจำทุก 6 เดือน หรือ 10,000 ก.ม. รวมถึงต้องเติมจากสถานีบริการที่ได้มาตรฐาน
ดังนั้นหากสรุปจากข้อมูล จาก 2 ผู้ผลิต เราจะพบว่า น้ำมันดีเซล B20 มีข้อควรทราบดังนี้
1.ต้องเป็นรถที่ขับเป็นประจำต่อเนื่อง
2.รถคันนั้ต้องใช้ในพื้นที่ปกติที่มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 16 องศาเซลเซียส
3.กรองเชื้อเพลิงจำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อยกว่าปกติมากกว่าเดิม (ปกติกรองเชื้อเพลิงเปลี่ยนทุกๆ 40,000 ก.ม.)
4.น้ำมันบี 20 ต้องเติมจากปั้มน้ำมันที่ได้มาตรฐานเท่านั้น
อย่างไรก็ดีน้ำมันชนิดนี้มีแนวโน้มอาจจะสร้างปัญหาในระยะยาวหรือไม่ ยังไม่มีใครสามารถตอบได้ เนื่องจากปัญหาจะสะท้อนออกมาเมื่อถึงเวลาสมควรเท่านั้น ในต่างประเทศ รายงานจากมหาวิทยาลัยรัฐเพนซิเวเนีย ชี้ว่า การใช้น้ำมันไบโอดีเซลในน้ำมันจะมีปัญหาสำคัญ 2-3 ประการได้แก่
1.สตาร์ทยากตอนเช้าในพื้นที่อากาศเย็น เนื่องจากความเป็นไขของไบโอดีเซลทำให้เกิดการจับตัวที่หัวฉีด
2.เกิดการอุดตันที่ปั้มดีเซล โดยมีสาเหตุคล้ายกับการอุดตันที่หัวฉีด
3.น้ำมันเครื่องถูกเจือปน ทำให้น้ำมันเครื่องสูงขึ้นผิดปกติ สร้างความเสียหายต่อชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ เช่นแหวนลูกสูบ , และ แบร์ริ่ง
4.การรั่วของน้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากน้ำมันไบโอดีเซล มีคุณสมบัติกัดกร่อนมากกว่า ดีเซลปกติ ต้องหมั่นตรวจสอบ
ถึงแม้วันนี้น้ำมันดีเซล บี 20 จะเหมือนเป็นพระเอกขี่ม้าขาวมาช่วยคอกระบะประหยัดเงินมากขึ้น แต่ก็ยังไม่มีใครตอบได้ในระยะยาวว่า จะมีปัญหากับส่วนอื่นๆของเครื่องยนต์หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องยนต์สมัยใหม่หลายรุ่นยังไม่รับรอง รวมถึงเครื่องยนต์ดีเซลสมัยเก่าหลายรุ่นยังไม่ได้รับการยืนยันว่าสามารถใช้ได้หรือไม่
ปัจจุบันน้ำมันนิดนี้มีขายในปั้มน้ำมันสำคัญๆ หลายแบรนด์ ทั้ง บางจาก ,ปตท. และอื่นๆ อีกมาก แม้จะไม่ใช่ในทุกปั้มก็ตาม แต่ก่อนจะใช้ก็ศึกษาให้ดีว่ารถของเราสามารถเติมได้จริงๆ หรือไม่ อย่าเสี่ยงเติมโดยพละการเป็นอันขาด
ที่มาข้อมูล
https://extension.psu.edu/using-biodiesel-fuel-in-your-engine
https://www.nissan.co.th/vehicles/new-vehicles/navara-double-cab/B20.html