Home » Run-in   ยังจำเป็นต้องทำไหม  ..รถใหม่วันนี้
Bust Technic เคล็ดลับเรื่องรถ

Run-in   ยังจำเป็นต้องทำไหม  ..รถใหม่วันนี้

เชื่อว่าในเวลานี้น่าจะมีหลายคนเพิ่งจะออกรถใหม่ป้ายแดง มาจากโชว์รูม พร้อมกับคำยินดีจากเพื่อนๆ คนรอบตัว เมื่อเรารับรถใหม่มาขับ กลายครั้ง เราจะได้ยินคำว่า “Run-in” ในทางเทคนิค หมายถึง การใช้งานเพื่อจัดระเบียบการทำงานของชิ้นส่วนในรถยนต์คันใหม่ของคุณ …แต่คำถามสำคัญ คือ มันจำเป็นหรือไม่  ในรถใหม่วันนี้

การรันอิน หรือ ฝรั่งอาจจะเรียกแตกต่างจากเราว่า   Break in เป็นขั้นตอนที่ได้รับการแนะนำจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำ เป็นข้อควรปฏิบัติในการใช้งานรถใหม่ เพื่อให้รถมีความสมบูรณ์ในการใช้งานมากที่สุดสำหรับลูกค้า

ขั้นตอนนี้จะกินเวลาประมาณ 1,000 กิโลเมตรแรก ต้องปฏิบัติคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เนื่องจากชิ้นส่วนต่างๆ ที่นำมาประกอบรถให้คุณมีความใหม่มากในการทำงานร่วมกัน เช่น  ชิ้นส่วนนเครื่องยนต์ , เกียร์ , ระบบกันสะเทือน ไปจนถึงเบรก หลายชิ้นส่วน จำเป็นต้องให้พวกมันทำงานด้วยกันสักระยะหนึ่ง จึงจะเข้าที่เข้าทาง ทางอุตสาหกรรมเรียกว่า   Mechanical Run in  เพื่อทำให้ชิ้นส่วนเข้าขากันดี

อันที่จริง เรื่องการรันอินมีมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากเครื่องยนต์ลูกสูบที่เราใช้กันในปัจจุบัน จะมีชิ้นส่วนเล็กๆ หลายอย่างที่จำเป็นต้องจัดระเบียบก่อนจึงจะใช้งานได้มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะแหวนลูกสูบหรือชุดชาร์ฟต่างๆในจุดหมุนของเครื่องยนต์ก็ดี นอกจากตัวเครื่องยนต์แล้วผ้าเบรก รวมถึงตัวปั้มเบรกที่เพียงแค่ใช้งานประเดี๋ยวปะด๋าวในโรงงานประกอบ อาจเป้นไปได้ที่จะทำงานผิดพลาด ถ้าคุณใช้งานอย่างรุนแรง ทันทีที่ออกจากโชว์รูม ขั้นตอนการรันอิน จึงเป็นแนวทางปฏิบัติที่เจ้าหน้าที่บริการหลังการขายแนะนำ

mazda-50-years-rotary-engine-37

หลายคนอาจจะทราบแบบที่ผม เกริ่นไปแล้วในเบื้องต้น ว่า เราสมควรจะต้องรันอินรถในช่วงระยะเวลา 1,000 กิโลเมตร แรก แต่ความจริงแล้วไม่เสมอไป … ระยะ 1,000  กิโลเมตรแรก มาจากความเข้าใจว่า รถจะต้องเข้ามาตรวจสอบกับศูนย์บริการ ทว่าระยะเวลาการรันอินขึ้นอยู่กับผู้ผลิต และรุ่นรถที่เราซื้อ ยกตัวอย่าง   Nissan  GT-R   จะได้รับคำแนะนำให้รันอิน เพียง 482 กิโลเมตร ,  Chevrolet Corvette   จะเวลารันอิน เพียง 804 กิโลเมตร ส่วน  Subaru   แนะนำ ให้ลูกค้ารันอิน   Subaru  WRX   นานถึง 1,000 ไมล์ หรือ 1,600 กิโลเมตรแรก เลยทีเดียว

แต่ปัจจุบันรถยนต์บางรุ่นบางยี่ห้อ ก็รันอินเสร็จจากโรงงานเลยก็มี อาทิ  Acura NSX   คุณสามารถซื้อแล้วซิ่งออกจากโชว์รูมได้เลย เนื่องจากทางฮอนด้าได้ทำการรันอินเครื่องยนต์โดยวิศวกรมาให้แล้วจากโรงงาน โดยการจำลองสภาพการขับขี่ต่างๆ ทั้งรถติดขับด้วยความเร็วหรืออื่นๆ ที่เราพอจะนึกออก เป็นระยะทางกว่า 241 กิโลเมตร ควบคุมอย่างใกล้ชิดโดยทีมวิศวกร

วิธีการรันอินรถแต่ละรุ่น ยี่ห้อ ก็แตกต่างกันตามลักษณะประเภทเครื่องยนต์ที่รถคันนั้นติดตั้ง อย่างที่คุณเห็นรถเครื่องสูบนอนจะต้องรันอินนานกว่ารถแบบ สูบ   V   เช่น กรณีของ Subaru  ที่เรายกตัวอย่างมาแล้วในข้างต้น  แต่ถึงจะต่างกันขั้นตอนกลับเหมือนกันแทบทั้งหมด คือ

  • หลีกเลี่ยงการให้เครื่องยนต์ทำงานถึงรอบสูงสุด จนติด Rev Limiter   หรือ เร่งถึงช่วงเส้นแดง
  • ใช้รอบเครื่องไม่เกิน 3,500 รอบต่อนาที ในช่วงระยะเวลารันอินที่กำหนด
  • ไม่กดคันเร่งเต็ม 100% ไม่ว่ากรณีใดๆ เพื่อหลีกเลี้ยงการทำงานรอบสูงอย่างฉับพลัน
  • ไม่แนะนำให้ใช้  Cruise Control   ในการขับขี่ระหว่างรันอิน
  • ไม่ขับลากเกียร์จนรอบเครื่องยนต์สูง
  • ไม่เบรกรถอย่างรุนแรง ถ้าไม่จำเป็น
  • หลีกเลี่ยงการใช้รถในระยะทางสั้นๆ ซึ่งเครื่องยนต์อาจจะไม่สามารถวอร์มอัพได้เต็มที่
  • ไม่ทำการบรรทุกหนัก หรือลากจูง ในระยะเวลารันอิน
  • ไม่ใช้รถเดินทางไกลต่อเนื่องหลายชั่วโมงติดต่อกัน โดยไม่พักเครื่องยนต์

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการรันอิน อันที่จริงแล้วเน้นการสร้างความแข็งแกร่งเหมาะสมกับเครื่องยนต์มากกว่าชิ้นส่วนอื่นๆ เนื่องจากเครื่องยนต์มีความซับซ้อน และประกอบด้วยชิ้นส่วนมากมาย

ถ้าถามว่า  รันอิน จำเป็นไหมยุคนี้ คงต้องตอบว่าจำเป็น แต่มันไม่เกี่ยวว่าถ้าคุณไม่รันอินแล้วประกันคุณภาพรถใหม่ จะขาดทันที มันช่วยให้ชิ้นส่วนต่างๆ ในรถคุณทำงานร่วมกันได้อย่างดีขึ้น มีประสิทธภาพมากขึ้นในการใช้รถระยะยาว 

 

 

 



แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.