นับตั้งแต่ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ตลาดรถจักรยานยนต์มีความเปลี่ยนแปลงไปมากมาย โดยเฉพาะการก้าวเข้ามาของรถมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่ที่วันนี้ยังขาดการดูแลอย่างจริงจัง จากภาครัฐ โดยเฉพาะในแง่เชิงความปลอดภัยในการขับขี่ ซึ่งมีกระแสเรียกร้องให้มีการจัดระเบียบกำหนดสิทธิที่สมควรจะมากกว่ารถเล็กอย่างชัดเจน ภายใต้ใบอนุญาตใบขับขี่แบบใหม่ หรือที่เป็นประเด็นสนทนาหนาหหูว่า “ใบขับขี่บิ๊กไบค์”
รถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ หรือ “บิ๊กไบค์” (Bigbike) เป็นรถจักรยานยนตืที่มีความสามารถในการขับขี่มากกว่าจักรยานยนต์ขนาดเล็ก โดยในต่างประเทศถือให้รถจักรยานยนต์แบบนี้มีความสามารถในการขับขี่เท่ากับรถยนต์หนึ่งคัน หากที่ผ่านมาแม้ว่ารถแบบนี้จะเข้ามาในไทยนานนมจนขายและขี่กันเกลื่อนเมือง หากด้วยบทกฎหมายที่ล้าหลัง ทำให้ยังไม่มีการกำหนดขอบเขตของรถอย่างชัเจน ทำเอาทั้งผู้ขับขี่และเจ้าหน้าที่บ้านเมืองต่างปวดเศียรเวียนเกล้า ในแง่การใช้งานหรือการดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย เพราะรถเหล่านี้ถ้ามองด้วยพื้นฐานก็เป็นแค่รถจักรยานยนต์ 1 คัน ซึ่งมีการกำหนดต่างที่ยังไม่เหมาะสมอย่างที่ควรจะเป็น
กว่า 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเด็นเรื่อง “ใบขับขี่บิ๊กไบค์” กลายเป็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวาง จากการพยายามผลักดันจากสังคมให้รถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่มีสิทธิมากกว่ารถเล็ก ซึ่งอันจำเป็นต่อการขับขี่รถประเภทนี้ที่ทั้งมีขนาดใหญ่ น้ำหนัก และแถมยังมีความสามารถในการขับขี่ทางไกลได้เท่ากับรถยนต์ หรือมากกว่าด้วยซ้ำ
ความต้องการที่จะให้รถประเภทนี้มีความสามารถหรือสิทธิในการขับขี่ต่างๆ มากขึ้นนั้น ถูกผลักดันออกมาภายใต้ความต้องการให้มีใบขับขี่เฉพาะ เพื่อสกัดกันคนที่ไม่มีความรู้ความสามารถ และหรืออย่างน้อยที่สุดให้คนที่อยากจะมาหัดขี่รถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่มีโอกาส และต้องเตรียมตัวรับกับความแตกต่างของการขับขี่ที่ต่างจักรถมอเตอร์ไซค์จ่ายกับข้าวขนาดไม่เกิน 150 ซีซี ที่เคยนิยมโดยสิ้นเชิง
เรื่องราวนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2016 เป้นต้นมา โดยมีกระแสข่าวหนาหูว่า ทางภาครัฐตัดสินใจในการจัดระเบียบรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ใหม่ อันอาจจะรวมถึงการขอให้มีใบอนุญาตประเภทใหม่ หรือที่เรียกกันว่า .”ใบขับขี่บิ๊กไบค์” และอาจรวมถึงการปรับแนวทางการเสียภาษีตัวรถใหม่จากเดิมเสียเป็นคันต่อปี อาจจะมีการคิดเป็นตามอัตราภาษีตามพิกัดซีซีคล้ายรถยนต์ ซึ่งจะทำให้รัฐมีรายได้มากขึ้น
รวมถึงคนจำนวนไม่น้อยหวังว่าจะก่อให้เกิดสิทธิประโยชน์ในการขับขี่บิ๊กไบค์มากขึ้น อาทิ อาจจะสามารถข้ามสะพาน , ลงอุโมงค์ หรือใช้เส้นทางมอเตอร์เวย์ได้ เนื่องจากทีผ่านมาประสบปัญหาในการขับขี่ ไม่ได้เป็นการอนุญาตให้ขับอย่างถูกกฎหมาย (เสียที) หลังอาศัยแนวทางอารยขัดขืนในการขับขี่ จนกลายเป็นบิ๊กไบค์พ่วงผู้ใช้มอเตอร์ไซค์ขนาดเล็กให้เสียนิสัยตามไปด้วย
กว่าปีที่ผ่านมาเรื่องราว “ใบขับขี่บิ๊กไบค์” จางหายไปท่ามกลางวงการข่าว จนกระทั่งเมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมีประเด็นกลับมาพูดถึงอีกครั้ง เมื่อมีคนส่งภาพที่ดูเหมือนภาพร่าง ราชกิจจานุเบกษาที่ยังไม่ได้ออกประกาศบังคับใช้ ขึ้นสู่โลกออนไลน์ พร้อมมีการระบุว่า ความหวังเรื่องใบขับขี่บิ๊กไบค์ อาจกลับมาอีกครั้ง
จากข้อมูลที่มีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ Autospinn.com ที่มาของแหล่งข่าวชิ้นดังกล่าว ชี้ว่า ตามข้อมูลจะมีการบัญญัติให้รถที่มีกำลังเครื่องยนต์มากกว่า 35 กิโลวัตต์ (มีกำลังเกิน 47 แรงม้า) หรือมีขนาดปริมาตรเครื่องยนต์รวม เกิน 400 ซีซี ต้องขอรับใบอนุญาตใหม่ อันหมายถึงใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ปกติ จะขี่ได้สูงสุดคือ รถกลุ่ม 300 ซีซี ซึ่งเป็นไปตามแนวทางที่เคยมีการเผยออกมาก่อนหน้านีั้
อย่างไรก็ดี เมื่อย้อนกลับไปในปี 2016 นาย ณันทพงศ์ เชิดชู ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 กรมการขนส่งทางบก เคยออกมาเปิดเผย ผ่าน PPTV ว่า ทางกรมการขนส่งทางบกกำลังเร่งในการสร้างใบขับขี่ประเภทใหม่ ขึ้นมาเพิ่มเติมเนื่องจากปัจจุบันรถมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่มีความต้องการและเป็นที่นิยมมากขึ้น
ประกอบกับเดิมที่ทางกรมการขนส่งทางบกไม่มีกฎหมายชัดเจนที่รับรอง โดยเบื้องต้นในเวลานั้นมีการพูดถึงว่าทางผู้ขับขี่บิ๊กไบค์อาจจะต้องผ่านการสอบทั้งใบขับขี่แบบพื้นฐานและใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่ ซึ่งในตอนนั้นยังไม่มีการกำหนดการอบรม หรือวิธีการสอบที่ชัดเจน และจนถึงบัดนี้ยังไม่มีใครทราบว่าท้ายที่สุดแล้ว การขอใบขับขี่นี้จะมีความยากง่ายอย่างไร
โดยในต่างประเทศ การทดสอบเพื่อขับขี่บิ๊กไบค์ ค่อนข้างมีความยากในระดับหนึ่งพอสมควร อาทิในญี่ปุ่นคนที่ต้องการจะผ่านใบขับขี่บิ๊กไบค์ จะต้องมีการสอบถึง 2ระดับ โดยผู้สอบจะต้องผ่านการฝึกทรงตัวทางตรง ,ผ่านการเบรกฉุกเฉฺิน , ผ่านการทรงตัวในการเข้าโค้ง และการออกตัวจากหยุดนิ่งบนทางชัน เป็นต้น
แนวทางการสอบ “ใบขับขี่บิ๊กไบค์” เชื่อว่าเราน่าจะได้เห็นเป็นรูปธรรมากขึ้นในปีนี้เป็นต้นไป หลังจากมีกระแสข่าวว่าจะออกมาบังคับใช้ตั้งแต่ปีที่แล้ว และนี่อาจจะเป็นเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวงการรถจักรยานยนต์หลังจากที่ไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงในตลอดหลายปี ตั้งแต่มีการบังคบใช้กฎหมายก็ได้
เรื่องโดย ณัฐยศ ชูบรรจง นักทดสอบรถยนต์ และ คอลัมนิสต์ เว็บไซต์ Ridebuster.com ติดตามผลงานการเขียน และข้อมูลที่น่าสนใจได้ทาง Facebook
ติดตามข่าวสารและบทความดีๆ จากพวกเรา Ridebuster.com