นับตั้งแต่รถยนต์ไฟฟ้าเริ่มได้รับความนิยมในไทยมากขึ้นเรื่อยๆ มันก็สร้างปรากฏการณ์และมุมมองใหม่ๆมากมาย แนวคิดล่าสุด จากคนบางกลุ่ม เริ่มมองว่า รถยนต์ไฟฟ้า มองว่า มันไม่ใช่ “ยานพาหนะ” แต่เป็น “สินค้า IT” หรือ “อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์” ประเภทหนึ่ง ?

สาเหตุที่หลายคน มองว่า “รถยนต์ไฟฟ้า” เหมือนกับเป็น “สินค้า IT” เพราะในปัจจุบัน รถยนต์เหล่านี้ มักมาพร้อมคุณสมบัติ เงื่อนไขในการใช้งาน และรูปแบบการทำตลาดที่ไม่ต่างจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายที่เราคุ้นชิน

ไม่เพียงเท่านี้ อีกส่วน มาจากผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหลายค่าย ทำ ยุทธหัตถี สงครามราคา อยากลดราคาก็ลด คล้ายกับการตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์

เมื่อก่อนในยุคแรกๆ สินค้าไอทีสุดล้ำ จะมีราคาแพงจนยากจะเข้าถึง ยกตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ เดิมทีแสนแพง วันนี้กลายเป็นสินค้าที่ทุกคนสามารถหาซื้อเป็นเจ้าของได้ ในราคาเข้าถึงง่ายขึ้น

นอกจากนี้ ตัวรถยนต์ไฟฟ้า มักไม่ได้ชูเรื่องของพลังขับเคลื่อนมากมายเท่าไร ผิดกับรถยนต์ในอดีต มักเอาเรื่องสมรถรนะการขับขี่ เป็นตัวตั้ง ในการทำตลาด ไม่ว่าจะเครื่องยนต์ ความสามารถในการขับขี่ และอีกต่างๆนานา

แต่รถยนต์ไฟฟ้า หลายรุ่น ที่ทำตลาดนปัจจุบัน กลับไม่ได้ เอาเรื่องนี้มาขิงใส่ หากชูเรื่องความล้ำสมัย ที่ลูกค้าจะได้ จากการใช้งานรถของพวกเขา เช่น ระบบความปลอดภัย อย่าง Tesla ยกระบบ Auto Pilot เป็นจุดขาย เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจน

หรือ จะเป็น การจัดรูปแบบการใช้งาน ด้วยชุดจอภาพ ขนาดใหญ่บิ๊กเบิ้ม ล้ว จัดการด้วยซอฟท์แวร์แบบ คอมพิวเตอร์ ให้มันดูล้ำสมัยในการใช้งาน บางรุ่นมีระบบปฏิบัติการเป็นของตัวเอง ราวกับคอมพิวเตอร์วิ่งได้

รวทถึง ในส่วนของระบบ ADAS, ระบบนำร่องการขับขี่, ระบบความบันเทิง หรือ อินโฟเทนเมนท์ ต้องสัมพันธ์กับชุดฮาร์ดแวร์ ที่ต้องรับข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และแสดงออกข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมือนกับเวลาที่เราตัดสินใจซื้อโทรศัพท์ หรือแล็ปท็อปสักเครื่องหนึ่งอีกด้วย ทั้งยังสามารถอัพเดทได้ผ่านเครือข่าย ด้วยวิธีการแบบเดียวกับ คอมพิวเตอร์ หรือ โทรศัพท์ที่เรารู้จัก

ตลอดจน ระบบขับเคลื่อนเอง อย่างชุดแบตเตอร์รที่ ก็มีการพัมนาต่อยอดเพิ่มความสามารถเรื่อยๆ ทั้งขนาดแบตเตอร์รี่ ความสามารถในการอัดประจุไฟฟ้า เอาแค่ ใน 4 ปี นับตั้งแต่โควิด 19 ระบาด ทั่วโลก เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าได้ก้าวเข้าไปอีกขั้น

จากรถสันดาป ถอดเครื่องยนต์ดัดแปลงมาให้ระบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า มาวันนี้พวกเขานำเสนอรถยนต์ไฟฟ้าที่ออกแบบและวิศวกรรม มาเป็นรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ

นั่นจึงทำให้รถรุ่นเก่าที่คุณอาจจะพึ่งซื้อไปได้แค่เพียง 2-3 ปี ก็ตกรุ่น ไม่เหมือนกับในยุครถยนต์สันดาปที่ต่อให้ผ่านเวลาไป 3-4 ปี เพิ่งจะตกรุ่น ปรับหน้าปรุงโฉม เพิ่มออพชั่นให้ทันสมัยแล้วขายต่อได้ทันที

เมื่อประกอบกับการที่ช่วงนี้ รถยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะจากประเทศจีน และอเมริกา ต่างมีกลยุทธสำคัญในการรุกตลาดประเทศไทย (หรือจริงๆคือทั่วโลก) เป็นการทำ “สงครามราคา” คอยลดหั่นราคาตัวรถลง ไม่ว่าจะเพื่อระบายสต็อครถเก่า ก่อนที่รถรุ่นใหม่ที่กำลังจะมาในเร็ววัน หรือเพื่อชิงว่าที่ลูกค้าใหม่ในตลาดคืนมาจากคู่แข่งกันรัวๆ ทำให้ลูกค้าที่ซื้อไปก่อนหลังหักติดดอยกันจำนวนมาก รวมถึง ผู้เขียนเองด้วย

ความเปลี่ยนแปลงข้างต้น เป็นสิ่งที่เราคุ้นชินกับตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อย่าง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือสินค้า IT อื่นๆที่เรารู้จักกันดีกันอยู่แล้ว

นั่นจึง เริ่มทำให้คนไทย จำนวนหนึ่ง มองว่ารถยนต์ไฟฟ้า กลายเป็น สินค้า IT รูปแบบหนึ่ง ตามเทรนด์ยุคสมัยมากกว่า รถสันดาป ที่ต้อง รอ 3 ปี ถึงจะปรับรุ่นปรุงโฉม เพิ่ม ออพชั่น หรือ ก็ต้องรอให้ปรับโฉมครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะแบบ Major Change หรือ Minor Change

ถึงแม้รถยนต์ไฟฟ้า จะมีหลายคุณลักษณะ ที่ดูเหมือนกับอุปกรณ์ IT ไม่ว่า จะความเป็นสินค้า เทคโนโลยี การทำตลาดหรือ แม้กระทั่ง Yourtuber หรือ influencer สายไอที หลายคน ก้าวเข้ามาลองและทำเนื้อหารถยนต์ไฟฟ้า ในปัจจุบัน

แต่ เราต้องไม่ลืมประเด็นสำคัญ คือ รถยนต์ไฟฟ้า เป็นสินค้าที่มูลค่าสูง

ราคาเริ่มต้นในปัจจุบัน มีตั้งแต่ 2 แสนกว่า สำหรับรถบ้านจ่ายตลาดใช้วิ่งไม่ไกลมาก ผิดกับ สินค้า IT ยอดนิยม แม้ ว่าบางผลิตภัณฑ์ จากค่ายชั้นนำแบรนด์ผลไม้ อาจมีมูลค่า สูงเป็นแสนบาท สำหรับผลิตภัณฑ์ในระดับเรือธง จนถึง ราคาน้องๆ รถซิตี้คาร์มือสอง 1 คัน แต่สินค้าไอที ส่วนใหญ่ มีราคา 2-3 หมื่น สามารถเปลี่ยนได้เรื่อยๆ ซื้อมาไม่ถูกจริต ใช้งานแล้วไม่ถูกใจ ก็เปลี่ยนได้สบายมาก

หรือเมื่อเห็นว่า ของที่ตัวเราใช้ เริ่มตกรุ่น เครื่องอืดเครื่องช้า ถ่ายรูปไม่สวย ไม่ฟรุ้งฟริ้งเหมือนเพื่อน เราก็สามารถขายต่อ ได้อย่างไม่เสียดายราคา ที่ซื้อมา อย่างเช่น iPhone 12 Pro Max ที่ผมใช้มา 2-3 ปี ราคาขายของมันตอนนี้ ราวๆ 10,000 บาท จากราคาเต็ม 4 หมื่นกว่าบาท ก็ไม่รู้สึกเสียดายอะไร

กลับกันรถยนต์ไฟฟ้า เอาที่เราเห็นว่าขับไปได้ทั่วประเทศไทย จริงๆ ปัจจุบัน Neta VII ราคาเริ่มต้นก็ราวๆ 499,000 บาท มูลค่าสูงกว่า สินค้าไอทีมากพอสมควร และ รถยนต์ไฟฟ้า อย่าง Tesla ราคาของมัน ก็สูงสุดถึง 2 ล้านกว่าบ้าท และเริ่มต้นที่ 1.5 ล้านบาท

ถ้าจะให้ผู้ใช้มาคอยเปลี่ยนรุ่นกันบ่อยๆ แบบ 1-2 ปีเปลี่ยนครั้ง เหมือนโทรศัพท์มือถือ หรือ สินค้าไอที คงมีน้อยคนที่สามารถทำเช่นนั้นได้ เพราะการเปลี่ยนรถแต่ละทีอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องเอามาหนุนส่วนต่างเพิ่มหลักหลายแสนบาท แม้ว่า การใช้ไฟฟ้า ทำให้เราประหยัดค่าเดินทางมาก ก็ตามที หากค่ายาง ค่าประกันภัย รายปี ก็ไม่ใช่ถูกๆนะ

รวมถึง การซื้อรถ ส่วนใหญ่คนไทย นิยมผ่อนชำระ ยังต้องมีการการปิดค่างวด ขายคันเก่าก่อน ออกคันใหม่ และขั้นตอนต่างๆมากมาย

เอาแค่ รถยต์ MG4 X รุ่นนำเข้าจีน ที่ผมใช้อยู่ ราคาซื้อ 969,000 บาท หลังจาก ได้ส่วนลดจากรัฐบาล จะเปลี่ยนซื้อคันใหม่วันนี้ ไปสู่คันใหม่ที่ดีกว่า แค่ปีเดียวเงินหายไป 2-3 แสนบาท ไม่ใช่ จำนวนน้อยๆเลย เมื่อเทียบกับสินค้าไอที

ส่วนถ้าใคร จะยืนยันว่าจะใช้ต่อไป จนกว่ามันจะไม่ไหว ไปต่อไม่ได้จริงๆ ในวันหน้า ถ้ารถเสื่อมสภาพ โดยเฉพาะ ชิ้นส่วนสำคัญที่สุด แบตเตอร์รี่ขับเคลื่อนราคา ก็หาใช่ถูกๆ ถ้าอยู่ในระยะรับประกัน เคลมได้ก็ดีไป

แต่ถ้าไม่อยู่ในเงื่อนไข ถึงเวลานั้น ราคาของตัวรถก็ยิ่งตกแบบฮวบฮาบ โดยเหตุผลที่คล้ายกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ นั่นคือความเสื่อมสภาพของตัววัตถุ ที่ยากต่อการซ่อมแซม หรือหากจะซ่อมแซม ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูง

ทำให้คนที่ซื้อต่อไม่อยากซื้อ แถมเทคโนโลยีที่ดีกว่าในวันข้างหน้า อาจวิ่งไกลขึ้น ชาร์จเร็วขึ้น จะมีเหตุผลอะไรที่ทำให้พวกเขาต้องซื้อ รถยนต์ไฟฟ้ามือสองตกรุ่น แถมเสี่ยงกับแบตเตอร์รี่เสื่อม ที่มีค่าซ่อมมหาโหดให้รอลุ้น ทำให้ราคาขายต่อมือสอง อาจพาคุณช้ำใจ เก็บไว้ใช้เองน่าจะดีที่สุด

นี่ยังไม่นับกรณีผลกระทบจาก “สงครามราคา” ในเมื่อราคารถมือหนึ่งถูกลงมาๆ ก็ย่อมทำให้ราคาของรถยนต์มือสองในตลาดยิ่งต้องถูกกดลงไปยิ่งกว่าเดิมอีก เช่นเดียวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เมื่อผ่านการใช้งานไปเพียง 3-4 ปี มูลค่าในตัวของมันก็ลดลงไปแล้วเกือบ 50%

ตลอดจน ท้ายสุด ข้อเท็จจริงว่า รถยนต์ไฟฟ้า ยังต้องมีการขึ้นทะเบียน โดยกรมการขนส่งทางบก สังกัด กระทรวงคมนาคม

เท่านั้นไม่พอ ผู้ใช้ หรือ ผู้ขับขี่ จะต้องมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ที่กฏหมายรับรอง หากไม่มีใบอนุญาตดังกล่าวแล้วขับขี่ ก็ถือว่าผิดกฏหมาย

เรายัง ควรมอง มันเป็น สินค้า ไอที อย่างที่หลายคนคิดจริงหรือไม่

ดังนั้น หากในสายตาของคนทั่วไป หรือคนที่พอมีอันจะกิน จะมองว่าการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าสักคัน ก็เหมือนกับการซื้ออุปกรณ์ IT ชิ้นหนึ่ง ก็คงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจเท่าไหร่นัก และเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ ถ้าคุณมีงบที่พอจะซื้อรถคันละ 1 ล้านบาท ได้ทุกๆ 2-3 ปี

กลับกัน ด้วย รถยนต์ไฟฟ้า เป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง ราคาอย่างน้อยๆ ก็ครึ่งล้าน ไปจนถึง ราวๆ 2 ล้านบาท

สำหรับคนทั่วไป หากคิดว่า รถยนต์ไฟฟ้า ไม่ต่างจาก สินค้า IT อย่างเช่นมือถือ และคอมพิวเตอร์ น่าจะไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องสมควร

ผู้คนส่วนใหญ่ในบ้านเรา ไม่ใช่ทุกคน จะเปลี่ยนรถคันละล้านบาทได้ ในทุก 2-3 ปี เอาแค่ ใน 4-5 ปี ยังยาก

ผมเคยคุยกับ ผู้บริหารค่ายรถหรูรายหนึ่ง แกบอกว่า ลูกค้าชั้นประเสริฐ คือ ลูกค้าที่เปลี่ยนรถทุก3 ปี (ทุกไมเนอร์เชนจ์) ลูกค้าชั้นดี คือ ลูกค้าที่เปลี่ยนรถ ทุกครั้งที่มีโฉมใหม่ ออกมา

รถยนต์หนึ่งคัน เราหลายคนใช้งานมันอย่างน้อย 5-6 ปี เพื่อความคุ้มค่าก่อนจะเปลี่ยนไปหาคันใหม่ ที่เหมาะกับสภาพชีวิตของเราในตอนนั้น รวมถึงฐานะทางการเงิน

ยิ่งคนส่วนใหญ่ ซื้อรถยนต์เงินผ่อน ย่อมต้องหาจุดคุ้มทุนที่เหมาะสมก่อนเปลี่ยนไปสู่คันใหม่ ไหนจะเก็บเงินดาว ไหนจะต้องมาพิจารณาค่าผ่อน ที่ยังไม่ถึงจุดคุ้มทุน

เพราะฉะนั้น ตราบใดที่มันยังใช้คำว่า “รถยนต์” นำหน้า มันก็สื่อให้เห็นว่า มันคือ ยานพาหนะ ไม่ใช่สินค้าไอที ต่อให้มีความทันสมัยมากเพียงไร จะล้ำหน้าขนาดไหน ตราบใดที่ผู้ซื้อยังใช้มัน เพื่อในการเดินทาง ประจำวัน

วิธีคิดทำตลาด ก็สมควรจะอ้างอิง ใช้กลยุทธ การตลาดรถยนต์ เพราะมูลค่าสินค้าสูง กว่า สินค้าไฮเทคชั้นนำที่เรารู้จักกันดี

สุดท้าย หมากเกมนี้ ก็จะมีคนที่เล่นเองเจ็บเอง เมื่อผู้บริโภคบางกลุ่ม อาจไม่ทน กับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะ สงครามราคา

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่