ในยุคที่หลายคนเริ่มหันมามอง รถยนต์ไฟฟ้า เราต้องยอมรับว่า เรื่องราวที่หลายคนกังวลอย่างมกาก็หนีไม่พ้นระยะทางต่อการชาร์จของรถ ทำให้ หน่วยงานทางดา้นยานยนต์ในหลายประเทศ เริ่มออกมาตรฐานมาบัญญัติ ค่าระยะทางในการขับขี่ของรถยนต์แต่ละรุ่น ให้ผู้บริโภคเปรียบเทียบเลือกซื้อ
มาตรฐานเหล่านี้ ปัจจุบัน บริษัทผู้ผลิตรถยนต์นำมากล่าวอ้างในการขายรถ ว่า รถของตนมีระยะทางมากน้อยแค่ไหนกัน ด้วยเหตุนี้ คงถึงเวลามาอธิบาย มาตรฐานทางด้านระยะทางต่อการชาร์จ ของรถยนต์ไฟฟ้า BEV ว่า มันมีอะไรบ้าง และ แตกต่างกันอย่างไร
NEDC
NEDC เป็นมาตรฐานที่มีจุดเริ่มต้นมาจากบรรดาการบังคับในยุโรป โดยเริ่มในช่วงปี กันยายน ปี 1997 และใช้งานมาเรื่อยในวงการยานยนต์
มาตรฐาานดังกล่าวแม้ว่าจะผ่านมาสิบกว่าปี แต่เป็นที่นิยมกันมาก ในการทดสอบรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากการทดสอบดังกล่าว จะมีการใช้ความเร็วคงที่ในช่วงเวลาหนึ่ง โดยกระบวนการจะทดสอบในแลปเสียเส่วนใหญ่ จะทำในอถณหภูมิช่วง 20-30 องศาเซลเซียส โดยมากจะที่ 25 องศาเซลเซียส
ดังเดิมเลย ในรถสันดาป จะมีการทดสอบ 2 โหมด คือ ขับในเมือง เรียกว่า Urban Drive Cycle และ ขับทางไกล หรือ Extra Urban Drive Cycle
โหมดในเมือง จะมีการขับแบบ ขับแล้วหยุด โดยเร่ง ถึงความเร็ว 15,32 และ 70 ก.ม./ช.ม. แล้วหยุด เป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้เหมือนคุณรถติดในเมือง
ในส่วน ของโหมดออกนอกเมือง จะมีการใช้ความเร็ว เริ่มจาก 70 ก.ม./ช.ม. ,100 ก.ม./ช.ม.และ 120 ก.ม./ช.ม.โดยทดสอบเพียง 400 วินาที หรือราวๆ 6 นาทีกว่าๆ โดยค่าความเร็วเฉลี่ยจะต้องมากกว่า เท่ากับ 62 ก.ม./ช.ม.
จากนั้น มีการสรุปผล ออกมาเป็นระยะทางในการขับขี่ ต่อการชาร์จ
อย่างไรก็ดี ,ในขณะที่ค่ายรถยนต์ส่วนใหญ่ นิยมใช้มาตรฐานนี้ในการบอกระยะทางต่อการชาร์จ แต่กลายเป็นว่า ผู้ใช้หลายคนกลับรู้สึกได้ว่า ระยะทางตามมาตรฐานไม่ได้ มีความแม่นยำสักเท่าไรนัก
จน มีความแซว ขำๆ ว่า NEDC = Not Even Dam Close หรือ ..แม่มไม่แม่นยำเอาเสียเลย ..
WLTP
ทางด้านมาตรฐาน อีกตัวที่ได้ยินกันมานาน คือ WLTP , หรือ Worldwide Harmonised Light Vehicles Test Procedure
มาตรฐานนี้ เป็นมาตรฐานใหม่ ที่เพิ่งใช้ในยุโรป โดยบังคับใช้กับรถทุกคันที่ต้องขายในยุโรป ตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา ที่จริง มันคือเวอร์ชั่นที่ดีกว่าในการทดสอบรถแบบ NEDC เดิมนั่นเองครับ
การทดสอบ ในแบบ WLTP นั้น มีความเข้มข้นกว่า NEDC เดิม พอสมควร
โดยเริ่มจากการแบ่ง รถออกเป็นคลาส ตามกำลังขับของรถ โดยรถปกติทั่วไป จะวางไว้ในคลาส 3 ที่มีกำลัง 40-100 วัตต์ ต่อ กิโลกรัม
แต่ละคลาส จะมีการจัดแพ็คเกจ การทดสอบที่มีความแตกต่างกันออกไป ทำให้รูปแบบทดสอบชไม่เหมือนกัน ไม่ส่าจะจังหวะการเร่งข การเบรก รูปแบบลักษณะการขับขี่
รูปแบบของรถทั่วไป หรือ คลาส 3 จะแบ่ง ซีการทดสอบ เป็น ในเมือง ,โหมดชานเมือง , นอกเมือง และ ท้ายสุด โหมดขับออกต่างจังหวัดใช้ความเร็ว โดย จากข้อมูล มีการใช้คยวามเร็วในการทดสอบ ดังนี้
- ในเมือง ความเร็ว สูงสุดในการทดสอบ 56.5 ก.ม./ช.ม.
- ชานเมือง ความเร็ว สูงสุดในการทดสอบ 76.6 ก.ม./ช.ม.
- นอกเมือง ความเร็วสูงสุดในการทดสอบ 97.4 ก.ม./ช.ม.
- ขับใช้ความเร็ว , ความเร็วสูงสุด 131 .3 ก.ม./ช.ม.
นอกจากนี้ การใช้การทดสอบในแลบ แบบ ที่เคยใช้แล้ว การทดสอบใน WLTP ยังมีการขับจริงบนถนน เพื่อนำค่าดังกล่าวมาประเมินร่วมกับผล ในการทดสอบทางแลป โดยการขับทดสอบ จะถูกประเมินหลายอย่าง เช่น การขับรถ ขึ้นลง ทางลาดชัน ผลของน้ำหนักต่อรถ ซึ่งข้อมูลต่างๆ ดังกล่าว ไม่มีการเปิดเปยอย่างชัดเจน ว่ามีการทดสูบแบบไหน อย่างไรบ้าง
แล้วผล ต่างจาก NEDC แค่ไหน
ด้วยการทดสอบที่โหดขึ้น ,มีรูปแบบ ความหลากหลายมากขึ้น การเร่งและเบรกที่ดุดันกว่าเดิม รวมถึง การใช้กำลังขับมากขึ้น
ทำให้ ค่าของ WLTP ทอนค่าระยะทางที่ได้จากมาตรฐานเดิม หรือ NEDC ทั้งหมด โดย รถอย่าง
- BMW i3 มีระยะทางลดลงราวๆ 18%
- Hyundai Kona มีระยะทางลดลงราวๆ 12%
แม้ว่าจะฟังดูไม่เยอะเท่าไรนัก แต่จริงๆ แล้ว มันลดลงไปถึง 50-60 ก.ม. ต่อการชาร์จ ซึ่งก็มากพอตัว แต่นั่นคือจากผลทดสอบในความจริง มันอาจจะลดลงกว่านั้น
EPA
EPA จริงๆ เป็นหน่วยงานทางด้านสิ่งแวดล้อม แต่การทดสอบรถยนต์ไฟฟ้าของพวกเขานั้น ค่อนข้างเข้มงวด จนมีระยะทางที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้ทั่วโลก ว่าใกล้เคียง กับการขับขี่จริงมากที่สุด
สิ่งที่ EPA ทำ เริ่มจากการชาร์จรถจนเต็ม แล้วทิ้งไว้ข้ามคืน ก่อนเข้าสู่กระบวนการทดสอบ อันเข้มงวด
วิธีการคือ นำรถเข้าแลปทดสอบ วิ่งบนอุปกรณ์ Dynamo Meter เพื่อวัดระยะทางในโหมดต่างๆ โดยจะมีการวัดทีละโหมด ไม่ว่าจะโหมด ใช้งานในเมือง ทางทีมงาน ก็จะเอารถที่ชาร์จเต็มมาวิ่งจนกว่า แบตจะเกลี้ยง น๊อคไม่สามารถขับต่อได้แล้วบันทึกระยะทาง
พวกเขาทำแบบเดียวกัน กับการทดสอบการขับขี่นอกเมือง จากนั้น นำค่าระยะทางที่ด้มาคำนวนร่วมกับ สิ่งที่เรียกว่า Real World Factor โดยเป็นการเอาค่า ที่มีส่วนเกี่ยวเนื่อง อันอาจจะทำให้ค่าต่างๆที่ทดสอบ มาเพี้ยนนั้น มาประกอบกัน ซึ่งได้แก่ พฤติกรรมการขับขี่ ,สภพการจราจร, อุณหภูมิในระหว่างขับขี่ ผลกระทบ จากเรื่องระบบปรับอากาศ แต่ทั้งหมด คิดเป็นค่า 0.7 ตามข้อมูลจากทาง EPA
จากนั้น นำผลที่ได้จากแลปมาคำนวนร่วม ยกตัวอย่างเช่น ระยะทาง 300 ก.ม.จากการทดสอบ มาคูณ 0.7 = 210 ก.ม.
ไม่เพียงเท่านี้ เพื่อให้ผลเป็นไปตามความจริงมากที่สุด ทางหน่วยงานยัง ลึกไปถึงการใช้งาน ในเมือง และนอกเมือง โดยกำหนด ให้ ระยะทางในเมือง เป็น 55% และนอกเมือง เป็น 45% ของการใช้งานจริง โดยเอา ค่าระยะทางที่คุณ แฟคเตอร์ข้อเท็จจริง มาคูณร่วม แล้วนำมาบวกกัน จึงจะกลายเป็นระยะทาง ที่พร้อมประกาศรับรอง
อันจะเห็นว่า มันมีความเข้มงวดสูงมาก จนผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ส่วนใหญ่ยอมรับในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า
CLTC
ด้วยการเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ทางเอเชีย และเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอันดับต้นๆ ของโลก จีน จึงสร้าง ระบบทดสอบมาตรฐานระยะทางของตัวเองขึ้นมาในนาม China Light-Duty Vehicle Test Cycle หรือ CLTC นั่นเอง
ระบบ CLTC ออกแบบมา เพื่อวัดระยะทางการขับขี่รถยนต์ไฟฟ้า โดยมีรายงานว่า ต้นแบบระบบดังกล่าว ได้รับอิทธิพล มาจาก การวัดค่าแบบ NEDC ในยุโรป โดยทางการของประเทศจีน ปรับรูปแบบให้เข้ากับ การจราจรในจีนมากขึ้น
โดยมีรายงานว่า ค่าของ CLTC เมื่อเทียบกับ NEDC ถือว่า อ่อนกว่า เนื่องจากทางจีน อ้างอิง จากการจราจรภายในประเทศจีนเป็นหลัก ทำให้ค่าระยะทางของรถยนต์ไฟฟ้า ในโหมด CLTC จะเพิ่มขึ้น กว่า NEDC
ในภาพรวม ค่าของระยะทาง จากมาตรฐานต่างๆ ทั้งหมด เป็นเพียงการทดสอบเท่านั้น เพื่อบอกค่าประมาณการที่น่าจะได้ จากรถยนต์ไฟฟ้าคันนั้น ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร ในส่วนความจริง ระยะทางจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่ กับ พฤติกรรมการขับขี่ของเรา ด้วย ส่วนหนึ่ง