Home » ศาลปกครอง สั่งแก้-ถอนประกาศ “กำหนดแบบใบสั่ง-จำนวนค่าปรับ” ใหม่
ข่าวสารยานยนต์ ข่าวในประเทศ

ศาลปกครอง สั่งแก้-ถอนประกาศ “กำหนดแบบใบสั่ง-จำนวนค่าปรับ” ใหม่

จากข้อมูลบนเว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ที่ได้มีการเผยแพร่เอกสาร ประกาศศาลปกครอง เรื่องคำพิพากษาถึงที่สุด สั่งเพิกถอน “ใบสั่งจราจร-ค่าปรับ” ให้มีผลนับแต่วันที่พ้นกำหนด 180 วัน

thai-speeding-law (3)

ลงนามโดย นายสรรค์พงศ์ ฐิติกรทับทอง ตุลาการศาลปกครอง ว่าด้วยเอกสาร ประกาศตาม ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๔๒ ตอนที่ ๑๑ ก ระบุว่า

“ด้วยศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ อ 50/2568 ระหว่าง นางสุภา โชติงาม หรือ จอมพันธ์ ผู้ฟ้องคดี กับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 1 กับพวก รวม 2 คน ผู้ถูกฟ้องคดี

ให้เพิกถอนประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดแบบใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร พ.ศ.2563 ลงวันที่ 20 ก.ค.2563 และประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522

และความผิดตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับรถหรือการใช้ทางที่มีโทษปรับสถานเดียว พ.ศ.2566 ลงวันที่ 23 มี.ค.2566 โดยให้มีผลนับแต่วันที่พ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน”

เกี่ยวกับการประกาศเพิกถอนครั้งนี้ หากอธิบายเป็นภาษาทั่วไป เพื่อให้เข้าใจกันได้ง่าย

จะว่าด้วยเรื่องของกรณี นาง สุภา โชติงาม มองว่ากฏหมายการชำระค่าปรับจราจร โดยกรมตำรวจแห่งชาติ (กำหนดแบบใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร พ.ศ.2563 ลงวันที่ 20 ก.ค.2563) มีความไม่เป็นธรรมกับบประชาชน ไม่ว่าจะทั้งในมุมของ ค่าปรับที่ตายตัว ซึ่งตามหลักมนุษยธรรมและจริยธรรมแล้ว อัตราค่าปรับ ควรมีความยืนหยุ่น

โดยการประเมินอัตราค่าปรับ ควรถูกพิจารณาโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ โดยอิงตามสถานการณ์ หรือเจตนาของผู้กระทำผิด เนื่องจาก ผู้กระทำผิดบางรายอาจไม่ตั้งใจ หรือมีเหตุจำเป็นให้ฝ่าฝืนกฏหมาย เช่น การถูกบังคับโดยสภาพการจราจร ให้ต้องเปลี่ยนช่องจราจร บนเส้นทึบ หรือ อยู่ในสภาพการจราจร ที่มีรถขับตามหลังมาอย่างกระชั้นชิด จึงไม่สามารถหยุดรถให้อยู่ในเส้นสัญญาณไฟแดงได้ เป็นต้น

นอกจากนี้ ตามประกาศแบบใบสั่ง ฉบับปี พ.ศ.2563 ยังมีการตัดข้อความ อนุญาตให้ประชาชนผู้ถูกมองว่ากระทำผิด สามารถทำเรื่องโต้แย้งข้อกล่าวหาจากเจ้าพนักงานได้ออกไป ซึ่ง นาย สุภา มองว่าเปรียบเสมือนกับการบังคับให้ประชาชนไม่สามารถโต้แย้งความข้อกล่าวหาได้โดยปริยาย ทั้งที่เป็นสิทธิ์อันพึ่งมีตามหลักรัฐธรรมนูญ มาตรา 26

ไม่เพียงเท่านั้น ในส่วนของการนำเรื่องการชำระค่าปรับตามใบสั่งฯ มาผูกกับเรื่องการชำระภาษีรถยนต์ ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้ว เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ในการออกเครื่องหมายการชำระภาษี รวมถึงความผิดที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องของบุคคล (ผู้ใช้งานรถ)

thai-speeding-law (2)

ซึ่งท้ายที่สุด ทางศาลปกครอง ก็ได้เห็นพ้องกับคำร้องขอ นาง สุภา โชติงาม ต่อ กำหนดแบบใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร พ.ศ.2563 ลงวันที่ 20 ก.ค.2563 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญและกฎหมายจราจรทางบก ทางศาลจึงได้มีคำสั่งเพิกถอนประกาศดังกล่าว และให้ระยะเวลา 180 วัน เพื่อให้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปรับแก้แบบใบสั่งฯใหม่ เพื่อให้ถูกต้องตามหลักนิติธรรม ก่อนที่คำพิพากษาจะมีผลบังคับใช้เป็นลำดับถัดไป

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.