Kia AD

Home » ANCAP ชี้ รถยนต์ไฟฟ้า ไม่ได้ปลอดภัย กว่ารถสันดาป

Kia AD

Suzuki AD

Evolution ข่าวต่างประเทศ ข่าวสารยานยนต์

ANCAP ชี้ รถยนต์ไฟฟ้า ไม่ได้ปลอดภัย กว่ารถสันดาป

นอกจากการชูในเรื่องของอัตราเร่ง และค่าใช้จ่ายพลังงานต่อหน่วยการเดินทาง อีกสิ่งหนึ่งที่เหล่าผู้ใช้ รถยนต์ไฟฟ้า มักนำมาขิง ผู้ใช้รถยนต์สันดาปภายในอยู่บ่อยครั้ง คือ มันปลอดภัยกว่า แต่ล่าสุด ANCAP เปิดเผย ว่ามันอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้น

Carla Hoorweg ประธานบริหารของหน่วยงาน Australasian New Car Assessment Program (ANCAP) เปิดเผยว่า หากอิงตามข้อมูลการทดสอบการชนของทั้ง รถสันดาป และ รถยนต์ไฟฟ้า 100% ที่หน่วยงานของตนเองได้ทดสอบมา โดยสรุปแล้วในภาพรวมความปลอดภัยของรถยนต์ทั้งสองกลุ่มก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากมายนัก

“เราพบว่า รถยนต์ไฟฟ้า ที่เรานำมาทดสอบและได้ลงทำตลาดไป กว่า 85% คือรถที่สามารถทำคะแนนในระดับ 5 ดาวได้ทั้งสิ้น มันไม่ได้ต่างอะไรมากนักจากรถคันอื่นๆที่เข้ามาทดสอบ” Hoorweg กล่าว

“เราเองก็เห็นรถสันดาปกว่า 85% ที่ถูกนำมาทดสอบสามารถทำคะแนนระดับ 5 ดาว ได้เช่นกัน, ดังนั้น มันไม่ได้ต่างกันเลย”

จากข้อมูลการทดสอบการชนและความปลอดภัยล่าสุดของ ANCAP เปิดเผยว่ามีรถยนต์ไฟฟ้าเพียงไม่กี่รุ่น ที่ได้รับคะแนนความปลอดภัยต่ำกว่า 5 ดาว เช่น BMW i4, Fiat 500e, Hyundai Kona, Opel Mokka, Citroen C4 ที่ได้คะแนนไปในเรท 4 ดาว และมีเพียง Jeep Avenger เท่านั้น ที่ได้คะแนนความปลอดภัยในเรท 3 ดาว จากเกณฑ์การทดสอบมาตรฐานปัจจุบัน

หมายความว่าจากรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด 57 คัน ที่ถูกนำมาทดสอบมาตรฐานการชนและความปลอดภัยของ ANCAP แบบล่าสุด มีเพียงแค่ 6 คันเท่านั้น ที่ไม่ได้คะแนนความปลอดภัยในเรท 5 ดาว ซึ่งคิดสัดส่วนได้เพียง 10.5% เท่านั้น

ในฝั่งรถยนต์ขุมกำลังสันดาปภายในที่ถูกนำมาทดสอบมาตรฐานการชนและความปลอดภัยของ ANCAP ปีล่าสุด ก็มีเพียง 18 คัน จาก 117 คันเท่านั้น ที่ไม่ได้คะแนนเต็มในระดับ 5 ดาว ซึ่งคิดสัดส่วนเป็น 15.4%

และหากให้เจาะจงลงไปอีกนิด เราก็จะพบว่าเหล่ารถยนต์ที่ได้คะแนนต่ำมาก เช่น Mahindra Scorpio และ MG5 เช่นเดียวกันกับ Suzuki Swift ที่ได้คะแนนไป 1 ดาว และยังมี Hyundai i30, MG3, Jeep Gladiator, Jeep Wrangler ที่ได้ 3 ดาว

จากข้อมูลข้างต้น หลายคนอาจสรุปไปแล้วว่า รถ ICE ปลอดภัยน้อยกว่ารถ EV กันไปแล้ว

แต่ในความเป็นจริง จะพบว่ากลุ่มรถยนต์ ICE ที่ได้คะแนนความปลอดภัยต่ำกว่า 4 ดาวลงมา ล้วนแล้วแต่หากไม่เป็นรถยนต์ราคาจำต้องง่าย ออพชันจำกัด และขาดอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ควรมีตามมาตรฐานการ ของ ANCAP (แต่ภายหลัง MG5 ได้มีการใส่ระบบความปลอดภัยเข้ามาตามยุคสมัยแล้วเป็นที่เรียบร้อย)

หรือในอีกมุมหนึ่ง ก็เป็นรถเฉพาะทางที่มาพร้อมกับรูปทรงซึ่งไม่ได้เอื้อต่อการทำให้ซัพพอร์ตการชนหนักได้ดีโดยกำเนิดอยู่แล้วต่างหาก (กลุ่มรถ Jeep)

Carla ก็ได้ออกมาให้คำอธิบายเพิ่มเติมว่า ตัวกำหนดระดับความปลอดภัยที่แท้จริงของรถ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับลักษณะของระบบขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นรถ ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าล้วน หรือพลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง

แต่สิ่งที่เป็นตัวกำหนดจริงๆ คือประเภทรถ ซึ่งเป็นตัวกำหนดลักษณะโครงสร้างตัวรถ และที่สำคัญกว่านั้น คือ “ราคา” อันเป็นตัวกำหนดออพชันลูกเล่นความปลอดภัย ที่ควรมีมาให้ตามมาตรฐาน ANCAP ล่าสุด

ค่อนข้างให้ความสำคัญเรื่องระบบต่างๆเหล่านี้มากขึ้นกว่ายุคก่อนที่เน้นแต่การดูความปลอดภัยของโครงสร้างตัวรถหลังการชนเพียงอย่างเดียว ซึ่งรถยนต์หลายรุ่นก็ทำได้ดีกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นรถสันดาปฯ หรือรถไฟฟ้า ก็ตาม (เว้นบางคันที่ถูกออกแบบมาแย่จริงๆ ซึ่งก็มีอยู่ไม่กี่คันในอัตราส่วนพอๆกันทั้งสองฝั่ง)

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.