ในช่วงปี 2010 เป็นต้นมาประเทศไทย ได้เริ่มรู้จักระบบเกียร์ใหม่ไร้รอยต่อ ที่เรียกว่า Continuous Variable Transmission หรือ CVT ระบบเกียร์เริ่มแนะนำในรถยนต์นั่งขนาดเล็ก Nissan March อีโค่คาร์ยอดนิยมจนเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนเริ่มสนใจมากขึ้น
ระบบเกียร์ไร้รอยต่อเกียร์ ให้ความนุ่มนวลในการขับขี่ ทั้งยังมีการเปิดเผยว่าช่วยการสวิงของรอบเครื่องยนต์ ทำให้ได้อัตราประหยัดที่ดี ตลอดจนในแง่กลไกทำงานที่หันมาใช้ระบบสายพาน ทำให้ระบบเกียร์มีแรงเสียดทานเชิงกลน้อยกว่าระบบเกียร์อัตโนมัติในยุคนั้น
แง่มุมความจริงว่าเกียร์ CVT เหมาะสมต่อการใช้งาน ถูกหยิบยกจากบริษัทรถยนต์ชั้นนำ Nissan มาเป็นตัวชูโรงเทคโนโลยี ตั้งแต่วันนั้นจนปัจจุบัน และยังมีบทบาทในรถยนต์หลายแบรนด์ โดยเฉพาะในรถยนต์นั่งขนาดเล็ก กลุ่มอีโค่คาร์ ก่อนพัฒนามาใช้กับรถที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไปจนถึงอเนกประสงค์ตามลำดับ
อนาคตที่ดูเหมือนจะสดใสของชุดเกียร์ CVT ดูจะเริ่มเปลี่ยนไปในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา หลังระบบเกียร์หลายอัตราทดเริ่มถูกพิสูจน์ในเรื่องการใช้งาน โดยเฉพาะในมุมมองการใช้เกียร์อย่างสมบุกสมบัน อาทิ การใช้งานเพื่อเดินทางในเสน้ทางออฟโรด หรือการขับอย่างหฤโหดของผู้ใช้ อาจส่งผลกระทบถึงชิ้นส่วนหลักโซ่สายพานเหล็กในเกียร์ แม้นว่ามันอาจจะทนทานอยู่บ้างในการใช้งาน หากเมื่อมันกล่าวคำอำลาโลก เจ้าโซ่ที่เคยช่วยงานแข็งขัน ส่งกำลังระหว่างลูกรอก จะแตกเป็นเศษละเอียดเล็กๆ และสร้างความเสียหายต่อชุดเกียร์ จนไม่มีทางเลยที่จะซ่อมให้กลับมาใช้งานได้ใหม่ ตลอดจนผู้ผลิตเกียร์ก็ไม่มีนโยบาย ให้ซ่อมเกียร์ด้วย ทำให้เกียร์ทันสมัยแห่งเริ่มถูกตั้งคำถาม (car from Japan)
ประกอบกับในระยะหลัง ผู้ผลิตเกียร์อัตโนมัติ เริ่มพัฒนาความสามารถเกียร์ออโต้ดั้งเดิมให้ตอบโจทย์ได้มากขึ้น ทั้งในเรื่องความนุ่มนวลในการต่อเกียร์ ตลอดจนยังพกหลายอัตราทดมากขึ้น จนปัจจุบันมีชุดเกียร์มากกว่า 6 อัตราทด และเริ่มกลายเป็นมาตรฐานใหม่
ในแง่ผู้ใช้งานก็มีบทบาทสำคัญในการกำหนดชะตาเกียร์ CVT มุมหนึ่งเกียร์ออโตแลดูจะขับง่าย ยังเป็นมิตรในการใช้งาน เพียงแตะคันเร่งขับไปเรื่อยๆ ระบบจะเลือกเปลี่ยนเกียร์ให้เอง รวมถึงตอบเรื่องการโดยสารได้ดี แถมยังช่วยในการประหยัดน้ำมันด้วย
หากในทางกลับกัน เมื่อใช้งานจริง ชุดเกียร์จะมีนิสัยต้องลากรอบสูงเมื่อผู้ขับขี่ย่ำคันเร่ง สร้างประสบการณ์แปลกในการใช้งาน รอบเครื่องจะฟาดและค้างที่รอบเครื่องสูงสุด จนกว่าผู้ใช้จะพอใจ ผิดกับเกียร์ออโต้ปกติ ที่มีการตบเกียร์ไปมา แถมการเปลี่ยนอัตราทดระหว่างเกียร์ในชุดเกียร์บางรุ่นอาจทำไม่ได้ อีกด้วย เพราะต้องมีการจำลองอัตราทดจากบริษัทผู้ผลิต
เหตุผลต่างๆ นี่เอง ที่ทำให้ บริษัทรถยนต์เริ่มพละตัวเองจากการพัฒนาชุดเกียร์ CVT และปรับเปลี่ยนใช้เกียร์แบบนี้ในรถยนต์ที่พวกเขาคิดว่าเหมาะสม โดยเฉพาะรถยนต์นั่งขนาดเล็ก
ย้อนไปในช่วงปี 2012 ในยุคเกียร์ CVT กำลังมาแรง มาสด้าเป็นแบรนด์ญี่ปุ่นรายเดียวในตลาดตัดสินใจไม่พึ่งพาชุดเกียร์แบบนี้ ทางทีมวอศวกรค่ายซูม-ซูม มองว่า พวกเขาสามารถพัฒนาชุดเกียร์อัตโนมัติให้เพียงพอต่อการตอบสนองในการขับขี่ และไม่ขาดจิตวิญญาณของความเป็นรถ เหมือนดั่งที่หลายค่ายอาจจะมองเรื่องความประหยัดน้ำมันสูงสุด โดยลืมมองว่าผู้ขับขี่ต้องการอะไร
ทางด้านผู้ผลิตรถยนต์อเมริกันคิดในทางเดียวกันรถในยุคนั้นให้ระบบเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด และบางรายมองไปถึงการตอบโจทย์ด้วยชุดเกียร์คลัทช์ คู่ด้วยซ้ำไป
การแนะนำเกียร์ CVT ในรถยนต์หลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็ก ไปจนถึงกลุ่มรถอเนกประสงค์ ทำให้ผู้ใช้เริ่มคำนึงถึงศักยภาพที่ได้จากชุดเกียร์เหล่านี้ ตลอดจนข้อดีข้อด้อยในการขับขี่ เช่นการไร้ความรู้สึกในการขับขี่ , การไม่ตอบโจทย์ต่อการขับขี่บางสถานการณ์ อาทิในการขับขึ้นเขา ขับในภาวะที่รถบรรทุกน้ำหนักมาก หรือการขับขี่ด้วยความเร็วต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ
การกังขาของเกียร์ CVT เริ่มสร้างความกังวลใจในหมู่ผู้ใช้ ในอีกทางบริษัทรถยนต์ก็มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ความเข้มงวดทางด้านการปล่อยไอเสียมากขึ้น ทำให้จำเป็นต้องมีการพัฒนาเครื่องยนตืที่มีขนาดเล็กศักยภาพสูงมากขึ้น อาทิเครื่องยนต์เทอร์โบ หรือเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก ผลที่ตามมาต่อเนื่อง คือจำเป็นต้องมีชุดเกียรืที่มีหลายอัตราทดมากกว่าเดิม เพื่อทำให้เครื่องยนต์อยู่ในช่วงกำลังมี่เหมาะสมได้ตลอดเวลา
ด้วยประเด็นดังกล่าวทำให้ในระยะหลังผู้ผลิตเกียร์ต้องเพิ่มตำแหน่งอัตราทดให้มากขึ้น เพื่อเป้นไปตามความต้องการของผู้ผลิตรถยนต์ เราได้เห็นชุดเกียร์จาก ผู้ผลิตเกียร์ชั้นนำ เช่น ZF Transmission ,Aisin ที่ออกมามาพร้อมอัตราทด มากวก่า 6 ตำแหน่ง ตั้งแต่ช่วงปี 2014 เรื่อยมา จนกระทั่ง มีการแนะนำเกียร์ อัตราทด 8 สปีด ลงในตลาดรถทั่วไป เริ่มจาก Mitsubishi Pajero Sport ตามมาด้วยการทุบสถิติโดยฮอนด้าในปี 2017 ในรถยนต์ Honda CR-V ใหม่ และล่าสุด เมื่อปีที่แล้ว Ford แนะนำชุดเกียร์ออโตเ 10 สปีด ออกสู่ตลาด และถือว่ามากที่สุดในเวลานี้
ขณะที่เมื่อเรามองไปยังผู้ผลิตชุดเกียร์ CVT ในปัจจุบัน บริษัทชั้นนำอย่าง Jatco ผลิตเกียร์ CVT ออกมาเพียง 8 ตำแหน่งอัตราทด และรุ่นที่ได้รับความนิยมมีเพียง 7 อัตราทดเท่านั้น
รายงานจาก SAE International เมื่อช่วงปี 2017 เชื่อว่า น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หลายบริษัทเริ่มมีความคิดถอยจากชุดเกียร์ CVT หลังจากมีรายงานการวิจัยอพอกมาในปี 2017 จากการทดลองเชิงเปรียบเทียบระหว่างเกียร์ CVT และ เกียร์ออโต้ 9 สปีด ซึ่งพบว่า เกียร์ CVT รีดประสิทธิภาพจากเครื่องยนต์ดีกว่าร้อยละ 8.1 แต่ เกียร์ออโต้ 9 สปีด กลับให้ความประหยัดกว่าร้อยละ 3.8
ด้วยเหตุนี้ ในระยะหลังบริษัทรถยนต์จึงเริ่มถอยจากเกียร์ CVT ยกเว้นนิสสัน ที่ยังคงยึดมั่นถือมั่นเกียร์สายพาน หลายบริษัทรถยนต์เริ่มแตกตัวออกมาด้วยชุดเกียร์ออโต้หลายอัตราทด บ้างมองกลับไปยังชุดเกียร์คลัทช์คู่ที่เคยถูกมองว่าเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ประสบความสำเร็จในรถปกติ หากก็มีความเชื่อว่า มันยังเป็นเทรนด์แห่งอนาคต เช่นฮอนด้า มีแนวคิดในการพัฒนาเกียร์คลัทช์คู่ 8 สปีด ใหม่ ลงในว่าที่ Honda Civic ไมเนอร์เชนจ์
ตลอดจนในระยะช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ในกลุ่มรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ซึ่งเดิมทีถูกครอบครองโดยเกียร์สายพาน กลับถูกแทนที่ด้วยเกียร์ออโต้ 4 สปีดในหลายรุ่น อาทิ Suzuki Jimny, Mitsubishi Xpander หรือรถยนต์ MG 3 และ ด้วยเทรนด์ที่มีแนวโน้มไปหาเครื่องยนต์ขนาดเล็กมากขึ้นในปัจจุบัน ทำให้ชุดเกียร์ออโต้ CVT น่าจะเริ่มไม่ตอบโจทย์ในอนาคต
การเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย อาจจะทำให้ระบบเกียร์ CVT อาจมีจุดจบในเร็วๆนี้ แม้ว่าจะมีข้อดีในเรื่องการตอบสนอง และความประหยัดน้ำมันอยู่บ้าง หากด้วยการพัฒนาอย่างก้าวหน้าของเกียร์ออโต้ดั้งเดิม ทำให้สามารถกลับมาแทนที่ในใจทีมวิศวกรผู้ผลิตรถยนต์