Kia AD

Home » มาตรการ แบนรถขุมกำลัง ICE ในยุโรป ปี 2035 กำลังสั่นคลอน

Kia AD

Suzuki AD

ข่าวต่างประเทศ ข่าวสารยานยนต์

มาตรการ แบนรถขุมกำลัง ICE ในยุโรป ปี 2035 กำลังสั่นคลอน

นโยบายการ แบนรถขุมกำลัง ICE ในยุโรป ปี 2035 คือหนึ่งในสิ่งที่ผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหากรรมยานยนต์ หรือแม้แต่คนที่สนใจในโลกยานยนต์จับตามอง เนื่องจากมันอาจไม่ได้ส่งผลกระทบแค่เฉพาะในยุโรปเท่านั้น แต่ภาครัฐของนาๆประเทศในทวีปอื่นๆ ก็มักเอามาตรการนี้เป็นแบบอย่างในการบังคับใช้ข้อกฏหมายในบ้านตนเองตามด้วย

โดยนับตั้งแต่มีการประกาศเตรียมบังคับใช้ขึ้นมาเมื่อปี 2023 เราก็มักเห็นความเคลื่อนไหวทั้งในเชิงสนับสนุนและต่อต้านของหลายๆฝ่าย โดยเฉพาะในฝั่งหลังที่มีทั้งประชาชนบางส่วน และผู้ผลิตที่มองว่าการบังคับใช้มาตราการดังกล่าวในช่วงเวลาที่กำหนดนั้นอาจเร็วเกินไปจนระบบโครงข่ายที่จำเป็นต้องมีในการใช้งานยานพาหนะพลังงานไฟฟ้าอาจยังโตไม่ทัน นอกจากนี้ยังมีโอกาสอยู่ไม่น้อยที่ผู้ต้องการใช้ยานพาหนะส่วนตัวหลายครัวเรือน อาจยังไม่สะดวกใจในการหันมาใช้ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้าอยู่ดี ในช่วงกำหนดเวลาดังกล่าว

ที่หนักหนาขึ้นกว่านั้น ก็คือการที่ในช่วงเกือบขวบปีที่ผ่านมา ตัวเลขยอดขายยานพาหนะพลังไฟฟ้าล้วนในทวีปยุโรป กลับไม่ได้มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างที่คิด ซึ่งยิ่งสะท้อนให้เห็นว่ายานพาหนะไฟฟ้า ยังไม่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้หลายคนได้ดีพอ

ไม่เว้นแม้กระทั่งคนที่เคยเปลี่ยนใจมาใช้แล้ว ก็ยังมีบางส่วนที่คิดเป็นจำนวนไม่น้อย เลือกจะกลับไปใช้ยานพาหนะขุมกำลังสันดาปภายในต่อ หรืออย่างน้อยก็ต้องเป็นรถไฮบริด เพื่อลดอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงให้น้อยลง แต่ยังคงต้องเป็นรถที่เติมน้ำมันเชื้อเพลิงได้อยู่ เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน และยังคงมีผู้ต้องการใช้ยานพาหนะอีกหลายคนที่ไม่สะดวกในการขยับมาใช้ยานพาหนะพลังไฟฟ้าล้วนอีกหลายรายอยู่ดี

นั่นจึงส่งผลให้แม้เแต่ฝั่งผู้ผลิตเอง หากไม่นับฝั่งผู้ผลิตรถยนต์สมรรถนะสูง อย่างรถซปเปอร์คาร์ที่มองว่าลูกค้าของพวกเขายังคงต้องการใช้งานรถที่มาพร้อมขุมกำลังสันดาปภายในซึ่งให้อรรถรสในการใช้งานมากกว่า

ในส่วนผู้ผลิตรถยนต์ในตลาด Mass Production เอง ก็เล็งเห็นว่าการพัฒนาตัวรถขุมกำลังไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว เริ่มไม่คุ้มทุนอีกต่อไป และการวางขายรถที่มาพร้อมขุมกำลังสันดาปภายใน ก็ยังมีความต้องการของลูกค้าในตลาดอีกมากที่รองรับยานพาหนะกลุ่มนี้

จนถึงขนาดที่แม้แต่ Volvo ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวตั้งตัวตี รีบประกาศการผันตัวสู่การเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าก่อนใคร ยังต้องปรับแผนใหม่ และเลือกที่จะวางขายรถยนต์ซึ่งมาพร้อมขุมกำลังสันดาปภายในต่อไปหลังปี 2030 อยู่

และจากเหตุผลข้างต้นที่ไล่เรียงมา ทำให้ล่าสุด ไม่ใช่แค่ในฝั่งประชาชน และฝั่งผู้ผลิตเท่านั้น ที่เริ่มไม่เห็นด้วยกับนโยบายการแบนยานพาหนะขุมกำลังสันดาปภายใน ในปี 2035 ในสหภาพยุโรปมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ฝั่งผู้มีสิทธิ์ มีเสียง ในการลงมติเห็นชอบนโยบายนี้ก็ยังเริ่มแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้อย่างชัดเจนเช่นกัน

กล่าวคือจากรายงานล่าสุด ระบุว่ากลุ่ม European People’s Party (EPP) ซึ่งเป็นกลุ่มตัวแทนประชาชน ที่มีฐานเสียงในสมาชิกรัฐสภา (สำหรับออกมาตรการต่างๆที่ใช้ร่วมกันในสหภาพยุโรป) มากเป็นกลุ่มใหญ่อันดับต้นๆ

ยังออกมาแสดงท่าทีว่าทางสหภาพควรมีการปรับแผน หรือปรับเงื่อนไขมาตรการแบนยานพาหนะขุมกำลังภายใน ในปี 2035 ใหม่ เนื่องจากมันอาจดูไม่สมเหตุสมผลกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในหลายๆด้าน

โดยการปรับเปลี่ยนมาตรการใหม่ที่ว่านี้ ก็คือการผ่อนผัน หรือปรับเปลี่ยนการแบน ให้เป็นการอนุมัติให้รถยนต์ที่ใช้ขุมกำลังสันดาปภายในล้วน ซึ่งใช้งานร่วมกับน้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์เพื่อความยั่งยืน (Sustainable Fuel) หรือก็คือน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ยังสามารถใช้งานในสหภาพยุโรปต่อไปได้ในปี 2035

หรือหากน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ยังไม่สามารถพัฒนาให้ใช้งานในตลาด Mass Production ได้จริง การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีการปล่อยมลพิษต่ำ ร่วมกับยานพาหนะขุมกำลังไฮบริด หรือปลั๊กอิน-ไฮบริด ที่ถูกพัฒนาให้ปล่อยมลพิษน้อยมากๆก็ควรยังสามารถไปต่อในช่วงเวลาดังกล่าวได้เช่นกัน

นอกจากนี้ ดูเหมือนว่าทาง EPP ยังต้องการให้ทางสหภาพยุโรป มีการเลื่อนมาตราการคิดค่าปรับไอเสียที่เกินจากข้อกำหนดปัจจุบันว่าไม่ควรเกิน 115.1 กรัม/กิโลเมตร ซึ่งก็ถือว่าต่ำมากแล้ว ให้ลดลงอีก 19% จนเหลือ 93.6 กรัม/กิโลเมตร ในปี 2025 ออกไปก่อน อย่างน้อยก็จนกว่าจะถึงปี 2027

เนื่องจากตอนนี้มีผู้ผลิตบางรายยังไม่สามารถปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตนเองให้อยู่ภายใต้ข้อกำหนดดังกล่าวได้ทัน โดยทาง Renault ก็ประเมินไว้ว่าค่าปรับในส่วนนี้ของเหล่าผู้ผลิตทั้งหมดในอุตสาหกรรมอาจมีมูลค่ารวมกันสูงถึง 15,000 ล้านยูโร หรือราวๆ 532,845 ล้านบาท เลยทีเดียว ซึ่งมันก็จะยิ่งทำให้ผู้ผลิตสามารถนำเงินไปใช้ในการพัฒนาเครื่องยนต์ให้มีการปล่อยมลพิษต่ำลงได้ยากขึ้นไปอีก เพราะเงินส่วนหนึ่งต้องถูกตอนออกไปจากค่าปรับที่เกิดขึ้น

และนอกจากการมองในเรื่องของความสะดวกใจในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าของประชาชน ระบบสาธารณูปโภคในการใช้งานยานพาหนะขุมพลังไฟฟ้าล้วน

ทาง EPP ยังระบุอีกว่า การสั่งแบนการใช้ยานพาหนะขุมกำลังสันดาปภายใน ในปี 2035 จะทำให้มีประชาชนที่อยู่ในตำแหน่งงานซึ่งเกี่ยวข้องในสายพานการผลิต หรืออุสาหกรรมการผลิตเครื่องยนต์ ต้องสูญเสียตำแหน่งงานกันเป็นจำนวนมากในทันทีทันใดอีกด้วย ซึ่งนั่นจะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมไม่น้อย และอาจจะทำให้ต้นทุนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ยิ่งสูงขึ้นไปอีก และทำให้เม็ดเงินหมุนเวียนในตลาดการลงทุนยิ่งติดขัดมากขึ้นไปอีกด้วย

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.