กรมการขนส่งเอาจริง สาวกท่อลั่น ประกาศคุมเข้มมาตรฐานระดับเสียงในรถยนต์ส่วนบุคคล ไม่เกิน 95 เดซิเบล ตรวจจับเอาจริงตั้งแต่ 13 สิงหาคมนี้เป็นต้นไป เผยเตรียมคุมรถมอเตอร์ไซค์ท่อลั้นต่อในระดับเสียงเดียวกัน
สาวกแต่งรถ – คนชอบเสียงเร้าใจ เจอแน่ หลังกรมการขนส่งออกประกาศสำคัญ เมื่อวันที่ 20 กรกฏาคมที่ผ่านมา ในการปราปรามมลภาวะทางเสียงของรถยนตฝืที่จดทะเบียตามกฎหมาย โดยระบุไม่ให้เกอนมาตรฐานที่กำหนด 95 เดซิเบลเอ สำหรับรถยนต์ที่มีขนาดน้ำหนักไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม ครอบคลุมยานพาหนะ อย่างรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง และรถนั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง รวมถึงพาหนะสาธารณะด้วย
นาย สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบอก กล่าวเปิดเผยว่า ทางกรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศในการควบคุมมลภาวะทางเสียง โดยได้มีการประกาศ กำหนดมาตรฐานระดับเสียงและวิธีการวัดระดับเสียงของรถยนต์ พ.ศ. 2561 เพื่อกำหนดวิธีการตรวจวัดระดับเสียงที่ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ และค่าระดับเสียงตามที่กฎหมายกำหนด โดยจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2561 เป็นต้นไป กับรถยนต์ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522
โดยกำหนดให้ รถยนต์ทุกประเภทที่จดทะเบียนก่อนวันที่ 1 มกราคม 2557 ค่าระดับเสียงต้องไม่เกิน 100 เดซิเบลเอ ส่วนรถยนต์ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 กรณีน้ำหนักรถเปล่าเกินกว่า 2,200 กิโลกรัม ค่าระดับเสียงต้องไม่เกิน 99 เดซิเบลเอ กรณีเป็นรถขนาดเล็กมีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม ค่าระดับเสียงต้องไม่เกิน 95 เดซิเบลเอ เป็นไปตามมาตรฐานของคณะกรรมาธิการยุโรปเพื่อเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติ (United Nations Economic Commission for Europe : UNECE) ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือพัฒนามาตรฐานยานยนต์มาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ส่วนรถจักรยานยนต์อยู่ระหว่างการพิจารณาให้มีความสอดคล้องกับเทคโนโลยียานยนต์ในปัจจุบัน จึงยังคงกำหนดค่าระดับเสียงเท่าเดิมคือไม่เกิน 95 เดซิเบลเอ
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ขั้นตอนในการตรวจวัดระดับเสียงของรถยนต์ตามประกาศดังกล่าวกำหนดให้ดำเนินการตรวจวัดเมื่อเครื่องยนต์ทำงานได้ความเร็วรอบคงที่ตามที่กำหนดเท่านั้น โดย
– รถที่เครื่องยนต์มีความเร็วรอบให้กำลังสูงสุดไม่เกิน 5,000 รอบต่อนาที ให้ตรวจวัดที่ 3 ใน 4 ของความเร็วรอบที่ให้กำลังสูงสุด
– รถที่มีเครื่องยนต์ที่มีความเร็วรอบที่ให้กำลังสูงสุดเกินกว่า 5,000 รอบต่อนาที แต่ไม่ถึง 7,500 รอบต่อนาที ให้ตรวจวัดที่ 3,750 รอบต่อนาที
– กรณีเครื่องยนต์ที่มีความเร็วรอบที่ให้กำลังสูงสุดตั้งแต่ 7,500 รอบต่อนาที ให้ตรวจวัดที่ 1 ใน 2 ของความเร็วรอบที่ให้กำลังสูงสุด
ทั้งนี้อธิบดีกรมการขนส่งกล่าวต่อไปว่า