Home » Honda- Nissan ดีลครั้งประวัติศาสต์ เกิดอะไรขึ้น
ข่าวสารยานยนต์

Honda- Nissan ดีลครั้งประวัติศาสต์ เกิดอะไรขึ้น

อาจจะผ่านมาเกือบ อาทิตย์ นับตั้งแต่ข่าวใหญ่แห่งวงการยานยนต์ ว่า ฮอนด้า – นิสสัน อาจจะควบรวมกัน เพื่อความอยู่รอดของทั้งคู่

จนเมื่อถึงกลางเดือนที่ผ่านมา เริ่มมีความเคลื่อนไหวว่าดีลนี้อาจจะล่ม จนนำมาสู่การแถลงแผนของนิสสัน ในการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ ที่มีผลถึงประเทศไทย ในการปรับปรุงสายการผลิตให้เหมาะสม ต่อการทำงานมากขึ้นด้วย

หลายคนสงสัยไม่น้อย ทำไมอยู่ดีๆดีลนี้ที่ดูจะเข้าท่ากลับพังพินาศ ทั้งที่ทั้งสองบริษัทก็ดูจะวางแนวทางมาอย่างดี และมีความเป็นไปได้สูงต่อการร่วมมือกันในโลกยุคใหม่

มิตซูบิชิ อาจเป็นต้นเหตุ

ที่จริงแล้ว ความโอนเอนของดีลนี้ เริ่มส่อเค้ามาตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม เมื่อมิตซูบิชิ ประกาศเจตนารมณ์ไม่เข้าร่วมการควบรวมกิจการของ ฮอนด้า – นิสสัน ที่จะเกิดขึ้น ทั้งที่บริษัทก็อยู่ภายใต้การควบคุมของ นิสสัน ในฐานะหนึ่งในพันธมิตรในเครือ

ข้อมูล จาก Nikkei Asian ชี้เรื่องที่น่าสนใจว่า หรือที่จริงแล้ว ฮอนด้า สนใจใน มิตซูบิชิ มากกว่า นิสสัน

สิ่งที่ มิตซูบิชิ มีในมือ คือเทคโนโลยี Plug in Hybrid ที่ถือเป็นต้นตำหรับของเทคโนโลยี และ นิสสัน ได้สิทธิในการเข้าถึงหลังจากถือครอง มิตซูบิชิ และเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงในการทำงาน

แม้ ฮอนด้า จะมีระบบไฮบริดของตัวเองและมีการพัฒนาเวอร์ชั่น Plug in Hybrid ออกมาในรถ อย่าง Honda CR-V

แต่การได้ระบบของ มิตซูบิชิ ที่สำเร็จลุล่วงมานานเข้ามา อาจจะทำให้การพัฒนารวดเร็วรุดหน้ามากกว่าทำเองแล้วลองผิดถูกไปเรื่อยๆ

ด้วยเหตุนี้การที่ มิตซูบิชิ ตัดสินใจไม่ควบรวมด้วยทำให้ ฮอนด้า บั่นทอนความสนใจ นิสสัน น้อยลง

ซึ่ง นาย คาโตะ ซัง ก็ทราบดีว่า ฮอนด้า พยายามในการเข้าหา มิตซูบิชิ มาอย่างต่อเนื่อง แต่แม้ มิตซูบิชิ มอเตอร์ จะมีหุ้นส่วนใหญ่ถูกถือครองโดย นิสสัน ทว่าผู้ถือหุ้นใหญ่รองลงมา ก็ยังเป็นทาง มิตซูบิชิ กรุ๊ป อยู่

ทำให้มีความซับซ้อนอยู่พอสมควร และในบอร์ดบริหาร ของ มิตซูฯ​ก็มี คนของ มิตซูบิชิ คอร์ปอยู่ด้วย ไม่ได้เป็นของนิสสัน ทั้งหมดเสียทีเดียว

ฮอนด้า ขอให้ละทิ้ง อีพาวเวอร์

แม้ว่าจะเป็นข่าว ที่เพิ่งออกมา แต่ก็นับว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจ เมื่อหนังสือพิมพ์ Yomiuri Shimbun, เปิดเผยว่า ส่วนหนึ่งที่ นิสสัน ไม่แฮปปี้กับการร่วมทำงานกัน นั้นมาจากคำขอ สุดประหลาดให้ นิสสัน ละทิ้งเทคโนโลยีอีพาวเวอร์ของตัวเอง แล้วหันมาใช้เทคโนโลยี e:HEV ของฮอนด้าแทน

เทคโนโลยี อีพาวเวอร์ ถูกพัฒนาขึ้นมาปี 2017 เพื่อให้ลูกค้าใช้ระบบไฮบริดที่มีคุณลักษณะ ใกล้เคียงกับรถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุด จนเป็นที่มาของวลีว่า “รถยนต์ไฟฟ้าไม่ต้องชาร์จ”

แต่ในรายงานชิ้นนี้ ไม่ได้ระบุว่า ทำไม ฮอนด้า ถึงสร้างข้อเรียกร้องนี้กับนิสสัน

ถ้าหากดู คุณลักษณะของระบบ ทั้ง e-Power และ e:HEV จะพบว่า ทั้งสอง มีความเหมือนกัน โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นม้างานหลักในการขับเคลื่อน เครื่องยนต์มีหน้าที่ช่วยส่งกำลังทำหน้าที่ปั่นไฟฟ้า

และดูเหมือนว่า จะเป็นฮอนด้าที่ทำได้ดีกว่า นิสสันในการเอาเครื่องยนต์สามารถส่งตรงขับที่ล้อได้ด้วย ถ้าระบบคิดว่าคุ้มค่ากับการขับเคลื่อน โดยเฉพาะในการขับทางยาว

นี่อาจเป็นเหตุผลที่ฮอนด้า เรียกร้องนิสสัน นั่นเพื่อลดความซ้ำซ้อน ของการมี 2 ระบบที่มีคุณสมบัติไม่ต่างกันนัก

ฮอนด้าเอง เพิ่งจะประกาศเปิดตัว ระบบ e:HEV รุ่นต่อไปเมื่อเดือนธันวาคม ปีที่ผ่านมา และเตรียมติดตั้งในรถรุ่นใหม่ของทางฮอนด้า นับเป็นพัฒนาการ เจนที่ 6 ของระบบนี้ นับตั้งแต่มีการแนะนำ ในรถ Honda Accord Hybrid

ส่วนนิสสัน เอง หลังจากดีลล่ม ก็ประกาศการเตรียมเปิดตัส ระบบอีพาวเวอร์ รุ่นที่ 3 ออกมา โดยมีการแก้จุดบกพร่องที่พบจากผู้ใช้ โดยทางนิสสัน อ้างว่าระบบใหม่จะมีความประหยัดเพิ่มขึ้นในการขับทางยาวราวๆ 15% และจะมีการพัฒนาเครื่องยนต์ใหม่ที่มีการออกแบบมาเพื่อระบบนี้ ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น

ดีลอาจไปต่อ ถ้า ยูชิดะ อำลา

แม้ว่า ตอนนี้ ดีล ฮอนด้า – นิสสัน จะล่มลงไป แต่รายงานข่าวจากทาง รอยเตอร์ อ้างอิงจาก Financial Time ระบุว่า มันอาจจะไม่ล่มจนหมด และ ฮอนด้าอาจพร้อมคุยต่อ ถ้าบอสใหญ่ นิสสัน คนปัจจุบัน ลาออก หรือ ลงจากตำแหน่ง

ถึงเรื่องนี้ จะไม่มีเหตุผลชัดแจ้ง รวมถึงทั้งสองบริษัทจะปฏิเสธ จะแสดงความคิดเห็น ต่อประเด็นดังกล่าว

แต่รายงานจาก Financial time ยืนยันว่า ฮอนด้า อาจพร้อมคุยต่อกับ นิสสัน ถ้าบอสใหญ่สามารถจัดการ เรื่องราวภายในองค์กร ได้มีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่

แม้ว่า ตามแผนที่ออกมา นาย ยูชิดะ จะต้องดูแล ให้บริษัทมีความมั่นคงให้ได้ ภายใน 2 ปี ทว่าเขาก็ดู จะโดนกดดัน อย่างหนักจากทาง ผู้ถือหุ้น โดยเฉพาะ จากทางเรโนลต์ ซึ่งยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของนิสสันอยู่ในตอนนี้

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

Comments are closed.