ตั้งแต่ ทางซูซูกิ ประกาศ​เตรียมตัว ปิดสายการผลิตในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2568 นี้เป็นต้นไป หลายคนทั้งลูกค้ารายเก่า รายใหม่ ต่างแตกตื่น กับการประกาศ ท่าทีของทางซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย ที่ออกมา จนถึง ขนาดบางคนลือกันผิดๆ ว่า จะเป็นการปิดบริษัท หนีหน้า โดยอ้างว่า นี่คือ ผลกระทบ จากการพุ่งสุดตัวของภาครัฐบาลไทย ไปสู่ สังคมรถยนต์ไฟฟ้า

การประกาศดังกล่าว เป็นท่าทีที่ชัดเจน จนหลายคนเขช้าใจผิด กันไปต่างๆ นานา จนทางซูซูกิ คิดว่า ถึงเวลาแล้ว ที่พวกเขา จะออกมาเปิดใจ ว่า ทำไมต้องปิดโรงงานไทย แล้ว ลูกค้าจะเป็นอย่างไร ต่อ จะได้รับผลกระทบนี้หรือไม่

ทำไม ปิดโรงงานในไทย

คำถามสำคัญ ของเรื่องนี้ เชื่อว่า ทุกคน คงจะสงสัย ทำไม ซูซูกิ ต้องปิดโรงงานในประเทศไทย ทั้งๆ ที่ ทางซูซูกิ ก็ผลิตรถยนต์หลายรุ่นในบ้านเรา มาตั้ง 10 นับตั้งแต่ เข้าร่วม โครงการอีโค่คาร์ ระยะที่ 1 รวมถึง ระยะที่ 2 จำหน่ายรถยนต์ จากโครงการนี้ มาเป็นเวลา 10 กว่า ปี และ แม้ว่าจะไม่ใช่เบอร์ตอง นำเบอร์วัน หากก็ ขายได้เรื่อยๆ

นาย ทาดาโอมิ ซูซูกิ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด  กล่าวว่า การปิดฌรงงานในไทย มีหลายส่วนประกอบกัน ทั้งการมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้าทำตลาด และแื่นๆอีกมากมาย

แต่ที่สำคัญที่สุด ทางภาครัฐยาลไทย ไม่มีโครงการอีโค่คาร์ในลำดับต่อไป สิทธิประโยชน์โครงการอีโค่คาร์ จะหมดในปี พ.ศ. 2568 (2025) และมีเพียงการส่งเสริม การลงทุนในแง่ ของยานยนต์ไฟฟ้าเกิดขึ้น

ทางซูซูกิเอง จึงมองว่า การใช้แนวคิด Scale Merit หรือ Economy of scale จะช่วยให้ เรามีศักยภาพมากพอในการแข่งขัน มากขึ้น

ภูมิภาคอาเซียน ยังเป็นตลาดที่สำคัญของเรา รวมถึง ตลาดประเทศไทย เราตัดสินใจ ในการรวบรวมทรัพยากร เพื่อให้ สามารถแข่งขันได้ในอนาคต นาย ทาดาโอมิ กล่าว

ตลาดรถยนต์ไทย ซบเซา

นอกจากนี้ ประเทศไทย ยังมีภาวะ ตลาดรถยนต์ซบเซา ช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา(เดือนมกราคม-มิถุนายน) ตลาดรถยนต์รวมมียอดขายอยู่ที่ 307,995 คัน สำหรับซูซูกิยอดขายรวมทั้งสิ้น 3,791 คัน ลดลง 54 % จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2023 ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ตลาดยังคงหดตัว คือ

ปัญหาสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาส่งผลให้ปัญหาหนี้ครัวเรือนและค่าครองชีพพุ่งสูงขึ้นกระทบต่อการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินอย่างชัดเจน

ลูกค้ามั่นใจได้ ซูซูกิ ยังไม่ทิ้งไทย

แม้ว่า การประกาศ ปิดโรงงาน หลายคนอาจจะเริ่มวิตกกังวล ว่าในท้ายที่สุด ซูซูกิ จะทิ้งไทย แล้วจากไป หากเรื่องที่ได้ยินจากโซเชี่ยล กับความจริง จากทาง ซูซูกิ มอเตอร์ เหมือนหนังคนละม้วน

นาย วัลลภ ตรีฤกษ์งาม รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในฐานะที่เข้ามารับผิดชอบดูแลงานด้านการวางแผนบริหารงานฝ่ายบริการและอะไหล่ สิ่งที่ยึดมั่นคือการดำเนินงานภายใต้ปรัชญา “SUZUKI Cause We Care–เหนือกว่าความใส่ใจ คือความเข้าใจทุกความต้องการ” การพัฒนางานบริการในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพของผู้จำหน่ายรถยนต์ซูซูกิทั่วประเทศเป็นเป้าหมายสำคัญยิ่งของซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย)

เพื่อให้ซูซูกิสามารถดำรงอยู่ได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนในประเทศไทย ทางบริษัท มี การปรับปรุงแผนและพัฒนาการดำเนินงานเพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ แคมเปญ “SUZUKI WORRY FREE” ประกอบไปด้วย

 1.ฟรี! ค่าแรงเช็กระยะ สูงสุด 3 ปี

  • สำหรับลูกค้าที่นำรถเข้าเช็กระยะต่อเนื่องตามกำหนดกับศูนย์บริการรถยนต์ซูซูกิทุกสาขา ฟรี! ค่าแรงเช็กระยะ สูงสุด 3 ปี หรือ 60,000 กิโลเมตร (โดยอย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน)  

2. ขยายการรับประกันอะไหล่และงานบริการ 

  • อุ่นใจไร้กังวล กับการขยายการรับประกันงานซ่อมและอะไหล่แท้ทุกชิ้น นานถึง 1 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตร (โดยอย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน) จากเดิมที่รับประกันเพียง 3 เดือน หรือ 5,000 กิโลเมตร 

3. บริการพิเศษรถสำรองใช้ระหว่างซ่อม 

  • รถยนต์ที่อยู่ในระยะรับประกัน 3 ปี หรือ 100,000 กิโลเมตร ไร้ความกังวลเรื่องไม่มีรถใช้งานระหว่างซ่อม ด้วยบริการพิเศษ ‘รถสำรองใช้ระหว่างซ่อม’ สำหรับรถยนต์ซูซูกิที่ต้องใช้เวลาตรวจเช็กมากกว่า 1 วัน (ไม่รวมระยะเวลาวิเคราะห์ปัญหา) และไม่รวมกรณีรถเกิดอุบัติเหตุ

4. HELLO SUZUKI APPLICATION ยกระดับงานบริการแบบ S-Solution

  • HELLO SUZUKI คือ แอปพลิเคชัน ที่จะเชื่อมต่อข้อมูลการทำงานกับลูกค้า อำนวยความสะดวกสบายและความมั่นใจในงานบริการทุกขั้นตอน ทั้งการนัดหมายนำรถเข้ารับบริการ หรือติดต่อสอบถามข้อมูล รายงานการการตรวจสอบและดูแลรถในทุกขั้นตอน รวมถึงการมอบสิทธิพิเศษมากมาย ด้วยการสะสมคะแนนจากค่าใช้จ่ายในการเข้าซ่อมบำรุงตามระยะอย่างต่อเนื่อง หรือซ่อมแซมที่ศูนย์บริการของซูซูกิทั่วประเทศ

5. มีอะไหล่ อีกอย่างน้อย 10 ปี

  • ทางบริษัท ตรียมระบบจัดการอะไหล่รถยนต์ทุกรุ่นที่จำหน่ายภายในประเทศ ช่วยให้ลูกค้าคลายความกังวลเรื่องการขาดแคลนอะไหล่ในการบำรุงรักษารถ เพราะซูซูกิมีคลังอะไหล่ 2 แห่ง ทั้งที่คลังอ่อนนุช กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่จัดเก็บขนาด 1,216 ตารางเมตร  และคลังอะไหล่ จังหวัดระยอง มีพื้นที่จัดเก็บขนาด 4,076 ตารางเมตร รวมถึงคลังอะไหล่ของผู้จำหน่ายทั่วประเทศ มีอะไหล่จัดเก็บรวมมากถึง 741,000 ชิ้น โดยมีเป้าหมายรองรับความต้องการของลูกค้าได้ไม่น้อยกว่า 10 ปี นับจากวันที่สิ้นสุดการผลิต
  • บริการจัดส่งอะไหล่แบบเร่งด่วนภายใน 24 ชั่วโมง ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และพื้นที่อื่นๆ ภายใน 48 ชั่วโมง  

6. ศูนย์บริการครอบคลุม ทุกภูมิภาค ไม่เปลี่ยนแปลง

  • ซูซูกิ มี ศูนย์บริการ 92 แห่ง ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และเตรียมเสริมความแข็งแกร่งเพื่อรองรับแผนงานในอนาคต ด้วยการแต่งตั้งผู้จำหน่ายรายใหม่เพิ่มอีก 6 แห่ง ประกอบด้วย จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดหนองคาย จังหวัดบึงกาฬ และจังหวัดพัทลุง+
  • ส่วน ศูนย์ซ่อมสี และตัวถัง ยังมี อยู่ จำนวน 32 แห่ง ในปัจจุบัน และ เตรียม ขยายเพิ่มอีก เพิ่มอีกจำนวน  9 แห่ง ทั้งในจังหวัดนนทบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอยุธยา จังหวัดลพบุรี และจังหวัดขอนแก่น ภายในปี 2567

รุ่นใหม่ กำลังมา แค่อดใจรอ

ถึงแม้ ทางซูซูกิ จะตัดสินใ จยุคิ สายการผลิตรถยนต์ในไทย แต่ทางแบรนด์ ยืนยัน ว่า ต่อจากนี้ ทางบริษัท จะยังดำเนินกิจการ จัดจำหน่ายรถยนต์ซูซูกิ ในประเทศไทย ต่อไป

Suzuki

โดยทางซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย เตรียม จำวางจำหน่ายรถยนต์ 4 รุ่น ใหม่ ทั้งรถยนต์ ไฮบริด และ ไฟฟ้า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2568 นี้เป็นต้นไป โดยมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าแต่ละรุ่นจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องต่อความต้องการของลูกค้าและสามารถแข่งขันได้ในอนาคตอย่างแน่นอน   

ส่วนจะเป็นรุ่นอะไรบ้าง ต้องติดตามกันต่อไป

ชัดเจน ต่อไป Suzuki เป็นรถนำเข้า

อย่าไงรก็ดี หลายคน อาจสงสัยแหล่งที่มา รถยนต์ ซูซูกิ ในอนาคต ว่าจะมาจากแหล่งใด หากไม่ผลิตในไทย

ปัจจุบัน ประเทศไทย ทาง ซูซูกิ มีแหล่ง ที่มาของสินค้า สำคัญ 2 แหล่ง คือ จากโรงงานในประเทศ และอีหส่วน นำเข้ามาจากโรงงานในประเทศอินโดนีเซีย อีกฐานการผลิตใหญ่ ของทางซูซูกิ

Suzuki

การปรับกลยุทธ์ครั้งนี้ แม้ว่าจะไม่ได้ บอกอย่างชัดเจน แต่ มีความเป็นไปได้สูง ที่ซูซูกิ จะใช้ ระบบนำเข้า แบบเดียวกับทิศทาง ของซูบารุ โดยทางซูซูกิ จะนำรถเข้ามาจากินโดนีเซีย โดยใช้เงื่อนไข เขตเสรีการค้า อาเซียน

อย่างไรก็ดี ทางซูซูกิ ยังมีโรงงานใหญ่ ที่ประเทศอินเดีย Maruti – Suzuki ซึ่งกำลังมีแผน จะขยายการผลิตในอนาคต

ดยรวม ในวันนี้ Suzuki แสดงความชัดเจน ไม่ทิ้งไทย จะยังอยู่ในไทย และ จะมีรถใหม่ๆ ให้เราได้ขับ และเลือกซื้อในอนาคต การถอนตัวการลงทุนจากประเทศไทย ส่วนสำคัญ มาจากการหมดเงื่อนไขโครงการอีโค่คาร์ และต้องการรวมกำลังไปยังฐานการผลิตอื่น เพื่อทำให้สามารถต่อสู้ กับการแข่งขันได้

ที่แน่ Suzuki ไม่ได้ปิดตัว และ ทิ้งไทย แค่ต้องปรับตัว ตามสภาพการแข่งขัน ที่เกิดขึ้น และรุนแรง

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่